ท่านเป็นบุตรของเรือเอกรื่นและนางทองหล่อ นิรันต์ บิดาของท่านรับราชการ เป็นทหารเรือ ท่านเกิดวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 ที่กรุงเทพมหานคร
มีสิ่งที่น่าชื่นชมหลายอย่างที่ดิฉันอยากจะพูดถึงศิลปินแห่งชาติท่านนี้ คุณพิชัย นิรันต์ อย่างแรกก็คือภาพวาดสีน้ำมันของท่าน วิธีการที่ท่านสื่อความหมายโดย ใช้สีน้ำมันในภาพวาดและรายละเอียดอันเฉียบแหลมที่ท่านค่อยๆใส่ลงไปใน แต่และภาพนั้นมีความน่าสนใจมาก อย่างที่สองคือความอุทิศตัวของท่านต่อ งานศิลปะ ทุกวันนี้ท่านยังคงทำงานศิลปะอยู่ ถึงแม้ว่าคุณพิชัยจะทำงานหนัก และขยัน แต่ความต้องการของนักสะสมที่ต้องการซื้อหารูปของท่านยังคงสูง มาก บางครั้งท่านใช้เวลามากกว่า 1 ปี ที่จะวาดรูปภาพรูปนึงให้เสร็จเพราะว่ามี ภาพวาดอีกหลายภาพที่ต้องวาดในเวลาเดียวกันเนื่องจากมีคำร้องขอที่ยังค้าง อยู่มาก ราคาภาพเขียนของท่านค่อนข้างสูงโดยเฉพาะภาพขนาดใหญ่ ซึ่งมี ราคามากกว่าหนึ่งล้านบาท ท่านเป็นคนผู้หนึ่งที่มีผู้เรียกว่าศิลปินสุภาพบุรุษ ซึ่งได้มาจากการที่ท่านเป็นผู้ที่มีอัธยาศัยดีและสุภาพอ่อนโยน
|
ในวันที่พบกับคุณพิชัย ดิฉันถามท่านเกี่ยวกับวิธีการใช้สีในภาพวาด ท่านบอก ว่าการใช้สีนั้นขึ้นอยู่กับความคิดจิตใจที่จะกำหนดผลลัพธ์ของงานที่อยากจะให้ เป็น ในความคิดของดิฉันคำแนะนำที่ดูเรียบง่ายต้องอาศัยความรู้ที่ละเอียด ลึกซึ้งและและประสบการณ์ในด้านศิลปะ ท่านบอกกับดิฉันว่าตอนที่ท่านยังเด็ก ท่านโชคดีมากที่เพื่อนซื้อสีที่ดีและราคาแพงจากต่างประเทศแล้วมาแบ่งกันใช้ ท่านได้เข้าไปเรียนที่มหาวิทยาลัยศิลปากรและเป็นลูกศิษย์ของศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรีชาวอิตาเลียน ท่านมองดูภาพเก่าของท่านและเพื่อนๆแล้วพูดถึง เพื่อนบางคนในภาพที่เคยทำงานด้วยกัน หลายคนเสียชีวิตแล้วไปเนื่องจาก เป็นผู้สูงวัย ท่านได้เล่าให้ดิฉันฟังถึงรูปแบบการทำงานที่เพื่อนๆท่านชอบใช้ และประเภทงานศิลปะที่พวกเขาเหล่านั้นทำได้
เมื่อเพิ่มความสนใจที่มากกว่าเดิม ดิฉันมองไปที่ภาพถ่ายของคุณพิชัย เพื่อน ของท่านและศาสตราจารย์ศิลป์ เพื่อนของท่านบางคนมาจากต่างคณะแต่ทุก คนก็รักงานศิลปะเช่นกัน ดิฉันบอกคุณพิชัยว่าเพื่อนท่านหน้าตาดีและทุกคน ได้รับการสอนศิลปะและแนวคิดทางศิลปะในสไตล์ยุโรป จากนั้นจึงเปลี่ยน หัวข้อไปพูดถึงเรื่องอาจารย์ศิลป์ คุณพิชัยบอกว่าศาสตราจารย์ศิลป์เป็นผู้ที่ อุทิศตนเองช่วยเหลือนักศึกษาที่เรียนดีแต่ยากจน คุณพิชัยก็เป็นหนึ่งใน นักศึกษากลุ่มนั้นที่ศาสตราจารย์ศิลป์ช่วยเหลือทางการเงินโดยการหา ทุนการศึกษาค่าเล่าเรียนและค่าอุปกรณ์วาดรูปจากบุคคลภายนอก ศาสตราจารย์ศิลป์ต้องการให้คุณพิชัยจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยและเป็น ศิลปินทึ่ดีในอนาคตเพราะศาสตราจารย์ศิลป์มองเห็นความมุ่งมั่น ความมุ่งมั่น ความคิดสร้างสรรค์และพรสวรรค์ทางศิลปะที่หาได้ยาก
|
คุณพิชัยได้รับเหรียญทองแดงสาขาจิตรกรรมจากงานประกวดศิลปกรรม แห่งชาติครั้งที่ 11 ตอนที่ท่านยังเป็นนักศึกษาในปีพ.ศ. 2503 ชื่อของ ภาพเขียนชิ้นนั้นคือ “จุดจบ (The End)” ศาสตราจารย์ศิลป์กล่าวกับแขกที่มา ในงานนิทรรศการและกล่าวชื่นชมคุณพิชัยว่า “เราเชื่อว่าศิลปินหนุ่มผู้นี้มี คุณสมบัติ ซึ่งถ้าได้นำออกมาใช้แล้วก็อาจทำงานศิลป์ได้ดียิ่ง” (ประโยคนี้ ได้รับการบันทึกจากศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีจากสูจิบัตรงานประกวด ศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 12 ปีพ.ศ. 2504) เมื่องานนิทรรศการปีพ.ศ. 2503 จบลงอาจารย์ศิลป์ได้นำภาพนี้ไปแขวนในสำนักงานที่มหาวิทยาลัยศิลปากร และในตอนนี้ภาพนี้ก็ยังอยู่ที่เดิม
|
คุณพิชัย นิรันต์ไม่เคยหยุดสร้างสรรค์งานศิลปะ ท่านได้กล่าวถึงเรื่องนี้ใน หนังสือหลายเล่ม “ผมรู้สึกว่าการทำงานศิลปะช่วยให้ผมตระหนักถึงคุณค่าที่ แท้จริงของชีวิต ถ้าผมหยุดทำงานศิลปะ ผมคงรู้สึกเหี่ยวแห้งอับเฉา” ใน ปัจจุบันนี้คุณพิชัยงานของคุณพิชัยจะเน้นไปที่รูปรอยพระพุทธบาทที่มีสีสัน สดใส และปรัชญาทางศาสนาพุทธ ภาพเหล่านี้จะเป็นภาพนามธรรมแต่ภาพ บางส่วนก็เป็นภาพวิวทิวทัศน์และภาพดอกไม้ เมื่อมองไปยังภาพเหล่านี้เราเห็น ว่าดอกบัวบาน นก และปลาเป็นสัญลักษณ์ที่ท่านใช้ในงานเขียนหลายชิ้นซึ่งมี ความหมายบอกเป็นนัยถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าเช่นวงจรชีวิตของมนุษย์และ สัตว์ และภาพพระพุทธรูป ท่านเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดวาดภาพรอยพระพุทธบาท ผลงานที่เป็นที่รู้จักก็คือ วัฏจักรแห่งชีวิต (ภาพเขียน) ดวงตาธรรม (พ.ศ. 2548 งานประติมากรรม) เจตสิกนคร (พ.ศ. 2550 สื่อผสม)
|
คุณพิชัยได้จัดแสดงผลงานในหลายๆประเทศเช่นประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา (นิวยอร์ค) และกรุงปักกิ่ง (ประเทศ จีน) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 – พ.ศ. 2547 หลังจากจบการศึกษาท่านเป็นครูสอน อยู่ที่วิทยาลัยช่างศิลป์และทำงานที่กรมศิลปากรจนกระทั่งได้รับตำแหน่งนาย ช่างศิลปกรรม ระดับ 8 ในปีพ.ศ. 2538 ท่านลาออกจากงานราชการมาเป็นศิลปินอิสระ
ต่อไปนี้เป็นการสัมภาษณ์คุณพิชัย นิรันต์ที่บ้านและสตูดิโอในจังหวัดเชียงใหม่
จานีน: ดิฉันอยากทราบเรื่องเกี่ยวกับการศึกษาด้านศิลปะ
พิชัย: ในปีพ.ศ. 2498 – 2499 ผมเริ่มต้นเรียนศิลปะที่โรงเรียนศิลปะศึกษาใน กรุงเทพ ต่อมาโรงเรียนแห่งนี้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยช่างศิลป์ 1หลังจากที่ ผมเข้าไปเรียนที่มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นเวลา 3 ปี ในปีพ.ศ. 2503 ผม ทำงานศิลปะและได้ทำงานเป็นครูสอนศิลปะที่วิทยาลัยช่างศิลป์ ก่อนหน้านี้ผม ทำงานแนวเสมือนจริงในช่วงเวลาสั้นๆ แต่ในที่สุดผมก็หันมาหางานในสไตล์ที่ ผมชอบคือการเขียนภาพนามธรรม นับจากนี้ไปผมได้รวมเอาแนวคิดและ สัญลักษณ์จากศาสนาพุทธเพื่อแสดงปรัชญาพุทธศาสนาและและคำสอนของ พระพุทธเจ้า สิ่งนี้ช่วยผมได้มากในการที่จะเปลี่ยนสไตล์งานศิลปะของผมให้ เน้นงานนามธรรมอิงพระพุทธศาสนา
จานีน: อยากถามคุณพิชัยเกี่ยวกับรางวัลและเกียรติยศที่ได้รับ
พิชัย: ตั้งแต่ปี พ.ศ.2503 – 2506 ผมส่งภาพเขียนในงานนิทรรศการศิลปกรรม แห่งชาติครั้งที่ 11 12 14 และ 15 ที่จัดที่กรุงเทพ ผมได้รับเหรียญทองแดง เหรียญเงิน เหรียญทอง และอีกหนึ่งเหรียญทองแดง ในปีพ.ศ. 2538 ผมได้รับ เหรียญทองพระมหาชนกจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และในปีพ.ศ. 2546 ผมได้รับเลือกจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรมให้เป็นศิลปินแห่งชาติในสาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม)
จานีน: ดิฉันอยากทราบเกี่ยวกับผลงานที่สำคัญที่ท่านเคยทำเพื่อ พระพุทธศาสนาและในหลวง
พิชัย: ในปีพ.ศ. 2528-2530 ผมได้ออกแบบ 3 ใน 4 ตำบลของ สังเวชนียสถานที่พุทธมณฑล ตำบลศาลายา อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม 1 โพธิบัลลังค์ สัญลักษณ์ของตำบลตรัสรู้ 2 พระแท่นไสยาสน์ สัญลักษณ์ตำบลปรินิพพาน 3 พระธรรมจักร สัญลักษณ์ของตำบลพระปฐมเทศนา ผมยังได้เป็นผู้ออกแบบสัญลักษณ์ ขยายแบบ และควบคุมการแกะสลัก หินแกรนิตที่นั่นอีกด้วย
ในปีพ.ศ. 2538 ผมเป็น 1 ใน 8 ศิลปินที่ร่วมเขียนภาพประกอบหนังสือเรื่อง “พระมหาชนก” พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช อีกงานหนึ่งคือร่วมสนับสนุนการประกวดภาพจิตรกรรม วีรกรรมหรือคุณลักษณะ ที่สำคัญในอดีตของทหารบก เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทรงครองศิริราชสมบัติครบ 50 ปี จัดโดยกองทัพบก
จานีน: ท่านรู้สึกอย่างไรกับศิลปะและสังคมไทย
พิชัย: ในปัจจุบันสังคมไทยให้ความสำคัญและเข้าใจศิลปะมากกว่าในอดีต ดัง จะเห็นได้ว่ามีนักสะสมงานศิลปะมากขึ้นและคุณภาพชีวิตของศิลปินก็ดีขึ้น เพราะว่าสังคมไทยเริ่มที่จะรู้คุณค่าที่แท้จริงของงานศิลปะและศิลปินก็เป็นที่ เคารพนับถือ สำหรับค่านิยมกระแสหลักในอดีตพ่อแม่หลายท่านไม่สนับสนุน ลูกให้เรียนศิลปะเพราะอยากให้ลูกเป็นทหาร ตำรวจ แพทย์หรือว่าเป็นนักธุรกิจ และก็เป็นเพราะว่าพ่อแม่มีความเชื่อว่าอาชีพศิลปินไม่มีอนาคต ในเวลานั้น นักเรียนหลายคนที่รักในงานศิลปะอย่างแท้จริงตัดสินใจสมัครเข้าสถาบันสอน ศิลปะทั้งๆที่พ่อแม่ไม่เห็นด้วย
ศิลปินไทยในสมัยก่อนสร้างสรรค์ผลงานศิลปะอันล้ำเลิศเพื่อพระพุทธศาสนา ดังที่ได้พบเห็นจากโบราณสถานและของโบราณเก่าแก่จากหลายยุคสมัย สำหรับผมแล้วผมรู้สึกเสียดายที่สังคมไทยในตอนนี้ได้รับอิทธิพลมากจาก กระแสวัตถุนิยม ศิลปินไทยหลายท่านไม่อยากจะรับรู้เกี่ยวกับความสำคัญของ ศิลปะโบราณหรือว่าศิลปะโบราณเกี่ยวข้องกับสังคมไทยและวิถีชีวิตอย่างไร ผมรู้สึกกังวลมากว่าศิลปะไทยโบราณและความรู้ต่างๆอาจถูกลืมเลือนไปใน อนาคตอันใกล้นี้ ในอีกทางหนึ่งทุกคนดูเหมือนว่าใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ท่ามกลางศิลปะสมัยใหม่ ที่มีทั้งเสื้อผ้า เครื่องมือ อาคาร บ้านพัก ยานพาหนะ สิ่งต่างๆเหล่านี้ได้รับการออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีมุมมองทางศิลปะ จนคุณ สามารถมองเห็นความงานในนวัตกรรมการประดิษฐ์ต่างๆนี้ ที่เป็นประโยชน์
งานสร้างสรรค์ทางศิลปะของผมทุกชิ้นมีจุดประสงค์สำคัญที่จะแสดงวิธีการคิด ที่รวบรวมการสอนศีลธรรมจากศาสนาอื่นๆ และปรัชญาพระพุทธศาสนาใน รูปแบบของงานศิลปะที่ส่งเสริมการคงอยู่ของสังคมที่สงบสุข
ผมสร้างงานศิลปะเพื่อค้นหาความงดงาม สุนทรียภาพสำหรับความสุขเพื่อจิต วิญญาณของผมและสังคมให้มีโอกาสชื่นชมงานศิลปะมากขึ้น วิถีทางของการ สร้างสรรค์ของผมอาจเป็นแนวทางที่เรียบง่ายสำหรับศิลปินรุ่นใหม่ให้นำไป ขยายและปรับปรุงเพื่ออนาคตที่ดีกว่า ศิลปะเป็นผลผลิตจากสมองและความ ขยันคิดพิจารณา ศิลปะช่วยฝึกฝนใจชองมนุษย์ให้มีความอ่อนโยนและดีงาม ในความคิดของผมแล้วถ้าคนเราไม่มีศิลปะก็คงจะไม่ต่างอะไรกับสัตว์เลย ศิลปะนั้นเหมือนเป็นลัทธิ ความเชื่อหรือแม้กระทั่งศาสนาแห่งโลกที่สามารถ สร้างสันติภาพให้กับมนุษยชาติทั้งมวลได้
|