ดิฉันมีโอกาสสัมภาษณ์ศาสตราจารย์เดชา วราชุน ศิลปินแห่งชาติ เกี่ยวกับเรื่อง
ชีวิตและหน้าที่การงาน ยิ่งดิฉันพูดคุยกับศาสตราจารย์เดชามากขึ้นเท่าไหร่ ดิฉัน
ยิ่งคิดว่าท่านเป็นคนที่ใช้ชีวิตกับความสุขมากขึ้นไปเท่านั้น
ศาสตราจารย์เดชา วราชุนเป็นอาจารย์สอนศิลปะที่ได้รับเลือกให้เป็นศิลปิน
แห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ในปีพ.ศ. 2550 เป็นแบบอย่างอาจารย์สอนศิลปะที่พัฒนา
แม่แบบทางศิลปะให้กับนักเรียนศิลปะให้เรียนรู้และทำการปรับปรุงผลงานที่
อาจารย์ได้ทำขึ้น ศาสตราจารย์เดชาจบจากวิทยาลัยเพาะช่างในกรุงเทพ ซึ่งเป็น
สถาบันการศึกษาที่เน้นทักษะทางศิลปะเป็นหลัก ศิลปินหลายท่านที่จบการศึกษา
จากวิทยาลัยเพาะช่างนั้นต่างมีชื่อเสียงและและอุทิศตนเองเพื่อประโยชน์ของ
สังคมไทย จากนั้นได้ศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยศิลปากร
ศาสตราจารย์เดชาพูดเกี่ยวกับการทำงานต่อไปอย่างต่อเนื่องว่าเป็นปัจจัยทาง
ศิลปะที่สำคัญ งานในลักษณะนี้จะถูกทำขึ้นด้วยสัญชาตญาณก่อนแล้วจากนั้นจึง
สามารถแก้ไขปรับปรุงได้อย่างสิ้นเชิง ต้องอาศัยการฝึกซ้อมและการฝึกภาคปฏิบัติ
ด้วยความขยันจึงจะบรรลุผลสำเร็จได้ บ่อยครั้งที่อาจารย์เดชาสร้างงานรูปถอด
แบบผลงานของท่านไว้เป็นตัวอย่างวัสดุเพื่อการเรียนรู้ของนักศึกษา ในช่วงหลายปี
ที่ผ่านมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2510 จนถึงปัจจุบันอาจารย์เดชาได้จัดแสดงนิทรรศการทาง
ศิลปะและส่งผลงานเข้าประกวดหลายครั้ง และยังได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิต
กิติมศักดิ์ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับงานศิลปะจากมหาวิทยาลัย 8 แห่งในประเทศไทย
ดิฉันรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้นำเสนอผลงานภาพวาดของศาสตราจารย์เดชา วราชุนที่
ถูกจัดแสดงในนิทรรศการศิลปะในประเทศไทยและต่างประเทศ นอกเหนือไปจาก
งานวาดภาพ อาจารย์เดชายังมีความสนใจในการทำเครื่องหนังและปั้นพระพุทธรูป
เขาเป็นศิลปินที่อ่อนน้อมถ่อมตนและไม่เห็นแก่ตัว ชื่นชอบการใช้ชีวิตอย่างเรียบ
ง่าย เช่นเดียวกับภาพวาดสีน้ำมัน สีน้ำ และสีอะครีลิค งานภาพพิมพ์ก็เป็นหนึ่งใน
เทคนิคที่อาจารย์ได้เลือกทำและรู้สึกภาคภูมิใจ สามารถที่จะกล่าวได้ว่าการเตรียม
งานภาพพิมพ์นั้นค่อนข้างที่จะต่างไปจากงานภาพวาดเหมือนจริงที่ต้องอาศัย
ทักษะการวาดภาพระดับสูงของศิลปิน งานภาพพิมพ์ต้องใช้การวางแผนล่วงหน้า
เป็นอย่างมากในขั้นตอนการผลิต ที่จะค้นหาสัญลักษณ์ที่เหมาะสมสำหรับการใช้
องค์ประกอบทางศิลปะ มันมีความสำคัญที่จะฝึกฝนความคิดและจินตนาการใด้
อย่างถูกต้อง ศาสตราจารย์เดชาได้ทำการสาธิตผลงานของท่านในฐานะที่เป็น
ศิลปินที่ประสบความสำเร็จและทำงานเป็นผู้ให้การศึกษาด้านศิลปะที่ยอดเยี่ยม
ต่อจากนี้ไปเป็นบทสัมภาษณ์
จานีน: อยากให้อาจารย์เล่าถึงประสบการณ์และความประทับใจในฐานะที่เป็น
อาจารย์สอนศิลปะ
เดชา: สำหรับนักศึกษาแล้วการศึกษาในสาขาที่เกี่ยวกับศิลปะต้องอาศัยการฝึกฝน
ตนเองด้วยความพากเพียร ต้องใช้เวลาและมีความใส่ใจในงานให้มากกว่าเดิม ด้วย
วีธีนี้นักศึกษาจะได้ประสบการณ์มากขึ้น นอกเหนือไปจากภาคทฤษฎีที่ได้
เรียนรู้จากการเข้าฟังบรรยายและการอ่านหนังสือแล้ว การฝึกปฏิบัติเป็นสิ่งสำคัญ
เช่นกัน ครูเป็นผู้ให้คำแนะนำและคำวิจารณ์เกี่ยวกับสิ่งดีและสิ่งไม่ดีในผลงาน
นักศึกษาเพื่อที่นักศึกษาจะได้แก้ไขข้อผิดพลาด ภาพเขียนเหมือนจริงเป็นเรื่อง
ของความถูกต้องที่นักศึกษาต้องฝึกฝนให้หนักเพื่อที่จะให้ผลงานออกมาดี สำหรับ
เรื่องความคิดสร้างสรรค์นักศึกษาต้องคิดให้มากๆ เพราะการฝึกฝนการคิดทาง
ศิลปะคือการถ่ายทอดประสบการณ์และการแสดงออกทางศิลปะสำหรับนักศึกษา
แต่ละคนเท่านั้น หนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพในการฝึกฝนความคิดสร้างสรรค์คือ
การสเก็ตช์ภาพให้มากๆ
|
ในฐานะที่เป็นอาจารย์สอนศิลปะ ผมมึความตั้งใจถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์
ที่มี ผมทำหน้าที่ชี้ทางให้นักศึกษาให้แสดงความตั้งใจทำรูปแบบศิลปะเฉพาะตัว
ของตนเอง การที่จะทำเช่นนี้ได้ ผมจะต้องทำตัวเป็นแบบอย่างในฐานะของ
อาจารย์สอนศิลปะและและศิลปินที่สร้างผลงานออกมาอย่างต่อเนื่อง ผมได้รับการ
แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ในปีพ.ศ. 2523 และจากนั้นเลื่อน
ตำแหน่งขึ้นเป็นรองศาสตราจารย์ในปีพ.ศ. 2526 ต่อมาในปีพ.ศ. 2546 ผมได้รับ
พระราชทานโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์โดยพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ หลังจากนั้นผมได้รับเลือกให้เป็นอาจารย์ดีเด่น
แห่งชาติสาขาศิลปกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยคณะกรรมการสภาอาจารย์
มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยในปีพ.ศ. 2547 ผมรู้สึกภาคภูมิใจกับเหตุการณ์
ต่างๆ เหล่านี้และรู้สึกประทับใจกับประสบการณ์สอนในฐานะที่เป็นอาจารย์
จานีน: อาจารย์ได้รับรางวัลมากมายและได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จาก
มหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศไทย สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการที่จะ
ให้ความรู้นักศึกษาศิลปะซึ่งเป็นสิ่งที่น่านับถือในสังคม
เดชา: ในวัยเด็กผมชอบงานหัตถกรรมหลายอย่างและชอบช่วยเหลือคนอื่น ใน
ตอนที่ผมทำงานเป็นอาจารย์ บ่อยครั้งที่ผมช่วยเหลือนักศึกษาที่มีฐานะยากจนแต่
มีความประพฤติดีโดยการให้เงินทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี โท และ
เอกเพราะว่าเงินที่ผมมีน่าจะนำไปใช้เพื่ออนาคตของคนดี จนถึงตอนนี้ผมช่วยให้
คำแนะนำและการสนับสนุนครูและอาจารย์ที่ต้องการจะได้รับการเลื่อนตำแหน่งใน
หน้าที่การงานด้านการสอน
ในความคิดของผม การที่จะเป็นครูสอนศิลปะที่ดี คนผู้นั้นจะต้องเป็นแบบอย่างที่ดี
ของผู้ให้และเป็นผู้สร้างงานศิลปะไปตลอดชีวิต นี่เป็นลำดับขั้นตอนของการพัฒนา
ชีวิตแบบค่อยเป็นค่อยไป สำหรับความสำเร็จด้านศิลปะจากการเข้าร่วมในการ
แข่งขันทางศิลปะในประเทศไทย ผมได้รับรางวัลจากงานศิลปกรรมแห่งชาติหลาย
ครั้งรวมทั้งรางวัลศิลปินยอดเยี่ยมสาขาภาพพิมพ์ในปีพ.ศ. 2525 ในปีพ.ศ. 2550
ผมเป็นผู้หนึ่งที่ได้รับเลือกให้เป็นศิลปินแห่งชาติในสาขาทัศนศิลป์ เช่นเดียวกันกับ
ที่ผมได้รับความสำเร็จในฐานะที่เป็นอาจารย์สอนศิลปะ ผมได้รับโปรดเกล้าแต่งตั้ง
จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์
และผมยังได้รับเครื่องราชอิสริยาภรย์ชั้นสายสะพาย มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก ผม
ยังได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยในประเทศไทย 8 แห่งคือ
1. มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม 2. มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
3. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง
4. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
5. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
6. วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
7. มหาวิทยาลัยบูรพา 8. มหาวิทยาลัยศิลปากร
ความดีงามของการให้แบบไม่มีเงื่อนไขคือความสุขของผู้ให้และผู้รับ แต่ลาภ
ยศถาบรรดาศักดิ์ ทรัพย์สินเงินทองเป็นเพียงผลพลอยได้จากการให้ที่ไม่หวัง
ผลตอบแทน
จานีน: ดิฉันทราบมาว่าอาจารย์เดินทางไปดูงานและร่วมงานทางศิลปะที่
ต่างประเทศหลายครั้ง อยากให้อาจารย์พูดถึงเรื่องความประทับใจ ความแตกต่าง
และความก้าวหน้าทางศิลปะในต่างประเทศ
เดชา: ผมเดินทางไปต่างประเทศเพื่อดูงานและไปเป็นการส่วนตัวหลายครั้งซึ่งเป็น
ประสบการณ์ที่มีค่าสำหรับผมผู้เป็นอาจารย์และศิลปินมาก ในหลายประเทศถือว่า
ศิลปะเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตเพราะว่าช่วยให้คนมีความสุข ในช่วงที่มี
นิทรรศการผู้คนก็จะรอเข้าแถวเป็นคิวยาวเพื่อเข้าชมงานนิทรรศการ และบางครั้ง
ศึกษาและผู้มาเยี่ยมชมรอเวลาเปิดพิพิธภัณฑ์ ความรักในงานศิลปะยังคงซึมซับอยู่
ในจิตใจจึงมีความเข้าใจลึกซึ้งในความงดงามและความสำคัญของศิลปะซึ่งเป็น
ประโยชน์ต่อสติปัญญาและสภาพจิตใจ งานศิลปะที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์หรืองาน
นิทรรศการจะถูกจัดแสดงเป็นส่วนๆในหลายๆ ยุคสมัยทางโบราณคดีหรือรูปแบบ
ศิลปะโบราณไปจนถึงศิลปะร่วมสมัย เช่นเดียวกับการจัดแบ่งเป็นหัวข้อเช่นแนว
เหมือนจริงและแนวนามธรรม ในสหรัฐอเมริกามีพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ซึ่งผู้คน
สามารถไปเยี่ยมชมได้ทุกวันโดยที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย
จานีน: อยากทราบเกี่ยวกับประวัติของอาจารย์ การศึกษา รางวัลที่ได้รับและงาน
อดิเรก
เดชา : ผมเป็นลูกชายคนสุดท้องจากพี่น้องทั้งหมดสามคน ในวัยเด็กผมเป็นคน
ชอบสังเกตสิ่งต่างๆรอบตัว และชื่นชอบทำงานหัตถกรรม ศิลปะ ดนตรีและกีฬา
ตอนแรกคุณพ่อไม่เห็นด้วยกับผมเรื่องการเรียนศิลปะเพราะคุณพ่อเชื่อว่าศิลปินทำ
รายได้ไม่มากและไม่มีอนาคต แต่ในท้ายที่สุดก็ยอมให้ผมเรียน 3ปีที่วิทยาลัยเพาะ
ช่างในปีพ.ศ. 2505 – 2507 (สถาบันแห่งนี้ได้รับการเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการ
เป็นวิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ในปีพ.ศ.
2550) ในช่วงเวลาที่ผมเรียนที่นั่นผมมีความสนใจในการเรียนศิลปะทุกชนิดที่มีการ
สอนในโรงเรียน บ่อยครั้งที่ผมออกนอกโรงเรียนไปวาดรูปสีน้ำ ในวันหนึ่งผมได้พบ
กับกลุ่มนักศึกษาจากวิทยาลัยช่างศิลป์ หนึ่งคนในกลุ่มนั้นทักทายและพูดคุบกับ
ผมแบบเป็นกันเอง ชื่อของเขาคือศาสตราเมธีนนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน (ได้รับ
ตำแหน่งศิลปินแห่งชาติพ.ศ. 2549) หลังจากที่จบจากวิทยาลัยเพาะช่าง ผมได้
พบกับเขาที่คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ (มหาวิทยาลัยศิลปากร)
เราได้กลายเป็นเพื่อนสนิทเมื่อเราได้ศึกษาอยู่ที่นั่นซึ่งเป็นการศึกษาแบบเข้มข้น
ด้วยความรู้สึกขยันผมผลิตผลงานออกมาเป็นจำนวนมากในตอนที่มีเวลาว่างและ
ผลงานหลายชิ้นชนะรางวัลศิลปินแห่งชาติ สิ่งนี้เป็นต้นกำเนิดของความเชื่อมั่นของ
ผมในการสร้างศิลปะเชิงนามธรรม
ผมได้จบการศึกษาปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยศิลปากรในปีพ.ศ. 2512 เมื่อปี
พ.ศ. 2514 ผมเริ่มต้นสอนศิลปะที่คณะสถาปัตยกรรมของสถาบันเทคโนโลยีพระ
จอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง ผมสอนที่นั่นเป็นเวลา 40 ปี ตั้งแต่ปีพ.ศ.
2514 - 2554 ช่วงปีพ.ศ. 2519 - 2522 ผมศึกษาระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัย
ศิลปากร วิชาส่วนใหญ่ที่ผมได้สอนเป็นวิชาพื้นฐานศิลปะ ในเวลาว่างผมก็ผลิตผล
งานศิลปะออกมาเรื่อยๆ ในตอนที่ผมทำงานภาพพิมพ์สำหรับงานศิลปกรรม
แห่งชาติและได้รับรางวัลจากงานนั้นหลายรางวัล ผมได้รับเกียรติให้เป็นศิลปินภาพ
พิมพ์ยอดเยี่ยมและผลงานของผมถูกส่งไปเข้าร่วมนิทรรศการภาพพิมพ์นานาชาติ
หลายครั้ง ผมใช้รางวัลต่างๆที่ได้มาเพื่อเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์และ
รองศาสตราจารย์
ผมเป็นคนที่จะทำอะไรทุกอย่างด้วยตนเองถ้าทำได้เช่นสร้างบ้านก่ออิฐฉาบ
ปูนซีเมนต์หรือต่อโต๊ะไม้ ผมยังเย็บผ้าและทำกระเป๋าหนังด้วยตนเอง สิ่งเหล่านี้
เป็นความชอบและงานอดิเรกไม่ใช่สินค้าที่นำไปขาย ผมพยายามปรับใช้เศรษฐกิจ
พอเพียงที่แนะนำโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ เพื่อการ
ดำรงชีวิต มันเป็นความสุขจากความสำเร็จของการที่ทำอะไรได้ด้วยตนเองจริงๆ
จานีน: อยากให้อาจารย์กล่าวถึงความร่วมมือกับบุคคลอื่น
เดชา: หลังจากที่ผมได้รับเลือกให้เป็นศิลปินแห่งชาติในปีพ.ศ. 2550 ผมเข้าร่วม
ในโครงการฝึกอบรมสำหรับนักศึกษาและครูสอนศิลปะในโครงการศิลปินแห่งชาติ
สัญจร 4 ภาคของประเทศไทยคือภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง
และภาคใต้เป็นประจำทุกปีในฐานะผู้ให้ความรู้ด้านศิลปะ กิจกรรมต่างๆจะ
ครอบคลุมไปถึง งานทัศนศิลป์ จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ สื่อผสม การ
ถ่ายภาพ สถาปัตยกรรม วรรณกรรม ดนตรี และการแสดง ในแต่ละปีเด็กนักเรียน
นักศึกษามหาวิทยาลัย เข้าร่วมในโปรแกรมครั้งนี้กว่า 1,000 คน และประมาณ 60
คนเป็นครูสอนศิลปะ นอกเหนือจากนี้ทุกปีผมได้รับเชิญให้ไปเข้าร่วมงานเวิร์คช็อป
ศิลปะที่จัดขึ้นโดยมหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศไทยที่มีการเรียนวิชาศิลปะ
จานีน: ดิฉันอยากทราบความประทับใจของอาจารย์ที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ กับงานศิลปะ
เดชา
: เป็นที่ทราบกันอย่างกว้างขวางว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล
อดุลยเดชฯ ทรงสนพระราชหฤทัยในทุกเรื่องที่สำคัญและจำเป็นสำหรับประชาชน
เช่นศิลปะ วรรณกรรม ดนตรี และกีฬา สำหรับงานศิลปะพระองค์ทรงสนพระราช
หฤทัยในการเขียนภาพหลายชนิดเช่นภาพเหมือนจริงและภาพเชิงนามธรรม
สำหรับผมและศิลปินอีกหลายท่านถือว่าพระองค์ทรงเป็นเอกอัครศิลปินที่เป็น
แบบอย่างที่ทรงอุทิศพระวรกายด้วยพระราชอุตสาหะ ผมเป็นผู้โชคดีที่ได้ทำตาม
พระบรมราโชวาทของพระองค์ที่สอนให้เป็นคนดีและซื่อสัตย์ แนวคิดเรื่องการใช้
ชีวิตอย่างพอเพียงและการให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนนั้นทำให้ทุกวันมีความสุข
โดยสมบูรณ์
|