นายแพทย์รังสิต ทองสมัคร เป็นบัญฑิตแพทย์จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่งในประเทศไทย ในความคิดของดิฉันคุณหมอ
เป็นบุคคลตัวอย่างที่สามารถจัดการงานอาชีพและงานอดิเรกได้มีประสิทธิภาพใน
ฐานะที่เป็นช่างภาพอิสระ คุณหมอรังสิตและทีมงานร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่ง
ประเทศไทยโดยการถ่ายภาพภูมิประเทศ ผู้คนและกิจกรรมพื้นบ้านไทยที่น่าสนใจ
นอกเหนือไปจากนี้พวกเขายังช่วยเหลือผู้เคราะห์ร้าย จากน้ำท่วมในหลายๆ พื้นที่
ของประเทศไทย
ดิฉันรู้สึกภูมิใจที่มีโอกาสได้ศึกษาที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่มีตรา
สัญลักษณ์ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
หรือที่รู้จักกันในนาม ของเจ้าฟ้ามหิดลหรือพระบิดา คำสอนของพระองค์ท่านยัง
เป็นคติพจน์ของ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่กล่าวว่า "ขอให้ถือประโยชน์ส่วน
ตนเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง ลาภ ทรัพย์ และเกียรติยศ
จะตกแก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ให้บริสุทธิ์"
และ คำสอนของพระองค์ท่านที่ดิฉัน อยากจะนำเสนอคือ
"I do not want you to be not only a doctor, but also Iwant you to be a
man.True success is not in the learning but its application to benefit
mankind."
ที่แปลได้ใจความว่า
ฉันไม่ได้อยากให้เธอเป็นหมอเพียงเท่านั้น ฉันอยากให้เธอเป็นมนุษย์อีกด้วย
ความสำเร็จที่แท้จริงไม่ได้อยู่ในการเรียนรู้ แต่อยู่ที่ใช้ความรู้นั้นเพื่อประโยชน์ต่อ
มนุษยชาติ
ข้อความดังต่อไปนี้เป็นบทสัมภาษณ์ระหว่างดิฉันและคุณหมอรังสิตเกี่ยวกับเรื่อง
ของชมรมถ่ายภาพ
จานีน: ดิฉันอยากทราบเกี่ยวกับชมรมถ่ายภาพที่คุณหมอดูแลอยู่
รังสิต: ในปีพ.ศ. 2530 ตอนที่ยังเป็นช่วงเวลาของกล้องใช้ฟิล์ม ผมรวบรวมสมัคร
พรรคพวกที่รักการถ่ายภาพและได้จัดตั้งกลุ่มถ่ายภาพกลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่ง สมาชิก
ตอนเริ่มแรกมีเพียง 10 คน ในตอนนั้นพวกเราฝึกอบรมนักถ่ายภาพรุ่นใหม่และเมื่อ
กลุ่มของเรามีขนาดใหญ่ขึ้นจึงเปลี่ยนชื่อเป็นชมรมถ่ายภาพจังหวัดนครศรีธรรมราช
ผมได้รับเลือกให้เป็นประธานของชมรม
ชมรมของเราจัดประชุมขึ้นบ่อยครั้งเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ในชมรมรวมทั้งการอบรม
การถ่ายภาพ ทริปท่องเที่ยวระยะสั้น และวารสารทำมือรายเดือน ผมและชมรมมี
ความสุขกับการถ่ายภาพงานบุญประเพณีไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งเทศกาลเดือนสิบ
ที่จัดในเดือน ตุลาคมของทุกปี เรายังจัดบู๊ทถ่ายภาพสไตล์โบราณให้กับลูกค้า ทุก
คนมีความกระตือรือร้นที่จะช่วยเหลือกันและกันและรู้สึกสนุกสนานไปกับงาน
พอมาถึงช่วงกล้องดิจิตอลสมาชิกรุ่นเก่าหลายคนที่ยังคงใช้กล้องฟิล์มลดบทบาท
ของตัวเองลงและกลุ่มนักถ่ายภาพหลายกลุ่มที่ใช้กล้องดิจิตอลเข้าร่วมกับชมรม
ของเรา เว็บไซต์ของผม "www.krungshing.com" ถูกสร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2550 ใน
ปัจจุบันเรามีสมาชิกหลายพันคน ทุกคืนวันศุกร์เราจะมีกิจกรรมประชุมที่เรียกว่า
KF3 (KFFF) ที่ย่อมาจาก Krungshing Friday Foto Forum ในช่วงการประชุมเรา
พูดคุยเกี่ยวกับข่าวสารเรื่องการถ่ายภาพและวิพากษ์วิจารณ์ภาพถ่ายที่สมาชิก
นำมาเสนอ กิจกรรมที่ดีอีกอย่างหนึ่งคือการอบรมแบบเป็นกลุ่มเล็กๆ ซึ่งผู้ฝึกสอน
หนึ่งคนและผู้เรียนอีกสองสามคนออกทริปท่องเที่ยวด้วยกันเพื่อถ่ายภาพ วิธีนี้
ได้ผลดีมากกว่าการฝึกอบรมแบบเป็นกลุ่มใหญ่
คำแนะนำที่ผมมักจะให้กับนักถ่ายภาพมือใหม่ก็คือให้ใช้ภาพถ่ายเพื่อประโยชน์
สูงสุดของสังคม เราต้องเปิดใจยอมให้ภาพถ่ายของเราถูกนำไปใช้ฟรีบ้างในบาง
โอกาส เพื่อวัตถุประสงค์ของประโยชน์ส่วนรวมเราสามารถเล็งเห็นได้ว่าช่างภาพ
ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับเรื่องนี้และเต็มใจให้ความร่วมมือ หนังสือรวมภาพที่มีชื่อว่า
"นครศรีธรรมราช" เป็นการรวบรวมผลงานจากนักถ่ายภาพ 31 ท่านที่ส่งรูปภาพ
มากกว่า 10,000 รูปมาให้คัดเลือก มีหนังสือรวมภาพอีกเล่มหนึ่งที่ยังไม่ได้
ปล่อยออกมาคือ "เจดีย์:มรดกธรรมและมรดกโลก" ครั้งนี้จำนวนของนักถ่ายภาพ
เพิ่มเป็น 40 ท่าน เหมือนดังเช่นเคยที่ว่าภาพถ่ายมากกว่า 10,000 รูปอยู่ใน
ขั้นตอนการคัดเลือกสำหรับหนังสือเล่มนี้ พวกเขาไม่เคยทวงถามหรือร้องขอเงิน
ค่าตอบแทนเพราะถือว่านี่เป็นเรื่องของผลประโยชน์ส่วนรวม
จานีน: กรุณาเล่าเรื่องเกี่ยวกับการงาน เรื่องส่วนตัว ครอบครัวและความประทับใจ
ในชีวิต
รังสิต: ผมจบมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเบญจมราชูทิศในปีพ.ศ. 2521
และจบการศึกษาเป็นแพทย์ในปีพ.ศ. 2527 ผมทำงานใช้ทุนการศึกษาโดยการ
เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลไม้แก่น ในจังหวัดปัตตานีเป็นเวลาหนึ่งปีและถูกย้าย
ไปประจำที่โรงพยาบาลโคกโพธิ์ในจังหวัดเดียวกันอีกหนึ่งปี หลังจากนั้นผมย้าย
กลับมาที่บ้านเกิดจังหวัดนครศรีธรรมราชและทำงานเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาล
ท่าศาลาต่อประมาณ 10 ปีแล้วจึงลาออกจากงานมาทำธุรกิจส่วนตัว
สำหรับเรื่องของชีวิตครอบครัว ผมได้สมรสกับด็อกเตอร์สมพรที่เป็นพยาบาลจาก
โรงพยาบาลรามาธิบดี พวกเราเจอกันตอนที่เธอไปทำงานใช้ทุนในจังหวัดสงขลา
บุตรทั้งสามคนอยู่ในสายการแพทย์ทั้งหมด ลูกชายคนโตอายุ 27 ปีเป็นเภสัชกรที่
จบจากมหาวิทยาลัยศิลปากร ลูกชายคนที่สองอายุ 22 ปีกำลังเรียนทันตแพทย์ปีสี่
ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ลูกสาวคนสุดท้องอายุ 20 ปีได้รับทุน ODOS และกำลัง
ศึกษาแพทย์ปีหนึ่งที่มหาวิทยาลัยโอ๊คแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์
ครอบครัวของเราเติบโตมากับธรรมชาติในชนบท เห็นป่าไม้และทะเลตั้งแต่ยังเป็น
เด็ก พวกเราจะไปท่องเที่ยวด้วยกันปีละ 2 ครั้ง ขับรถแบบสบายๆ ไปที่หลายๆ
จังหวัดในประเทศไทย คอยสังเกตเรียนรู้เกี่ยวกับผู้คนและการดำเนินชีวิตที่ต่างกัน
ลูกชายและลูกสาวจะได้เห็นมุมมองที่กว้างมากกว่าเดิมเกี่ยวกับผู้คนจะได้มีการ
พัฒนาด้านการเป็นผู้นำได้อย่างเป็นธรรมชาติ
จากการที่ได้สังเกตลูกชายลูกสาวทั้งสามคนแล้วผมรู้สึกภูมิใจในหลายๆประการ
ตอนที่ลูกชายคนโตกำลังเรียนเภสัชศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร วันหนึ่งเขา
โทรมาบอกว่าต้องไปเยี่ยมเพื่อนที่ป่วยเข้าโรงพยาบาลและต้องไปนอนค้างคืน
ก่อนที่แม่ของเพื่อนจะมาถึงโรงพยาบาล ผมรู้สึกมีความสุขที่ลูกชายทราบว่า
เพื่อนไม่มีความสุขและพยายามดูแลเพื่อนให้มากเท่าที่จะทำได้ ลูกชายลูกสาวทั้ง
3 คนเป็นคนมีมนุษย์สัมพันธ์ดีและมีเพื่อนเยอะ ในช่วงวันหยุดหน้าร้อนเพื่อนๆจะมา
เยี่ยมที่บ้านในจังหวัดนครศรีธรรมราช ปีที่เพื่อนร่วมชั้นของลูกสาวทั้ง 24 คนมา
เยี่ยมบ้านเพื่อจัดงานเลี้ยงอำลาและค้างคืนเป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่จะแยกย้ายกันไป
เรียนต่อในสถาบันการศึกษาที่ต่างกัน
จานีน: คุณหมอมีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง
รังสิต: ผมจะพยายามทำให้ดีที่สุดในทุกๆ ด้าน พยายามลดผลประโยชน์ส่วนตัว
และช่วยเหลือสังคมให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม ผมเชื่อว่า
ทุกคนอยู่ในมิติทางสังคมที่ต่างกันและพวกเราสามารถทำหลายๆ สิ่งเพื่อช่วยเหลือ
สังคมของเราให้ดีกว่าเดิม อย่างน้อยที่สุดเราต้องคิดบวกและทำสิ่งที่ถูกต้อง
จากนั้นทุกสิ่งจะดีขึ้นในที่สุด
จานีน: คุณหมอมีความคิดเห็นทั่วไปเกี่ยวกับสังคมไทยอย่างไรบ้าง
รังสิต: จากประสบการณ์ของผมมีสามประการในสังคมไทยที่จะต้องได้รับการ
แก้ไขให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ประการแรกคือบางคนกลัวที่จะตัดสินใจและทำ
บางสิ่งบางอย่างด้วยตนเอง บางครั้งก็ชอบตามความคิดเห็นของคนอื่นแม้จะรู้ว่ามัน
ไม่ถูกต้องและไม่มีสาระ อีกทั้งยังไม่กล้าที่จะคิดออกนอกกรอบแม้ว่าสิ่งนี้จะเป็น
ทางที่ดีกว่าก็ตาม ประการที่สองบางคนคิดทฤษฎีที่เป็นประโยชน์มากมายแต่ไม่
ยอมทำอะไรที่เป็นประโยชน์ในสถานการณจริง บางครั้งก็ใช้เวลาคิดมากเกินไป
และจงใจละทิ้งความคิดใหม่ๆ ยึดติดกับความคิดโบราณที่ใช้การไม่ได้อีกแล้ว ทำ
ให้เป็นคนคิดย่ำอยู่กับที่และผลงานที่ออกมาขาดภูมิความรู้ใหม่และไม่มีความ
หลากหลาย ประการสุดท้ายหลายคนกลายเป็นนักรบคีย์บอร์ดที่ไม่สามารถจะสู้
หน้าคนอื่นในชีวิตจริงได้ พวกเขาไม่ยอมรับฟังความเห็นดีๆ จากคนอื่นๆ โต้เถียง
โดยใช้เหตุผลที่ไม่เป็นความจริงโดยที่ไม่ยอมรับสิทธิพื้นฐานของมนุษย์ท้ายที่สุด
นี้ผมหวังว่าทุกคนจะรักษาสิทธิ์ตนเอง เคารพสิทธิผู้อื่นและมีความคิดสร้างสรรค์
มากขึ้น
จานีน: สำหรับคำถามสุดท้าย คุณหมออยากจะบอกอะไรเกี่ยวกับประสบการณ์ที่
น่าจดจำและมีคุณค่าสำหรับคุณและทีมงานที่คุณไม่อยากจะลืม
รังสิต: ผมอยากจะเรียกเรื่องนี้ว่า "เมื่อตากล้องกลายเป็นแกนนำช่วยน้ำท่วม"
เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2554 แต่ขอให้ผมพากลับไปยังปลายปี
พ.ศ. 2553 ก่อน ในตอนนั้นจังหวัดนครศรีธรรมราชประสบภัยน้ำท่วมหนัก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณเชิงเขาหลวง ผมเป็นหัวหน้ากลุ่มที่ต้องคิดกลวิธีต่างๆ
เพื่อช่วยเหลือชาวบ้าน เราจัดตั้งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่คอยช่วยเหลือคนที่ยังไม่ได้
รับความช่วยเหลือและเสบียงของใช้จากรัฐอันเนื่องมาจากข้อผิดพลาดในบัญชี
รายการมอบความช่วยเหลือ สมาชิกหลายท่านในชมรมเป็นแพทย์ พยาบาล
เภสัชกร และทันตแพทย์ พวกเราเปิดรับเงินบริจากจากเว็บกรุงชิงที่ผมดูแลอยู่ เรา
ได้รวบรวม เงินบริจาคได้มากกว่า 45,000 บาท จัดตั้งกองทุนที่เรียกว่า "กองทุน
ช่างภาพช่วยน้ำท่วม" มีคณะกรรมการสามท่านที่ดูแลเรื่องเงินบริจาคนี้ พวกเรา
เคลื่อนย้ายไปยังหมุ่บ้านที่อยู่ห่างไกลและทีมนักถ่ายภาพของเราช่วยกันบรรจุ
อาหาร ยารักษาโรคและเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มใส่ลงในถุงส่งไปทางรถปิ๊กอัพ เราทำ
เช่นนี้ด้วยใจบริการและมีความสุขไปด้วย หลังจากที่เราเดินทางไปยังหมู่บ้าน
ห่างไกลเป็นครั้งที่ 4 ระดับน้ำลดลงจนถึงระดับปกติถือว่าภาระกิจของเราประสบ
ความสำเร็จ เงินทุนเหลืออยู่ประมาณ 25,000 บาท
สามถึงสี่เดือนต่อมา ประมาณวันที่ 20 – 22 มีฝนตกหนักต่อเนื่องปริมาตร 2,000
มิลลิเมตรกินเวลา 7 วัน น้ำจากเขาหลวงและเขาน่านไหลท่วมพื้นที่ตำบลกรุงชิง
อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช แผ่นดินถล่มสร้างความเสียหายให้กับ
บ้านเรือน ถนนหนทาง สะพาน สายโทรศัพท์ สายไฟฟ้า และท่อประปา การ
สื่อสารถูกตัดขาดอย่างสิ้นเชิง
กลุ่มไกด์ทัวร์ที่เรียกว่า"ทาร์ซาน" มาพูดคุยกับผมและหัวหน้ากลุ่มที่เรียกว่า
ทาร์ซานบอยกล่าวว่าเขาจะเข้าพื้นที่กรุงชิงโดยใช้ทางถนนและสามารถข้ามแม่น้ำ
อันเชี่ยวกรากโดยใช้เชือกและได้ถ่ายภาพสถานที่จริงมาให้ชุดหนึ่ง ผมรีบส่งภาพ
เหล่านั้นขึ้นเว็บไซต์ของผมทันทีและย้ายทีมช่วยเหลือไปยังสวนฝากฟ้าที่ผมเคย
ไปปลูกต้นไม้ไว้เมื่อนานมาแล้ว สถานที่แห่งนี้ใช้เป็นจุดประสานงานกับอาสาสมัคร
ในพื้นที่ พวกเราปรุงบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและแจกจ่ายทุกคนในบริเวณนั้น ทุกวันพวก
เราออกผจญภัยช่วยเหลือชาวบ้านและเจ้าหน้าที่แพทย์อาสาสมัครเคลื่อนเข้าพื้นที่
โดยใช้ทางถนน
ผมยังใช้เฟสบุ๊คแพร่กระจายข่าวและติดต่อคุณจี๊ด จิระนันท์ พิตรปรีชา และกลุ่มนัก
ถ่ายภาพทั่วทั้งประประเทศไทย พวกเราได้รับความร่วมมือช่วยเหลือดีมาก
ภาพถ่ายบริเวณที่เสียหายถูกนำไปจัดนิทรรศการที่เรียกว่า"น้ำใต้ น้ำตา น้ำใจ"ที่
ศูนย์สรรพสินค้าพารากอน พวกเราใช้สื่อโทรทัศน์และหนทางต่างๆที่มีอยู่รวมทั้ง
กลุ่มนักถ่ายภาพในหลายๆ จังหวัดเพื่อสมทบทุนโครงการนี้ ในเวลานี้ยอดเงิน
บริจาคมีมากกว่า 2,500,000 บาทอยู่ใน "กองทุนช่างภาพช่วยน้ำท่วม"
อาสาสมัครที่สังเกตตรวจตราความเสียหายและช่วยเหลือซ่อมแซมระบบประปา
ภูเขาสำหรับ 11 หมู่บ้านในหุบเขากรุงชิงได้ประสบความสำเร็จ ต่อมาหน่วยงานรัฐ
และองค์กรเอกชนต่างๆ เข้ามาร่วมมือกับเรา
นี่อาจเป็นครั้งแรกที่กลุ่มของช่างภาพเป็นผู้นำหลักที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากภัย
ธรรมชาติครั้งที่ใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย นอกเหนือไปจากนี้
นอกจากนี้เงินกองทุนที่เหลืออยู่ในขณะนั้นสามารถนำไปสนับสนุนภัยภิบัติที่อื่น ๆ
อีกหลายแห่ง เช่น น้ำท่วมใหญ่กรุงเทพและพื้นที่ภาคกลาง น้ำท่วมแม่สอด น้ำ
ท่วมสังขละบุรี น้ำท่วมจังหวัดสระแก้ว และไฟป่าแก่งกระจาน เป็นต้น
สำหรับผมและทีมงานแล้ว นี่เป็นงานที่สำคัญอย่างมากและเติมเต็มความปรารถนา
ให้กับชีวิต
|