มีความพึงพอในชีวิตสำหรับศิลปินไทยที่มีชื่อเสียงผู้หนึ่งคือ อาจารย์รัตนชัย
ไชยรัตน์ คุณพ่อของอาจารย์รัตนชัยเป็นครูสอนศิลปะในจังหวัดนราธิวาสทาง
ภาคใต้ของประเทศไทย เมื่อตอนที่อาจารย์รัตนชัยยังเป็นเด็กได้ทำการศึกษาและ
อยู่ใกล้ชิดกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวมุสลิม มลายูในจังหวัดนั้น ดนตรี
พื้นบ้านจากทางใต้ของประเทศไทยส่วนใหญ่นั้นมาจากนักดนตรีท้องถิ่นชาวไทย
นักดนตรีชาวมลายู และได้รับอิทธิพลบางส่วนมาจากวัฒนธรรมอินเดีย ต่อมาคุณ
พ่อของอาจารย์รัตนชัยย้ายไปอยู่จังหวัดสงขลาและได้เปลี่ยนอาชีพเป็นครูสอน
หนังตะลุง
หนังตะลุงเป็นการแสดงพื้นบ้านจากภาคใต้ของประเทศไทย ผ้าสีขาวผืนใหญ่ใช้
เป็นจอภาพ แสงจะถูกฉายไปที่จอที่นักแสดงซ่อนตัวอยุ่ด้านหลัง มีนักแสดงคน
เดียวที่ควบคุมตัวละครและใช้เสียงพูดเล่าเรื่องราว การพูดและการท่องบทกลอนที่
ใช้ในการแสดงนั้นเป็นภาษาไทยสำเนียงท้องถิ่นภาคใต้ ในอดีตหนังตะลุงเป็นที่
นิยมเพราะในเวลานั้นยังไม่มีไฟฟ้า อีกทั้งยังเป็นเป็นการเสียดสีสังคมไทยและ
สภาพการเมือง
นอกเหนือไปจากการเล่าเรื่อง เครื่องดนตรีต่างๆเช่นกีตาร์ ไวโอลินและออร์แกนถูก
ใช้ในการแสดงเช่นกันเพื่อให้ความบันเทิง ตัวละครที่ใช้ถูกสร้างขึ้นมาจากหนังวัว
มีตัวตลก ฤาษี ชาวบ้านชายหญิงและเด็กเล็ก และยังมีตัวละครที่สำคัญจาก
วรรณคดีรามเกียรติ์ ซึ่งต้องอาศัยความฉลาดเฉลียวและความตลกขบขันของผู้
แสดงเพื่อที่จะทำให้การแสดงสนุกสนานในยามค่ำคืน ในปัจจุบันการแสดงประเภท
นี้มีราคาแพงมากในการรับชมแต่ทุกคนก็ยังรัก
การใช้ชีวิตอยู่กับศิลปะทุกวันเป็นแรงกระตุ้นให้อาจารย์รัตนชัยเรียนศิลปะโดย
สมัครเรียนที่คณะจิตรกรรมของวิทยาลัยช่างศิลป์ หลังจากที่เรียนจบได้ไปศึกษา
ต่อระดับปริญญาตรีในสาขาวิทยาศาสตร์ (เวชนิทัศน์) ที่มหาวิทยาลัยมหิดล ต่อมา
เขาเป็นอาจารย์สอนวิชากายวิภาคสำหรับคณะแพทย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตหาดใหญ่
การเรียนวิชากายวิภาคทำให้อาจารย์รัตนชัยมีพื้นฐานแน่นและประสบการณ์ที่จะ
วาดภาพคนเหมือนจริง เขายังได้รวมเอาวัฒนธรรมไทยมุสลิมเข้ามาในภาพเขียน
ของเขาด้วย สามารถกล่าวได้ว่างานของเขาเป็นแบบสื่อผสม ผลงานภาพเขียน
ส่วนใหญ่เกี่ยวกับประเพณี วัฒนธรรม ศาสนา และศิลปะจากภาคใต้ของประเทศ
ไทยเช่นการรำมโนราห์และหนังตะลุง แนวผลงานส่วนตัวเกี่ยวกับความมืดของยาม
ค่ำคืน
มโนราห์เป็นการแสดงนาฎศิลป์ที่สำคัญของภาคใต้ สะท้อนให้เห็นถึงปรัชญา
ความเชื่อ งานพิธี วิถีชีวิตในชุมชนที่สร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล คำว่า
“โนรา” เป็นคำเฉพาะที่สามารถใช้ได้กับนักแสดงชายและหญิง การรำมโนราห์นั้น
เดินทางมาถึงทางใต้ในช่วงอาณาจักรศรีวิชัยและอาณาจักรตามพรลิงค์ (จังหวัด
นครศรีธรรมราชในปัจจุบัน)
ต่อไปนี้เป็นการสัมภาษณ์อาจารย์รัตนชัย
จานีน: ดิฉันทราบว่าอาจารย์ได้รับรางวัลมามากมายตั้งแต่ตอนที่ยังเป็นเด็ก ใน
ตอนปีพ.ศ. 2528 ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากงานศิลปกรรมเยาวชนแห่งประเทศ
ไทยครั้งที่ 2 และต่อจากนั้นเป็นต้นมาก็ได้เข้าร่วมรายการแข่งขันทางศิลปะหลาย
รายการและได้รางวัลแทบจะทุกรายการ อาจารย์พอจะบอกได้ไหมว่าอะไรเป็นแรง
บันดาลใจสำหรับผลงานของอาจารย์
รัตนชัย: ผมเคยติดตามคุณพ่อไปดูหนังตะลุง ในตอนนั้นคุณพ่อเป็นนายหนังตะลุง
การแสดงมาค่อนข้างดึกผมเลยงีบหลับไป พอตื่นขึ้นมาได้เห็นแสงสว่างบนจอภาพ
ตัวละคร นายหนังที่อยู่ข้างหลังฉากและนักดนตรี สำหรับผมแล้วมันเป็นภาพที่
งดงามที่ผมจะไม่ลืม ในงานเฉลิมฉลองพระชนมายุครบ 60 พรรษาของสมเด็จพระ
นางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มีการจัดการแข่งขันนิทรรศการจิตรกรรมพู่กันทอง
เฉลิมพระเกียรติ ศิลปินจากทั่วประเทศไทยส่งผลงานเข้าร่วม สิ่งที่ดีที่สุดที่ผม
ได้รับจากการแข่งขันครั้งนี้คือการที่ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี และเงินรางวัลจำนวน 100,000 บาทจากการที่เป็นผู้ชนะ
รางวัลที่สาม หลังจากนั้นมาผมได้เน้นแนวคิดความมืด ได้รับรางวัลมากมาย
ระดับประเทศ เวลาเกือบ 10 ปีที่เป็นอาจารย์สอนวิชากายวิภาคที่
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ก่อนที่ลาออกจากงานในปีพ.ศ. 2542 เพื่อทำในสิ่งที่
ผมรักคือการเป็นศิลปินอิสระ ผลงานที่ผมทำในช่วงนี้ส่วนใหญ่จะเป็นภาพเขียน
แนวเหมือนจริงที่ทำให้เห็นภาพความมืดในยามค่ำคืน เป็นเรื่องเกี่ยวกับประเพณี
ท้องถิ่น วัฒนธรรม ศาสนา และศิลปะทางภาคใต้ของประเทศไทย ผมชอบวาด
ภาพหนังตะลุง การเต้นรำมโนราห์และวิถีทางศาสนา
จานีน: อาจารย์รู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับศิลปะทางภาคใต้ของประเทศไทย
รัตนชัย: ผมคิดว่างานศิลปะทางภาคใต้ของประเทศไทยพัฒนาขึ้นมากเมื่อ
เปรียบเทียบกับอดีต มีสถาบันสอนศิลปะที่มีชื่อเสียงและศิลปินระดับประเทศที่คอย
ให้คำแนะนำและชี้แนะแนวทางให้กับศิลปินรุ่นใหม่ รูปแบบและเทคนิคทั้งหมด
ได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมาและงานศิลปะสื่อผสม
หลายชนิดได้รับการพัฒนาขึ้น สำหรับตัวผมเองแล้วผมยังรักษาความเป็นตัวตน
และความชื่นชอบส่วนตัวแต่ผมก็อยากจะทดลองเทคนิคสื่อผสมอื่นๆ ที่แตกต่างกัน
จานีน: อยากทราบเกี่ยวกับความช่วยเหลือและความร่วมมือระหว่างศิลปินจาก
หลายภาคของประเทศไทย
รัตนชัย: ศิลปินหลายท่านทั่วประเทศไทยมารวมอยู่ด้วยกันในบางโครงการเช่น
“คืนสันติภาพให้กับภาคใต้” ผมรู้จักศิลปินทางเหนืออยุ่หลายท่านเช่นคุณพิชิต
ไปแดน อาจารย์เกรียงไกร เมืองมูล เราเคยทำงานด้วยกันเพราะว่าผมเกิดทาง
ภาคใต้ตอนล่าง ดังที่ผมได้กล่าวมาแล้วว่าผมได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากงาน
ศิลปกรรมเยาวชนและเข้าร่วมในการแข่งขันหลายรายการที่จัดโดยธนาคารเช่น
งานศิลปกรรมบัวหลวง (ธนาคารกรุงเทพ) ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย
งานศิลปกรรมช้างเผือก และงานนิทรรศการศิลปะหลายงานเพื่อเฉลิมพระเกียรติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
รวมแล้วผมได้รางวัลเกียรติยศมากกว่า 10 รางวัลตั้งแต่ปีพ.ศ. 2528 – 2558
|