เป็นความรู้สึกที่ดีสำหรับดิฉันที่ได้แนะนำศิลปินไทยภาคใต้ที่ในขณะนี้
ท่าน ทำงานเป็นผู้ประสานงานด้านศิลปะในภาคใต้ของประเทศไทย
หลังจากที่ทำงานในตำแหน่งผู้อำนวยการศิลป์ให้กับบริษัท (อัมรินทร์
พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด) ที่ได้จัดพิมพ์หนังสือบ้านและสวน แพรว
สุดสัปดาห์ และแมกกาซีนที่มีชื่อเสียงหลายฉบับในประเทศไทย คุณ
ชัยศักดิ์ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีและโทจากมหาวิทยาลัยศิลปากร
มหาวิทยาลัยหลายแห่งชักชวนให้ไปเป็นอาจารย์แต่คุณชัยศักดิ์ปฎิเสธ
และเลือกทำงานที่บริษัทเอกชนเพราะว่ามีความเหมาะสมกับกับตนเอง
มากกว่า เป็นเวลาหลายปีแล้วที่คุณชัยศักดิ์ไม่เคยหยุดทำในสิ่งที่ตนเอง
|
รักมากที่สุดคืองานภาพพิมพ์แกะไม้ ดิฉันขอพูดว่าผลงานของคุณ
ชัยศักดิ์มีความโดดเด่นและยากที่จะอธิบาย เนื่องด้วยว่าคุณชัยศักดิ์มา
จากทางภาคใต้ของประเทศไทย แรงบันดาลใจหลักของงานภาพพิมพ์
แกะไม้อาจมาจากท่วงท่าการเคลื่อนไหวของการรำสิละซึ่งเป็นพิธิการ
ร่ายรำต่อสู้ของชาวมุสลิมในภาคใต้ ที่น่าประทับใจก็คือเมื่อหลายปี
มาแล้วตอนที่ลมมรสุมพัดเข้ามาในอ่าวไทย จินตนาการของเขาได้แสดง
ภาพของมรสุมในลักษณะของภาพนามธรรมได้ดี ผู้เข้าชมมีความรู้สึก
ได้ถึงอะไรบางอย่างที่ดูลึกซึ้งกว่าการชมดูภาพเขียนชิ้นหนึ่ง คุณ
ชัยศักดิ์เป็นผู้ที่วางแนวคิดบน พื้นที่ว่างและรูปต้นไม้ในผลงานภาพ
นามธรรมของเขา ในตอนนั้นเขาสร้างภาพพิมพ์ที่มีขนาดใหญ่เพื่อพิมพ์
ลงกระดาษสา (แผ่นกระดาษทำด้วยมือแบบดั้งเดิม) เพราะตอนนั้นยังไม่
มีแท่นพิมพ์ที่รองรับขนาด 300 ซม. x 420 ซม. อีกทั้งยังได้ใส่รูปทรง
ต่างๆ กิ่งไม้ ใบไม้เพื่อสร้างโครงเหมือนกับโมบายแบบแขวน ผลงาน
ภาพพิมพ์แกะไม้อาจเป็นต้นแบบที่จะดึงเอาแนวคิดนามธรรมที่แท้จริง
เพื่อนำไปใช้กับผลงานในอนาคต
หลังจาก 40 ปีที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพ คุณชัยศักดิ์กลับมาที่จังหวัดสงขลา
และมุ่งมั่นที่จะอุทิศตัวเองให้กับชุมชนเพื่อที่จะสร้างสิ่งที่เข้าใจได้ง่าย
กว่าผลงานภาพนามธรรมที่ผ่านมา สิ่งที่มุ่งหวังคือให้โอกาสกับทุกคน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนรุ่นใหม่ในชุมชน เขาเริ่มวาดภาพพระบรมฉายา
ลักษณ์ 9 ภาพแล้วส่งไปประมูลเพื่อหาเงินให้กับโรงพยาบาลโดยที่ไม่
หักค่าใช้จ่าย วิธีนี้เป็นการช่วยเหลือบ้านเกิดและชุมชน ในความคิดของ
ดิฉัน ภาพเขียนของคุณชัยศักดิ์ไม่ได้ด้อยไปกว่างานภาพพิมพ์แกะไม้
แต่อย่างใด วิธีการเขียนภาพนั้นทำให้ดิฉันสนใจได้เสมอและอยากจะให้
คนที่อยู่ที่ถิ่น บ้านเกิดของคุณชัยศักดิ์รู้สึกภาคภูมิใจกับผลงานของ
ศิลปินท่านนี้
ต่อไปนี้เป็นบทสัมภาษณ์
จานีน: กรุณาเล่าเกี่ยวกับกิจกรรมทางศิลปะหลังจากที่คุณกลับมายัง
ภาคใต้ของประเทศไทย
ชัยศักดิ์:สำหรับการกลับมายังภาคใต้หลังจากเวลา 40 ปีในกรุงเทพ สิ่ง
ที่ผมสนใจทำอยู่ในตอนนี้ไม่ใช่เพียงแค่ทำงานศิลปะส่วนตัวเท่านั้นแต่
ยังรวมไปถึงการสนับสนุนศิลปินรุ่นใหม่และโปรโมทงานศิลปะในชุมชน
ที่ผมอาศัยอยู่ นาทวีเป็นอำเภอเล็กๆในจังหวัดสงขลาซึ่งยังต้องมีการ
พัฒนาในทุกรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาศิลปะสำหรับเด็กเล็ก
รวมไปถึงครูอาจารย์ เช่นเดียวกับการเข้าถึงศิลปะสำหรับคนในชุมชนที่
ยังต้องการความช่วยเหลือและการช่วยโปรโมทผลงาน
ในตอนเริ่มแรกผมวาดภาพพระราชวงค์จำนวน 9 ภาพเพื่อหาทุนให้กับ
โรงพยาบาลประจำอำเภอโดยที่ไม่หักค่าใช้จ่าย ในตอนที่สมเด็จ
พระเทพฯ เสด็จพระดำเนินเยี่ยมโรงพยาบาล ผู้อำนวยการของ
โรงพยาบาลขอให้ผมทำการตกแต่งอาคาร 5 ชั้น ในฐานะของผู้
|
ประสานงานผมได้คุยกับชุมชนเพื่อขอความร่วมมือทำกิจกรรมศิลปะใน
โอกาสอันพิเศษนี้ ผมยังได้เสนอแนวคิดและขั้นตอนการทำงานให้กับ
คนอีก 300 คนรวมทั้งกลุ่มผู้นำ ครูอาจารย์ และนักเรียนในพื้นที่นั้น
ท้ายที่สุดเราได้ภาพวาดทั้งหมด 300 ภาพเพื่อจัดเตรียมเป็นชุดเดียวกัน
และหลังจากนั้นภาพทั้งหมดจะถูกจัดแสดงในบริเวณต่างๆ ของ
โรงพยาบาล โครงการนี้ได้ผลตอบรับเป็นที่น่าพอใจมาก ทำให้ผมคิดว่า
ถ้าเราให้โอกาสกับชุมชนให้ดำเนินการต่อไปให้มากกว่านี้ มันจะเป็น
ประโยชน์สำหรับชุมชนอย่างแน่นอนเพราะทุกคนมีความสุขและเต็มใจ
ทำกิจกรรม นอกเหนือไปจากนี้ก็เป็นหนทางที่ดีในการค้นหาผู้ที่มี
พรสวรรค์ในหมู่นักเรียนเพื่อที่ใด้แนวทางการศึกษาศิลปะถ้าพวกเขา
อยากเรียนศิลปะต่อไปในอนาคต และสิ่งนี้ยังช่วยแก้ปัญหาการขาด
แคลนนักเรียนศิลปะบางส่วนให้กับมหาวิทยาลัย 3 แห่งที่มีการเรียนการ
สอนวิชาศิลปะ ผมได้เสนอแนวคิดนี้ให้กับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด
สงขลาเรียบร้อยแล้ว
|
โดยทั่วไปแล้วจังหวัดสงขลาในความคิดของผมนั้นมีศักยภาพในหลายๆ
ด้านและตอนนี้ยังอยู่ในช่วงการฟื้นฟูความรุ่งเรืองจากอดีตกาลโดยการ
บูรณะและบำรุงรักษาเมืองเก่า เมื่อไม่นานมานี้บริษัทเอกชนบางรายได้
ทำการปรับปรุงอาคารหลังเก่าและจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ศิลปะภายในพื้นที่
ขนาดใหญ่ในเมืองเก่าด้วยความหวังว่าสงขลาจะเป็นศูนย์กลางของ
ศิลปะทางภาคใต้
จานีน: ดิฉันได้เห็นงานสื่อผสมตอนที่คุณวาดรูปพระมหากษัตริย์ในราช
วงค์จักรี ดิฉันยังรู้สึกสงสัยกับเทคนิคปูนลอฟท์ อาจารย์ไปพบเจอ
เทคนิคนี้ได้อย่างไร
ชัยศักดิ์: ตอนที่ผมกำลังปรับปรุงบ้านโดยการทาปูนลอฟท์ที่กำแพง การ
สัมผัสกับพื้นผิวโดยตรงและความรู้ทางด้านเทคนิคได้บอกกับผมว่า
เทคนิคนี้มีความเป็นไปได้ที่จะนำมาพัฒนาและใช้ในการเขียนภาพลงบน
ผ้าใบ ในตอนแรกผมลองเขียนลงบนกำแพงดูก่อนเพื่อดูว่าจะวาดและลง
สีบนเฟรมวาดรูปเหมือนกับการใช้สีบนผ้าใบใด้อย่างไร ผมต้องค้นหา
ชนิดของผ้าที่เหมาะสมก่อนที่จะทาปูนลอฟท์ลงบนผ้าอีกด้วยและต้อง
หาวิธีขัดขวางไม่ให้สีถ่านชาโคล สีเครยอง และสีชอล์กสูญเสียความ
เข้มของสีและวิธีผสมสีฝุ่น สีน้ำมัน สีชอล์ก สีอะครีลิก สีกาแฟชาโคล
และดินสอสี หรือการเคลือบพื้นผิวโดยใช้ขี้ผึ้ง พาราฟิน สารเคลือบสี
ของเบเยอร์ ยูริเทนน้ำ ผมยังต้องดูความทนทานของชิ้นงาน สมบัติการ
ดูดซึมสี รวมไปถึงสีที่ใช้บนพื้นผิว ปัญหาอุปสรรคทั้งหมดจะถูกนำมา
ทดสอบในทางปฎิบัติ แต่โชคดีที่ว่าดินสอสี สีถ่านชาโคล สีเครยองและ
สีชอล์กสามารถใช้ลงบนพื้นผิวได้อย่างถาวรโดยใช้เทคนิคที่ผมได้
ค้นพบมา
|