โครงการว่าวเบอร์อามัสเป็นความพยายามในระหว่างการดำเนินการอยู่โดยคุณ
รัศมินทร์นิติธรรมผู้ก่อตั้งโครงการเป็นผู้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นขุนละหารที่บ้าน กาเด็งอำเภอยี่งอจังหวัดนราธิวาสในภาคใต้ของประเทศไทยคุณรัศมินทร์ยัง
เป็นผู้ใหญ่บ้านประจำหมู่บ้านแห่งนี้และกำลังศึกษาปริญญาโทในคณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปกติแล้วเขาเป็นผู้ดำเนินงานและ
สนับสนุนกิจกรรมทางวัฒนธรรมของชาวมลายูให้กับพิพิธภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น สนับสนุนเด็กหนุ่มในชุมชนให้ฝึกฝนปันจักสีลัตเพื่อการป้องกันตัวและการแข่งขัน
นักสู้สวมชุดตามประเพณีและถือกริชในมือ ช่วงต่อสู้มีทั้งการร่ายรำและการประมือ กัน นักสู้จากพิพิธภัณฑ์ขุนละหารพร้อมรับคำท้าทายจากชุมชนและหมู่บ้านอื่นๆ
หลังจากที่จบงานเฉลิมฉลองฮารีรายอแล้ว
|
สายบุรีลุกเกอร์เป็นกลุ่มคนที่จัดการรณรงค์เพื่อสันติภาพในอำเภอสายบุรีร่วมกับ
สื่อมวลชนต่างๆ เช่นสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เพื่อเปิดเผยโลกของชาวมุสลิม ภาคใต้ของประเทศไทยต่อสาธาณชน สิ่งนี้มีเป้าหมายสร้างความเข้าใจระหว่าง
ชาวไทยจากทุกภาคและเสนอภาพที่ชัดเจนกว่าเดิมของตัวตนที่มีเอกลักษณ์จาก เมื่อห้าปีที่ผ่านมาและร่วมมือกับนักวิจัยจากไทยและต่างประเทศให้มองทะลุและ
แก้ปัญหารากเหง้าของความขัดแย้งในภาคใต้ของประเทศไทยและต่อต้านการก่อ การร้าย
|
|
ป่าฮาลา-บาลา ยังคงเป็นแหล่งน้ำสำหรับทั้งสามจังหวัด ปัตตานี ยะลา และ
นราธิวาส มีวัวกระทิงอยู่สามฝูงใหญ่และฝูงนกเงือกอาศัยอยู่อย่างสงบสุขในป่า แห่งนี้ซึ่งหลายคนถือว่าบ้านของนกเงือก นอกเหนือไปจากการใช้สถานที่ให้เด็ก
หนุ่มฝึกฝนปันจักสีลัตในช่วงสุดสัปดาห์และวันหยุดแล้ว พิพิธภัณฑ์ได้รวบรวม พิมพ์ลายฉลุไม้โบราณที่ทำโดยชาวมุสลิมในภาคใต้ของประเทศไทย คุณพ่อของ
คุณรัศมินทร์เคยสะสมของเหล่านี้ก่อนที่จะเสียชีวิตสร้างความสนใจให้กับ นักท่องเที่ยวต่างประเทศเช่นมาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนิเซีย เข้ามาเยี่ยม
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นและชมกริชและเครื่องถ้วยชามโบราณจากจีนและยุโรป เมื่อคุณ รัสมินทร์ศึกษาต่อปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จึงเป็นโอกาสอันดีท่
จะเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับว่าวเบอร์อามัส ซึ่งเป็นหนึ่งในว่าวของมลายูที่ ยังไม่มีการจดสิทธิบัตร เป้าหมายของเขาคือกระตุ้นให้เด็กในชุมชนขุนละหารคอย
รักษาและเรียนรู้วิธีการทำว่าวเบอร์อามัสจากกลุ่มผู้สูงวัยที่เคยทำว่าวไว้เพื่องาน เทศกาล
จากมุมมองของคนที่เป็นห่วงวัยรุ่น แน่นอนว่ามันจะดีกว่าสำหรับศิลปะว่าว
เบอร์อามัสให้คงอยู่และสร้างความมั่นคงกับจิตใจของศิลปิน จนถึงตอนนี้ศิลปิน ไทยภาคใต้แสดงผลงานที่สถาบันการศึกษาเช่นโรงเรียนอาชีวศึกษาต่างๆ หรือ มหาวิทยาลัย คุณรัศมินทร์ยังบอกดิฉันอีกว่าเป็นห่วงเยาวชนและยาเสพติดที่แพร่กระจายใน
ชุมชนในช่วงที่มีความขัดแย้ง สิ่งที่เราควรทำคือย้ำเตือนรัฐบาลว่าการศึกษาเป็น เรื่องที่สำคัญมากที่สุดและจะต้องเป็นอิสระจากความไม่เชื่อใจกันระหว่างสมาชิก
โครงการ “Help Janine to Set Up the Beramas Kite Project” เป็นความ พยายามของดิฉันที่จะเปิดเผยภาคใต้ของประเทศไทยให้มากกว่านี้
โชคไม่ค่อยดีที่ว่าเจ้าหน้าที่รัฐอยากย้ายไปประจำที่อื่นให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
เนื่องการก่อการร้าย แนวโน้มในปัจจุบันของความเป็นห่วงภาคใต้มาจากความไม่ สงบที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง หลายๆคนปิดบ้านและเข้านอนเร็ว อยู่ด้วยความหวาดระแวง
ผู้อื่นและต้องระมัดระวังตัวตลอดเวลา
ชุมชนขุนละหารเป็นตัวอย่างที่ดีของหมู่บ้านที่เลือกที่จะรักษาศิลปะจากอดีตและ
เผยแพร่ให้กับคนรุ่นปัจจุบัน สิ่งนี้ช่วยสร้างความผูกพันอันแน่นแฟ้นระหว่างกลุ่มคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัยรุ่นในชุมชนและผู้มาเยือนจากไทยและต่างประเทศ
งานเฉลิมฉลอง 100 ปี พิพิธภัณฑ์ขุนละหารมีการแห่ขบวนช้างที่สวยงาม แสดง ถึงวัฒนธรรมท้องถิ่นไทยทางใต้ที่ถือว่าเป็นภูมิปัญญาภาตใต้ ผู้คนจากทางภาครัฐ
และเอกชนเต็มใจมาร่วมงานโดยที่ไม่คำนึงถึงเรื่องศาสนา เพื่อสร้างความรักและ ความเข้าใจของการอยู่ร่วมกันในชุมชนท้องถิ่น นายธารา เมืองศิริ นักศึกษาปีสุดท้ายจากมหาวิทยาลัยมหิดล ทำภาพยนตร์เชิง
สารคดีเกี่ยวกับภาคใต้ให้กับคนไทยในภาคอื่นๆ งานนำเสนอวิทยานิพนธ์ชิ้นนี้จัด ขึ้นที่กรุงเทพซึ่งเขาได้รับเสียงปรบมือแสดงความยินดีและคำวิพากษ์วิจารณ์
ในทางที่ดีพร้อมทั้งได้ 2 รางวัล จากทั้งหมด 4 รางวัลในวันนั้น นี่เป็นผลลัพธ์ที่ดี จากนักศึกษาผู้หนึ่งที่อยากจะทำอะไรสักอย่างเพื่อภาคใต้ของประเทศไทย
เป็นเวลาหลายปีที่ดิฉันคิดถึงภาคใต้ของประเทศไทยและปัญหาที่ไม่มั่นคงของ
ภาคใต้ ดิฉันยังคงเชื่อว่าถ้าทุกคนร่วมมือกันสันติสุขจะคืนกลับมาอย่างแน่นอน ใน ระหว่างนี้ดิฉันอยากจะเผยแพร่โครงการนี้ ทางภาครัฐจะได้มาช่วยเหลือโดย
คำนึงถึงความจำเป็นของชุมชน ความปราถนาของดิฉันในตอนนี้คือให้นักเรียนและ ศิลปินอาวุโสเดินทางด้วยกันไปทำเวิร์คช็อปในจังหวัดต่างๆ และนี่อาจทำให้เกิด
กิจกรรมถาวรเช่นการฝึกปันจักสีลัตที่พิพิธภัณฑ์ขุนละหารดังที่ดิฉันได้กล่าว มาแล้ว
|
การทำว่าวเบอร์อามัสโดยหลักแล้วจะทำเพื่อการแข่งขันระหว่างชาวไทย – มลายู
เพื่อยืนยันความสุขสงบในสังคมโดยใช้กีฬาเป็นสื่อ ดิฉันหวังไว้ว่ารัฐบาลไทยจะ เข้าใจเมื่อชุมชนท้องถิ่นเข้าร่วมเหตุการณ์นี้ ข่าวดีก็คือนักศึกษาจากมหาวิทยาลัย
นราธิวาสราชนครินทร์เข้าร่วมเวิร์คช็อปการวาดและลงสีว่าวเบอร์อามัสในช่วงปลา เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โชคดีที่เวิร์คช็อปแรกมีช่างฝีมือจากวังสายบุรีมาสอน
ตั้งแต่ขั้นเริ่มต้น นี่เป็นเวิร์คช็อปครั้งแรกที่พิพิธภัณฑ์ขุนละหารต้องการนำเสนอ และอาจเป็นโอกาสที่ดีสำหรับว่าวเบอร์อามัสของชาวไทย – มลายูในประเทศไทย
ให้เป็นที่สังเกตอีกครั้งหนึ่งเพื่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมที่แท้จริง หมายเหตุ: โครงการ Help Janine to Set Up the Beramas Kite Projectเปิดรับ
บริจาค ในประเทศไทยสามารถบริจาคได้ที่ จานีน ยโสวันต์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาเดอะ ฮาร์เบอร์ ถนนห้วยแก้ว จังหวัดเชียงใหม่
บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 319-136465-9 สำหรับท่านที่อยู่ต่างประเทศ กรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ที่ http://www.youcaring.com/other/help-janine-to-set-up-fundraising-for- beramas-kite-project/349268 |