เหตุผลข้อแรกที่การเดินทางทริประยะสั้นไปยังอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย กับครอบครัวนั้นมีความหมายเพราะดิฉันได้เห็นสถานที่ซึ่งแม่น้ำโขงไหลผ่าน ประเทศไทย ประเทศพม่า และประเทศลาว บริเวณแห่งนี้เป็นที่รู้จักกันดีในนาม
ของสามเหลี่ยมทองคำ เหตุผลอีกข้อหนึ่งคือไปเยี่ยมเยือนศิลปินหญิงที่เป็นที่ เคารพนับถือท่านหนึ่งที่อาศัยอยู่ที่เชียงแสนหลังเกษียณอายุ ผลงานที่น่า ประทับใจของอาจารย์ศรีวรรณนั้นเกี่ยวกับคำสอนของพระพุทธเจ้าที่มีแนวคิดที่ สำคัญในเรื่องธรรมะ ธรรมชาติ และธรรมดา
นอกเหนือจากภาพวาดสีน้ำมันและสีน้ำบนผ้าใบ อาจารย์ศรีวรรณเป็นศิลปินที่มี ความสนใจในงานสื่อผสมและการปั้นเซรามิก ในวันนั้นที่อาจารย์ศรีวรรณและ ดิฉันไปเยี่ยมชมวัดหลังเล็กๆบนเขาที่เรียกว่า “ดอยสะโงะ” เห็นผลงานภาพ
จิตรกรรมฝาผนังและการประดับตกแต่งต่างๆ ที่อาจารย์ศรีวรรณเป็นผู้สร้างสรรค์ ขึ้นมา นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมดิฉันจึงอยากติดตามชีวิตและแรงบันดาลใจของผู้หญิง คนหนึ่งที่ทำงานใกล้บ้านมาตลอดชีวิต
อาจารย์ศรีวรรณจัดงานนิทรรศการเดี่ยวในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านเช่น กัมพูชาและเวียดนาม ได้รับรางวัลหลายครั้งจากงานนิทรรศการศิลปกรรมแห่งชาติ งานนิทรรศการเดี่ยวในชุดที่ชื่อว่า “สีสันของศรีวรรณ” ปรากฏขึ้นมาหลายปี
ภายหลังงานเวิร์คช็อปชุด “มนุษย์กับธรรมชาติ” ต่อมางานนิทรรศการในชุดหลังๆ “รูปธรรม - นามธรรม” ได้ผลตอบรับที่ดีและน่าประทับใจมาก
อาจารย์ศรีวรรณใช้พื้นที่บางส่วนของบ้านทำเป็นแกลเลอรี่ชื่อว่า“ศรีดอนมูล อาร์ต สเปซ” หลังจากที่ได้รู้เกี่ยวกับชีวิตของอาจารย์ศรีวรรณมากกว่าเดิม ดิฉันพบว่า อาจารย์เป็นผู้ที่อุทิศเวลาทั้งชีวิตในการสร้างผลงานชิ้นเยี่ยมและใช้ชีวิตอยู่อย่าง
ผ่อนคลายใกล้แม่น้ำโขง ที่น่าสนใจก็คือการตั้งชื่อศรีดอนมูล อาร์ตสเปซนั้นมาจาก เครื่องหมายรูปพระจันทร์ส่องแสงที่ปรากฏอยู่ในภาพเขียนภาพหนึ่งของอาจารย์ นอกเหนือจากนี้ ชื่อในท้องถิ่นที่อาจารย์อาศัยอยู่ในปัจจุบันเรียกว่าดินแดนแห่ง ทองคำที่มีสัญลักษณ์เป็นรูปภูเขา ช้าง งูและมีรูปเจดีย์เป็นจุดบอกตำแหน่ง
จากนี้ไปเป็นบทสัมภาษณ์
จานีน: อะไรคือแรงบันดาลใจในศิลปะของอาจารย์
ศรีวรรณ: เมื่อพูดถึงแรงบันดาลใจ วิธีการสร้างสรรค์งานศิลปะของดิฉันโดยมาก มักจะเป็นไปตามธรรมชาติและลักษณะนิสัยส่วนตัว เหมือนกับการหายใจ ดิฉัน ทำงานไปตามจังหวะของตัวเองโดยไม่มีความเครียด เรื่องราวและเนื้อหาใน ผลงานสะท้อนถึงความคิด ความรู้สึกและอารมณ์ในเวลาที่สร้างสรรค์งานศิลปะ
ตลอดเวลาที่เหลืออยู่ในชีวิต ดิฉันใช้ชีวิตโดยการสร้างสรรค์ภาพเขียนที่มี ความหมาย สิ่งที่ดิฉันตั้งใจทำในตอนนี้คือการทำความเข้าใจความเชื่อศาสนาพุทธ ในแนวคิดทางด้านร่างกายและจิตวิญญาณและสำรวจจิตใจของตัวเราเอง ในขณะ
นี้ดิฉันเชื่องช้าลงในการเขียนภาพซึ่งเป็นงานศิลปะแขนงหลักของดิฉันแต่ความรัก ในการทดลองนั้นห้ามให้ดิฉันสร้างผลงานออกมาเพียงอย่างเดียว
จานีน: อยากทราบเรื่องการศึกษาและอาชีพ
ศรีวรรณ: ดิฉันจบจากโรงเรียนเพาะช่างในปีพ.ศ. 2513 จากนั้นจึงไปศึกษาด้าน ศิลปะที่มหาวิทยาลัยศิลปากรและได้รับปริญญาโทในปีพ.ศ. 2522 ช่วงเวลาส่วน ใหญ่ของชีวิตดิฉันเป็นอาจารย์สอนศิลปะให้กับมหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศ ไทยโดยเฉพาะที่กรุงเทพ หลังจากการเกษียณอายุดิฉันเลือกอำเภอเชียงแสน
จังหวัดเชียงรายเป็นจุดมุ่งหมายในการใช้ชีวิตอยู่และสร้างผลงานให้มากขึ้น
จานีน: อยากให้อาจารย์พูดถึงรางวัลที่ได้รับและเวิร์คช็อปทั้งภายในและนอก ประเทศ
ศรีวรรณ: สำหรับเรื่องรางวัลที่ดิฉันได้รับ ในปีพ.ศ. 2519 และ 2520 ดิฉันเข้าร่วม และส่งผลงานภาพพิมพ์ในงานนิทรรศการศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 23 และ 24 ที่ กรุงเทพ และได้รับเหรียญทองแดงและเหรียญเงินตามลำดับ ในปีพ.ศ. 2527 ดิฉัน ได้รับทุน SPAFA scholarship for a Training Art Teacher ให้ไปศึกษาต่อที่
มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ ในปีพ.ศ. 2539 ได้รับทุนทำเวิร์คช็อปร็อกกี้เฟลเลอร์ สำหรับศิลปินไทย-เวียดนามที่เมืองดาลัด ประเทศเวียดนาม หลังจากนั้นในปีพ.ศ. 2543 ดิฉันมีงานเวิร์คช็อปศิลปินไทย-กัมพูชาที่ประเทศกัมพูชา ในปีพ.ศ. 2545 ดิฉันได้รับทุนศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ในปีพ.ศ. 2556 ดิฉันได้รับการคัดเลือกให้
เป็นศิษย์เก่าดีเด่นจากมหาวิทยาลัยศิลปากรและหลังจากนั้นในปีพ.ศ. 2558 โรงเรียนเพาะช่างก็ได้มอบรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นให้ด้วยเช่นกัน
งานนิทรรศการเดี่ยวที่ผ่านมา พ.ศ. 2526 – นิทรรศการผลงานจิตรกรรมและภาพพิมพ์ ณ หอศิลป์ พีระศรี กรุงเทพ พ.ศ. 2530 – นิทรรศการศิลปกรรมชุด “มนุษย์กับธรรมชาติ” ณ หอศิลป์ พีระศรี กรุงเทพ พ.ศ. 2533 – นิทรรศการศิลปกรรมชุด “มนุษย์กับธรรมชาติ” ณ Witch & Tavern กรุงเทพ
พ.ศ. 2536 – นิทรรศการศิลปกรรมชุด “สีสันของศรีวรรณ” ณ บ้านเจ้าพระยา กรุงเทพ พ.ศ. 2540 – นิทรรศการศิลปกรรมชุด “สีสันของศรีวรรณ” ณ ไดอาล็อค แกลลอรี่ กรุงเทพ พ.ศ. 2544 – นิทรรศการศิลปกรรมชุด “สีสันของศรีวรรณ” ณ เจเนซีส อาร์ตติส แกลลอรี่ สีลมแกลลอเรีย กรุงเทพ พ.ศ. 2548 – นิทรรศการศิลปกรรม “รูปธรรม - นามธรรม” ณ โรสกาเด้น แกลลอรี่
โรงแรมโรสการ์เด้นเอไพร์ม รีสอร์ท นครปฐม พ.ศ. 2553 – นิทรรศการศิลปกรรม “จารึกเมืองสยาม โลกียะ - โลกุตระ” ณ หอ ศิลป์คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพ พ.ศ. 2558 – นิทรรศการศิลปกรรม “ธรรมะ ธรรมชาติ ธรรมดา” ณ หอศิลป์วังหน้า สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กรุงเทพ
จานีน: อาจารย์มีผลงานที่ทำอยู่ในปัจจุบันหรืองานนิทรรศการที่จัดขึ้นในปีนี้หรือ เปล่าคะ
ศรีวรรณ: ในปลายปีนี้จะมีงาน Bangkok Art Biennale จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศ บางกอก รุงเทพ ตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2561 – 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ดิฉันได้ส่งข้อเสนอจัดแสดงงานและผลงานสำหรับนิทรรศการครั้งนี้แล้ว
เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสน
ประมาณช่วงปลายปีจะมีงานนิทรรศการศิลปะนานาชาติจัดขึ้นสองครั้งในต่างสถานที่กัน ตามที่ได้กล่าวมาแล้วนิทรรศการแห่งหนึ่งจะจัดขึ้นที่จังหวัดกระบี่ อีกนิทรรศการหนึ่งถูกจัดขึ้นที่กรุงเทพในเดือนตุลาคมนี้
|
บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ พ.ศ. 2561 เมืองหลวงของประเทศไทยกำลังจะจัดงานนิทรรศการศิลปะนานาชาติสองปีต่อหนึ่งครั้งโดย ทางภาครัฐบาลและบริษัทเอกชนคอยให้การสนับสนุนงานนิทรรศการศิลปะร่วมสมัย บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ได้รับการจัดตั้งโดยดร. อภินันท์
โปษยานนท์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและนายฐาปน สิริวัฒนภักดี ประธาน กรรมการบริษัทไทยเบฟ (ThaiBev) งานนิทรรศการจะจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2561 – 3 กุมภาพันธ์ 2562 เนื่องด้วยกระแสการจัดงานนิทรรศการศิลปะนานาชาติที่เติบโตเบ่งบานไปทั่วทั้งเอเชีย การจัดงานที่กรุงเทพจะนำเสนอการมีปฎิสัมพันธ์กับสถานที่ที่เป็นชีวิตบนท้องถนนในเมืองห
ลวง ดร.อภินันท์ โปษยานนท์กล่าวว่างานบางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ พ.ศ. 2561 จะเปิดมิติใหม่ๆให้กับสถานที่ที่เป็นมรดกทางประวัติศาสตร์ วัดวาอาราม พื้นที่จัดงานร่วมสมัย สวนสาธารณะไว้เป็นฉากหลังเพื่อการจินตนาการที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ ศิลปินนานาชาติและศิลปินในท้องถิ่นมากกว่า 70
ท่านมาพบปะกันเพื่อสร้างงานศิลปะในหัวข้อ “สุขสะพรั่ง พลังอาร์ต (Beyond Bliss)” ดร. อภินันท์กล่าวเสริมว่าหัวข้อนี้มีความกว้างขวางและเป็นปรัชญา ในสมัยของความยุ่งเหยิงและความสับสนวุ่นวาย พวกเราทุกคนล้วนแต่มองหาความสุขของตัวเอง ผู้มาเยี่ยมชมจะได้รับประสบการณ์ความสุข การรับรู้และการขบคิดใคร่ครวญ
ในทางกลับกันบางคนจะได้รับประสบการณ์ว่าความสุขไม่มีวันเป็นจริงและไม่มีทางเอื้อมถึง
|