ปีนี้เป็นปีพัชราภิเษกแห่งการครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของในหลวงของประเทศ ไทย การเฉลิมฉลองเริ่มต้นในวันที่ 9 มิถุนายน 2549 และเพื่อเป็นเกียรติแด่ พระมหากษัตริย์ไทยที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก พระบาทสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช กลุ่มนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกและปวงชนชาวไทยร่วม เป็นสักขีพยานในพระราชพิธีอันยิ่งใหญ่ตระการตาในวันที่ 12 มิถุนายน 2549 เรือพระราชพิธีออกจากท่าวาสุกรีไปตามแม่น้ำเจ้าพระยาไปยังวัดอรุณราชวนาราม ฝีพายมากกว่า 2,000 คนจากกองทัพเรือหลายหน่วยจะมีส่วนร่วมในขบวนเรือ จำนวน 52 ลำ
แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน 11 จังหวัดในประเทศไทยจากแม่น้ำทางภาคเหนือของ ประเทศไทย 4 สาย คือ ปิง วัง ยม น่าน ไปรวมตัวกันที่จังหวัดนครสวรรค์ เรา สามารถกล่าวได้ว่าแม่น้ำสายนี้คือแม่น้ำสายวัฒนธรรมมาตั้งแต่โบราณกาลจวบจน ปัจจุบัน การเสด็จประพาสทางน้ำเป็นวิธีการที่ใช้บ่อยสำหรับพระมหากษัตริย์ไทย ในสมัยอาณาจักรสุโขทัย สมเด็จพระร่วงเจ้าทรงใช้เรือในพิธีลอยกระทงในพระราช พีธีจองเปรียงในสระน้ำขนาดใหญ่และมีการจุดเทียนเล่นไฟในคืนวันเพ็ญ ในสมัย อยุธยา เมืองหลวงนั้นถูกล้อมรอบด้วยแม่น้ำลำคลอง เรือมีบทบาทสำคัญในการ ขนส่งเช่นเดียวกับการทำสงคราม เรือรบหลายลำถูกสร้างขึ้นในช่วงนี้
แม้กระทั่งยามปกติ ทหารยังคงมีความจำเป็นต้องเตรียมพร้อมสำหรับการจู่โจมยาม เกิดภาวะฉุกเฉินฤดูน้ำหลากเป็นเวลาที่เหมาะสมสำหรับการฝึกจัดรุปแบบการรบ เนื่องจากไม่ต้องทำการเพาะปลูก ฤดูกาลนั้นเป็นช่วงพิธีการถวายผ้าพระกฐินเมื่อ พระมหากษัตริย์ทรงถวายผ้าไปยังวัดต่างๆ พิธีการเดินเรือเพื่อถวายผ้าพระกฐินจึง กลายเป็นพิธีการสำหรับการเฉลิมฉลองของประชาชนเช่นกัน
การเสด็จพยุหยาตราทางชลมารคยังได้ถูกจัดเตรียมเมื่อกษัตริย์ทรงมีพระประสงค์ จะเดินทางเพื่อความสำราญพระราชหฤทัยและเพื่อพิธีกรรมทางศาสนาเช่นพิธี ราชาภิเษก บูชาพระบรมสารีริกธาตุ หรือเพื่อต้อนรับทูตานุทูตจากต่างประเทศ การ ประดับตกแต่งเรือเป็นพิเศษได้สร้างความตื่นตาตื่นใจแก่ชาวต่างชาติที่มาเจริญสัม พันธไมตรีกับประเทศสยามในอดีตกาล ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ 2199 - 2231) ทรงรับสั่งให้นำกองเรือไปต้อนรับคณะทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 บาทหลวง นิโคลัส แชเวส ผู้เขียนประวัติศาสตร์สยามในหนังสือที่ชื่อว่า "Histoire naturelle et politique du Royaume de Siam" ได้อธิบาย ขบวนเรือพิธีในสมัยอยุธยาไว้ดังนี้
![](../assets/images/ThaiRoyal_Barge1cr.jpg)
"งดงามหาใดเปรียบไม่ได้แล้วจากการแสดงทางเรือ ขบวนเรือพีธีมีถึง 200 ลำ นำ ขบวนโดยเรือหลวง ฝีพายนั่งเรียงกันสองแถว จำแนกโดยแถบสีแดงที่แขนเสื้อ แต่ ละนายสวมหมวก เสื้อ กางเกงที่มีแถบสีทอง ฝีพายเป็นจังหวะตามบทเพลงยอยศ พระมหากษัตริย์ ไม้พายก็มีแถบสีทองเช่นกัน สำหรับเรือหลวงก็ตกแต่งม่านด้วย เพชรพลอยอันล้ำค่า"
สำหรับปีนี้มีเรือพระราชพิธีทั้งหมด 52 ลำ ซึ่งมีเรือรบหลวงขนาดใหญ่ 4 ลำ ดังต่อไปนี้
1. เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ได้ชื่อมาจากเรือพระที่ นั่งศรีสุพรรณหงส์ที่สร้างในรัชสมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชรัชกาลที่ 1
พลเรือเอกพระยาราชสงคราม ( กร หงสกุล ) ซึ่งเป็นสถาปนิกต่อเรือพระที่นั่งแบบ กิ่งลำนี้ หัวเรือเป็นรูปหงส์ลงรัก ปิดทองประดับกระจกภายนอกทาสีดำ ท้องเรือ ภายในทางสีแดง มีความยาว 44.90 เมตร ความกว้าง 3.14 เมตรใช้ฝีพาย 50 คน นายเรือ 2 คน คนถือธงท้าย 2 คน พลสัญญาณ 1 คน คนเห่เรือ 1 คน และคนถือ ฉัตร 7 คน
2. เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ เรือพระที่นั่งลำแรกที่มีหัวเรือเป็นรูปสัตว์ที่นำมาใช้ตั้งแต่สมัยอยุธยาโดยพระมหา จักรพรรดิ์ที่ทรงเปลี่ยนเรือเสือที่ใช้ลำเลียงคนและเสบียงไปกลายไปเป็นเรือชัยที่ ติดปืนใหญ่ที่หัวเรือที่เป็นรูปสัตว์ต่างๆที่มีอยู่และถูกค้นพบในสมัยนั้นหรือเป็นสัตว์
ในเทพนิยาย สัตว์ต่างๆ เหล่านี้ เป็นตราประทับของหลายๆ กระทรวงเช่น ราชสีห์ คชสีห์ นาค เรือหลวงบางลำตกแต่งหัวเรือเหมือนกับตราพระมหากษัตริย์ หัวเรือรูป ครุฑเป็นแบบของตราประทับของพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นรูปครุฑกางปีก ซึ่งเป็นที่ เคารพเสมือนสมมุตเทพ ประทับอยู่บนเรือ เป็นที่นับถือมาแต่ครั้งโบราณ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ เมื่อย้อนกลับไปสมัยพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาล ที่3 ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2367 – 2400) พระองค์ทรงมีพระราช ประสงค์ให้ต่อเรือตามแบบสมัยอยุธยา อันที่จริงแล้วยังมีข้อความในบันทึกกล่าวไว้ ว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดำริว่าการจัดสร้างเรือพระที่นั่ง
นารายณ์ทรงสุบรรณ หรือเรือพระที่นั่งมงคลสุบรรณในเวลานั้นได้สร้างเกียรติยศ ให้กับประเทศชาติโดยรวม เรือพระที่นั่งลำนี้มีความยาว 44.30 เมตร กว้าง 3.20 เมตร และลึก 1.10 เมตร ภายในเรือทาสีแดงและจุฝีพายได้ 65 คน หัวเรือแบบเดิม เป็นรูปพญาครุฑ หรือครุฑทรงนาค เจาะรูใต้ครุฑเพื่อใส่ปืนใหญ่ การเรือพระราช พิธีได้รับการสร้างโดยกองทัพเรือหลวงและฝ่ายช่างศิลป์เพื่อเป็นเกียรติแก่ปี กาญจนาภิเษกครองสิริราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลย เดชครบรอบ 50 ปี เรือลำนี้ถูกใช้ในพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐินในปี 2539 2542 และการประชุมApec ปี 2546
3. เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ เป็นเรือพระที่นั่งศรี ต่อในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล ที่ 5 หัวเรือสลักรูปนาคเล็กๆ ลำเรือภายนอกทาสีชมพู ท้องเรือภายในทาสีแดง ยาว 45.40 เมตร กว้าง 3.15 เมตร ลึก 1.11 เมตร กินน้ำลึก 0.46 เมตร กำลัง 3.50 เมตร ฝีพาย 61 คน นายท้าย 2 คน นายเรือ 2 คน คนถือธงท้าย 1คน พล สัญญาณ 1 คน คนเห่ 1 คน และคนถือฉัตร 7 คน
4. เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เป็นเรือพระที่นั่งบัลลังก์นาค7 เศียร ลำแรก ต่อในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เป็นเรือพระที่นั่งกิ่ง ลำปัจจุบันต่อขึ้นใหม่ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ลำเรือภายนอกทาสีเขียว ท้องเรือภายในทาสีแดง ยาว 42.95 เมตร กว้าง 2.95 เมตร ลึก 0.76 เมตร กินน้ำ ลึก 0.31 เมตร กำลัง 3.02 เมตร ฝีพาย 54 คน นายท้าย 2 คน นายเรือ 2 คน คน ถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ1 คน คนเห่ 1คน และคนถือฉัตร 7 คน
มีบทเพลง 4 บท ร้องในเวลาที่ต่างกัน บทแรกเรียกว่า เกริ่นเห่ บทนี้บอกให้ทราบ ว่าเรือจะเคลื่อนที่แล้ว บทที่สอง ชวาลาเห่ มีจังหวะช้า ได้ยินเมือเรือออกไปอย่าง ช้าๆ ฝีพายพายเรือช้าๆ จากท่า ก่อนที่ความสนุกจะเริ่ม มีบทเพลงยอยศกษัตริย์ เพลงบทสุดท้ายนั้นสนุกที่สุด เรียกว่า มูลเห่ กล่าวถึงความสวยงามของขบวนพยุ ยาตราทางชลมารค ฝีพายพายเรืออย่างมีความสุขไปตามความเร็วที่เพิ่มขึ้น
พิธีการทั้งหมดเป็นภาพที่น่าประทับใจ ไม่ใช่เพียงแค่ความบันเทิงเท่านั้น พิธีนี้มี ความหมายลึกซึ้งสำหรับคนไทยเพราะเป็นการบ่งบอกถึงประเทศของพวกเขาใน โลก การเชื่อมโยงพวกเขาต่อประวัติศาสตร์ทั้งหมดและยกย่องสัญลักษณ์ส่วนรวม ของวัฒนธรรมของคนไทยคือ พระมหากษัตริย์ และยังเป็นการเป็นการเปิดเผย ความกว้างขวางของการออกแบบไทยและศิลปะการตกแต่งอันสวยงาม
ท่านสามารถฟังบทเพลงที่ใช้ในพิธีได้ที่ www.navy.mi.th/sctr/royal_barge_60/indexeng.php
|