Scene4 Magazine — International Magazine of Arts and Media

อินไซท์

march 2008

chocolate_jija13-cr-t

จานีน ยโสวันต์

ในปีพ.ศ. 2546 และ 2548 โทนี่ จา (พนม ยีรัมย์) ดาราภาพยนตร์แอ็กชั่นชาวไทย
เป็นนักแสดงภาพยนตร์ศิลปะการต่อสู้อันดับหนึ่งของประเทศไทย มีผลงานยอด
นิยมเช่นเรื่อง องค์บาก และต้มยำกุ้ง ผู้กำกับคนเดิม ปรัชญา ปิ่นแก้วและผู้กำกับ
คิวบู้ พันนา ฤทธิไกร โทนี่ จาได้พัฒนาภาพยนตร์การต่อสู้ไปสู่ระดับที่สดใหม่และ
โดดเด่นกว่าเดิม

ครั้งนี้ไม่มีโทนี่ จา ทีมงานเดียวกันนี้ก็สร้างภาพยนตร์โดยมีนักแสดงหญิงคนใหม่
ญานิน วิสมิตะนันทน์หรือที่เรียกกันว่า จีจ้า (จีจ้าเป็นภาษาตากาล๊อกมีความหมาย
ว่าไวโอลิน)

จีจ้าเรียนบัลเลต์ตอนวัยเด็กและต่อมาก็เรียนเทควันโด้และศิลปะป้องกันตัวอย่าง
อื่นเนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพในวัยเด็กและความต้องการความแข็งแกร่งทาง
ร่างกายและจิตใจ เพื่อถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้ เธอได้เรียนมวยไทยและฝึกฝน
อย่างหนักเช่นเดียวกับบุรุษเพื่อที่จะแสดงบทเสี่ยงชีวิตที่ยากและซับซ้อนได้สำเร็จ
ในตอนนี้ จีจ้ามีอายุ 23 ปี เธอได้ใช้เวลา 4 ปีเพื่อที่จะสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ สองปี
แรกใช้ในการฝึกฝนมวยไทยและยิมนาสติกและฝึกการแสดงและค้นหาข้อมูล
เกี่ยวกับเด็กที่เป็นออทิสติก สองปีหลังใช้ในการถ่ายทำและฝึกฝนบทสตั้นท์ที่ยาก
กว่าเดิม

ในภาพยนตร์เรื่องนี้ จีจ้ารับบทเป็น “เซน” เด็กออทิสติกที่มีพรสววรค์ด้านศิลปะการ
ต่อสู้และน่าขบขันตรงที่เหตุผลว่าทำไมภาพยนตร์เรื่องนี้เรียกว่าช็อกโกแลต ก็
เพราะว่าเซนชอบทานช็อกโกแลตปริมาณมาก เรื่องมีอยู่ว่า เซนอาศัยอยู่กับมารดา
ที่เป็นโรคมะเร็งและมีฐานะยากจนลงทุกทีเพราะค่ารักษาพยาบาลที่แพงมาก เซน
พบว่าหลายคนเป็นหนี้แม่ของเธอ เธอจึงทำทุกอย่างเพื่อยืดชีวิตให้กับแม่ของเธอ
ให้อยู่นานที่สุดรวมทั้งการต่อสู้กับศัตรูมากมาย ไม่เพียงแต่นักสู้ต่างๆเท่านั้นแต่ยัง
รวมไปถึงนักการเมืองทุจริตอีกด้วย นอกเหนือจากนี้ก็เป็นที่คาดเดาได้ว่า เซนต้อง
ต่อสู้กับนักเลงนับร้อยคน บางคนก็เป็นนักมวยไทย บ้างก็เป็นนักมวยหญิงจาก
ประเทศเกาหลีและยุโรป มีฉากที่เสี่ยงและน่าสนใจอยู่หลายฉากรวมทั้งการไล่ล่า
ในรถไฟฟ้าบีทีเอส

chocolate_jija05-cr

ปรัชญา ผู้อยู่เบื้องหลังภาพยนตร์เรื่อง องค์บาก และ ต้มยำกุ้งที่ทำให้โทนี่ จาเป็น
นักแสดงชื่อดังระดับชาติ ได้มองเห็นแววจีจ้าตั้งแต่ห้าปีทีแล้วตอนที่เธอมาคัดตัว
ในภาพยนตร์ของพันนา ฤทธิไกร เรื่อง เกิดมาลุย (“Born to Fight”)

ปรัชญากล่าวไว้ว่า พวกเรารู้สึกประทับใจในความสามารถของเธอแต่ในเวลานั้นยัง
ไม่มีโครงการที่เหมาะสมสำหรับเธอ เราได้ตัดสินใจให้เธอฝึกฝนทักษะการแสดง
โดยการให้เธอฝึกหัดกับทีมงานสตันท์

ในเวลานั้นจีจ้ายังเป็นนักศึกษาใหม่ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เธอ
ตัดสินใจเลิกเรียนเมื่อเธอพบว่ายากจะจัดสรรเวลาการเรียนและการฝึกซ้อม

จีจ้ากล่าวว่า ความก้าวหน้าในการฝึกซ้อมเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อหยุดการเรียน
แต่หลังจากที่เธอถ่ายทำภาพยนตร์เสร็จ จีจ้ากลับไปศึกษาต่อ คราวนี้เธอสมัคร
เรียนที่มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ วิชาเอกภาพยนตร์

เธอยอมรับว่าสี่ปีของการฝึกฝนนั้นเหน็ดเหนื่อยเป็นบางครั้งและขอหยุดพักเป็นบาง
คราว เธอกล่าวว่า บางครั้งก็เบื่อและอยากจะหนีไป แต่ทุกครั้งที่หยุดพักก็จะคิดถึง
การฝึกซ้อมแล้วกลับมาที่โรงยิมก่อนเวลาที่ได้วางแผนไว้

จีจ้ายังได้ฝึกการแสดงอย่างหนักเพื่อที่จะทำให้เราเชื่อในบทบาทของเด็กหญิงที่
เป็นออทิสติกเรียนรู้การต่อสู้จากศิลปะการต่อสู้ที่มาจากโทรทัศน์

เธอใช้เวลาสองวันที่โรงเรียนพิเศษสำหรับเด็กออทิสติกและกลับมายังสถานที่ฝึก
พยายามอย่างหนักที่จะรวมบุคลิกออทิสติกเข้ากับท่วงท่าการเคลื่อนไหวซึ่งเธอ
ยอมรับว่าทำยากมาก

การแสดงภาพตัวละครให้ดูน่าเชื่อถือดูจะเป็นปัญหาคลาสสิคสำหรับนักแสดง
แอกชั่นหลังจากที่ได้รับการท้วงติงในเรื่องบทที่ยังอ่อนและการแสดงที่ยังไม่ค่อยดี
นัก ปรัชญาไมยอมให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยอีกครั้ง

จีจ้ากล่าวอีกว่า เมื่อเธอแสดงบทแอ็กชั่นก็จะลืมเรื่องการแสดงทั้งหมด เขาสอนให้
ฉันความรู้สึกของออทิสติกเอาไว้ในหัวก่อนที่จะออกท่าทาง นี่เป็นเทคนิคที่ช่วยได้ดีมาก

จีจ้าจะสามารถนำภาพยนตร์แอ็กชั่นที่มีตัวเอกเป็นผู้หญิงกลับมาสู่จุดสว่าง ผู้คนจะ
ตื่นเต้นในท่าทางและการแสดงในทางเดียวกับนักแสดงหญิงเช่นจารุณีสุขสวัสดิ์
และหม่อมหลวงสุรีวัลย์ สุริยงค์ ที่แสดงภาพยนตร์แนวต่อสู้ฟันดาบในช่วงปลายยุค
70 ได้หรือไม่ พวกเราต้องรอคอยติดตามชม

จีจ้าหวังไว้ว่าผู้ชมจะชอบภาพยนตร์เรื่องนี้ แต่ก็มีกระแสคำติชมต่างๆ บอกว่าเธอ
เป็นอีกเวอร์ชั่นหนึ่งของโทนี่จา เธอกล่าวว่า ฉันเชื่อในการอยู่กับปัจจุบันและรู้สึก
แปลกที่เพื่อนร่วมมหาวิทยาลัยขอลายเซ็นและถ่ายภาพร่วม ฉันเป็นเพียงผู้หญิง
ธรรมดาคนหนึ่งที่ได้รับโอกาสอันวิเศษและก็พยายามทำให้ดีที่สุดผู้ชมจะชอบ
ภาพยนตร์เรื่องนี้หรือไม่ก็เป็นเรื่องของพวกเขา ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ฉันก็จะไม่
ล้มเลิกและจะพยายามทำให้ดีกว่าเดิมในเรื่องต่อไป

jeeja2cr

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2551 บรรยากาศในประเทศไทยอบอุ่นมากขึ้นและภาพยนตร์
เรื่องช็อกโกแลตก็ได้รับการโปรโมตไปกับสื่อมวลชน น่าสนใจที่จะได้เห็นผู้ชมมี
ความชอบหนังที่จีจ้าต่อสู้เหมือนกับผู้ชาย การผสมผสานระหว่างสไตล์ของบรูซลี
เฉินหลงและโทนี่ จา ในภาพยนตร์เรื่องเดียวที่มีตัวเอกเป็นผู้หญิง

ในความเห็นของดิฉัน ในอนาคตจีจ้าสามารถพิสูจน์ตัวเองดารานักสู้หญิงในรูปแบบ
ของเธอเอง ดิฉันคิดว่าความหมายที่แท้จริงของช๊อกโกแลตนั้นไม่ได้เป็นรสชาติที่
หวานและขมเท่านั้น แต่ก็ยังเป็นความสุขและความเศร้าของชีวิตอีกด้วย

กรุณาลงความเห็น เกี่ยวกับบทความนี้

ส่ง
อีเมล์
หน้านี้

©2008 Janine Yasovant
©2008 Publication Scene4 Magazine

Jane2008-crs
จานีน ยโสวันต์ เป็นนักเขียน
เธออาศัยอยู่ในเชียงใหม่ประเทศไทย

สำหรับบทความและบทวิจารณ์อื่นๆ ของ จานีน ยโสวันต์
กรุณาตรวจดู แฟ้มเก็บข้อมูล

 

Scene4 Magazine-International Magazine of Arts and Media
This Issue
Cover | This Issue | inFocus | inView | reView | inSight | Blogs | New Tech | Links | Masthead Submissions | Advertising | Special Issues | Subscribe | Privacy | Terms | Contact | Archives

Search This Issue Email This Page

RSS FeedRSS Feed

Scene4 (ISSN 1932-3603), published monthly by Scene4 Magazine - International Magazine of Arts and Media. Copyright © 2000-2008 AVIAR-DKA LTD - AVIAR MEDIA LLC. All rights reserved.