Scene4-International Magazine of Arts and Culture www.scene4.com
Janwit Chaisee | Janine Yasovant | Scene4 Magazine-June 2018 | www.scene.com

เจนวิทย์ ไชยสี

จานีน ยโสวันต

จนวิทย์ ไชยสีเป็นศิลปินไทยรุ่นใหม่ที่จบจากคณะจิตรกรรม ประติมากรรม และ
ภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เขาเกิดที่จังหวัดปัตตานีทางภาคใต้ของประเทศ
ไทย ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 เจนวิทย์เคยได้จัดงานนิทรรศการเดี่ยว “คน”
ที่พีเพิ่ล แกลเลอรี่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร อาจกล่าวได้ว่า
ภาพเขียนดูแล้วน่าทึ่งและสะท้อนให้เห็นถึงทักษะความสามารถของศิลปิน

ภาพเขียนของเจนวิทย์มีความสวยงาม ค่อนข้างมีลักษณะเฉพาะตัวที่แสดงให้เห็น
ภาพชีวิตของคน เขายังได้นำเสนอผ้าโสร่งปาเต๊ะ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิต
ในภาคใต้ของประเทศไทยในภาพเขียนอีกด้วย

จังหวัดปัตตานีเป็นบ้านเกิดของเจนวิทย์ที่อยู่ไม่ไกลจากชายแดนประเทศมาเลเซีย
เท่าที่ดิฉันทราบมาชายหญิงชาวมุสลิมในห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ใช้ผ้าปาเต๊ะ
สำหรับการแต่งกายเป็นประจำทุกวันเป็นเวลานานเพราะผ้าปาเต๊ะ จะมีสีสันสดใส
และมีลวดลายหลายแบบ การสวมเสื้อผ้าปาเต๊ะ สามารถบอกบอกได้ถึงสถานะทาง
สังคมของผู้สวมใส่ว่าร่ำรวยหรือยากจน ในเทศกาลและงานพิธีต่างๆ ผู้คนก็ชื่น
ชอบสวมผ้าปาเต๊ะ  ในช่วงวันทำงานก็สามารถสวมใส่ผ้าปาเต๊ะ ไปทำงานได้

ดิฉันเคยศึกษาเรื่องผ้าบาติก(ปาเต๊ะ) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยผ่านมุมมอง
ของนักสะสมชาวตะวันตก ผ้าบาติกที่มีราคาแพงก็ทำมาจากผ้าไหมและผ้าลินิน
ดังที่ดิฉันได้เห็นชีวิตประจำวันที่บาหลี อินโดนิเซีย เมื่อผู้หญิงจะเดินทางไปถวาย
ดอกไม้ให้กับเจ้าที่เจ้าทาง ก็จะสวมใส่โสร่งผ้าปาเต๊ะ ไปในงานพิธีกรรมประจำวัน
นั้น

เจนวิทย์แสดงให้เห็นถึงความงามของคนในท้องถิ่นในภาคใต้ของประเทศไทยที่
ในชีวิตประจำวันสวมใส่โสร่งปาเต๊ะ ผ้าฝ้ายที่มีสีสันและลวดลายเฉพาะตัว เขาได้
ใช้ความรู้ในเรื่องมุมมองแบบเพอร์สเปคทีฟ และความงามของผู้หญิงไทย-มุสลิม
ภาคใต้เพื่อให้เกิด แรงบันดาลใจกับผู้รักในงานศิลปะทุกคน การสื่อด้วยงานของ
เขา กับภาพวาด หรือภาพเปลือย มิใช่เพียงแค่นั้น ภาพวาดที่ รายล้อมไปด้วยผ้า
บาติกทำให้ภาพเขียนของเขามีคุณค่ามากขึ้นไปอีก

04-cr

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขนบธรรมเนียมการทำผ้าปาเต๊ะ ดิฉันขอเรียกว่าผ้า
บาติกนั้นสามารถพบได้ในหลายประเทศ ผ้าบาติกอินโดนิเซีย มาเลเซีย และทาง
ภาคใต้ของประเทศไทยนั้นเป็นที่รู้จักกันดีในสไตล์และลวดลายที่มีความแตกต่าง
พิเศษเฉพาะตัว อาจบางทีผ้าบาติกอินโดนิเซียที่เป็นที่นิยมที่สุดนั้นผลิตขึ้นที่เกาะ
ชวา มีประวัติศาสตร์อันยาวนานของการผสมผสานวัฒนธรรม ลวดลายที่มีความ
แตกต่างได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมที่หลากหลาย มีการพัฒนามากที่สุดในด้าน
ของลวดลาย เทคนิคและคุณภาพในการผลิต ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 องค์การ
ยูเนสโกได้กำหนดให้ผ้าบาติกจากอินโดนิเซียเป็น "Masterpiece of Oral and
Intangible Heritage of Humanity"

เจนวิทย์กับวิสัยทัศน์ในเรื่องภาพเขียนได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในเรื่องผ้า
ปาเต๊ะ สำหรับผู้ชาย ผู้หญิงและเด็ก มีงานนิทรรศการศิลปะร่วมสมัยหลายครั้ง
ตั้งแต่ตอนที่เจนวิทย์ศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ในปีพ.ศ. 2553 เข้าร่วมงาน
ศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 27 ปีพ.ศ. 2554 ศิลปกรรมพระ
พิฆเนศวร ณ หอศิลป์พรรณราย มหาวิยาลัยศิลปากร ปีพ.ศ. 2557 แสดงผลงาน
ศิลปนิพนธ์ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพิ์
มหาวิทยาลัยศิลปากร และปีพ.ศ. 2558 มีนิทรรศการเดี่ยว "คน'' พีเพิ่ลแกลอรี่ หอ
ศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

03-cr

ดิฉันแน่ใจอีกว่าผู้ที่รักชอบในงานภาพเปลือย  ก็จะสนใจงานของเจนวิทย์ด้วย
เช่นกัน ผลงานที่น่าประทับใจก็จะเป็นการวาดภาพเหมือนจริง ในหลายๆโอกาส
และเขา ยังได้วาดภาพพระบรมสาทิศลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 9 ซึ่งได้ผลตอบรับที่ดีมาก

02-cr

ผลงานส่วนใหญ่ในงานนิทรรศการจะเป็นภาพเขียนสีน้ำมันรูปหญิงไทยในกิริยา
ท่าทางต่างๆ สวมเสื้อผ้าหลากหลายชนิด ผลงานเหล่านี้จะเน้นในเรื่องความ
สมจริงของผู้หญิงไทยในอดีต นักศึกษาศิลปะในทุกสถาบันเช่นมหาวิทยาลัย
ศิลปากรจะฝึกวาดภาพนู้ด เพราะว่ามีความสำคัญในการเรียนรู้กายวิภาคของคน
เพื่อที่จะวาดภาพคนได้อย่างถูกต้อง เจนวิทย์ชอบที่จะวาดเสื้อผ้าชุดสวยๆโดยใช้
สีสันสดใส นอกเหนือจากนี้ยังถ่ายทอดแล้วดึงความเหมือนและความแตกต่างของ
ผู้ที่มาเป็นแบบได้

ช่วงเดือนมีนาคมพ.ศ. 2561 เจนวิทย์เดินทางกลับภูมิลำเนาที่จังหวัดปัตตานีและ
ได้ไปเยือนหลายๆ จังหวัดรวมทั้งยะลา สงขลา และนราธิวาสซึ่งก็ได้เป็นแรง
บันดาลใจให้กับภาพเขียนชุดที่กำลังจะมาถึง เขาบอกดิฉันว่าเป็นเรื่องที่น่า
ประหลาดใจตั้งแต่ในช่วงวัยเด็กตอนที่อาศัยอยู่ที่บ้านเกิดผู้คนส่วนใหญ่เป็นชาว
พุทธ เขาเคยคิดว่าชาวไทยมุสลิมเป็นผู้อยู่อาศัยดั้งเดิมในพื้นที่นั้นมาก่อน การ
เดินทางกลับไปครั้งล่าสุดนี้  ค้นคว้าและพูดคุยกับชาวบ้านที่นับถือศาสนาพุทธ
เช่นเดียวกับเขาจึงได้พบว่ามีวัดเก่าแก่หลายแห่ง การออกแบบทางสถาปัตยกรรม
ได้บอกให้ทราบว่าวัดต่างๆ เหล่านี้แต่เดิมแล้วถูกสร้างในเวลาใดหรือในราชวงค์ใด
เขาได้ส่ง ภาพถ่ายเจดีย์และวัดแห่งต่างๆ ให้เพื่อนๆ ดู และเขาได้สนทนากับดิฉัน
ที่กำลังวกกลับไป ถึงเรื่องประวัติศาสตร์ภาคใต้ของประเทศไทย

07-cr

เขตพื้นที่คาบสมุทรสยามหรือคาบสมุทรสยามมลายูแต่เดิมเคยเป็นเขตอำนาจ
ในการปกครองของอาณาจักรเก่าแก่ทั้ง 4 แห่งคือ ตามพรลิงค์ ลังกาสุกะ ศรีวิชัย
และศรีธรรมราชนคร (หรือศรีธรรมราชมหานคร) กรณีอาณาจักรหลังสุดที่มีชื่อว่า
เมืองสิบสองนักษัตร เพราะมีเมืองที่อยู่รวมกันปกครองจำนวน 12 เมือง ได้แก่
กลันตัน ปาหัง ไทรบุรี สายบุรี ปัตตานี พัทลุง ตรัง บันทายสมอ (บันทายสมา) สระ
อุเลา ตะกั่วถลาง ชุมพร และกระบุรี มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่นครศรีธรรมราช
ปัจจุบัน เมืองทั้ง 12 เมืองนี้มีศูนย์ รวมใจทำให้เกิดพลังเข้มแข็งเพราะมีพระบรม
ธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชเป็นหลักยึดเหนี่ยว ทางใจ แต่ละเมืองจะหมุนเวียนกัน
ดูแลองค์พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราชและเขตพื้นที่รายรอบเมือง แต่ละปีมี
การส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทองไปบูชาพระบรมธาตุฯ อย่างสม่ำเสมอมิได้ขาด สิ่งนี้
เป็นพลังสำคัญแห่งพระพุทธศาสนาทำให้ดินแดนไทยสยามภาคใต้โบราณมีความ
ยึดโยงเกาะเกี่ยวสัมพันธ์กันอย่างเหนียวแน่น และเป็นรากฐานสำคัญในความ
เจริญรุ่งเรืองทางด้านศาสนา การศึกษา การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ ศิลปะ
และวัฒนธรรมดินแดนไทยภาคใต้หรือสยามไทยภาคใต้ ตามพรลิงค์เป็นชื่อแรกที่
ปรากฏในหลักฐานทางโบราณคดีไม่ว่าจะเป็นโบราณวัตถุ โบราณสถาน ศิลาจารึก
และเอกสารเก่าทั้งไทยและต่างประเทศ เมืองใหญ่หรืออาณาจักรนี้มีมาก่อน พ.ศ.
500 ด้วยปรากฏชื่อ ตัมลิงคัม ในคัมภีร์มหานิเทศน์ อีกทั้งยังปรากฏชื่อในศิลาจารึก
ตันชอว์ของอินเดียใต้ ของชวา ศรีลังกาด้วย อีกทั้งศิลาจารึกของไทยจารึกวัด
มเหยงคณ์ จารึกวัดหัวเวียง เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบชื่อในเอกสารเก่าของของจีน
เรียกชื่อว่าตั้งหม่าหลิง หรือตันเหม่ยหลิวอีกด้วย ในระยะเวลาไล่เลี่ยกันห่าง
กันประมาณ 300 ปีเศษ มีหลักฐานปรากฏเมืองลังกาสุกะ ในเขตแดนที่เป็นอำเภอ
ยะรัง และไทรบุรี (เคดะห์ในประเทศมาเลเซียปัจจุบัน) ว่าเจ้าเมืองนับถือ
พระพุทธศาสนาต่อมาเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม หลักฐานปรากฏคือ
โบราณสถานยะรัง และโบราณสถานบูจังหรือบูจังวัลเลย์ (ในเคดะห์ประเทศ
มาเลเซียปัจจุบัน) ทั้งสองเมืองหรือสองอาณาจักรต้องยุติอำนาจการปกครองลง
ด้วยการเข้ามามีอำนาจการปกครองของศรีวิชัยราวปีพ.ศ. 1300

ดิฉันได้สอบถามเจนวิทย์เกี่ยวกับบ้านเกิดและประเพณีท้องถิ่นที่น่าสนใจ

จานีน: อยากให้เล่าเรื่องเกี่ยวกับบ้านเกิดของคุณ

05-cr

เจนวิทย์: ผมเกิดและเติบโตที่จังหวัดปัตตานี ซึ่งผมเองเกิดที่นี่ซึ่งผู้คนแถวบ้านผม
 เรียกกันสั้นๆ ว่า “ตานี” ผมเกิดในหมู่บ้านเล็กๆ ในอำเภอสายบุรี  หมู่บ้านที่
เรียกว่า “บ้านแป้น” หมู่บ้านผมมีภูมิทัศน์ที่สวยงาม พื้นที่ด้านหน้าบ้านผมบริเวณ
พื้นที่ราบเป็นทุ่งนา ส่วนด้านหลังเป็นทิวเขาสูงสง่า ส่วนสภาพอากาศแถวบ้านผม
นั้น มีทั้งฝนและร้อน  กลางคืนอากาศจะสดชื่นเย็นสบาย วิถีชีวิตของชาวบ้านส่วน
ใหญ่จะทำการเกษตร เลี้ยงสัตว์ นอกเหนือจากภาษาไทยและยาวี ภาษาที่ใช้กัน
คือภาษา “เจ๊ะเห”  เป็นภาษาภาษาไทยถิ่นใต้ ที่ใช้เฉพาะในปัตตานี นราธิวาส และ
ในบางส่วนของประเทศมาเลเซียที่ติดกับพรมแดน นราธิวาส ภาษาเจ๊ะเห ใช้กันใน
กลุ่มคนไทยพุทธ

จานีน: ลองยกตัวอย่างเรื่องงานประเพณีในท้องถิ่นที่น่าสนใจ

06-cr

เจนวิทย์: ประเพณีที่บ้านผมส่วนมากจะสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน เช่นพิธี
“ลาซัง” จะมีขึ้นในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวข้าว เป็นการเคารพแม่โพสพ ชาวบ้านจะจัดทำ
“โต๊ะชุมพุก” เป็นหุ่นฟางชาย และหญิง เป็นคู่แต่งงานกัน การแต่งกายสวมใส่
เสื้อผ้าที่มีตามท้องถิ่น ดั่งเป็นงานมงคลของทั้งคู่ โดยการจัดพิธีลาซัง เป็นความ
เชื่อของชาวบ้านที่มีมาเนิ่นนานเชื่อกันว่า เมื่อชุมพุกทั้งสองแต่งงานกันแล้ว จะมี
ลูก (ลูก ในที่นี้คือ ข้าว ) ที่จะมีผลผลิตในปีหน้า  การทำพิธีจะนำโต๊ะชุมพุกไปวาง
ในหลา (ศาลา) กลางทุกนา ชาวบ้านจะเตรียม สำรับอาหาร ในหนึ่งสำรับจะมี แกง
ไก่  เลือดไก่สด ปลาเค็มแห้ง  ข้าวเหนียวมูน ทำเป็นสีสันต่างๆ เช่น สีแดง สี
เหลือง สีขาว และเหล้าขาว เพื่อนำไปเซ่นไหว้  เจ้าที่เจ้าทาง และโต๊ะชุมพุก
โดยมีโต๊ะหมอ เป็นคนนำทำพิธี หลังจากเสร็จพิธี ชาวบ้านก็จะนำชุมพุก ไปแก้มัด
สลายซังข้าว และโยนซังข้าวขึ้นฟ้า เป็นอันเสร็จพิธี

10-cr

ประวัติการแสดงงาน
2553 - ร่วมแสดง ศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 27
2554 - ร่วมแสดง ศิลปกรรมพระพิฆเนศวร ณ หอศิลป์พรรณราย มหาวิทยาลัย
ศิลปากร
2557 - แสดงผลงานศิลปนิพนธ์ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย คณะจิตรกรรม
ประติมากรรมและภาพพิมพิ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
2558 - นิทรรศการเดี่ยว "คน'' ที่ พีเพิ่ลแกลอรี่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่ง
กรุงเทพมหานคร

Janwit1-cr

Janwit2-cr

Janwit-3-cr

Janwit-4-cr

01-cr

กรุณาลงความเห็น เกี่ยวกับบทความนี้ี้

Scene4 Magazine: Janine Yasovant

ส่ง
อีเมล์
หน้านี้

จานีน ยโสวันต์ เป็นนักเขียน
เธออาศัยอยู่ในเชียงใหม่ประเทศไทย
สำหรับบทความและบทวิจารณ์อื่นๆ ของ จานีน ยโสวันต์
กรุณาตรวจดู
 แฟ้มเก็บข้อมูล

Click Here for this article in English

©2018 Janine Yasovant
©2018 Publication Scene4 Magazine

 

 

Sc4-solo--logo62h

June 2018

Volume 19 Issue 1

SECTIONS: Cover | This Issue | inFocus | inView | inSight | Perspectives | Special Issues 
COLUMNS:  Bettencourt | Meiselman | Jones | Thomas | Marcott | Walsh | Alenier | Letters 
INFORMATION: Masthead | Submissions | Recent Issues | Your Support | Links | Archives
CONNECTIONS: Contact Us | Comments | Subscribe | Advertising | Privacy | Terms |

Search This Issue

|

Search The Archives

|

Share: Email


Scene4 (ISSN 1932-3603), published monthly by Scene4 Magazine–International Magazine of Arts and Culture. Copyright © 2000-2018 Aviar-Dka Ltd – Aviar Media Llc.
 

Scientific American - www.scene4.com
Calibre Ebook Management - www.scene4.com
Thai Airways at Scene4 Magazine
14990330623594616631
harpers728
HollywoodRed-1