ตอนปลายเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 ดิฉันมีโอกาสไปสังเกตการณ์เวิร์คช็อป
ของอาจารย์สอนศิลปะ 2 ท่านจากTAMA Art University ประเทศญี่ปุ่น (ด้วย
ความร่วมมือจากภาควิชาภาพพิมพ์คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
อาจารย์ ทั้งสองท่านเดินทางมาสาธิตศิลปะการทำ ภาพพิมพ์ที่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดิฉันยังไปเยี่ยมชมงานนิทรรศการที่เป็นความร่วมมือ
กันระหว่าง 2 มหาวิทยาลัยในฐานะผู้สังเกตการณ์เป็นเวลาสองสามวัน
หลายครั้งที่ดิฉันเขียนเกี่ยวกับงานภาพพิมพ์ของศิลปินหลายท่านในจังหวัด
เชียงใหม่ แทบทุกคนมีสตูดิโอไว้ทำงานและแสดงผลงานเช่นอาจารย์
กิติก้อง ติลกวัฒโนทัย จาก C.A.P. (Chiang Mai Art on Paper) สตูดิโอของ
ตั้งอยู่ที่ถนนนิมมานเหมินทร์ จังหวัดเชียงใหม่ อีกท่านคือรองศาสตราจารย์
ศรีใจ กันทะวัง อยู่ที่ ศรีใจ อาร์ต สตูดิโอ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ทั้ง
สองท่านเป็นศิลปินมืออาชีพและเป็นอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช
มงคล ล้านนา และเมื่อไม่นานนี้เองดิฉันไปเยี่ยมและสัมภาษณ์อาจารย์
ไชยยศ จันทราทิตย์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและนิทรรศการฯ คณะวิจิตรศิลป์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อาจารย์ไชยยศ จันทราทิตย์ส่งบทความสั้นๆ ที่มีประโยคจากศิลปินชาว
เยอรมัน แกร์ฮาร์ต ริชเตอร์ ที่มีใจความว่า “ศิลปะไม่ได้เป็นผลผลิตจากความ
บังเอิญ ความบังเอิญในตัวมันเองไม่สามารถเป็นศิลปะได้” ดิฉันจำได้ว่าเคย
สับสนเล็กน้อยกับความแตกต่างระหว่างภาพเขียนและภาพพิมพ์ ดิฉันเห็นภาพ
เรือรบญี่ปุ่น คันรินมารุ ที่เดินทางข้ามมหาสมุทรแปซิฟิคมุ่งไปยังเมือง
ซานฟรานซิสโก ในช่วงปีพ.ศ. 2403 (ศิลปิน ยูจิโร่ ซุซุฟูจิ) ดิฉันพบว่ารูปภาพ
เป็นเหมือนงานภาพพิมพ์ ดิฉันชอบการเคลื่อนไหวและกระบวนการของภาพว่า
มาจากภาพเขียนหรือภาพพิมพ์หรืออาจจะเป็นงานภาพพิมพ์หิน
อาจารย์ไชยยศ จันทราทิตย์พบบทความนี้ที่เขียนโดยนายโรมิวลัส ฮิลส์โบร
กล่าวว่า “ผมชอบภาพวาดคันรินมารุ” อาจารย์ไชยยศเห็นด้วย ดิฉันพูดกับ
ตัวเองว่าอยากรู้เรื่องราวให้มากกว่านี้ อยากทราบข้อมูลจากครอบครัวของ
ศิลปิน น่าเสียดายว่าดิฉันไม่สามารถสื่อภาษาญี่ปุ่นได้
ในขณะที่สังเกตบทเรียนศิลปะและกิจกรรมการทำภาพพิมพ์ ทางมหาวิทยาลัย
ได้ให้การสนับสนุนเต็มที่สำหรับงานภาพพิมพ์เช่นเดียวกับงานศิลปะชนิดอื่นๆ
เมื่อเปรียบเทียบกับงานภาพเขียน ดิฉันพบว่าขั้นตอนของงานภาพพิมพ์นั้น
ค่อนข้างซับซ้อนและใช้เครื่องมือเยอะมาก
ในครั้งนี้ดิฉันมาเยี่ยมสตูดิโองานภาพพิมพ์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเห็น
ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยจากต่างประเทศ ดิฉันหวังว่าผู้อ่านจะเข้าใจและ
ประทับใจกับศิลปะการทำภาพพิมพ์ซึ่งสามารถเรียนรู้ได้อย่างไม่มีวันสิ้นสุด
ต่อไปนี้เป็นการสนทนากับอาจารย์ไชยยศ จันทราทิตย์
จานีน: กรุณาเล่าให้ฟังสั้นๆเกี่ยวกับภาควิชาภาพพิมพ์ คณะวิจิตรศิลป์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ไชยยศ: คณะวิจิตรศิลป์ เป็นคณะวิชาลำดับที่ 12 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ปัจจุบันมีคณะวิชารวมทั้งสิ้น 20 คณะวิชา เปิดรับนักศึกษา รุ่นที่ 1 เมื่อปีพ.ศ.
2526 ประกอบด้วย สาขาวิชาจิตรกรรม และสาขาวิชาศิลปะไทย
ในปี พ.ศ.2528 สองปีถัดมาเปิดรับนักศึกษาสาขาวิชาศิลปะภาพพิมพ์ รุ่นแรก
ทำการเรียนการสอนนับแต่นั้นมา ในปี 2555 มีการปรับปรุงหลักสูตรครั้งสำคัญ
โดยลดระยะเวลาการศึกษาลงจาก 5 ปี เหลือ 4 ปี ที่ยังคงไว้ด้วยสาระสำคัญ
หลักของกระบวนการสร้างสรรค์ศิลปะภาพพิมพ์อย่างครบถ้วน และปรับลด
กระบวนการศึกษาในชั้นเรียนที่หมดความจำเป็นอีกต่อไปสำหรับโลก
ไร้พรมแดนเช่นปัจจุบัน เน้นพัฒนาการอย่างสมดุลระหว่างเทคนิค กระบวนการ
ทางความคิด และทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 ภายใต้บริบทศิลปะร่วม
สมัย
จานีน: อาจารย์คิดอย่างไรกับคณาจารย์และบัณฑิตของคณะวิจิตรศิลป์
ไชยยศ: คณาจารย์และบัณฑิตสาขาวิชาศิลปะภาพพิมพ์ คณะวิจิตรศิลป์ ต่างมี
พัฒนาการทางวิชาการ ผลงานสร้างสรรค์ที่เป็นมาตรฐานสากลอย่างประจักษ์
ด้วยการแสดงนิทรรศการผลงานศิลปกรรม การได้รับรางวัลเกียรติคุณ ทั้งใน
และต่างประเทศ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธงชัย ยุคันตพรพงษ์ อาจารย์ประจำ
สาขาวิชาศิลปะภาพพิมพ์ ผู้ได้รับทุนโครงการวิจัยด้านศิลปกรรมศาสตร์และ
งานสร้างสรรค์ จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เรื่อง “ภาพ
พิมพ์ไม้ชุดทัศนียภาพ9 วัดสำคัญแห่งนครเชียงใหม่ (Project of Series of
Chiangmai’s9 Main Temple Landscape by Woodblock Printing) ซึ่งผม
ได้รับเกียรติในฐานะศิลปินภาพพิมพ์ เข้าร่วมสร้างสรรค์ผลงาน ชื่อ
“DoiSuthepChiangmai2015” เป็นผลงานภาพพิมพ์แม่พิมพ์ไม้ด้วยเทคนิค
สีน้ำแบบญี่ปุ่น ขนาด ขนาด : 30 x 45 ซ.ม. ใช้แม่พิมพ์แม่พิมพ์ 11 แม่พิมพ์
จำนวนสีที่พิมพ์ 19 สี
โครงงานวิจัยดังกล่าว เป็นหนึ่งตัวอย่างความก้าวหน้าทางวิชาการ ผลักดันมิติ
ความร่วมมือการทำงานเป็นทีมระหว่างบุคลากรหลายฝ่าย อาทิ ผู้บริหาร
สถาบัน อาจารย์ นักศึกษา ศิลปิน และช่างพิมพ์ นอกจากผลงานสร้างสรรค์อัน
ทรงคุณค่าจากเหล่าศิลปินที่เข้าร่วมโครงการฯแล้ว ทางด้านวิชาการได้
ก่อให้เกิดเครือข่ายทางวิชาการทั้งในระดับชาติและนานาชาติตามมา มีการจัด
นิทรรศการผลงานภาพพิมพ์แลกเปลี่ยนระหว่างคณาจารย์และนักศึกษาของ
คณะ วิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับ มหาวิทยาลัยศิลปะทามะ ประเทศ
ญี่ปุ่น สาขาวิชาศิลปะภาพพิมพ์ คณะวิจิตรศิลป์ จะมีอายุครบรอบ 30 ปี ในปี
2558 นี้
จานีน:ดิฉันอยากทราบเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ในฐานะที่เป็นอาจารย์
ไชยยศ: ผมเกิดเดือนเมษายน2502 กรุงเทพฯ สำเร็จการศึกษาสาขาวิชาศิลปะ
ภาพพิมพ์ ระดับปริญญาตรีและโท จากมหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ.2531
เดินทางมาจังหวัดเชียงใหม่เป็นอาจารย์พิเศษ และได้รับการบรรจุเป็น
ข้าราชการประจำของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534เป็นต้นมา
รับผิดชอบการสอนในสาขาวิชาศิลปะภาพพิมพ์ (Division of Printmaking)
ได้รับความไว้วางใจบริหารสถาบันโดยลำดับประสบการณ์เรื่อยมาในตำแหน่ง
หัวหน้าสาขาวิชา หัวหน้าภาควิชา ผู้ช่วยคณบดี รองคณบดี ผู้อำนวยการหอ
นิทรรศการศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ปัจจุบันเป็นความท้าทายทางวิชาการที่ได้ร่วมงานและมีส่วนในการก่อตั้ง
สาขาวิชาใหม่ คือ สาขาวิชาสหศาสตร์ศิลป์ (Division of Multidisciplinary
art) ซึ่งริเริ่มโดยศาสตราจารย์อารยา ราษฎร์จำเริญสุข ประธานบริหาร
หลักสูตรคนแรกและปัจจุบัน ซึ่งเป็นอดีตอาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปะภาพ
พิมพ์ เป็นศิลปินหญิงไทยผู้มีประสบการณ์ ชื่อเสียงในระดับนานาชาติอันดับต้น
ของประเทศไทย ผลงานสร้างสรรค์ของตัวเองนั้นแม้จะสร้างชื่อเสียงให้อยู่บ้าง
แต่ผมให้ความสำคัญในชีวิตจากการทำงาน ซึ่งได้โอกาสร่วมงานกับเพื่อนที่
มากความสามารถ แวดล้อมอยู่ด้วยนักศึกษาผู้คอยจุดประกายความคิดใหม่ๆ
ผลงานของนักศึกษาจึงควรนับเป็นข้อพิสูจน์อันแท้จริงของความก้าวหน้า
ความสำเร็จ ของผมในฐานะเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรคณะวิจิตรศิลป์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่สร้างผมมา
จานีน: มีอะไรที่อยากจะฝากไปถึงผู้อ่านบ้างไหมคะ
ไชยยศ: ระยะเวลากว่า30 ปี ของพัฒนาการผลงานสร้างสรรค์ เริ่มต้นจากความ
งดงาม ความสงบที่ธรรมชาติ ขุนเขา ป่าไม้มอบสัมผัสและจินตนาการให้
ประกอบกับวิถีแห่งแนวคิด แนวปฏิบัติของพุทธธรรมได้พัฒนา งอกงาม
เข้าประสานเชื่อมโยงแนวทางการสร้างสรรค์ศิลปะกับการดำเนินชีวิตภายใต้
บริบททางสังคมที่มีทั้งสิ่งที่พึงประสงค์ และไม่พึงประสงค์ ให้เป็นเรื่อง
ธรรมชาติ ธรรมดา มุ่งสู่การ ลด ละ เลิก การหลบหนีหรือการไขว่คว้า ติเตียน
หรือชื่นชม พยายามทำความเข้าใจอย่างถูกต้องของความหมายที่ว่า
“ให้ เป็น-อยู่ กับปัจจุบัน” ศิลปะคือการส่งต่อความปรารถนาดีที่ไม่แบ่งแยก
ตนเองออกจากเพื่อนมนุษย์และสังคม และควรเริ่มต้นที่ตัวเองอย่างเหมาะสม
เสียก่อน ผลงานทุกชิ้นใช้วัตถุและเนื้อหาจากธรรมชาติ เป็นแรงบันดาลใจเพื่อ
ศึกษา ตีความขยายส่วนนามธรรมที่ดีงามในภายใน ลบเส้นแบ่งระหว่างตัวตน
กับสรรพสิ่งและข้อจำกัดของภาษา “การเขียนไม่อาจให้ความหมายได้
เช่นเดียวกับการพูด คำพูดไม่อาจให้ความหมายได้ เช่นเดียวกับประสบการณ์
และไม่อาจสื่อถึงสัมผัสที่อยู่ใน ภายในจิตใจออกมาได้”
|