Scene4-Internal Magazine of Arts and Culture www.scene4.com
Thai Martial Arts with Pedro Solana | Interviewed by Janine Yasovant | Scene4 Magazine - November 2017 | www.scene4.com

ศิลปะการต่อสู้ของไทย
กับเปโดร โซลาน่า

จานีน ยโสวันต

“เป้าหมายหลักของค่ายอบรมเราไม่ใช่เพียงแค่ต่อสู้กับฝ่ายตรงข้ามเท่านั้นการ
ฝึกฝนยังรวมไปถึงการทำสมาธิเพื่อเอาชนะความอ่อนแอภายในใจอีกด้วยเราจะ
เป็นนักรบไปตลอดชีวิต”

ดิฉันขอแนะนำให้รู้จักกับชาวสเปนผู้มีความชื่นชอบในศิลปะการต่อสู้โดยเฉพาะ
มวยไทยและอาวุธไทย คุณเปโดร โซลาน่า ในขณะนี้เขาอาศัยอยู่และเปิดค่าย
ฝึกฝนศิลปะไทยในการเรียนการต่อสู้ที่เรียกกันว่ามาร์เชียลอาร์ตในอำเภอแม่แตง
จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทยเพื่อสอนมวยไทยและอาวุธไทยให้กับผู้สนใจที่มา
จากทั่วโลก

คุณเปโดร โซลาน่าเกิดที่ประเทศสเปน เขาเริ่มเข้าสู่โลกแห่งศิลปะการต่อสู้ด้วย
การฝึกฝนยูโดตอนที่เขามีอายุเพียงแค่ 6 ปี ในช่วงยุคปี 80 เขาได้รับการแนะนำ
ให้รู้จักกับมวยไทยโดยอาจารย์ ยูจีนิโอ้ เฟลวเลอ ตอนนั้นอาชีพการเป็นนักสู้ของ
เขาได้เริ่มต้นขึ้น ในช่วงต้นยุค 90 เขาย้ายไปอยู่ที่สหรัฐอเมริกาเพื่อฝึกฝนมวย
ไทยเพิ่มเติมภายใต้การสอนของอาจารย์สุรชัย ศิริสูตร์และต่อสู้เป็นอาชีพเรื่อยมา
เป็นเวลาอีกหลายปี ในช่วงหลายปีนั้นเขาได้ฝึกฝนวิชาการต่อสู้อื่นๆ รวมไปถึงมวย
หย่งชุนกับอาจารย์ฟรานซิส ฟง มวยคาลี (ศิลปะการต่อสู้ของฟิลิปปินส์) โดยคุณ
กุโร แดน อิโนซานโต้ และอาจารย์อีกหลายท่านในวิชาการปล้ำเหวี่ยง (พี่น้องมา
ชาโด รอยส์ กราเซีย ริคาร์โด้ เมอเกล และจาคาร์ คาวาวคานเต้) ปีพ.ศ. 2541
หลัง จากที่เป็นแชมเปี้ยนมวยไทยอาชีพรุ่นมิดเดิ้ลเวทในสหรัฐอเมริกา เขา
ตัดสินใจเดิน ทางมาพำนักอาศัยที่ประเทศไทยเป็นเวลาหนึ่งปีเต็มเพื่อฝึกฝน
ทักษะมวยไทยและกระบี่กระบองเพิ่มเติม ปีพ.ศ. 2543 เขาได้เปิดสถาบัน
Thailand Arts Institute ที่เมืองแอตแลนต้ารัฐจอร์เจียเพื่อสนับสนุนอาชีพนักสู้
ของเขา ปีพ.ศ. 2545 เขาได้ย้ายมาอยู่อาศัยที่ประเทศไทยเป็นการถาวรเพื่อ
ฝึกฝนเพิ่มเติม หลังจากที่บวชเป็นพระเขาได้ไปฝึกมวยไทยไชยากับครูเล็กและ
กลับมาเรียนกระบี่กระบองกับอาจารย์ศิลา เมษะมานที่สำนักวัดพุทไธสวรรค์ ปี
พ.ศ. 2546 คุณเปโดรเปิดค่ายอบรมแห่งแรกในประเทศไทย ปีพ.ศ. 2553 เขาได้
เพิ่มเนื้อหาการสอนไปถึงศิลปะการต่อสู้แขนงอื่นๆ ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้รวม
ไปถึง สีลัต(ศิลปะการต่อสู้ของประเทศอินโดนิเซีย) มินังกาเบา โบกะทอ (ศิลปะการต่อสู้ของประเทศกัมพูชา) และคาลาริปปายัต (ศิลปะการต่อสู้ของชาวคาราลา
ในทางใต้ของประเทศอินเดีย) จากการที่เขาได้สัมผัสกับศิลปะการต่อสู้หลายชนิด
ทำให้เขาได้คิดค้นระบบการป้องกันตัวที่มีความเฉพาะตัวและมีประสิทธิภาพที่เขา
ให้ชื่อว่า “Muay Thai Sangha Fighting Arts” ภายหลังด้วยประสบการณ์ ความ
เข้าใจอันลึกซึ้งและการค้นพบตัวเอง คุณเปโดรได้ตระหนักถึงบางอย่างตอนที่ทำ
สมาธิว่ายังมีสิ่งที่ขาดหายไปจากศิลปะการต่อสู้ ในปีพ.ศ. 2556 เขาได้ตัดสินใจ
ผสมผสานแนวคิดการฝึกฝนปราณภายในเข้าด้วยกันและพัฒนาศิลปะการป้องกัน
ตัวรูปแบบใหม่ที่เขาให้ชื่อว่า“Kshatria Sangham Internal Arts”ซึ่งได้รวม
แนวคิดทั้งหมดจากประสบการณ์การต่อสู้ของเขาในอดีต

งานของคุณเปโดรในตอนนี้เกี่ยวข้องกับการสอนสัมมนาทั่วโลก จัดทำภาพยนต์
สารคดีเพื่อข้อความสำคัญสำหรับมนุษยชาติที่เกี่ยวข้องกับการเอาชนะความกลัว
ภายในใจ พัฒนาและเข้าใจ“ตัวเอง” โดยผ่านวิถีทางของศิลปะการต่อสู้

ต่อไปนี้เป็นบทสัมภาษณ์

จานีน:คุณเปโดรเป็นมืออาชีพในศิลปะการต่อสู้ของไทย ได้เข้ามาศึกษา เข้าร่วม
การแข่งขันในหลายๆ แห่งทั่วโลก และยังได้เปิดค่ายอบรม Muay Thai Sangha
Campขึ้นมาในจังหวัดเชียงใหม่ กรุณาบอกให้เราทราบว่าอะไรคือแรงบันดาลใจ
สำหรับคุณเกี่ยวกับศิลปะการต่อสู้และเหตุผลที่เปิดค่ายฝึกแห่งนี้ขึ้นมา

pd1-cr

เปโดร:มีเหตุผลอยู่หลายประการที่ทำให้ผมเรียนศิลปะการต่อสู้แต่โดยแก่นแท้
แล้วแรงบันดาลใจทั้งหมดของผมก็คือความอยากเป็นมนุษย์ที่ดีกว่าเดิม ผมพบ
แล้วว่าศิลปะการต่อสู้เปรียบเหมือนเป็นพาหนะที่จะพาคุณมุ่งไปหาการพัฒนา
ตัวเองทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณเมื่อถูกรับเข้ามาเป็นการใช้ชีวิต
ในรูปแบบที่ถูกต้องแทนที่จะเป็นเพียงการออกกำลังกายเท่านั้น ก็เหมือนกับ
ศาสตร์วิชาอะไรก็ตามที่คนเราเลือกที่จะมุ่งไปเรียน คุณได้เริ่มต้นแบ่งปันการแสดง
อารมณ์ของคุณเองกับผู้อื่นและสุดท้ายคือวิสัยทัศน์ของคุณเองโดยที่หลีกเลี่ยง
ไม่ได้ สิ่งนี้เป็นความจริงโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องศิลปะการต่อสู้ที่ยอมให้มีสังเวียน
เอาไว้แบ่งปันทักษะและความเข้าใจกับมนุษย์ผู้อื่นในระดับบุคคล โดยผ่านทางการ
พัฒนาของตัวผมเอง ผมได้เรียนรู้ที่จะเข้าใจตัวเองได้ดียิ่งขึ้นและในทางตรงกันใน
อีกด้านหนึ่งก็เข้าใจโลกที่อาศัยอยู่ แรงบันดาลใจของผมที่จะเป็นคนที่ดีกว่าเดิม
ทำให้ผมได้เห็นบทบาทในการช่วยทำโลกให้ดีขึ้นซึ่งนั่นก็คือเหตุผลว่าทำไมผมถึง
เปิดค่ายฝึกแห่งนี้ ผมมีความเชื่อว่าเมื่อเราดีขึ้นและได้ช่วยเหลือผู้อื่นในระหว่าง
ทางนั้น เราก็สามารถปรับเปลี่ยนชีวิตให้ดีกว่าเดิมได้ เมื่อเรารู้จักตัวเองเราก็เริ่มจะ
ทำการเปลี่ยนแปลงได้

จานีน:คุณฝึกฝนศิลปะการต่อสู้อะไรมาบ้าง และใครเป็นอาจารย์ถ่ายทอดศิลปะ
การต่อสู้ให้คุณในสหรัฐอเมริกา ประเทศไทย และสเปน

IMG20170916111857-cr

เปโดร:ผมเริ่มฝึกฝนศิลปะการต่อสู้ตอนมีอายุได้ 6 ปี ได้ก้าวเข้าไปในโรงฝึกยูโด
ในประเทศสเปน ตอนที่ผมมีอายุ 17 ปีผมฝึกคิ้กบ็อกซิ่งภายใต้การฝึกสอนของ
อาจารย์ ยูจีนิโอ้ เฟลวเลอซึ่งเป็นที่ๆ ผมได้รับสายดำขั้นที่ 1 จากนั้นมาผม
เปลี่ยนไปฝึกฝนมวยไทยในสหรัฐอเมริกากับสมาคมของอาจารย์สุรชัย ศิริสูตร์เป็น
เวลา 6 ปีและฝึกฝนจนได้ระดับผู้ฝึกสอนอยู่ในสมาคมมวยไทยของสหรัฐอเมริกา
ตลอดช่วงระยะเวลานั้นผมได้สำรวจศิลปะการต่อสู้หลายชนิดรวมไปถึงมวยคาลี
วิชาปล้ำเหวี่ยงต่างๆ เช่นยิวยิตสุก็ได้เรียนมาจากอาจารย์หลายท่าน ขณะที่อยู่ใน
สหรัฐอเมริกาผมมีระดับสายดำและเป็นผู้ฝึกสอนมวยหย่งชุนกับอาจารย์ฟรานซิส
ฟง อยู่ภายใต้สมาคมมวยหย่งชุนของสหรัฐอเมริกา เมื่อผมมาถึงประเทศไทยและ
เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีโรงเรียนและคุณครูมากมายที่ผมได้มีประสบการณ์รับ
ความรู้จากพวกท่าน ศิลปะการต่อสู้ที่ผมได้เรียนนั้นรวมไปถึงมินังกาเบา โบกะทอ
คาราริปายัต และสีลัตซึ่งผมได้ฝึกจนได้เป็นผู้ฝึกสอนอยู่กับคุณไซออฟิยัน นาเดีย
สมี สิ่งที่ติดตัวผมมาจากประเทศไทยคือคำสั่งสอนที่ได้มาจากครูเล็กซึ่งเน้นไปที่
เรื่องมวยไชยาเป็นหลักซึ่งผมได้อุทิศเวลาเพื่อที่จะเป็นผู้สอนที่ได้รับอนุญาต
นอกเหนือจากมวยไชยา ผมได้รับสายคาดทองระดับ 8 เพื่อเป็นอาจารย์สอนวิชา
กระบี่กระบองที่สำนักดาบวัดพุทไธสวรรค์กับครูศิลา เมษะมานและกลายเป็นผู้
ฝึกสอนอยู่ที่สำนักศรีอยุธยา จังหวัดเชียงใหม่ มีความสุขที่ได้เรียนรู้วิชาจากครู
ก้อง ศิลปะการต่อสู้ทั้งสองชนิดยังคงก้องกังวานอยู่ในตัวผมเนื่องมาจากความเรียบ
ง่ายและความสง่างามที่แสดงออกมาผ่านการเคลื่อนไหวและการเชื่อมต่อที่ผมรู้สึก
ได้จากประวัติศาสตร์ของวิชาการต่อสู้ทั้งสองแขนงและประสบการณ์ในอดีต จาก
ศิลปะการต่อสู้แขนงต่างๆ ที่ผมได้เรียนมานี้ผมไม่ได้ทำเพียงแค่การฝึกฝนเท่านั้น
แต่ผมยังได้มีประสบการณ์นำไปใช้แข่งขันเพื่อที่จะทดสอบความสามารถและทำ
ให้ความรู้ของผมแน่นมากขึ้น มีอาจารย์หลายท่านที่ถ่ายทอดความรู้ให้ผมมากมาย
และผมสามารถกล่าวได้ว่าผมขอขอบคุณสำหรับโอกาสต่างๆ ที่ได้มีร่วมกัน

จานีน:ในความคิดของคุณ อะไรคือประโยชน์ของการเรียนรู้และฝึกฝนศิลปะการ
ต่อสู้

pd2-cr

เปโดร: มีอยู่หลายมุมมองของการพัฒนาตนเองที่สามารถพบได้ในการฝึกฝน
ศิลปะการต่อสู้ซึ่งเกี่ยวข้องกับหนึ่งในสองหัวข้อที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กันนั่นคือเรื่อง
ของร่างกายและจิตใจแต่ละเรื่องก็มีประโยชน์ในตัวเองซึ่งไม่มีข้อจำกัดภายนอก
ของสิ่งที่คุณมอบให้ตัวเองสำหรับด้านร่างกายเมื่อฝึกฝนศิลปะการต่อสู้ประโยชน์
สูงสุดที่ได้รับน่าจะเป็นเรื่องสุขภาพเพราะเราเริ่มมองเห็นประโยชน์ของการหายใจ
อย่างมีสติและความสัมพันธ์กับความเคลื่อนไหวของร่างกายในลักษณะอาการที่มี
ประสิทธิภาพ ความมีประสิทธิภาพนั้นเห็นได้ชัดเจนเพราะเรารู้สึกถึงความเคลื่อน
ไหวที่ศิลปะการต่อสู้แต่ละชนิดได้พัฒนาการประสานงานในร่างกายของเราเพราะ
ทุกสิ่งเคลื่อนที่ไปด้วยความสอดคล้องกัน เหมือนกับว่าสิ่งใดก็ตามที่ใช้แรงกาย
มากในวิถีของศิลปะการต่อสู้ก็จะมีข้อได้เปรียบในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อและ
ความแข็งแกร่งของเส้นเอ็น ทำให้ความยืดหยุ่นของเรากว้างขึ้นในขณะเดียวกันก็
ได้ความอดทนสูงตามไปด้วย มีการเติบโตทางด้านจิตใจที่เท่าเทียมกับทางด้าน
ร่างกายเพราะการฝึกฝนต่างๆ เหล่านี้ต้องอาศัยความมุ่งมั่นที่จะเอาชนะความท้า
ทายของจิตใจและร่างกาย หนึ่งในประโยชน์สูงสุดของการพัฒนาด้านจิตใจก็คงจะ
เป็นเรื่องของความมั่นใจ โดยผ่านการฝึกซ้อมจะทำให้คุณมีประสบการณ์
เผชิญหน้ากับความกลัวมากมายและความรู้สึกด้านลบต่างๆ ที่อยู่ภายในตัวเรา การ
จัดการกับพลังงานต่างๆนี้จะทำให้แต่ละคนมีโอกาสที่จะเปลี่ยนพลังงานที่ได้รับให้
เป็นแรงด้านบวก การที่เราอ่อนน้อมถ่อมตนทำให้เราสร้างการเคารพตนเองซึ่งจะ
ส่งต่อให้กับคนอื่นและสภาพแวดล้อมรอบข้าง

จานีน: เป็นเวลาหลายปีแล้วที่ค่ายมวยไทยสังหะเป็นที่รู้จักของคนหลายคนกรุณา
เล่าให้เราฟังถึงหลักสูตรศิลปะการต่อสู้ที่คุณเปิดสอนที่ค่ายมวยไทยสังหะ

pd3-cr

เปโดร: ค่ายมวยไทยสังหะใช้วิธีการพิเศษในการสอนศิลปะการต่อสู้ของประเทศ
ไทยซึ่งสามารถได้รับประสบการณ์ผ่านการมาเยี่ยมชมเป็นรายวันหรือช่วงระยะเวลา
หนึ่ง เราได้จัดหลักสูตรที่โรงเรียนเป็นรายสัปดาห์หรือหลักสูตรแบบเข้มข้นเป็นราย
เดือนโดยปกติแล้วในหนึ่งวันจะแบ่งเป็นเรียนการฝึกฝนอาวุธในตอนเช้าเป็นเวลา
สองชั่วโมง และอีกสองชั่วโมงตอนบ่ายเป็นการต่อสู้มือเปล่าตลอดทั้ง 5 วันในหนึ่ง
สัปดาห์และอีกครึ่งวันในวันเสาร์ หลักสูตรเข้มข้นรายเดือนขยายช่วงเวลาการฝึก
ไปจนถึงสามชั่วโมงในแต่ละช่วง ในช่วงเวลาตอนเช้าการเรียนจะเน้นในเรื่องดาบคู่
ไม้พลอง และมีดสั้นซึ่งจะใช้ทั้งการเคลื่อนที่จู่โจมและตั้งรับ มึความจำเป็นจะต้อง
อาศัยฟุตเวิร์คที่มีประสิทธิภาพเวลาที่จะต่อกรกับอาวุธในสถานการณ์จริงและเป็น
เรื่องที่สำคัญต่อการอยู่รอดและการตาย สำหรับเรื่องความสอดคล้องของกระบวน
ท่านั้นเป็นสิ่งที่ได้เน้นเอาไว้ในศิลปะการต่อสู้ทุกแขนงเพราะเราจะต้องเชื่อมต่อ
การเคลื่อนไหวของทั้งร่างกายในขณะที่มีจิตใจสงบเมื่ออยู่ภายใต้ความกดดันเวลา
ที่ต้องใช้อาวุธ ไม่เพียงแต่ว่าจะมีความสำคัญของการจัดวางร่างกายในเวลาโจมตี
และป้องกันเท่านั้นแต้ยังรวมไปถึงความสามารถในการใช้เทคนิคในการโจมตีและ
ป้องกันได้ในเวลาเดียวกัน นักเรียนจะมีความเข้าใจที่ดีขึ้นในการโจมตีสวนกลับ
และการป้องกันการการโจมตีสวนกลับ การฝึกอาวุธในตอนเช้าจะมีลักษณะร่วมกัน

pd4-cr

หลายอย่างกับการฝึกต่อสู้มือเปล่าในตอนเย็นในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้
กระบวนท่าแม้ว่าจะมีการฝังรากลึกเอาไว้ในมวยไทยกีฬาและมวยไทยไชยาก็ตาม
ตามที่ได้กล่าวมาว่าก่ารพัฒนาร่างกายเป็นพื้นฐานของศิลปะการต่อสู้เหล่านี้ซึ่งได้
มีการเน้นไว้ด้วยความตั้งใจตลอดช่วงเวลาหลักสูตร เช่นเดียวกับการฝึกอาวุธ
หลักสูตรนั้นทำให้แน่ใจว่าได้สอนฟุตเวิร์คที่เหมาะสม นักเรียนจะได้เคลื่อนไหว
อย่างมีประสิทธิภาพในการหลบหลีก ป้องกัน สวนกลับ และโจมตี แน่นอนว่า
นักเรียนจะไม่ได้เรียนเพียงแค่การเคลื่อนไหวร่างกายเท่านั้นแต่ยังได้เรียนการ
โจมตีอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้หมัด ศอก และการใช้ขารวมไปถึงเท้า หน้าแข้ง
และหัวเข่า ในชั้นเรียนจะมีการออกกำลังกายไปตามโครงสร้างของร่างกายแล้วจึง
เปลี่ยนไปเป็นการจู่โจมในรูปแบบต่างๆ ซึ่งนำไปสู่การผสมผสานไม่ว่าจะเป็นการ

pd5-cr

ชกลมหรือชกเป้า แต่ละช่วงการเรียนโดยทั่วไปจะปิดท้ายด้วยเทคนิคการป้องกัน
และการโจมตีสวนกลับ ค่ายมวยไทยสังหะสอนวิธีการต่อสู้แต่ในขณะเดียวกันก็มี
เป้าหมายอบรมครูสอนมวยอีกด้วย ปรัชญาของค่ายอบรมนั้นเสริมสร้างการสอนให้
มีความเข้าใจอันลึกซึ้งในเรื่องมวยไทยและการใช้อาวุธโดนที่ไม่ใช่แค่การใช้
เทคนิคเท่านั้น มีความจำเป็นที่ว่านักเรียนแต่ละคนจะไม่ได้กลับไปพร้อมกับความรู้
เรื่องวิชาการต่อสู้เพียงเท่านั้น แต่พวกเขาจะได้ความสามารถในการมองเห็นว่ามัน
เป็นอย่างไรแล้วทำไมมันจึงใช้ได้ผลดี สำหรับนักเรียนที่ยังไม่สามารถเดินทางมา
เรียนที่ประเทศไทยหรืออยากจะกลับไปฝึกฝนต่อที่บ้าน ก็จะมีหลักสูตรเรียนแบบ
ออนไลน์ที่เว็บไซต์ของค่ายฝึก (muaythaisangha.com)และการสัมมนารายปีที่
จัดขึ้นทั่วโลก

IMG20170916105104-cr

จานีน: คุณเป็นวิทยากรรับเชิญและเป็นตัวแทน มีชาวต่างประเทศหลายคนที่อยาก
เรียนและรับทราบเกี่ยวกับศิลปะการต่อสู้ของไทยเช่นอาวุธไทยหรือว่ามวยโบราณ
กรุณาเล่าให้เราฟังเรื่องการสอนนักเรียนในทุกช่วงอายุ เพศและทุกเชื้อชาติ

เปโดร: อันดับแรกสิ่งสำคัญที่จะต้องทำความเข้าใจก็คือพวกเราแต่ละคนนั้นมี
ความแตกต่างกันและด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นสำหรับระดับการและการปรับตัว
ของนักเรียนแต่ละคนที่เข้ามาเรียน ถ้าพูดกันโดยทั่วไปแล้วแต่ละเชื้อชาติก็มี
วิธีการเรียนเป็นของตัวเองเพราะว่ามันมีมุมมองทางวัฒนธรรมที่ใช้ร่วมกันอยู่ซึ่งแต่
ละประเทศยึดถือไว้อย่างไรก็ตามไม่ว่ามันจะหละหลวมขนาดไหน ผมยังได้ทราบ
อีกว่าอายุที่ต่างกันก็ต้องการแรงกระตุ้นที่ต่างกันไป แต่ศิลปะการต่อสู้ของไทยนั้น
เป็นประโยชน์ในลักษณะที่ว่ามีความเรียบง่าย ใช้งานได้ผลและมีการแบ่งปันความรู้
โดยที่ไม่มีความลับ นี่จึงเป็นประโยชน์ที่ทำให้นักเรียนรู้สึกว่ามีการพัฒนาในช่วง
ระยะเวลาสั้นๆ และในทางตรงกันข้ามก็กระตุ้นให้มีการเติบโตโดยที่ไม่ต้องคำนึงถึง
อายุ เพศ หรือว่าเชื้อชาติ ตลอดเวลา 16 ปีที่ผมสอนมาผมได้เรียนรู้ว่าทุกคนได้
พกพาความท้าทายเฉพาะตัวของตัวเองมาด้วยเพื่อที่จะเอาชนะและมันก็จำเป็นที่
จะต้องดูแลนักเรียนแต่ละคนในลักษณะที่ต่างกัน การเป็นครูที่ดีนั้นไม่เพียงแต่
จะต้องถ่ายทอดคำสอนที่ทุกคนสามารถทำความเข้าใจได้แต่จะต้องพยายามทำ
ความรู้สึกว่าอะไรที่เป็นตัวปิดกั้นทางด้านจิตใจ อารมณ์หรือทางด้านกายภาพที่
นักเรียนมีอยู่และคอยนำทางพวกเขาให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลและครบถ้วน
สมบูรณ์กว่าเดิม สิ่งนี้เป็นความท้าทายของครูซึ่งต้องอาศัยการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
เพราะอาจมีนักเรียนบางคนที่ไม่เปิดใจหรือไม่ยอมรับรู้ ด้วยความโกรธจึงเลือกที่จะ
กลับไป จึงมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องอดทนและยอมรับว่าคุณไม่สามารถที่
จะช่วยเหลือได้ทุกคน ผมขอกล่าวว่าผมจะมีความสุขถ้าได้เห็นการเปลี่ยนแปลงใน
ด้านบวกและรู้ว่าพลังงานของผมถูกใช้ออกไปอย่างสร้างสรรค์

ความงดงามของการมีผู้เข้าฝึกอบรมที่หลากหลายกันนั้นมาจากการเอาชนะ
อุปสรรคของความแตกต่างกันเพื่อที่จะรวมเป้าหมายเป็นหนึ่งเดียวกันซึ่งเป็น
วัตถุประสงค์ของของชุมชน หลายครั้งที่มีอุปสรรคทางด้านภาษาหรือว่าความ
แตกต่างกันในระดับทักษะ แต่ว่าความตั้งใจของมวยไทยสังหะคือมีความอดทนต่อ
กันและกัน มีความอ่อนน้อมถ่อมตนคอยช่วยเหลือคนที่อยู่รอบข้างตัวเรา มี
มิตรภาพอันงดงามเกิดขึ้นหลายครั้งที่โรงเรียนแห่งนี้และเป็นเพราะว่าการเติบโต
ร่วมกันบ่อยครั้งจึงมีความรู้สึกของความใกล้ชิดและผู้ที่มาโรงเรียนแห่งนี้ก็ได้มี
ครอบครัว ในขณะที่ความรู้สึกเหล่านี้ได้แสดงออกมา มันเป็นเวลาที่ผมได้มี
ประสบการณ์พบกับความสุขมากและความขอบคุณสำหรับบทเรียนที่ผมได้รับการ
ถ่ายทอดมาและได้แบ่งปันผ่านชีวิตของผม

จานีน:มวยไทยเป็นกีฬาและศิลปะการต่อสู้ที่ได้รับความนิยมซึ่งหลายคนทั่วโลก
เลือกที่จะฝึกฝน อย่างไรก็ตามมีคนคิดว่ามันมีความรุนแรงและอันตรายอยู่ในการ
แข่งขันและไม่อยากให้นักมวยได้รับบาดเจ็บสาหัส คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้

pd8-cr

เปโดร:โดยทั่วไปแล้วมวยไทยเป็นศิลปะการต่อสู้ที่รุนแรงมากแต่จะรุนแรง
มากกว่านั้นในการแข่งขันโดยเฉพาะถ้าไม่ได้รับการฝึกฝนอย่างมีประสิทธิภาพมี
บางค่ายฝึกที่เน้นเทคนิคเฉพาะซึ่งจำกัดความสามารถของนักสู้ในการปรับตัวกับคู่
ต่อสู้ที่มีทักษะหลากหลายเมื่อมีข้อจำกัดในการฝึกฝนมันก็มีผลกระทบในสังเวียน
การต่อสู้อย่างเลี่ยงไม่ได้ และอาจจบลงโดยที่มีการบาดเจ็บที่รักษาไม่ได้กับนักสู้ที่
ไม่มีความรู้ที่ถูกต้องในการป้องกันหรือหลบหลีกจากการโจมตีที่รุนแรง แม้ว่าการ
ต่อสู้จะมีความรุนแรงแต่ก็ยังมีคุณลักษณะที่เป็นประโยชน์ซึ่งสามารถพัฒนาได้จาก
การแข่งขัน เวลาที่ต่อสู้ร่างกายและจิตใจจะอยู่ภายใต้ความกดดันบางอย่างซึ่งไม่

pd10-cr

สามารถพบได้จากการฝึกฝนหรือแม้กระทั่งการจับคู่ซ้อมมวย ความกดดันนั้นมี
ศักยภาพทำให้ความสามารถของเราเฉียบคมขึ้นและเปลี่ยนการซ้อมจนกลายเป็น
สิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิม เหมือนการเปลี่ยนถ่านไม้ให้กลายเป็นเพชร บ่อยครั้งที่ความ
ท้าทายในชีวิตนั้นให้รางวัลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดกับเราที่เราได้เรียนรู้การควบคุมจิตใจ
และร่างกาย แต่เราต้องคอยระวังไม่ให้ความยึดถือแต่ตัวเองนั้นพัฒนาไปพร้อมกับ
ความท้าทายแต่ละอย่างที่เราต้องเอาชนะ

จานีน:มีอะไรอย่างอื่นที่อยากบอกเล่าเกี่ยวกับศิลปะการต่อสู้ของไทย

เปโดร: ในฐานะที่ผมเป็นชาวต่างประเทศ ผมขอขยายความขอบคุณมายังประเทศ
ที่สวยงามแห่งนี้ และครูบาอาจารย์ที่ได้ถ่ายทอดบทเรียนและประสบการณ์กับผม
วัฒนธรรมนั้นมีคุณค่าอย่างมากในการทำความเข้าใจว่าศิลปะการต่อสู้ของประเทศ
ไทยมาจากไหนและระดับของการแสดงออกของตนเองซึ่งสามารถทำได้ผ่าน
ศิลปะการต่อสู้เหล่านี้ ครูคนหนึ่งของผมกล่าวไว้ว่าเมื่อคุณมีทักษะที่ก้าวขึ้นไปถึง
ระดับหนึ่ง การต่อสู้จะกลายเป็นการร่ายรำ ผมเชื่อว่าคำกล่าวนี้เป็นความจริงเมื่อ
คุณตระหนักได้ว่าการมีปฎิสัมพันธ์ระหว่างจิตใจ ร่างกายและพลังงานที่อยู่ภายนอก
เปลี่ยนไปเป็นการเต้นรำ กลายเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าตัวเองและคุณได้เริ่มที่จะรู้สึก
ถึงความเชื่อมโยงทางจิตวิญญาณกับโลกใบนี้ที่พวกเราอยู่ร่วมกัน นี่เป็นเหตุผลว่า
เรื่องราวทางประวัติศาสตร์และความเคารพในวัฒนธรรมนั้นเป็นสิ่งจำเป็นถ้าคุณ
อยากจะพัฒนาตัวเองให้เหนือไปกว่าเทคนิคและการฝึกฝน ประสบการณ์กับศิลปะ
การต่อสู้ของไทยนั้นได้เติมเต็มความรักและความขอบคุณให้กับผม ผมจึงเลือกที่
จะตอบแทนบทเรียนเหล่านี้โดยการที่แบ่งปันออกไปให้กับคนทั้งโลก

กรุณาลงความเห็น เกี่ยวกับบทความนี้ี้

Scene4 Magazine: Janine Yasovant

ส่ง
อีเมล์
หน้านี้

จานีน ยโสวันต์ เป็นนักเขียน
เธออาศัยอยู่ในเชียงใหม่ประเทศไทย
สำหรับบทความและบทวิจารณ์อื่นๆ ของ จานีน ยโสวันต์
กรุณาตรวจดู
 แฟ้มเก็บข้อมูล

Click Here for this article in English

©2017 Janine Yasovant
©2017 Publication Scene4 Magazine

 

Now that you’re reading Scene4
We need your support. More people are reading Scene4 than ever but media advertising revenues across the board are falling fast. And our costs are rising faster than we can absorb them. So you can see why we need to ask for your help. In its 18th year of publication, now with over 194,000 readers in 127 countries and comprehensive archives of over 11,000 pages Scene4 is truly an International Magazine of Arts and Culture.
 

Please Become A Supporter

 

 Trending in This Issue

François Alu

alu-200

A Lens Darkly

Plants-8787-200

Logan Lucky

loganlucky200

Old Hippy-Hollywood

oldhippyholly-200
Sc4-solo--logo62h

November 2017

Volume 18 Issue 6

SECTIONS: Cover | This Issue | inFocus | inView | inSight | Perspectives | Special Issues | Blogs
COLUMNS: Bettencourt | Meiselman | Thomas | Jones | Walsh | Alenier
INFORMATION: Masthead | Submissions | Recent Issues | Your Support | Links
CONNECTIONS: Contact Us | Comments | Subscribe | Advertising | Privacy | Terms | Archives

Search This Issue

|

Search The Archives

|

Share:

Email

fb  


Scene4 (ISSN 1932-3603), published monthly by Scene4 Magazine–International Magazine of Arts and Culture. Copyright © 2000-2017 Aviar-Dka Ltd – Aviar Media Llc. All rights reserved. Now in our 18th year of publication with Worldwide Readership in 127 countries and comprehensive archives of over 11,000 web pages (66,000 print pages).
 

Scientific American - www.scene4.com
Calibre Ebook Management - www.scene4.com
Thai Airways at Scene4 Magazine