เมื่อดิฉันติดต่อคุณณรงค์ วรรณสาเพื่อขอสัมภาษณ์ ดิฉันพบว่าคุณณรงค์ไป สอนศิลปะเด็กนักเรียนหลายๆ โรงเรียนในเขตชุมชนนอกตัวเมือง คุณณรงค์ บอกกับดิฉันว่าเขาอยากจะมอบบางสิ่งให้กับสังคมโดยที่ไม่ต้องอาศัยเงิน งบประมาณ เพื่อการนี้เขาปฎิเสธไม่รับเงินค่าจ้างเมื่อตอนที่เขาไปสอนนักเรียน ยากจนที่ขาดเงินทองและโอกาส นักเรียนมาจากโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 27 ในจังหวัดหนองคาย ความตั้งใจหลักของเขานั้นทำเพื่อในหลวง
ในความคิดของดิฉัน งานของคุณณรงค์นั้นค่อนข้างแตกต่างจากนักศึกษา ศิลปะในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่สังเกตุได้คือวิธีการใช้สีและแนวคิด เรื่องกายวิภาคนั้นประทับใจดิฉันมาก ตามที่ได้เห็นในผลงานชุดหลังๆ สัตว์ที่ เขาชื่นชอบในการวาดมากที่สุดคือควาย จากมุมมองของอดีตจนถีงปัจจุบัน ควายยังคงเป็นเพื่อนที่ดีของชาวนาไทยที่ปลูกข้าว มีสุภาษิตไทยเก่าแก่แนว
ตลกขบขันบทหนึ่งที่พูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างนกเอี้ยงและควายไว้ว่า "นกเอี้ยงมาเลี้ยงควายเฒ่า ควายกินข้าวนกเอี้ยงหัวโต" สุภาษิตบทนี้สอนให้ เด็กอย่าทำตัวขี้เกียจเหมือนนกเอี้ยงบนหลังควาย ภาพลักษณ์ของนกเอี้ยงเลย ถูกมองไปในแง่ลบ แต่ในความเป็นจริงแล้วการอาศัยอยู่ของนกเอี้ยงนั้นสำคัญ ต่อควายเพราะนกเอี้ยงจะช่วยขับไล่แมลงต่างๆ ที่จะเป็นอันตรายแก่ควาย ออกไป แมลงต่างๆเหล่านี้จะเป็นอาหารอันโอชะสำหรับนกเอี้ยงอีกด้วย ฝูงนก เอี้ยงบนหลังควายส่งเสียงดังมาก บางครั้งก็จิกตีพวกเดียวกันเองแต่นี่ดู เหมือนว่าจะไม่ได้รบกวนควายเลยไม่ว่าในทางใดก็ตาม
|
วันหนึ่งศิลปินคุณศุภวัตร ทองละมุล มาที่บ้านดิฉันเชียงใหม่ เพื่อมาหา น้องชายของดิฉันหลังจากการไปเขียนภาพฝาผนังที่วัดต่างๆในภาคตะวันออก เฉียง เหนือของประเทศไทยเป็นเวลาแปดเดือน ตอนที่ดิฉันพบคุณศุภวัตร ก็ เลยถามถึงคุณณรงค์ วรรณสา ดิฉันรู้สึกสนใจถึงโครงงานศิลปะที่คุณณรงค์ กลับมาทำต่อและดิฉันยังไม่แน่ใจว่าผลงานเหล่านี้จัดทำโดยทีมงานเดียวกัน หรือไม่ ในตอนที่คุณณรงค์รอคุณแม่ของเขาที่โรงพยาบาล เขาวาดเสือแปดตัว ลงบนเฟรมผ้าใบและต่อมาเขาได้ลงภาพนั้นทาง Facebook ดิฉันพูดคุยกับเขา สั้นๆเกี่ยวกับภาพนี้และเขาบอกว่าภาพนี้ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ดิฉันไม่ค่อยทราบ อะไรมากเกี่ยวกับคุณณรงค์ ประวัติส่วนตัว การศึกษาและผลงานที่ผ่านมา ใน ตอนแรกดิฉันขอให้คุณศุภวัตรติดต่อคุณณรงค์เพื่อขอทำการสัมภาษณ์ โชคดี ที่คุณณรงค์ตอบตกลงในขณะที่ตอนนั้นเขาเขายังมีภาระหน้าที่ไปเป็นครูสอน ศิลปะในโรงเรียน และต้องเดินทางทุกวัน คุณณรงค์ตอบว่าเขาได้เงินค่าซื้อ วัสดุอุปกรณ์มาไม่มากนักแต่เขาก็เต็มใจจะไปที่จังหวัดหนองคาย
จานีน: ดิฉันอยากทราบเรื่องราวชีวิตของคุณตอนเป็นเด็กและเรื่องการศึกษา
ณรงค์: เมื่อตอนที่ผมยังเป็นเด็ก คุณแม่ส่งผมไปโรงเรียนประจำเป็นเวลา 12 ปี ตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 1 จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนแห่งนั้นมีชื่อว่า โรงเรียนสงเคราะห์ธวัชบุรีและโรงเรียนตั้งอยู่ที่จังหวัดร้อยเอ็ด พ่อแม่ของผมมี บุตรสามคน และผมเป็นคนเดียวที่ถูกส่งไปเรียนที่ต่างจังหวัดเพราะคุณแม่ ทราบว่าผมรักการวาดรูป จนถึงทุกวันนี้ผมส่งผลงานมากกว่าร้อยชิ้นเข้าร่วม ประกวดในการแข่งขันทางศิลปะหลายๆงาน 13 ปีที่แล้วผมได้รับรางวัลที่สอง การงานประกวดผลงานศิลปะที่จัดโดยองค์การสหประชาชาติ หัวข้อของงาน คือประชากรและสิ่งแวดล้อม ต่อมาผมได้รางวัลอันดับสองอีกครั้งหนึ่งจากการ แข่งขันออกแบบโปสเตอร์ ในเวลานี้คนที่ได้อันดับหนึ่งเป็นชาวแอฟริกัน นี่เป็น
|
แรงบันดาลใจให้ผมเลือกวิธีการใช้ชีวิตด้วยตัวเอง หลังจากที่ผมจบจาก โรงเรียนแล้วผมตัดสินใจศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตบางแสน พัทยา เพราะความสะดวกสบายมากกว่าในการหาห้องพักและผมสามารถ บริหารค่าเดินทางได้ดีกว่า ในตอนที่ผมเรียนอยู่ก็ทำงานหาเงินเพื่อเลี้ยงดู ตนเองไปด้วยโดยที่ไม่มีผลกระทบกับการเรียน ในปีที่สามผมโอนหน่วยการ เรียนไปเป็นนักเรียนเปลี่ยนในมณฑลยูนนาน ประเทศจีนเป็นเวลา 1 ภาค การศึกษา มหาวิทยาลัยที่ผมไปเรียนคือมหาวิทยาลัยต้าหลี่ อาจารย์ใน ภาควิชาศิลปะเป็นศิลปินจริงๆ และทุกท่านเมตตาผมมาก ต้าหลี่เป็นเมืองแห่ง ศิลปะที่สวยงามและวิวทิวทัศน์ตระการตา อาหารการกินที่นั่นก็ดีเช่นเดียวกัน เหตุผลต่างๆ เหล่านี้ทำให้ผมยืดเวลาการศึกษาและจบปริญญาตรีที่นั่น ในปี พ.ศ. 2534 ผมจัดงานนิทรรศการเดี่ยวขึ้นในเมืองต้าหลี่และภาพเขียนของผม ถูกขายไปเกือบทั้งหมด ผมนำติดตัวกลับมาสองสามรูปไว้เป็นที่ระลึก อาจารย์ มากล่าวอำลาที่สนามบินในวันสุดท้ายที่ผมอยู่ในประเทศจีน และหนึ่งในนั้นได้ มอบคำแนะนำทิ้งท้ายเอาไว้ว่าศิลปินคนไหนก็ตามสามารถวาดภาพเหมือนได้ ถ้าได้รับการฝึกฝนอย่างเพียงพอแต่จะดีกว่ามากถ้าเขาไปค้นหาความเป็น เอกลักษณ์เฉพาะตัว
|
จานีน: คุณคิดเห็นอย่างไรกับความมีเอกลักษณ์ในวัฒนธรรมไทยภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ
ณรงค์: ทิวทัศน์ภูมิประเทศเช่นภูเขา ป่าไม้ นาข้าว แสดงถึงภาพที่เป็น เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ผมเริ่มมี ความคิดว่าควายสามารถเป็นตัวแทนในเรื่องนี้ได้ และนี่ก็ยังเป็นแรงบรรดาลใจ จากครอบครัวของผมในจังหวัดกาฬสินธ์ เมื่อตอนที่ผมยังเด็กผมเห็นควายและ ชาวนาอยู่ในนาข้าว ไม่เพียงแค่นั้นป่าไม้และนกยังแตกต่างไปจากภาคอื่นๆใน ประเทศไทยอีกด้วย ผมลองวาดสัตว์ต่างๆเช่นช้าง ม้า วัว ควาย แต่ท้ายที่สุด ผมก็เลือกวาดควายในหลายๆฉากและอิริยาบถต่างๆ เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวและ อารมณ์ความรู้สึก เขาควายเป็นเหมือนกิ่งไม้ ผมเคยเห็นฝูงนกเอี้ยงบนหลัง ควาย ภาพเขียนบางภาพของผมก็มีงู วิวทิวทัศน์ของป่าไม้ในเขตภาคอีสานนั้น แตกต่างไปจากป่าไม้ที่อื่นๆ สิ่งที่ผมพยายามใช้มากที่สุดในการเขียนคือความ เป็นส่วนตัว และลักษณะเฉพาะในรูปแบบเดียวกันกับจิตวิญญาณอันลึกซึ้งของ คนไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาพเขียนในปัจจุบันของผมทั้งหมดนั้นถูก สร้างและประยุกต์มาจากประสบการณ์ในวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ของผมเอง
|
ผมคิดว่าควายเป็นสัตว์ที่ซื่อสัตย์และอดทน พวกมันไม่ทำร้ายใครและมีนิสัย น่ารัก ดวงตาและรูปร่างภายนอกดูจริงใจ เป็นมิตรกับคนและสิ่งแวดล้อม ภาพเขียนรูปควายนี้เป็นที่นิยมสำหรับชาวต่างประเทศมากและขายได้ราคาสูง นักสะสมงานศิลปะหลายๆคนเข้าใจดีว่ามันยากเย็นแค่ใหนที่จะสร้างสรรค์ ผลงานที่โดดเด่นด้วยความอดทนและประณีตในวิถีของชาวอีสาน นอกเหนือ จากผมแล้วยังมีศิลปินที่โดดเด่นอีกหลายท่านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ประเทศไทย ทุกคนพยายามที่จะใส่จิตวิญญานของชาวอีสานลงในผลงานและ ผลงานเหล่านั้นก็น่าสนใจเช่นเดียวกัน งานของศิลปินอีสานนั้นเลยระดับ ประเทศไปแล้ว แต่ในบางครั้งคนในประเทศก็ไม่ค่อยให้ความสำคัญเท่าไหร่ สำหรับตัวของผมเองแล้วผมยังไปเขียนฝาผนังและกำแพงวัดต่างๆ ตาม บ้านเรือนและโรงเรียนต่างๆ บางครั้งผมไปเป็นครูสอนศิลปะในหลายๆโรงเรียน ในจังหวัดต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผมถือว่างานลักษณะนี้เป็นการ อุทิศเวลาและจินตนาการในการสร้างสังคมที่ดีงามและมั่นคงกว่าและยังเป็น แรงบันดาลใจให้นักเรียนเป็นศิลปินที่ดีในวันหนึ่งตามที่พวกเขาปรารถนา
จานีน: ดิฉันอยากทราบเรื่องของงานนิทรรศการที่เคยจัดในอดีตและจะจัดขึ้น อีกในอนาคต
ณรงค์: งานแรกคือนิทรรศการเดี่ยวที่เมืองต้าหลี่ งานที่สองจัดขึ้นที่ Opium Gallery ในพัทยาใต้ สถานที่แห่งนี้มีผู้สนับสนุนชาวต่างประเทศหลายคน งาน ที่สามจัดขึ้นที่พระนครบาร์และงานครั้งล่าสุดคืองานที่หอศิลป์จามจุรีที่จัดขึ้น เป็นเวลาหนึ่งเดือนในกรุงเทพ
มีข่าวดีสำหรับทุกคนและผมรู้สึกตื่นเต้นที่จะบอกว่าในปีหน้าพ.ศ. 2558 ที่จะ ถึงนี้ ณรงค์ วรรณสา คุณศุภวัตร ทองละมุล จะจัดงานนิทรรศการร่วมที่สถาน กงสุลอเมริกันประจำประเทศไทย ตอนนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการเตรียมงานและคิด ว่าคงเป็นเวลาที่ดีสำหรับผู้รักงานศิลปะ ศิลปินสองท่านที่มาจากอีสานที่เขียน ภาพฝาผนังและกำแพงวัดจะกลับมาทำนิทรรศการด้วยกัน และผมจะรายงาน เรื่องงานนิทรรศการที่จะมีขึ้นนี้ในโอกาสต่อไป
|