เมื่อประมาณสองปีที่แล้วดิฉันได้มีโอกาสพบกับคุณวธน กรีทองในตอนเย็นที่
อิงกา กาแฟและแกลเลอรี่ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ในเวลานั้นพระ
อาทิตย์กำลังจะตกดิน ดิฉันมองเห็นชายผู้หนึ่งกำลังวาดรูปดอกกุหลาบอยู่ในสวน
ด้วยความ เอาจริงเอาจัง ใบหน้าของเขาแสดงให้เห็นถึงความพอใจในผลงานของ
ตนเอง การนัดหมายครั้งนี้มีความสำคัญมากสำหรับการสัมภาษณ์ คุณวธน กรีทอง
เป็นศิลปินอิสระที่ เดินทางไปในหลายที่ของประเทศไทยและต่างประเทศเพื่อวาด
ภาพที่มีความโดดเด่นด้วยความมุ่งมั่นอันกล้าแกร่ง
การเดินทางอันยาวนานในประเทศไทยสามารถเรียกได้ว่าเป็น"painting-rider"
เพราะคุณวธน ขี่มอเตอร์ไซด์ไปยังหลายจังหวัดในประเทศไทย ความตั้งใจของ
เขาคือเขียนภาพประเทศไทยในวิธีการที่เขาได้สัมผัสและรู้สึก เขาเริ่มการเดินทาง
อันยาวนานในช่วงต้นปีพ.ศ. 2557 ในทางภาคใต้ และภาคตะวันตก
ในปีพ.ศ.2558 เขาเปลี่ยนเส้นทางไปยังภาคเหนือและภาคตะวันออกและจากนั้น
ในปีพ.ศ.2560 เขาเดินทางไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ปีนี้เขาเดินทางกลับมาเยี่ยมทาง ภาคใต้ที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลาด้วยมอเตอร์
ไซด์และได้สอนเด็กนักเรียนอีก หลายโรงเรียนในอำเภอนั้น
ในปีพ.ศ. 2559 งานภาพเขียนสีน้ำของเขาได้รับรางวัลที่ 1 ในงานนิทรรศการสีน้ำ
ที่ Pensando en grande Large Size, International Watercolor Exhibition
2016 ประเทศเม็กซิโก และยังได้รับรางวัลชมเชยจากภาพเขียนอีกภาพหนึ่งซึ่งได้
ส่งไปพร้อมกันในงานนิทรรศการครั้งนี้
ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2560 เขาได้รับรางวัลที่สองจากงานBest Composition
fromthe 2nd Tirana International Watercolor Biennaleเมืองติรานา ประเทศอัลบาเนีย
ต่อไปนี้เป็นบทสัมภาษณ์
จานีน: ในฐานะที่คุณเป็นส่วนหนึ่งของศิลปินรุ่นใหม่ที่ประสบความสำเร็จในด้าน
การเขียนภาพ คุณมีความคิดเห็นอย่างไรกับสังคมไทยและศิลปะ
วธน: คนส่วนใหญ่มองศิลปะเป็นภาพ เป็นลักษณะของภาพ มักจะลืมเรื่องราวทาง
ความคิด พอมีภาพที่มีลักษณะทางความคิดก็มักจะเป็นเรื่องราวที่ปรุงแต่งแบบ
นิยาย บางทีก็เพ้อเจ้อ คนดูภาพจะกลัวการตีความของอัตภาพ กลัวตีความผิด กลัว
ไม่เข้าใจ เรื่องราวที่ศิลปินสร้างขึ้นมาหลายๆครั้งก็กลวง รู้ไปก็ไม่รู้สึกเห็นคล้อย
ตามด้วย ศิลปะจึงยิ่งไกลออกไปจากความน่าสนใจ เกินความที่จะอยากเสพอยาก
ดูจนกลายเป็นส่วนเกิน เป็นสิ่งไม่จำเป็น ศิลปะจึงถูกตีตราว่าเป็นสิ่งไร้สาระ ใน
ชีวิตประจำวัน คิดว่าศิลปะคือภาพในกรอบที่แขวนอยู่ในพิพิธภัณฑ์เพียงเท่านั้น
ศิลปินมองตัวเองว่าจะต้องประสบความสำเร็จแบบมีเงินทอง ได้รับเหรียญรางวัล
นั่นคือการมองศิลปะแบบเป็นภาพ เป็นลักษณะของภาพ บางทีอาจคิดไปว่ามัน
เข้าใจยาก แล้วศิลปะที่เป็นเรื่องราวทางความคิดล่ะคืออะไร ชีวิตเป็นสิ่งสมมุตินะ
ชีวิตที่เป็นเราตั้งแต่เกิดมานั้น ศาสนา ความเชื่อ ลัทธิ ที่ๆเราใช้ชีวิตอยู่ สมัยที่เรา
ใช้ชีวิตอยู่ วิถีที่เราดำเนินขีวิตนั้น,ล้วนเป็นเรื่องราวทางความคิดทั้งสิ้น ถ้าเราเข้าใจ
อย่างนี้ศิลปะจะอยู่ใกล้กับตัวเรามากขึ้นทันที บางทีแทบจะแยกออกไปจากชีวิต
ไม่ได้เลย ศิลปะจะสะท้อนผ่านกิจวัตรเหล่านี้ ตั้งแต่ความคิดที่จะทำอะไรๆในแต่ละ
วัน ตั้งแต่เริ่มตื่นนอนศิลปะก็อยู่บนที่นอน ทานอาหารศิลปะก็อยู่ที่อาหาร เข้า
ห้องน้ำ แต่งตัว อยู่บนถนน จะอยู่ในสวนในนาในไร่ในทะเล หรือในห้องทำงาน
ล้วนอยู่กับศิลปะทั้งสิ้น เมื่อเราเข้าใจว่าศิลปะมันอยู่กับตัวเราแนบแน่นขนาดนี้ เรา
จะขวนขวายออกไปหาศิลปะอะไรอีก
ศิลปินต่างหากมีหน้าที่โดยตรงที่จะสะท้อนสิ่งเหล่านั้นออกมาให้รู้สึกได้ ให้
ความรู้สึกเป็นมิตร ศิลปินก็คือคนเหล่านั้นนั่นเอง คนนั่นแหละคือศิลปะ ภาพหรือ
ลักษณะของภาพนั้นบางทีไม่เข้าใจบ้างก็ได้ ถ้าเข้าใจอย่างนี้ ความกลัวในการดู
ภาพก็จะหายไป สิ่งที่เราไม่เห็นคล้อยตามด้วย ก็จะไม่เป็นความผิดต่อไป ความ
กล้าที่จะชอบหรือไม่ชอบแบบตามๆกันก็จะมีขึ้น มันก็จะเข้าใจง่ายขึ้น เช่นนั้นสิ่งที่
ไร้สาระก็เป็นศิลปะ ศิลปะก็เป็นสิ่งสมมุติหรือเปล่า
จานีน: เล่าประวัติส่วนตัว ความประทับใจในวัยเยาว์และวัยเรียน
วธน: ผมเกิดเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2510 ประวัติผมค่อนข้างจะราบเรียบและ
ไม่น่าตื่นเต้นสักเท่าไหร่ ในปีพ.ศ. 2535 ผมได้รับวุฒิปริญญาตรีจากคณะจิตรกรรม
ประติมากรรม และภาพพิมพ์ สองปีก่อนหน้านั้นผมได้รับทุนโครงการแลกเปลี่ยน
ไปที่ประเทศญี่ปุ่น ชื่อของทุนการศึกษานี้คือ The Friendship Program for the
21st Century จัดโดย JICA (Japan International Cooperation Agency)
ผมอาจเคยคิดว่าศิลปะคือการมีมาสเตอร์พีซสักชิ้น ชิ้นนั้นต้องมีสิ่งตื่นตาจนสร้าง
กระแสศิลปะใหม่เกิดขึ้น คิดให้ยาก เลยไม่กล้าลงมือ ผมหนีไปอยู่ในงานที่มี
ค่าจ้างค่าแรงประเมินความสามารถเป็นอัตราค่าแรง เพราะผมกลัวความจน
ผมใช้ชีวิตจนต้องเริ่มใหม่ ผมเดินออกมาจากมุม แบบเมาหมัด จนผมเริ่มตั้งการ์ด
เป็น ผมไม่ต้องอยู่บนเวทีให้เจ็บตัวนี่ ผมไม่ต้องมีงานที่ต้องมีค่าจ้างก็ได้นี่ ผมวาด
รูปที่ผมอยากวาดด้วยเทคนิคพื้นฐานง่ายๆ วาดไปเรื่อยๆ ธรรมชาติมันเปลี่ยนแปลง
ของมัน ผมไม่ต้องคิดแทนมัน เราคือส่วนเดียวกัน แค่บันทึกมัน ผลงานจะเล่า
เรื่องราวเอง
จานีน: อยากให้พูดถึงงานนิทรรศการศิลปะของคุณในหลายๆ ปีที่ผ่านมา
วธน: ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2557 เป็นต้นมาผมได้เข้าร่วมงานนิทรรศการศิลปะสีน้ำ
นานาชาติทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศดังต่อไปนี้
พ.ศ. 2557
- WWET World Watermedia Exposition ประเทศไทย - Thailand watercolor to global ประเทศไทย
พ.ศ. 2558
- VIZart International Watercolor Biennale 2015 ประเทศอัลบาเนีย
พ.ศ.2559
- Pensando en grande", Large Size, International Watercolor Exhibition 2016 ประเทศเม็กซิโก
- The1st Fabriano In Acquarello Convention ประเทศอิตาลี
- The International Watercolor Society International Watercolor Triennial
Varna 2016 ประเทศบัลแกเรีย
- The International Watercolor Society,The 1st IWS International
Watercolor Biennale In Vancouver 2016 ประเทศแคนาดา
- Hua Hin BluPort International Watercolor Art Biennale 2016 ประเทศไทย
- The International Watercolor Society,Love United.The 1st International
Watercolor Biennale ประเทศฮ่องกง
- The International Watercolor Festival cum Plein Air workshop 3-10
November 2016 ประเทศเนปาล
- Master of Watercolor – Elite 2015-2016 Tirana ประเทศอัลบาเนีย
พ.ศ. 2560
- The 2nd Tirana International Watercolor Biennale April 2017,Tirana ประเทศอัลบาเนีย
- The 2nd Fabriano In Acquarello Convention ประเทศอิตาลี
การแสดงงาน การได้รับรางวัล ก็ดีที่มีคนให้ความสนใจ รางวัลไม่ได้ทำให้เราหลง
ทาง เราไม่ได้ต้องการการแข่งขัน แต่ก็ดีที่มีคนสนใจดังว่า เรื่องราวรอบตัวที่เรา
บันทึกลงไปในเส้นทางที่เราบันทึกนั้น มีคนทำตาม มีคนเดินตาม มีคนสอบถาม
วิธีการจากเราเพื่อเอาไปพัฒนาผลงานของตัวเอง
จานีน: โดยทั่วไปแล้วคุณคิดอย่างไรกับการพัฒนาศิลปะในประเทศไทย
วธน: ถ้าเขาวางศิลปะไว้ในที่ๆแตะต้องอะไรไม่ได้เลย ก็หวังการพัฒนาได้ยาก
ศิลปินที่ขาดสมาธิมุ่งหวังพึ่งแต่การช่วยเหลือจากผู้อื่นอย่างเดียวจะไม่มีโอกาส
พัฒนาได้เลย ถ้าต้องการคำตอบว่าให้รัฐสร้างนิคมศิลปะขึ้นมา สร้างพิพิธภัณฑ์
ศิลปะขึ้นมาใหญ่ๆ แล้วเช่างานของมาสเตอร์ระดับโลกมา มาจัดแสดง เรียกคนจาก
ทั่วโลกมาชม ถ่ายทอดวิธีการรักษาความปลอดภัยแบบหนังวิทยาศาสตร์ ขายบัตร
แพงๆ ให้ทุนศิลปินเยอะๆ มาเวิร์คช็อปนานาชาติ สร้างภาพขึ้นมา ผมว่าฝันเฟื่อง
ทำน่ะไม่ยากหรอก แต่ใครมันจะมาดู
ในความคิดของผม พัฒนาคนให้ได้ก่อนเถอะ ศิลปะจะโตเอง ในประเทศไทยนั้น
จอดรถบนถนนให้อยู่หลังเส้นทางม้าลายให้ได้ก่อนเถอะ ศิลปะจะโตเอง พัฒนา
การศึกษาให้เท่ากันทุกโรงเรียนให้ได้ก่อนเถอะ ศิลปะจะโตเอง ขายน้ำขวดให้
ราคาเท่ากันก่อนเถอะ ศิลปะจะโตเอง เข้าใจให้ได้ว่าวิถีชีวิตคือศิลปะ ศิลปะมันจะ
โตเอง การลงทุนอย่างสิ้นเปลืองในเรื่องศิลปะนั้นไม่มีความจำเป็น สุดท้ายนี้ผม
อยากให้ทุกคนรวมไปถึงศิลปินลงมือทำงานครับ มีสมาธิกับสิ่งที่ทำ มีคุณธรรมใน
เรื่องความคิด การพูดจาและการกระทำ
|