มาร์ติน บลูมเป็นอาสาสมัครของโครงการเพาะปลูกกาแฟที่มูลนิธิ CLUMPที่ย่อมา จากCommunity of Love and Unity of Mountain People (ชุมชนเพื่อความรัก และความเป็นหนึ่งเดียวของชาวดอย) มาร์ตินผสมผสานงานของเขาในฐานะที่เป็น นักวาดภาพและบทบาทหน้าที่เป็นผู้เพาะปลูกกาแฟ คัดกรองเมล็ดกาแฟเพื่อเข้า กระบวนการผลิตและคั่วเมล็ดกาแฟ
มาร์ตินได้พบความถนัดของตัวเองในการแสดงความรู้สึกของมนุษย์ผ่านการวาดรูป ตัวละคร รูปภาพเหล่านี้ค่อนข้างเป็นที่นิยมพอๆ กับสติ๊กเกอร์ในโทรศัพท์มือถือ และเขาขายภาพวาดทางอินเตอร์เน็ตเพื่อเป็นรายได้บางส่วนเพื่อเลี้ยงดูตนเอง
ในฐานะที่เป็นผู้ปลูกกาแฟ มาร์ตินมีความฝันจะผลิตกาแฟพันธุ์พิเศษของประเทศ ไทย เขาได้รับโอกาสมากมายในการเรียนรู้เรื่องกาแฟจากผู้เชี่ยวชาญทางด้าน กาแฟเช่นคอฟฟี่มาสเตอร์เจนจิรา กมลเสวตดิกุล เป็นผู้ฝึกสอนที่ได้รับการรับรอง จาก SCAE (Speciality Coffee Association of Europe) คอฟฟี่มาสเตอร์เซียง กอน ลี จากประเทศไต้หวันและคอฟฟี่มาสเตอร์ จอน วิลลาสเซ่นจาก SCAEใน ยุโรป มาร์ตินทำงานร่วมกันกับกลุ่มผู้ปลูกกาแฟในพื้นที่ชนบทด้วยการสนับสนุน จากมูลนิธิ CLUMP โดยบราเธอร์อนุรักษ์ นิธิภัทราภรณ์ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนใน หมู่ผู้ปลูกกาแฟชาวไทย
มาร์ตินได้รับหลายรางวัลสำหรับผลงานทางศิลปะของเขา ในปีพ.ศ. 2555 เขา ได้รับทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาศิลปะจากมูลนิธิรัฐบุรุษโดยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ มาร์ตินจบจากคณะวิจิตรศิลป์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในปี 2556เมื่อ ตอนที่มีอายุ 22 ปี
สำหรับงานการกุศลทางด้านศิลปะ มาร์ตินวางแผนจะสร้างค่ายงานศิลปะในจังหวัด เชียงใหม่เพื่อศิลปินอาสาสมัครจากทั่วโลกมาแบ่งปันความรู้ให้เด็กผู้ด้อยโอกาสใน เขตภูมิภาคอาเซียน เนื่องจากว่า AEC (Asean Economics Community) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จะเริ่มดำเนินงานในปี พ.ศ. 2558
จากการที่มีประสบการณ์กับความโกรธและความทุกข์ในวัยเด็ก มาร์ตินเชื่อว่าศิลปะ สามารถรักษาเยียวยาหัวใจที่โศกเศร้าและแสดงความรู้สึกผ่านงานศิลปะที่ช่วยให้ เด็กเอาชนะความกลัวโดยเฉพาะเด็กชนกลุ่มน้อยจากทวีปเอเชียที่ผ่านสงคราม หลายครั้งและมีชีวิตอยู่อย่างไม่มีตัวตนและไม่มีเกียรติ มาร์ตินมีความเชื่อว่าเด็ก ชาวดอยและเด็กชนกลุ่มน้อย ไม่ว่าที่ไหนก็ตามที่พวกเหล่านั้นเขาไปตั้งถิ่นฐานใน เขตภูมิภาคอาเซียน ก็จะรักสถานที่แห่งนั้นและมีส่วนร่วมในความรับผิดชอบที่จะ ดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
มาร์ตินเกิดที่ประเทศสวีเดน มารดาเป็นชาวไทยชื่อวิมลลักษณ์ บลูม บิดาเป็นชาว สวีเดนชื่อศาสตราจารย์สตัฟฟาน บลูม เขาใช้เวลาในวัยเด็กอยู่ที่ทางตอนใต้ของ กรุงสตอกโฮล์มที่เมืองหลวงของประเทศสวีเดน บริเวณแห่งนั้นเรียกว่า Soder หรือทางใต้นั้นมีชื่อเสียงในเรื่องชุมชนแห่งการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม พ่อของ มาร์ตินเป็นจิตรกร ปฎิมากร และเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยสตอกโฮล์ม
นามสกุลบลูมเป็นของครอบครัวขุนนางชาวสวีเดนที่สืบเชื้อสายจากชาวฝรั่งเศส ย้อนหลังไปยังศตวรรษที่ 16 หนึ่งในบรรพบุรุษของมาร์ตินคือเฟดริก บลูม ที่ได้รับ การขนานนามว่าเป็น “บิดาแห่งสถาปัตยกรรม” ผู้ซึ่งออกแบบปราสาทราชวังหลาย แห่งและสิ่งปลูกสร้างต่างๆ เช่น Royal Grand Palace of Stockholm (ราชวังแห่ง เมืองสตอกโฮล์ม) และ the Royal Navy Head Quarter (ศูนย์บังคับการใหญ่ ทหารเรือ) ซึ่งในปัจจุบันนี้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์East Asiatic Museum ส่วนมารดา ของมาร์ตินทำงานอยู่งานอยู่ที่สำนักงานที่ปรึกษาการพาณิชย์ สถานทูตไทย ประจำกรุงสตอกโฮลม์ และในปัจจุบันทำงานเป็นนักธุรกิจในประเทศไทย
ในฐานะที่เป็นพลเมืองของยุโรปและประเทศไทย มาร์ตินมีความเชื่อว่าชีวิตใน ชนบทที่ห่างไกลนั้นมีความสะดวกสบายและการติดต่อสื่อสารทางไกลในลักษณะ เดียวกับที่ผู้คนในยุโรปกำลังพบเจอในประเทศต่างๆที่ไม่มีพรมแดน เขาเชื่อว่าไม่มี อุปสรรคใดๆสำหรับคนวัยหนุ่มสาวถ้าเขาอยากจะอาศัยอยู่ในหมู่บ้าน
ด้วยความคิดใหม่และวิธีใหม่สำหรับกิจการงานช่างฝีมือขนาดเล็ก อีกทั้งยังมี สุขภาพดีและความเป็นอยู่ไม่ลำบากไม่ขัดสน มาร์ติน บลูมหวังเอาไว้ว่าคนหนุ่ม สาวของกลุ่มอาเซียนจะได้รับอิสรภาพ ความมั่นใจและความมีเกียรติกลับคืนมา ในทางกลับกันพวกเขาเหล่านั้นสามารถทำสิ่งดีๆให้กับชุมชนที่อาศัยอยู่ได้
สูตรอาหารประจำเดือนพฤศจิกายน
|
|
ร้านเฮินใจ๋ยองเป็นร้านอาหารไทยภาคเหนือในรูปแบบล้านนาซึ่งยังคงรักษาความมี เอกลักษณ์ของชาวไทยอง โดยคำจำกัดความแล้วเฮินหมายถึงเรือนไม้พื้นบ้าน แบบไทย ใจ๋ยองคือจิตวิญญาณของการเป็นลูกหลานชาวไทยอง
ร้านอาหารเปิดเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ลิปิกร มาแก้ว อาจารย์ภาควิชาศิลปะไทย คณะจิตรกรรมและสถาปัตยกรรม ที่มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป้าหมายของร้านแห่งนี้คือการแสดงผลงานศ ิลปะ และชิ้นงานที่โดดเด่นของศิลปินไทยภาคเหน ือและเป็นการสนับสนุนนักศึกษา ศิลปะโดยจัดพื้นที่แสดงผลงานและดำเนิน การสงวนรักษาศิลปะล้านนาพื้นบ้าน และวัฒนธรรม แรงบันดาลใจด้านการก่อสร้างและการจัดวา งองค์ประกอบมีต้น กำเนิดมาจากจักรวาลวิทยาแนวคิดแบบล้านนาและเทพนิยายต่างๆ เพื่อปรับปรุง และขยายการใช้สอยเป็นห้องแสดงภาพและห้องประชุม บนชั้นสองเป็น แบบจำลองโรงนาแบบล้านนาซึ่งแทนด้วยความอุดมสมบูรณ์
แน่นอนลักษณะที่เห็นได้ชัดที่สุดของอาหารที่เฮินใจ๋ยองที่รสชาติเหมือนกับสูตร ต้นฉบับ อาหารที่เป็นที่นิยมเช่น ลาบปลานิลคั่ว ไก่เมืองนึ่งสมุนไพร และน้ำพริก ปลาจี่
แกงแคปลาช่อน
อาหารพื้นบ้านไทยแทบทุกอย่างถูกเตรียมโดยการใช้วัสดุธรรมชาติหรือผักที่ปลูก กินเองภายในบ้านซึ่งดีต่อสุขภาพ แกงชนิดนี้มีผักหลายชนิดและเราสามารถเติม เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัวปลาหรืออาหารทะเลต่างๆลงไปได้ วัตถุดิบหลักคือผักชนิด ต่างๆ เช่น ผักตำลึง ผักชะอม ใบชะพลู ผักชีฝรั่ง มะเขือพวง เห็ดลมอ่อน ผักเผ็ด และดอกแค
ส่วนผสมน้ำพริก เติม ข่า ตะไคร้ กระเทียม หอมแดง ปลาร้าสับและกะปิลงในครกและตำให้ละเอียด จนกระทั่งส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันดีเป็นเนื้อเดียวกัน
ส่วนผสมแกงดอกแค ขอดเกล็ดปลาช่อน ขูดเมือกปลา ควักไส้ปลาออกและล้างด้วยน้ำ หลังจากที่ล้าง ปลาแล้วให้หั่นเป็นชิ้นๆตามแนวตั้ง ล้างผักให้สะอาดและหั่นผักเป็นชิ้นๆ ผสม น้ำมันพืชและน้ำมันงาใส่ลงกะทะ อุ่นกระทะให้ร้อนและเทส่วนผสมน้ำพริกที่เตรียม ไว้ก่อนหน้านี้และผัดน้ำพริกในกระทะจากระทั่งมีกลิ่นหอม ให้เติมน้ำเพิ่มถ้าเห็นว่า น้ำเดือดจนกะทะแห้งเกินไปแล้วจึงใส่ปลาที่หั่นลงในหม้อ หลังจากปลาสุกให้ ทยอยเติมผักต่างๆและใส่ใบมะกรูดเพื่อให้มีกลิ่นหอม หลังจากนั้นจึงใส่เครื่องปรุง ซอสต่างๆตามชอบ
ไข่ป่าม (ไข่ปิ้งในกระทงใบตอง)
ไข่ป่ามเป็นวิธีการทำอาหารพื้นบ้านโดยการเทไข่ลงในภาชนะที่ทำมาจากใบตอง โดยที่ไม่ต้องใช้น้ำมัน ขั้นตอนการเตรียมไม่ยุ่งยาก ทำกระทงใบตองโดยการใช้ ใบตองและไม้กลัดทำเป็นภาชนะ เทไข่ไก่หรือไข่เป็ดแล้วเติมเกลือและต้นหอมลง ในถ้วยเดียวกัน คนส่วนผสมทั้งสามให้เข้ากันแล้วเทส่วนผลมลงในกระทงใบตองที่ เตรียมไว้ จากนั้นให้ย่างกระทงโดยใช้ไฟอ่อนจนกว่าไข่จะสุกพอดี
|