การแสดงล้านนาไทยมีต้นกำเนิดจากความเชื่อพิธีกรรมล้านนา มีการแสดง ฟ้อนรำพื้นบ้านโดยกลุ่มชาวไทยภาคเหนือที่รักษาธรรมเนียมโบราณ นี่เป็น โอกาสที่ดีสำหรับดิฉันที่จะสานต่อบทความเดือนที่ผ่านมาเรื่องเสื้อลงอาคม ที่สวมใส่โดยทหารล้านนาไทยในช่วงที่ทำสงครามกับประเทศเพื่อนบ้าน ที่ ค่ายฝึกทหารมีการรำดาบและซ้อมรบโดยผู้เข้าร่วมจะสวมเสื้อเกราะและผ้า ยันต์ นี่คือการเตรียมพร้อมเพราะประเทศต่างๆปกครองโดยกษัตริย์ สงคราม ที่ใช้ม้า ช้าง และกองพลทหารดูเหมือนว่าจะเหมือนกีฬาที่เดิมพันด้วยเลือด ชีวิต และการล่าอาณานิคม
งานพิธีกรรมและการแสดงความเชื่อล้านนาเป็นวิธีของหญิงชาวบ้านสูงอายุ ที่เป็นห่วงสามีและลูกชายที่อยู่ในกองทัพ กลัวความสูญเสียจากการต่อสู้ การเจ็บไข้ได้ป่วยและการสูญเสียทรัพย์สมบัติ ชาวบ้านพยายามขอความ ช่วยเหลือจากบรรพบุรุษที่เสียชีวิตไปแล้วซึ่งเรียกว่า "ผีปู่ย่า" สิ่งนี้ต้อง อาศัยพิธีกรรมและงานเลี้ยงที่จัดขึ้นตอนวันปีใหม่ล้านนาและวันสำคัญอื่นๆ ทุกบ้านมีการถวายอาหาร ไก่ หัวหมู สุรา และผลไม้ให้กับผี
ชาวบ้านก่อสร้างโรงละครสำหรับทุกคนที่มางานเลี้ยงในตอนกลางวันนำ อาหาร สุรา และผลไม้มาแบ่งปันเพื่อนบ้าน มีพิธีกรรมแสดงความเคารพผีที่ เรียกว่าผีมดและผีเม็ง ชายและหญิงวัยหนุ่มสาวและผู้สูงอายุสามารถเต้นรำ ด้วยกันได้ ตัวแทนผีมดเป็นชายและผีเม็งเป็นหญิงที่สวมผ้าพันคอและผ้า โพกหัวสีแดง ตัวแทนคนหนึ่งเป็นผู้พยากรณ์ ทำหน้าที่เชิญวิญญาณประทับ ร่างและมีอำนาจในการโน้มน้าวจิตใจผู้เข้าชม แม้ว่าโลกจะแปรเปลี่ยนไป แต่ดิฉันพบว่าพิธีกรรมนี้ยังคงมีอยู่บริเวณหมู่บ้านหลายแห่งรอบนอกตัว เมือง ผามคือโรงละครชั่วคราวที่สร้างขึ้นเพื่อความสามัคคีของคนในหมู่บ้าน ช่างฟ้อนสามารถดื่มสุราในระหว่างการแสดงและส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุ สวมเสื้อผ้าสีสดใสและส่งเสียงกรีดร้องไปกับเสียงจากเครื่องดนตรี
วิทยา พลวิฑูรย์นำสิ่งที่เขาพบจาการฟ้อนผีที่น่าสนใจมาเป็นแรงบันดาล ใจให้กับงานภาพเขียนและงานจัดองค์ประกอบฉากสำหรับผลงานปริญญา นิพนธ์ระดับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีเสียงเพลงจากเครื่อง ดนตรีพื้นบ้านประกอบงานแสดง งานต่างๆของคุณวิทยายังถูกนำไปจัด นิทรรศการในหลายๆประเทศ
ดิฉันมีโอกาสไปเยี่ยมชมห้องทำงานศิลปะของคุณวิทยา พลวิฑูรย์ใน จังหวัดเชียงใหม่ตอนบ่ายวันหนึ่งของเดือนเมษายนปีพ.ศ. 2557
จานีน: ดิฉันอยากทราบเรื่องต้นกำเนิดของผลงานเรื่องการฟ้อนผีที่เป็นงาน ปริญญานิพนธ์ของคุณ
วิทยา: มีความเกี่ยวเนื่องกันในเรื่องของการฟ้อนผีและความเชื่อพิธีกรรม ล้านนาเนื้อหาข้างในของทั้งสองอย่างนี้คล้ายกันแต่มีรายละเอียดปลีกย่อย ต่างกัน มันแปลกดีที่การนำเสนอภาพเขียนกลายเป็นการแสดงฟ้อนผี ส่วน โครงการงานศิลปะในอนาคตคงเป็นอะไรที่ต่างออกไปจากเดิมบ้าง ผม ตัดสินใจทำงานจัดองค์ประกอบศิลป์ในแบบที่ผมยังไม่เคยทำมาก่อน การ สร้างสรรค์ผลงานชุดฟ้อนผีได้ถูกนำเสนอด้วยวิธีการใหม่โดยการปล่อยให้ บริเวณที่ว่างเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของงาน ผมเป็นคนดัดแปลงดนตรีที่ใช้ ประกอบงานฟ้อนผีและนำไปผสมกับอิทธิพลต่างๆทางวัฒนธรรม ผมมี ความหวังว่าคนที่รักผลงานศิลปะจะเข้าใจภาษาทางศิลป์ของผม
จานีน: ดิฉันได้ยินมาว่าคุณเล่นเครื่องดนตรีไทยพื้นบ้านได้หลายชิ้นและ วันนี้คุณเล่นไวโอลิน กรุณาเล่าเรื่องเกี่ยวกับประสบการณ์การเล่นเครื่อง ดนตรีไทยพื้นบ้านทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ
วิทยา: เครื่องดนตรีพื้นบ้านไทยเป็นงานอดิเรกที่ผมชอบที่สุดตอนที่ผมยัง เด็ก ผมเห็นคนอื่นเล่นแล้วก็อยากจะเล่นบ้างเช่นกัน ผมศึกษาและฝึกเล่น เครื่องดนตรีเหล่านี้ด้วยตนเองและต่อมาได้ไปเรียนกับครูดนตรีอีกหลาย ท่าน หลายคนถามผมว่าเครื่องดนตรีชิ้นไหนที่ผมเล่นได้ดีที่สุดแต่ผมไม่ สามารถตอบได้ ผมไม่เคยตั้งเป้าหมายว่าจะเป็นนักดนตรีมืออาชีพแต่ผม อยากจะเล่นทุกอย่างถ้าสามารถทำได้ ผมได้พิจารณาตัวเองว่าเป็นคน "เล่นเครื่องดนตรีได้หมดทุกชิ้น" และตอนนี้ยังไม่อยากจะฝึกฝนเครื่อง ดนตรีชิ้นใดชิ้นหนึ่งจนถึงที่สุด ผมเดินทางไปยังหลายที่ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศเพื่อไปเล่นดนตรีนับตั้งแต่งานเลี้ยงเล็กๆจนถึงงาน นิทรรศการระดับชาติ ผมมีความรู้สึกเป็นเกียรติมากที่ได้เล่นเครื่องดนตรี ไทยพื้นบ้านต่อหน้าสมเด็จพระเทพฯ ผมยังได้มีโอกาสไปแสดงคอนเสริต ทั้งในทวีปเอเชีย สหรัฐอเมริกา ทวีปแอฟริกาใต้และทวีปยุโรป
จานีน: ในฐานะที่คุณเป็นอาจารย์และนักค้นคว้า ดิฉันพบว่าคุณเขียน หนังสือเล่มหนึ่งเกี่ยวกับลวดลายศิลปะไทยที่เรียกว่า "แต้มเส้นเขียนสาย ลายคำจั๋งโก๋" ซึ่งเป็นลวดลายล้านนาโบราณที่ปรากฏในเจดีย์รูปทรง ล้านนาทุกแห่ง สิ่งนี้เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับนักเรียนศิลปะไทยและผู้ที่รักใน งานศิลปะ
วิทยา: ผมเขียนหนังสือเล่มนี้เพราะเรียนรู้เรื่องศิลปะไทย ผมรู้สึกประหลาด ใจที่พบว่าหนังสือเกี่ยวกับศิลปะไทยมีอยู่ไม่มากนักและหาได้ยาก ผมจึงมี ความคิดที่จะเขียนหนังสือไว้เป็นแหล่งอ้างอิงสำหรับทุกคนที่เรียนรู้เรื่อง ศิลปะล้านนาไทย อันที่จริงเรื่องราวทุกแง่มุมของลายคำจั๋งโก๋ ไม่สามารถ จะเขียนได้ครบถ้วนลงในหนังสือสิบเล่มหรือมากกว่านั้น เพราะว่ามรดกชิ้นนี้ มีความกว้างใหญ่ไพศาลและยังเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมอีกหลายอย่าง ผม จึงตัดสินใจจะค้นคว้าและเขียนเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกในอนาคต
วิทยา พลวิฑูรย์ การศึกษา - ศิลปศาสตร์บัณฑิต (ศิลปะไทย) คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (จิตรกรรม) คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - เป็นอาจารย์สอนศิลปะที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา งานนิทรรศการเดี่ยว - พ.ศ. 2553 ฟ้อนผี การเดินทางไปแสดงผลงานเริ่มจากประเทศเวียตนาม ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง ลาว สหรัฐอเมริกา สเปน โปรตุเกสและฝรั่งเศส
|