เป็นเวลาหลายสิบปีแล้วที่อาจารย์พงษ์เดช ไชยคุตรอุทิศเวลาให้กับการ สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะอย่างต่อเนื่อง ในบางโอกาสดิฉันได้มาร่วมพิธีเปิดงาน นิทรรศการศิลปะที่หอนิทรรศการศิลปะวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาจารย์ พงษ์เดชเป็นคณบดีคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มากกว่า 12 ปี ดิฉันได้ เห็นการ สนับสนุนสถาบัน องค์กรเอกชนและศิลปินอิสระโดยให้จัดแสดงผลงานที่ หอนิทรรศการศิลปะวัฒนธรรม อย่างมาก
ดิฉันทราบว่างานภาพพิมพ์เป็นงานศิลปะแขนงที่อาจารย์พงษ์เดชชอบมากที่สุด และเห็นความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างผลงานของท่านและของศิลปินคนอื่นๆ นี่ เป็นความตั้งใจในการที่จะสะท้อนถึงสังคมที่อยู่ยากขึ้นและไม่มีความแน่นอนใน ปัจจุบันเพราะว่าเรายังต้องค้นหาทางแก้ไขที่ถูกต้อง
ดิฉันมีนัดหมายที่แพรวาสตูดิโอที่อาจารย์พงษ์เดชจัดที่พักให้กับศิลปินที่มาเยือน จากทั่วโลกที่มาทำเวิร์คช็อปหรือเป็นอาจารย์พิเศษให้กับมหาวิทยาลัย ดิฉันเดิน เข้าไปในสตูดิโอและเห็นภาพพิมพ์ที่น่าสนใจอยู่บนผนัง หลายๆภาพถูกทำขึ้นตอน ที่อาจารย์เดินทางไปที่ประเทศโปแลนด์หลังจากได้รับปริญญาตรีและปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยศิลปากร
ผลงานได้รับรางวัล
- รางวัลที่ 3 (ภาพพิมพ์) จากงานศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 29 - รางวัลเกียรติยศ นิทรรศการศิลปะจัดโดยบริษัทบาจา จำกัด - ได้รับทุนจากสถานทูตประเทศโปแลนด์ พ.ศ. 2530 -2531 - ได้รับทุนฟรีแมน เฟลโล่ว์ชิพ ประเทศสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2541 (ศูนย์เวอมอนต์ สตูดิโอ) - เป็นศิลปินที่ได้รับเลือกสำหรับโครงการเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปีพ.ศ. 2542
จานีน: อยากให้อาจารย์เล่าเรื่องราวของตัวเอง
พงษ์เดช: ตอนเด็กผมชอบที่ทำงานศิลปะและเมื่อผมโตขึ้นก็เลยไปเรียนศิลปะที่ วิทยาลัยช่างศิลป์ กรมศิลปากร ผมได้รับวุฒิการศึกษาปริญญาตรีจากคณะ จิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพมหานคร หลังจากนั้นผมไปเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคงคลล้านนาอยู่ช่วงหนึ่ง จากนั้นผมตัดสินใจเรียนต่อที่ มหาวิทยาลัยศิลปากรอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่จบปริญญาโทจากที่นั่นก็ได้รับทุน จากรัฐบาลประเทศโปแลนด์ให้ไปเรียนเรื่องภาพพิมพ์ที่เมืองคราคอฟ ประเทศ
|
โปแลนด์ ในช่วงเวลาที่ผมอยู่ในยุโรปก็ได้เดินทางไปหลายประเทศเช่น ฝรั่งเศส อิตาลี ฮอลแลนด์ ยูโกสลาเวีย เยอรมนีและออสเตรีย ในตอนนั้นโปแลนด์ยังเป็น ประเทศสังคมนิยมอยู่ซึ่งแตกต่างจากในปัจจุบันมาก ผู้คนยืนเข้าแถวเป็นคิวยาว เพื่อซื้อสิ่งของจำเป็นและหลายคนมีฐานะยากจนมาก ผลงานส่วนมากของผมใน ตอนนั้นสะท้อนสังคม การเมืองและเศรษฐกิจของประเทศโปแลนด์ ในปีพ.ศ. 2531 ผมจัดแสดงผลงานในประเทศญี่ปุ่น 3 แห่งและที่ Youth Art Galleryที่ จังหวัดฮิโรชิม่า ประเทศญี่ปุ่น ผมขอเรียกงานนี้ว่า “One Man Exhibition”ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 – 2557 ผมเดินทางไปแสดงผลงานในประไทยและประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นที่ผมเดินทางไปจัดงานนิทรรศการหลายครั้ง
จานีน: อยากทราบเรื่องของแพรวา อาร์ต สตูดิโอ
พงษ์เดช: สตูดิโอแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อเก็บสะสมผลงานของผมเป็นห้องแสดงภาพ ส่วนตัว มีที่พักฟรีสำหรับศิลปินจากต่างประเทศ ศิลปินที่มาที่เชียงใหม่มีสถานที่ สำหรับการพบปะพุดคุยและทำงานร่วมกัน ในช่วงเวลานี้มีศิลปินต่างชาติจาก ประเทศญี่ปุ่น เยอรมนีและโปแลนด์ บางส่วนยังได้ช่วยเหลือโครงการทางวิชาการ ให้กับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่อีกด้วย
จานีน: ในฐานะที่เป็นผู้บรรยายและศิลปิน อาจารย์คิดอย่างไรกับศิลปะในเชียงใหม่
พงษ์เดช: ในความคิดของผมศิลปะร่วมสมัยในจังหวัดเชียงใหม่มีความแตกต่าง มากจากเมื่อ 30 ปีที่ผ่านมา ศิลปินในห้องถิ่นและจากต่างประเทศเข้ามาจัด นิทรรศการอยู่ตลอดทั้งปีที่หอนิทรรศการศิลปะวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และที่ห้องแสดงงานศิลปะหลายแห่งในจังหวัดเชียงใหม่ จึงกล่าวได้ว่าจังหวัด เชียงใหม่เป็นเมืองของศิลปะร่วมสมัยอย่างแท้จริง เป็นหน้าที่ของผมที่จะให้ความ ช่วยเหลือในนามของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผมเป็นคนหนึ่งที่ได้สนับสนุนให้เมืองเชียงใหม่อยู่ในบัญชีมรดกโลก อีกไม่นาน เชียงรายก็จะเป็นจังหวัดที่เชื่อมต่อกับหลายๆประเทศที่อยู่บริเวณแม่น้ำโขง นอกเหนือจากนี้มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงจังหวัดเชียงรายก็จะเปิดภาควิชา “Creative Art and Design” จังหวัดเชียงรายมีสถานที่หลายแห่งที่น่าสนใจ เกี่ยวกับงานศิลปะและสถาปัตยกรรม เช่นพิพิธภัณฑ์บ้านดำของอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี และวัดร่องขุ่นของอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ และขัวศิลปะจังหวัด เชียงราย มีกิจกรรมมากมายอยู่ตลอดทั้งปี ผมคิดว่าจังหวัดเชียงรายนั้นได้จัดตั้ง ถนนสายศิลปินขึ้นมาเป็นเวลานานแล้ว
|