Sc4logo-nv5-dk-ccw-377
Vichit Chaiwong - Arts of Thailand | Janine Yasovant | Scene4 Magazine | June 2016 |  www.scene4.com

จานีน ยโสวันต์

เวลาผ่านมาแล้วสิบเอ็ดปีที่กองดีแกลเลอรี่ และ วิชิต สตูดิโอถนนนิมมานเหมินทร์
กลายเป็นจุดนัดพบที่น่าประทับใจสำหรับนักสะสมงานศิลปะชาวต่างประเทศที่พัก
อาศัยหรือมาเยือนจังหวัดเชียงใหม่บ่อยครั้ง ที่แห่งนี้เป็นของคุณวิชิต ไชยวงศ์
ศิลปินที่มีชื่อเสียงที่ใช้บ้านของตัวเองเป็นสตูดิโอเก็บงานศิลปะอยู่ในสวนที่
สวยงาม (สถานที่แห่งนี้ยังใช้สำหรับงานนิทรรศการศิลปะและงานอีเวนต์ต่างๆ)

IMG_4591-cr

ดิฉันเดินวนไปรอบๆอย่างมีความสุขและชมภาพเขียนหลากหลายขนาดที่อยู่ใน
สตูดิโอ บางภาพเป็นการแสดงวัฒนธรรมล้านนาและประเพณีท้องถิ่น มีของใช้
ประดับตกแต่งบ้านและของที่ระลึกเช่นไปรษณียบัตรหรือภาพพิมพ์ คุณวิชิตยังได้
ออกแบบผลิตภัณฑ์ในสไตล์ล้านนาผสมกับแผ่นเงินและทองคำเปลว

ดิฉันเคยเห็นผลงานของคุณวิชิตที่ถูกซื้อไปประดับโรงแรมและรีสอร์ทหลายแห่ง
ในจังหวัดเชียงใหม่ เช่น นภาดอยรีสอร์ท บ้านแสนดอยรีสอร์ทและสปา สไตล์งาน
ของเขานั้นเมื่อได้เห็นแล้วยากที่จะลืม ก่อนที่จะมาเยี่ยมชมงานในครั้งนี้ ดิฉันไม่
เคยพบปะพูดคุยกับคุณวิชิตเป็นการส่วนตัวมาก่อนแต่ดิฉันทราบว่าเขาเป็นศิลปิน
เชียงใหม่ที่มีชื่อเสียงและดิฉันหวังที่จะสัมภาษณ์เขาในสักวันหนึ่ง

FullSizeRender[6]-cr

ห้องจัดแสดงคอนเสิร์ตของคุณวิชิตนั้นน่าประทับใจมาก ในตอนปลายเดือน
กันยายน พ.ศ. 2548 คุณวิชิตจัดแสดงคอนเสิร์ตของคล็อด เดอบุสซี่ และได้เชิญ
ดร. เบนเน็ต เลินเนอร์มาเป็นนักเปียโนในงานครั้งนั้น ดิฉันเคยเขียนบทความ
เกี่ยวกับงานครั้งนั้นไปแล้ว
เป็นผลงานเกี่ยวกับความฝันและความปรารถนาของ
ดร. เลินเนอร์ที่ได้รับเชิญจาก American Label Bridge Records ให้บันทึกเสียง
ผลงานทางดนตรีทั้งหมดของคล็อด เดอบุสซี่ (พ.ศ. 2405-2461) ดิฉันได้เก็บ
ภาพบรรยากาศของวันนั้นให้กับคนที่อ่านบทความซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดในฤดู
มรสุมทำให้เชียงใหม่น่าสนใจมากขึ้น

IMG_359-cr1

ตอนต้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2559 ดิฉันได้ทำการนัดหมายคุณวิชิต ไชยวงศ์

จานีน: ขอให้เล่าประวัติ เรื่องชีวิตของคุณและห้องแสดงภาพวาด

วิชิต: หลังจากที่ผมจบจากวิทยาลัยช่างศิลป์ กรมศิลปากร ผมใช้เวลาอยู่บ่อยครั้ง
ทำโปรเจ็คงานศิลปะ ผมมีความฝันและความมุ่งมั่นที่จะเป็นศิลปิน ตอนที่ผมยังเด็ก
ยังไม่ค่อยเข้าใจว่าจะอยู่ได้ดีอย่างไรในฐานะศิลปิน ผมลองไปทำหลายอาชีพมาก
เช่นเป็นข้าราชการ ทำงานรับจ้าง และเป็นเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก ผมได้คำตอบ
เหมือนเดิมคือเป็นศิลปินทำงานเต็มเวลาและมีชีวิตอยู่กับศิลปะไปตลอดชีวิต

แนวคิดทางศิลปะของผมมาจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว อันที่จริงมันเป็นความงดงาม
ตามธรรมชาติที่มีอยู่แล้ว การวาดวัตถุต่างๆ เพิ่มเติมเข้าไปเช่นต้นไม้ ดอกไม้
แม่น้ำ และผู้คนสามารถเน้นความงดงามให้เห็นได้ชัดเจน เราจะเห็นว่าความสุข
และความเศร้าสามารถผสมผสานในธรรมชาติของรูปภาพเดียวกัน ขึ้นอยู่กับว่าผม
จะแสดงอะไรและใช้วีธีการนำเสนอแบบไหน ผู้ชมภาพสามารถรับรู้ความรู้สึกเหงา
และความเศร้าที่ซ่อนอยู่ในรูปภาพทิวทัศน์ที่ผมวาดได้อย่างง่ายดาย

FullSizeRender[5]-cr

หลายปีแล้วที่ผมแสดงผลงานในกรุงเทพและจังหวัดเชียงใหม่ ผลงานของผม
บางส่วนถูกขายให้กับนักสะสมชาวไทยและชาวต่างประเทศ หลายคนติดตาม
ผลงานของผมตอนที่ผมจัดแสดงผลงานในห้องแสดงภาพที่อื่นๆ แต่ไม่นานมานี้
ผมเลือกที่จะเก็บงานภาพเขียนของผมทั้งหมดไว้ที่ห้องแสดงภาพของผมเองที่มี
ชื่อว่าวิชิต สตูดิโอ นักสะสมงานศิลปะและผู้มาเยือนสามารถเข้าชมผลงานของผม
ได้ที่นี่ สื่อสิ่งพิมพ์ท้องถิ่นและนิตยสารงานศิลปะหลายฉบับคอยช่วยโปรโมทและ
ประชาสัมพันธ์ห้องแสดงภาพ ในตอนนี้ผมยังไม่อยากทำธุรกิจงานศิลปะแบบเต็ม
ตัวเพราะผมคิดว่ามันจะดีที่สุดถ้าพัฒนาไปอย่างค่อยเป็นค่อยไปและเป็นธรรมชาติ
ความพึงพอใจของผมมาจากการเพิ่มจำนวนมากขึ้นอีกเล็กน้อยของนักสะสมงาน
ศิลปะหน้าใหม่และผู้มาเยี่ยมชมที่สนใจในผลงานของผม

จานีน: คุณคิดอย่างไรเกี่ยวกับศิลปะในวัฒนธรรมล้านนา

วิชิต: นานมาแล้วระบบการศึกษาไทยได้รับการออกแบบจากการตัดสินใจของ
ภาครัฐ มีสถานที่เพียงไม่กี่แห่งที่นักศึกษาสามารถเรียนรู้เรื่องล้านนาและศิลปะ
ทางภาคเหนือ เมื่อประมาณ 20 ปีก่อน แต่ละท้องที่หันกลับไปศึกษาศิลปะและ
วัฒนธรรมท้องถิ่นของตนเองมากกว่าที่เคยเป็นมา ในจังหวัดเชียงใหม่ คณะวิจิตร
ศิลป์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นผู้นำร่องโครงการนี้เพื่อให้ความรู้กับนักศึกษาและ
ผู้สนใจในความรู้เชิงลึกของศิลปะและวัฒนธรรมล้านนา ทำให้การศึกษาในสาขานี้
เป็นที่นิยมมากขึ้น นักศึกษาและผู้สนใจใด้เรียนรู้เกี่ยวกับรากเหง้าของศิลปะและ
วัฒนธรรมล้านนาในท้องถิ่นของพวกเขาเอง สิ่งนี้ทำให้การสร้างสรรค์งานศิลปะที่มี
อิทธิพลมาจากวัฒนธรรมล้านนามีความมั่นคงและแข็งแกร่งมากกว่าเดิม ศิลปิน
ภาคเหนือที่น่าสนใจที่ผมรู้จักคือ คุณพรชัย ใจมา คุณลิปิกร มาแก้ว และอาจารย์
ประสงค์ ลือเมือง พวกเขาเป็นศิลปินที่อุทิศตัวเองให้กับศิลปะล้านนาและศิลปะ
ภาคเหนือ

IMG_5555-cr

คุณสุวรรณ คงขุนเทียน นักออกแบบตกแต่งภายใน (ตอนนี้เป็นนักออกแบบ
ผลิตภัณฑ์และเครื่องเรือนที่มีชื่อเสียง) เคยกล่าวเอาไว้ว่าศิลปะแบบไทยหรือแบบ
ล้านนาได้รับการถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่น จากอดีตมาถึงปัจจุบัน ไม่ได้
สำคัญว่าคนไทยจะทำอะไรให้เป็นงานศิลปะหรือว่าจะทำงานศิลปะได้อย่างไร
ผลงานเหล่านั้นก็ยังคงเป็นศิลปะไทยและเป็นของคนไทย ประเภทและลักษณะ
ของศิลปะไทยอาจจะเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาและยุคสมัย มันจึงไม่แปลกเลยที่
คนไทยจะสร้างผลงานศิลปะได้อย่างลึกซึ้งมากกว่าเดิมเพราะว่ารากฐานงานศิลปะ
ในตอนนี้มีความมั่นคงแข็งแรง ไม่เหมือนกับในอดีตซึ่งผลงานศิลปะนั้นก้าว
กระโดดห่างจากแนวคิดศิลปะไทยดั้งเดิมมากเกินจนสูญเสียความเป็นตัวเองไป

FullSizeRender[1]-cr

จานีน: อยากทราบเรื่องการจัดการห้องแสดงภาพและการร่วมมือกับศิลปินจาก
ต่างประเทศ

วิชิต: ในช่วงเวลาหนึ่งผมได้มีโอกาสทำธุรกิจในการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ทำจาก
ไม้ ผมใช้ความรู้ที่ได้มาจากโรงเรียนช่างศิลป์ในการออกแบบและทำผลิตภัณฑ์ที่
เกี่ยวข้องกับความเชี่ยวชาญทางศิลปะของผม ผมได้เดินทางไปยังประเทศต่างๆ
ในยุโรป อเมริกาและเอเชีย แต่ละครั้งผมไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ ห้องแสดงภาพ
และห้องแสดงคอนเสิร์ต สิ่งนี้ช่วยให้ผมซาบซึ้งกับความงามของศิลปะต่างประเทศ
มากกว่าที่ผมได้อ่านในหนังสือ ผมรู้สึกว่าผมสามารถหมกมุ่นกับตัวเองในแนว
ความคิดของอารยธรรมจากประเทศเหล่านั้น

IMG_5947-cr

ถึงแม้ว่าผมเป็นนักธุรกิจก็ยังคงทำงานศิลปะอยู่อย่างต่อเนื่อง กองดีแกลเลอรี่ที่ผม
เคยทำในอดีตเป็นห้องแสดงภาพงานศิลปะผสมกับร้านค้าที่ขายการออกแบบ
ผลิตภัณฑ์ มีทั้งภาพเขียนและงานประติมากรรมสำหรับขาย ในบางครั้งกีการแสดง
คอนเสริ์ต สถานที่แห่งนั้นเป็นส่วนหนึ่งของความทรงจำที่ผมได้สร้างขึ้นเมื่อ 20 ปี
ก่อนที่จะถูกปิดตัวลงอย่างสวยงามเนื่องจากวัฎจักรแห่งความเปลี่ยนแปลงที่ไม่
สามารถหลีกเลี่ยงได้

แต่เดิมแล้ววิชิต สตูดิโอถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเก็บรวบรวมผลงานของผมเป็นหลัก ผม
ให้ศิลปินชาวไทยและชาวต่างประเทศมาจัดแสดงโปรโมทผลงานในห้องแสดง
ภาพได้ตามปกติแต่คงต้องลดระดับการบริหารจัดการแบบมืออาชีพลงจะได้มีเวลา
ทำงานศิลปะคอลเล็คชั่นชุดใหม่

IMG_5842-cr

วิชิต สตูดิโอแห่งใหม่ที่สันกำแพง ที่มีพื้นที่ใหญ่กว่าเดิม สวยงามมากกว่าเดิม
เปิดวันอังคารถีงวันอาทิตย์เวลา 9 โมงเช้า – 5 โมงเย็น วันปิดทุกวันจันทร์ ยินดี
ต้อนรับผู้มาเยืยนแบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม บางครั้งมีนักศึกษาจากเชียงใหม่และ
จังหวัดใกล้เคียงมาชมผลงานของผม ไม่นานมานี้นักเรียนออทิสติกจำนวน 30 คน
มาเยี่ยมแกลเลอรี่ของผมและพวกเราได้ทำกิจกรรมงานศิลปะร่วมกัน หลายๆ คน
จากชุมชนใกล้เคียงก็มาที่นี่เช่นกัน

IMG_6363-cr

กรุณาลงความเห็น เกี่ยวกับบทความนี้

Scene4 Magazine: Janine Yasovant

ส่ง
อีเมล์
หน้านี้

จานีน ยโสวันต์ เป็นนักเขียน
เธออาศัยอยู่ในเชียงใหม่ประเทศไทย
สำหรับบทความและบทวิจารณ์อื่นๆ ของ จานีน ยโสวันต์
กรุณาตรวจดู แฟ้มเก็บข้อมูล:

Search Janine Yasovant
Click Here for this article in English 

©2016 Janine Yasovant
©2016 Publication Scene4 Magazine

 

Sc4Logo-394wir

June 2016

Cover | This Issue | inView | inFocus | inSight | Perspectives | Comments | Blogs | Contact Us | Recent Issues | Special Issues | Masthead | Contacts&Links | Submissions | Advertising | Subscribe | Books | Your Support | Privacy | Terms | Archives

 

Search This ISSUE

Search This Issue

Search The ARCHIVES

Search The Archives

 Share This Page

Email

Share in Facebook

Facebook

 


Scene4 (ISSN 1932-3603), published monthly by Scene4 Magazine - International Magazine of Arts and Media. Copyright © 2000-2016 AVIAR-DKA LTD - AVIAR MEDIA LLC. All rights reserved. Now in our 17th year of publication with Worldwide Readership in 138 Countries and comprehensive archives of over 9000 pages.
 

Taos New Mexico www.scene4.com
Scientific American - www.scene4.com
Penguin Books-USA www.scene4.com
Character Flaws by Les Marcott at www.aviarpress.com
Bookends by Carla Maria-Verdino Süllwold - Scene4 Magazine - www.scene4.com
Thai Airways at Scene4 Magazine