มีเรื่องน่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับกล้วยไม้ในประเทศไทย สามารถกล่าวได้ว่ากล้วยไม้ ไทยเป็นที่รู้จักมากที่สุดและมีส่วนแบ่งตลาดสูงที่สุดในโลก สถาบันการศึกษาและ องค์กรที่เกี่ยวข้องสนับสนุนการปรับปรุงพันธุ์และการอนุรักษ์สายพันธุ์กล้วยไม้ป่า มากกว่า 1,000ชนิด โดยทั่วไปแล้วเกษตรกรไทยพัฒนาความรู้ให้เพียงพอและมี ประสบการณ์ในการปลูกกล้วยไม้เป็นเวลานาน เทคโนโลยีใหม่ๆได้รับการคิดค้น ขึ้นมาเพื่อปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้และเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อพัฒนาการส่งออก ราคา กล้วยไม้ในประเทศไทยนั้นมีราคาถูกกว่าต่างประเทศมาก ความงามที่น่าประทับใจ ของกล้วยไม้แถบเอเซียนั้นค่อนข้างมีความแตกต่างจากกล้วยไม้แถบละตินอเมริกา รายได้ต่อปีสำหรับการส่งออกกล้วยไม้ไทยนั้นมีมูลค่าสูงกว่า 1 ล้านล้านบาท
สายพันธุ์กล้วยไม้ในประเทศไทยมีต้นกำเนิดมาจากกล้วยไม้ป่าเขตร้อนในพบได้ ในป่าไม้ประเทศไทย มีบุคคลสำคัญหลายคนที่จดบันทึกและจัดกลุ่มสายพันธุ์ กล้วยไม้ เช่น ศาสตราจารย์เต็ม สมิตินันท์ เป็นนักพฤกษศาสตร์คนสำคัญจากกรม ป่าไม้ และท่านเอกอัครราชทูตชาวเดนมาร์คที่ชื่อ กันนา ไซเดนฟาเดน ที่ได้ สำรวจและและระบุชื่อสายพันธุ์กล้วยไม้ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วง เวลานี้ได้มีการตีพิมพ์เอกสารที่ชื่อ “Orchids of Thailand and Preliminary list” ท่านเอกอัครราชทูตกันนายังได้ประชาสัมพันธ์กล้วยไม้ป่าเขตร้อนในประเทศไทย ไปยังทั่วโลกอีกด้วย
ดิฉันขอกล่าวถึงบุคคลสำคัญอีกท่านหนึ่งคือศาสตราจารย์ระพี สาคริกผู้ซึ่งทำให้ กล้วยไม้ไทยเป็นที่รู้จักมากกว่าเดิม ศาสตราจารย์ระพีเป็นหนึ่งในคณะกรรมการที่ ประสานงานกับสมาคมกล้วยไม้โลก “world orchid society” และในปีพ.ศ. 2521 ได้จัดการประชุมกล้วยไม้โลกครั้งที่ 9 ขึ้นที่กรุงเทพ ในภายหลังท่านไปทำงาน วิจัย ดูแลการฝึกปฎิบัติในวิชาพฤกษศาสตร์และสอนการวางแผนวิจัยเรื่องข้าวที่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ท่านยังได้เปิดหลักสูตรอบรมเรื่องกล้วยไม้โดยที่ผู้เรียนไม่เสีย ค่าใช้จ่ายและก่อตั้งสมาคมกล้วยไม้แห่งประเทศไทย
เป็นความโชคดีที่กล้วยไม้เติบโตได้ดีในสิ่งแวดล้อมเขตร้อนชื้น โดยพาะอย่างยิ่ง ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่สนใจใน การปลูกและขยายพันธุ์กล้วยไม้
มีการจัดประกวดกล้วยไม้ขึ้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้หลายครั้งเพื่อโปรโมทความ สวยงามของกล้วยไม้ไทยซึ่งดึงดูดผู้คนจากทั่วโลกให้เข้ามาชม ตัวอย่างที่ดี อันหนึ่งคืองานนิทรรศการกล้วยไม้เอเชียแปซิฟิคครั้งที่ 4 ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2535 มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นเจ้าภาพรายการนี้ สมเด็จพระราชินี สมเด็จพระ นางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จมาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดงานและทรง สนทนากับศาสตราจารย์ระพี สาคริกและผู้ช่วยศาสตราจารย์จำเนียร ยศราช (อธิการบดีคนปัจจุบันของมหาวิทยาลัยแม่โจ้) เกี่ยวกับการอนุรักษ์กล้วยไม้ไทย ซึ่งใกล้สูญพันธุ์ ต่อมามีโครงการในพระราชดำริของสมเด็จพระราชินีเพื่อเก็บสะสม และอนุรักษ์กล้วยไม้ไทยก่อนที่จะคืนกล้วยไม้กลับสู่ป่า
กิจกรรมที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือการที่คณะกรรมการได้ประชาสัมพันธ์มูลนิธิ กล้วยไม้ไทยซึ่งมีการรณรงค์มามากกว่า 10 ปีกับกิจกรรมการกุศลเพื่อหาเงิน สนับสนุนโครงการตามพระราชดำริของสมเด็จพระราชินี “คืนกล้วยไม้ไทยกลับสู่ ป่า” มีกิจกรรมต่างๆเช่นการขี่จักรยาน โบว์ลิ่ง คอนเสิร์ต และประกวดวาดภาพ กล้วยไม้ กิจกรรมอันหลังสุดค่อนข้างจะเป็นที่นิยมกับนักศึกษา ศิลปิน ประชาชน ทั่วไปและหน่วยงานของรัฐที่ส่งภาพเขียนมาประกวดเพื่อหาเงินสนับสนุนโครงการ และปลุกความรู้สึกของคนไทย
ในโอกาสนี้ทำให้ดิฉันขอเสนอศิลปินสีน้ำหญิงที่ได้รับรางวัลจากการประกวดเขียน ภาพศิลปะมากมายที่มีหัวข้อเกี่ยวกับกล้วยไม้ เธอมีชื่อว่าคุณพิกุลทอง เวียงนิล พำนักอยู่ที่จังหวัดลำพูน คุณพิกุลทองเป็นศิลปินที่มีความกระตือรือร้นที่ใช้สีน้ำเป็น สื่อและถ่ายทอดผลงานเป็นภาพเขียนดอกกล้วยไม้หลายชนิด เธอเริ่มที่จะส่งผล งานภาพเขียนไปยังงานประกวดเขียนภาพตั้งแต่ปีพ.ศ. 2539
ต่อไปนี้เป็นบทสนทนาสั้นๆระหว่างดิฉันและคุณพิกุลทอง
จานีน: กรุณาเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตัวคุณและสิ่งที่เป็นแรงบันดาลใจให้คุณ
พิกุลทอง: ดิฉันเกิดที่จังหวัดลำพูนในวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2518 ต่อมาได้ไป ศึกษาศิลปะที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ ดิฉันคิดว่าธรรมชาติเป็นแหล่งรวมแรงบันดาลใจที่ยอดเยี่ยม ดิฉันเติบโตและยังคง อาศัยอยู่ในชนบทที่ใกล้ชิดกับป่าไม้และภูเขา ตัวแบบอ้างอิงสำหรับเขียนภาพของ ดิฉันเป็นดอกไม้แทบทุกชนิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งดอกกุหลาบ ดอกบัวและกล้วยไม้ ดิฉันมีความเห็นว่ากล้วยไม้เป็นดอกไม้ที่สวยงามที่สุดเพราะมีความอ่อนช้อยและดู สูงค่า สีน้ำจะจับความอ่อนโยนและความนุ่มนวลของกล้วยไม้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ดิฉันชอบเขียนภาพในตอนเช้าตรู่เพื่อที่จะดูแสงในตอนเช้าเพราะว่าเป็นแสงสว่าง แรกของวันใหม่ แสงตอนเช้านั้นอบอุ่นและนุ่มนวลทำให้ดอกกล้วยไม้ดูงดงามและ อ่อนโยนมากกว่าในตอนสายและตอนกลางวัน ดิฉันรู้สึกตื่นเต้นเวลาที่มองหา กล้วยไม้ป่าในป่าลึกที่เติบโตได้อย่างอิสระและมีสุขภาพดีอยู่บนต้นไม้ใหญ่ นี่เป็น แหล่งที่มาของธรรมชาติที่ให้แรงบันดาลใจกับดิฉันมากมายเพื่อแสดงความรู้สึก ผ่านการเขียนภาพด้วยสีน้ำ
จานีน: ผลงานชิ้นไหนที่คุณรู้สึกภาคภูมิใจมากที่สุด
พิกุลทอง: ในปีพ.ศ. 2548 ดิฉันได้รับรางวัลยอดเยี่ยม ถ้วยพระราชทานจาก สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี หัวข้อของงานคือ “กล้วยไม้ไทย เส้น สาย ศาสตร์และศิลป์” เจ้าฟ้าหญิงทรงถามเกี่ยวกับผลงานของ ดิฉัน ที่มาของแรงบันดาลใจและชมเชยผลงานของดิฉัน ดิฉันรู้สึกประทับใจมาก และสิ่งนี้เป็นกำลังใจที่ดีที่สุดที่ทำให้ดิฉันผลิตผลงานให้มากขึ้น
จานีน:กรุณาบอกเล่าถึงแนวคิดในการทำงานและเทคนิคที่คุณใช้ในการเขียนภาพ
พิกุลทอง: ผลงานของดิฉันแทบทั้งหมดเป็นภาพวาดสีน้ำแต่ก็มีความแตกต่างไป จากภาพสีน้ำของศิลปินท่านอื่นๆ ผลงานของดิฉันเป็นภาพวาดสีน้ำแนวสมจริง ผสมกับจินตนาการ ดิฉันต้องเตรียมการจัดแสงและอุปกรณ์ประกอบฉากด้วยความ ตั้งใจเพราะแสงและเงาจะต้องถูกจัดตำแหน่งให้ดี
ดิฉันมีความสุขมากที่ได้ใช้สีน้ำเพื่อแสดงอารมณ์และความรู้สึกต่างๆ ดิฉันหวังว่าผู้ ที่รักภาพเขียนสีน้ำจะสัมผัสตัวตนที่แท้จริงของดิฉันได้โดยผ่านตัวผลงานและดิฉัน อยากจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับศิลปินรุ่นใหม่และกระตุ้นให้ศิลปินเหล่านั้นผลิต ผลงานศิลปะให้มากขึ้น
จานีน: คุณคิดอย่างไรกับผลงานของศิลปินภาคเหนือในประเทศไทย
พิกุลทอง: ดิฉันมองเห็นพัฒนาการต่างๆ จากศิลปินชาวเหนือท่านอื่นๆ ทุกคนต่าง มีทักษะ แนวคิด และเทคนิคที่ดีกว่าเดิม ขึ้นอยู่กับว่าสิ่งที่ชอบและสนใจคืออะไร วิธีการที่แตกต่างในการแสดงออกเรื่องผลงานจะทำให้ผลงานมีเอกลักษณ์และน่ ดึงดูดใจ ในท้ายที่สุดศิลปินทุกคนต้องค้นหาแนวทางเฉพาะตนด้วยตัวเอง นี่เป็น ความสำเร็จที่ศิลปินทุกคนจะต้องไล่ล่าความฝันไปให้ถึง ดิฉันรู้สึกสนใจที่จะได้ เห็นผลงานต่างที่มีความหลากหลาย
จานีน: เป้าหมายต่อไปของคุณคืออะไรบ้างคะ
พิกุลทอง: จนถึงตอนนี้ดิฉันอยากปรับปรุงผลงานต่อไปอย่างต่อเนื่องและจัด นิทรรศการศิลปะเดี่ยวเกี่ยวกับกล้วยไม้ไทยสำหรับผู้ที่ชื่นชอบทั้งงานศิลปะและ ดอกไม้ต่างๆ
ผลงานเกียรติยศบางส่วนของคุณพิกุลทอง เวียงนิล
2539 - รางวัลชมเชย การประกวดวาดภาพกล้วยไม้ เอเชียแปซิฟิก มหาวิทยาลัย แม่โจ้
2547 - รางวัลชนะเลิศ การประกวดกล้วยไม้ไทย ในความเป็นไทย ครั้งที่2 ณ. อุทยานกล้วยไม้ไทย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ รางวัลชมเชย การประกวดวาดภาพ “สีสันพันธุ์ไม้” ณ. โรงพยาบาล บางกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล กรุงเทพ
2548 - รางวัลยอดเยี่ยม ถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี หัวข้อ “กล้วยไม้ไทย เส้น สาย ศาสตร์และศิลป์”
2550 - รางวัลดีเด่นNAN ME fine art award ครั้งที่ 1 ณ. นานมี แกลเลอรี่ กรุงเทพ
2551 - รางวัลชนะเลิศ การประกวดภาพวาดเทศกาลเชียงรายดอกไม้งาม ครั้งที่5
2552 - รางวัลพิเศษNAN ME fine art award ครั้งที่ 4 หัวข้อประเทศไทย สวยงาม
2553 - รางวัลชมเชย การศึกษาไทย ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
2555 - รางวัลที่1 ARCHES painting Contest CANSON FRANCE
2557 -รางวัลชนะเลิศอันดับ1 ประเภทเหมือนจริง กล้วยไม้ไทยในความเป็นไทย ครั้งที่5 มูลนิธิกล้วยไม้ไทย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
|