โชคดีมากที่ดิฉันได้รับโอกาสครั้งที่สองในการสัมภาษณ์คุณกริช วัฒนพฤกษ์ที่
ทำงานให้กับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สาขาหาดใหญ่ซึ่งครอบคลุม 3
จังหวัด (สงขลา พัทลุง และนครศรีธรรมราช) ดิฉันได้พบรูปภาพซึ่งเป็นรูปแสดง
สัญลักษณ์ของจังหวัดพัทลุง ภาพภูเขาสูงล้อมรอบด้วยนาข้าวและกลุ่มควันใน
อากาศ นี่คือความมหัศจรรย์ของชีวิตและธรรมชาติ
จังหวัดพัทลุงเรียกว่าเป็นดินแดนของหนังตะลุงซึ่งแสดงถึงความสามารถอันยอด
เยี่ยมของหุ่นละครเงาของประเทศไทย หนังตะลุงในจังหวัดพัทลุงมีชื่อเสียงมาก
ที่สุดในประเทศไทย อย่างไรก็ตามถ้าไม่มีการสนับสนุนอย่างจริงจังจากทางภาครัฐ
ทุกคนก็เกรงว่าการแสดงนี้จะหายไปกับการเวลา หลายปีมาแล้วที่ดิฉันเขียนถึงการ
แสดงหุ่นกระบอก "หุ่นละครเล็ก" และหุ่นละครเงาจากการแสดงต่างๆ ซึ่งรวมทั้ง
การแสดงแบบดั้งเดิมและสมัยใหม่ การแสดงเหล่านี้มีต้นกำเนิดที่ภาคใต้ของ
ประเทศไทย แสดงไปพร้อมกับเครื่องดนตรีพื้นบ้าน
จานีน:
กรุณาบอกเล่าเรื่องการเดินทางและกิจกรรมต่างๆ ของหนังตะลุงในทุกวันนี้
กริช:
ผู้คนทางภาคใต้ของประเทศไทยยังคงปกป้องดูแลการใช้ชีวิตแบบดั้งเดิม
โดยมองว่าเป็นมรดกของชาติที่ผู้คนรู้สึกยินดีที่ได้ฟังผู้เชิดหนังตะลุง ผู้เชิดหุ่น
หลายท่านเป็นบุคคลมีการศึกษาที่เชี่ยวชาญในเรื่องเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง
ส่วนมากแล้วการแสดงจะจัดขึ้นในวัดหรือสถาบันการศึกษาต่างๆในช่วงวันหยุด
ราชการ และช่วงมีเหตุการณ์พิเศษ การแสดงจะเสียดสีการเมืองในประเทศและ
กล่าวถึงชีวิตประจำวันในประเทศไทย
จานีน:
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้โปรโมทหนังตะลุงไปสู่สาธารณชน อย่างไรบ้างคะ
กริช:
ในภาคใต้ของประเทศไทยมีพิพิธภัณฑ์หนังตะลุงอยู่หลายแห่งตัวอย่างเช่น
หอศิลป์หนังตะลุงที่ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง สถานที่แห่งนี้ค่อนข้าง
สำคัญสำหรับกลุ่มอนุรักษ์หนังตะลุงตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จำเป็นต้องได้รับ
ความร่วมมือจากกลุ่มคลัสเตอร์แกะหนังเมืองลุงและหน่วยงานราชการ ทั้งสองกลุ่ม
นี้จะรับผิดชอบเรื่องการนำเสนอหนังตะลุงในประเทศไทยและต่างประเทศ ในหอ
ศิลป์ก็จะมีพิพิธภัณฑ์แสดงตัวละครหนังตะลุง การสร้างหนังตะลุง ประวัติศาสตร์
ช่างประดิษฐ์ตัวละคร และเครื่องดนตรีหลายชนิดที่ใช้ในการแสดง การท่องเที่ยว
แห่งประเทศไทยได้โปรโมทสถานที่แห่งนี้และอีกหลายๆ แห่ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง
ของแผนการตลาดในเรื่องการท่องเที่ยว
จานีน:
เมื่อปีที่แล้วดิฉันเขียนถึงร้านอาหารในจังหวัดเชียงใหม่
ร้านอาหารร้านนั้นขายอาหารไทยภาคใต้เพราะว่าเจ้าของร้านมาจากจังหวัดพัทลุง
อาหารใต้จะให้
ความรู้สึกและรสชาดที่ต่างไปจากอาหารเหนือ มีรสเผ็ดร้อนเพราะพริกและ
สมุนไพรไทยซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของผู้รักอาหารใต้ทุกคน ดิฉันอยากทราบเรื่อง
เกี่ยวกับจังหวัดพัทลุงและอาหารจากที่นั่น
กริช:
ตามที่คุณทราบมาแล้วว่าจังหวัดพัทลุงนั้นมีความพิเศษเฉพาะตัวและ
แตกต่างไปจากจังหวัดอื่นๆ ทางภาคใต้ จังหวัดตั้งอยู่ที่อ่างทะเลสาบสงขลาที่อยู่
ใกล้กับทะเลสาบสงขลาทางตะวันออก ทะเลสาบธรรมชาติครอบคลุมพื้นที่ 3
จังหวัด คือสงขลา พัทลุงและนครศรีธรรมราช ทะเลสาบได้ให้ทรัพยากรมากมาย
ภายในอาณาเขตและการเชื่อมต่อกับบริเวณอื่นๆ อีกทั้งยังเป็นแหล่งอาหารที่อุดม
สมบูรณ์ให้กับผู้คนจำนวนมาก รวมทั้งสัตว์น้ำในธรรมชาติ พืชใต้น้ำ ปลา กุ้ง และ
อื่นๆ ที่จับมาได้จากทะเลสาบแห่งนี้ แผ่นดินตรงบริเวณทะเลสาบก็มีความอุดม
สมบูรณ์มากเช่นเดียวกัน ประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัดพัทลุงประกอบอาชีพ
เกษตรกรรม และผมอยากจะกล่าวเน้นเรื่องข้าวสังข์หยด ซึ่งเป็นข้าวสารสีน้ำตาล
แดงที่มีต้นกำเนิดในจังหวัดพัทลุง และในปัจจุบันนี้ก็มีการจัดจำหน่ายไปทั่ว
ประเทศ บางคนยังกล่าวว่าคุณภาพของข้าวชนิดนี้ดีกว่าข้าวหอมมะลิ
ข้าวสังข์หยดเป็นข้าวพันธุ์พื้นบ้านที่ปลุกในจังหวัดพัทลุงมาเป็นเวลานานแล้วแล
มีคุณค่าในตัวเอง ถ้าจะกล่าวให้เข้าใจง่ายก็คือว่าข้าวสังข์หยดเป็นปัจจัยหลักที่
ผูกพันผู้คนในชุมชนและธรรมเนียมประเพณีเข้าด้วยกัน เรามีอาหารจากทะเล
มากมายเช่นกุ้ง ปู ปลาและมีข้าวไว้กินพร้อมกับอาหารทะเลพวกนี้ อาหารของเรามี
รสเผ็ดร้อนจึงต้องทานพร้อมกับข้าว
จานีน:
ข้าวมีความเกี่ยวข้องกับประเพณีและวัฒนธรรมอย่างไร
กริช:
เราทำกับข้าวให้กับครอบครัวของเรา เพื่อน แขกเหรื่อและผู้สูงอายุ ข้าวสังข์
หยดเป็นส่วนสำคัญของอาหารไทยทางใต้ เจ้าของบ้านจัดอาหารและข้าวสังข์หยด
ให้กับแขกผู้ได้รับเชิญเพื่อแสดงความเอื้ออาทร ข้าวสีน้ำตาลแดงนี้มีราคาค่อนข้าง
แพงและเพาะปลูกแบบออร์กานิค หมายความว่าไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง
ในนาที่เพาะปลูกข้าว อีกทั้งยังนุ่มและมีกลิ่นหอมคล้ายข้าวหอมมะลิ
จานีน:
นี่เป็นข้าวสังข์หยดพันธุ์ดั้งเดิมใช่ไหมคะ
กริช:
ผมได้ยินมาว่าสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์เคยเสด็จพระราชดำเนินมายังจังหวัด
พัทลุงเมื่อปีพ.ศ. 2546 ประชาชนที่มาเฝ้ารับเสด็จได้ถวายข้าวสังข์หยด ต่อมา
สมเด็จพระราชินีทรงตรัสกับประชาชนมีใจความว่าข้าวสังข์หยดมีรสชาติดีมากและ
ทรงแนะนำให้ชุมชนพัทลุงสนับสนุนและประชาสัมพันธ์ข้าวชนิดนี้ต่อประชาชน
ทั่วไปให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การผลิตจะเน้นในเรื่องคุณภาพที่ดีและไร้สารพิษ
|