"ขณะจิตหนึ่ง" เป็นชื่องานนิทรรศการศิลปะของอาจารย์ ลิปิกร มาแก้วที่จัดขึ้นเมื่อปีที่ ผ่านมาที่หอศิลป์แห่งชาติ กรุงเทพมหานครงานนิทรรศการแสดงให้เห็นภาพของวิถี ชีวิตล้านนา ประเพณี พิธีการต่างๆ ศิลปะ และวัฒนธรรม อาจารย์ ลิปิกรได้ประยุกต์ หลักธรรมะของพระพุทธเจ้า ใช้เป็นสื่อถ่ายทอดสิ่งที่เกิดขึ้นขณะหนึ่งในจิตใจของ อ.ลิปิกร การดำรงชีวิตของชาวล้านนาจะถูกถ่ายทอดออกมาเพื่อแสดงสาระแห่ง ธรรมชาติจากจิตวิญญาณ งานนิทรรศการครั้งนั้นที่มีทั้งภาพเขียนและงานจัด องค์ประกอบก็ประสบความสำเร็จไปได้ด้วยดี
อ.ลิปิกรเป็นรองศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนาและเป็นศิลปิน ล้านนาที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งในภาคเหนือของประเทศไทย รูปแบบผลงานค่อนข้างมี เอกลักษณ์และครบเครื่องไปด้วยแนวความคิด ทักษะและแก่นสาระสำคัญที่สะท้อน จิตวิญญาณวัฒนธรรมล้านนา อ.ลิปิกรยังเป็นนักดนตรีโฟล์กซองที่มีชื่อเสียงอีกด้วย
ดิฉันได้รับเชิญไปทานอาหารกลางวันที่เฮินใจ๋ยองในจังหวัดเชียงใหม่ สถานที่แห่งนี้ เป็นร้านอาหารไทยภาคเหนือที่ตั้งอยู่ด้านหน้ามีเรือน แสดงงานศิลปะในวันนั้นดิฉัน ได้พบกับอาจารย์สอนศิลปะหลายท่านและและนักศึกษาจากราชมงคลล้านนาที่มา งานเปิดนิทรรศการศิลปะของนักศึกษาที่เรียนจบไปแล้ว นี่เป็นโอกาสอันดีที่ได้พบ เจอกัน
การสนทนากับอาจารย์ ลิปิกร มาแก้ว จานีน: ขอบคุณมากนะคะสำหรับมื้ออาหารพื้นบ้านสำหรับดิฉันและทีมงาน ดิฉันเคย พบอาจารย์ มาก่อนหน้านี้แล้วและติดตามผลงานของอาจารย์ มาตั้งแต่สองปีที่แล้ว โดยส่วนตัวแล้วดิฉันชอบงานศิลป์จัดองค์ประกอบทุกอย่างรวมทั้งผลงานผ้ายันต์ที่ เป็นลวดลายโบราณบนผืนผ้า นอกเหนือไปจากการลงสีบนร่างกายที่เชื่อกันมาว่าเป็น การป้องกันภัยอันตราย ดิฉันมีคำถามพิเศษสำหรับอาจารย์ด้วยค่ะ
ลิปิกร: ด้วยความยินดีครับ ถามมาได้เลย
จานีน: เป็นเวลานานแล้วในประเทศไทย การสักร่างกายและการเขียนลวดลายลงบน ผืนผ้านั้นใช้เฉพาะกับเพศชายเท่านั้น ศิลปินเป็นพระภิกษุที่มีความรู้ด้านไสยศาสตร์ มนต์ดำและพิธีกรรม เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงใช่ไหมคะ
ลิปิกร: อันที่จริงแล้วในประวัติศาสตร์ไทย เราเคยทำสงครามรบกับประเทศเพื่อนบ้าน หลายครั้ง ผู้ชายทุกคนต้องเป็นทหาร กองทัพช้างติดตามชายกลุ่มนั้นไปในสนามรบ พระสงฆ์จากหลายวัดเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณที่ดูแลเรื่องขวัญและกำลังใจ แน่นอน ว่า แน่นอนว่าพระสงฆ์ทุกรูปเป็นที่เคารพนับถือ สำหรับงานจริงๆของผมนั้นได้แรง บันดาลใจมาจากบรรพบุรุษให้ค้นข้อมูลจากงานเขียนโบราณ ผมได้นำรายละเอียด ของเสื้อมาแต่งเพิ่มความสวยงามเพื่อสืบสานภูมิปัญญาโบราณ ผู้หญิงไม่สามารถสวม ใส่ชุดเหล่านี้ได้เพราะถูกห้ามไม่ให้เข้าร่วมรบในสงคราม
จานีน: เท่าที่ดิฉันทราบมา มีวีรสตรีไทยหลายท่านที่เข้าร่วมในสงครามเช่นสมเด็จ พระสุริโยทัย คุณหญิงโม วีรสตรีจากภาคใต้อีกสองท่านคือท้าวเทพกษัตรี ท้าวศรีสุนทร
ลิปิกร: ในประเทศไทยทางเหนือ ความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์ปรับเปลี่ยนไปพร้อมกับ พิธีกรรมและงานพิธีต่างๆทางศาสนา จนถึงทุกวันนี้พระสามารถเป็นศิลปินได้ดังเช่น ในอดีต เสื้อผ้ายันต์สามารถได้รับมาจากศิลปินท้องถิ่นด้วยเช่นกัน
จานีน: ดิฉันเห็นเสื้อผ้ายันต์ในวิดีโอของอาจารย์ ลวดลายผ้ามีความเหมือนกับผ้าที่ ดิฉันเจอในที่ทำงาน หรือร้านขายของในท้องถิ่น มีการแขวนผ้านี้ไว้บนผนังให้คน ทั่วไปมองเห็นได้ตอนแรกดิฉันรู้สึกตกใจและคิดว่ามันเป็นรูปภาพต้องห้ามเกี่ยวกับ การมีความสัมพันธ์ทางเพศระหว่างม้าและผู้หญิง ดิฉันสงสัยว่าทำไมคนถึงซื้อผ้ายันต์ พวกนี้ ดูแล้วเห็นเป็นภาพอนาจารและเป็นการลดคุณค่าสตรีอีกด้วย
ลิปิกร: คุณหมายถึงผ้ายันต์ที่คนเรียกว่า"ม้าเสพนาง" หรือครับ มีความเชื่อว่าผู้ ครอบครองจะมีโชคลาภในทางธุรกิจ เนื้อผ้าเองยังเอามาจากผ้าห่อศพเลยครับ
จานีน: อาจารย์ อยากจะบอกอะไรกับคนที่มาดูงานศิลปะ ดิฉันพบว่ามันน่ากลัวที่ได้ ทราบว่างานจากพระสงฆ์รูปอื่นๆ ดูอนาจารและแสดงให้เห็นภาพการกดขี่ทางเพศ มี คนบอกดิฉันว่าผ้ายันต์ค่อนข้างหาได้ยากและมีราคาแพงสำหรับนักสะสม แต่เดิมแล้ว เจ้าของจะได้ผ้ามาฟรีจากพระ ความเชื่อในเรื่องความมั่งคั่งร่ำรวยและความสำเร็จจูง ใจให้พวกเขาเหล่านั้นยอมรับสิ่งที่ยังพิสูจน์ไม่แน่ชัด สำหรับคุณแล้วภาพวาดเป้นการ ดำเนินงานต่อจากอดีตและภาพนี้ดูน่ากลัวเพราะเท้าของผู้หญิงและมีตุ๊กแกหลายตัว ไต่ตามร่างกายของเธอ
อ.ลิปิกรหัวเราะแต่ไม่ได้กล่าวอะไร
จานีน: ดิฉันยอมรับว่าผู้ชายและผู้หญิงแตกต่างกัน เราคิดไม่เหมือนกัน ภาพเหล่านั้น วาดขึ้นมาเพื่อผู้ชายเท่านั้น ถ้าเป็นไปได้ในครั้งหน้าคุณช่วยวาดผู้หญิงให้สวยได้ไหม เพราะดิฉันเห็นภาพทีไรรู้สึกว่าสายตาถูกดึงไปหาการแสดงภาพเพศหญิงที่ดูแปลกตา มากกว่าความงามสง่าของม้าตัวนั้น ดิฉันยังกลัวภาพนั้นแต่ผู้อื่นบอกว่าเป็นมนต์เสน่ห์
ในตอนนี้ดิฉันเปลี่ยนหัวข้อคำถามเพราะอ.ลิปิกรไม่อยากตอบคำถามข้อนี้
ลิปิกร: ผมยังมีงานให้คุณดูเพิ่มอีกครับ ผมมีความผูกพันอย่างมากกับวัฒนธรรม ล้านนาที่อยู่ในงานศิลปะของผม สำหรับงานนิทรรศการที่ผ่านมา ผมมีเสื้อผ้ายันต์ 12 ชุดที่เผยให้เห็นถึงรูปบุคคลและสิ่งที่เสริมเติมร่างกายมนุษย์ เสื้อพวกนี้ย้ายไปมาได้ ด้วยล้อเลื่อนได้ทั่วงานนิทรรศการและมีรูปวาดทั้งสองด้านบนชุด ผมยังร้องเพลง และเล่นดนตรีโฟล์กซองให้กับแขกที่มาดูงานอีกด้วย
อาจารย์ ลิปิกร มาแก้ว (รองศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา) - ปริญญาศิลปศาสตร์บัณฑิต จากคณะจิตรกรรม สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล จังหวัดปทุมธานี - ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาศิลปะไทย จากคณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
เกียรติประวัติและรางวัลที่ได้รับ พ.ศ. 2544 รางวัลที่ 1 เหรียญทองบัวหลวง ครั้งที่ 25 มูลนิธิธนาคารกรุงเทพจำกัด มหาชน พ.ศ. 2553 ผู้มีผลงานดีเด่น ศิลปินพื้นบ้านจังหวัดเชียงใหม่ สาขาทัศนศิลป์ จิตรกรรม พ.ศ. 2555 รางวัล Robinson Bright and Charm Awards 2012 สาขาส่งเสริม ศิลปวัฒนธรรมล้านนา
งานนิทรรศการเดี่ยว พ.ศ. 2545 ลายคำล้านนาชุด "พระบฏ" ไร่แม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2546 ผลงานศิลปนิพนธ์ปริญญาโท ชุด มารผจญในลักษณะศิลปะพื้นบ้าน ล้านนา วัดยางหลวง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2532 – 2555 อ.ลิปิกรมีผลงานนิทรรศการในประเทศไทย ประเทศ อินเดีย และนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
|