ความสำเร็จเกิดจากการทำงานโดยไม่ยอมเลิก ในขณะที่คนอื่นเลิกไปแล้ว
ผมอยากให้ศิลปินรุ่นใหม่คิดได้อย่างนี้ แล้วคุณจะไม่มีวันแพ้แน่นอน
สัจจะแห่งศิลปะเป็นงานนิทรรศการย้อนหลังที่จัดขึ้นในปีพ.ศ 2558 นี่คืองาน นิทรรศการครั้งแรกของศาสตราจารย์อิทธิพล ตั้งโฉลก หลังจากห้าปีที่ท่าน พักผ่อนรักษาตัวจากโรคพาร์กินสัน
บทความจากหนังสือรวบรวมผลงานของท่านนั้นน่าประทับใจมาก “การเดินทาง ของเส้นพาร์กินสัน” เป็นชื่อของงานนิทรรศการศิลปะที่ท่านจัดร่วมกับเพื่อนศิลปิน อีกหลายท่าน ดิฉันได้รับหนังสือรวมผลงานและได้พบว่าท่านรักในการวาดภาพ การ์ตูนในตอนที่ท่านยังเด็ก รักในการวาดภาพเหมือนจนกระทั่งท่านได้พบกับงาน ศิลปะนามธรรม
เป็นเวลามากกว่า10 ปีในฐานะของผู้สัมภาษณ์ ดิฉันรู้สึกประหลาดใจที่ได้เห็น ความเปลี่ยนแปลงจากศิลปินที่เคยได้สัมภาษณ์มาแล้ว หลายคนเปลี่ยนแนวไป ทำงานศิลปะนามธรรม ดิฉันลองพยายามมองดูว่าศิลปินคิดอย่างไรเกี่ยวกับวิถีแห่ง งานศิลปะและจะแสดงความเป็นตัวเองออกไปได้อย่างไร นี่เป็นคำถามที่เคยอยู่ใน
ใจของดิฉัน แต่หลังจากนั้นดิฉันได้ยินมาว่าให้เลือกในสิ่งที่ชอบด้วยความ เหมาะสม ไม่ใช่เรื่องของกฎข้อบังคับ เป็นเพียงความชื่นชอบเท่านั้น
พื้นที่ว่าง หมายเลข 4 ขนาด45x41 ซม. ภาพพิมพ์ร่องลึก พ.ศ. 2514
แนวคิดผลงานศิลปะนามธรรมของศาสตราจารย์อิทธิพล ตั้งโฉลกเริ่มต้นมาจาก การสังเกตุรูปพรรณสันฐานของวัตถุอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ท่านได้พัฒนาวิธีการมอง ของท่านเอง เช่นเดียวกันในเรื่องของการฝึกฝนงานทัศนศิลป์ ผู้เป็นศิลปินได้ทำ ให้รูปร่างของวัตถุมีความเรียบง่าย และเปลี่ยนวัตถุเหล่านั้นให้กลายเป็นภาพที่
สะท้อนถึงความรับรู้ด้านนามธรรมของตัวท่านเอง
ในความคิดของดิฉัน ท่านได้พยายามอธิบายความหมายของงานศิลปะนามธรรม ที่ เป็นสื่อภาษารูปภาพแสดงความสมดุลที่มาจากความรู้ทางศิลปะของตัวศิลปินและ ภูมิหลังทางวัฒนธรรม
ผนัง อี ขนาด45.5x61 ซม. ภาพพิมพ์ร่องลึก พ.ศ. 2521
ระหว่างการสนทนา ท่านได้อธิบายไว้ว่างานศิลปะนามธรรมไม่ได้เป็นรูปแบบงาน ศิลปะที่สุดยอด ไม่ได้อยู่เหนือกว่างานศิลปะแขนงอื่นๆ แต่อย่างใด เป็นเพียง วิธีการหนึ่งที่ศิลปินใช้นำเสนออิสรภาพในการแสดงออกเท่านั้น
อิทธิพล ตั้งโฉลก
จากนี้ไปเป็นบทสัมภาษณ์
จานีน: อยากให้อาจารย์พูดถึงความสนใจ หรือแรงบันดาลใจให้ทำงานศิลปะ
หอคอยแห่งไฟ ขนาด122x320 ซม. สีอะครีลิค สีน้ำมัน และ สีอะครีลิค อีพอกซี่ แอโรซอล พ่นบนกระดาษโลหะ ผนึกบนไม้อัดและภาพพิมพ์แกะไม้ พ.ศ. 2534
อิทธิพล: ตั้งแต่จำความได้ก็รู้ตัวว่าสนใจอยู่เรื่องเดียวคือ ชอบวาดรูป ชอบงาน ศิลปะจนถึงขั้นหลงใหล แอบฝึกฝนหัดวาดอยู่คนเดียว ไม่สนใจเล่นกีฬาเหมือน เด็กผู้ชายทั่วไป ไม่เข้าสังคม ทำตัวสันโดษเก็บตัว เพราะงานวาดรูปต้องการสมาธิ ความเงียบ และเวลา เลยชอบอยู่คนเดียว ทำให้เป็นคนที่มนุษย์สัมพันธ์ไม่ค่อยดี
นัก ซึ่งถือเป็นจุดอ่อนหรือข้อเสียมาจนถึงปัจจุบันนี้
ตอนเด็กเริ่มจากวาดการ์ตูนเหมือนเด็กทั่วไป ไม่มีแรงบันดาลใจจากใคร ไม่รู้ว่า ศิลปะคืออะไร ศิลปินก็ไม่รู้จัก รู้จักแค่เพียงโปสเตอร์หน้าโรงหนัง ชอบไปดูเขา เขียนโปสเตอร์ พ่อเลยไปฝากเพื่อนที่เป็นเจ้าของโรงหนังให้เป็นลูกมือช่างเขียน
โปสเตอร์ ไปช่วยล้างสี ล้างพู่กัน ตีตารางขยายรูปให้ใหญ่ขึ้น เป็นเวลาสั้นๆ ในช่วง ปิดเทอมชั้นมัธยม
คัมภีร์สมัยใหม่สองหน้า 7/34 ขนาด122x204 ซม. สีอะครีลิค สีน้ำมัน และสีอะครีลิคอีพอกซี่ พ่นบนกระดาษโลหะผนึกบนไม้อัด ไม้ และภาพพิมพ์แกะ ไม้ พ.ศ.2534
พอเข้าช่างศิลป์ได้ ก็ดีใจมาก เพราะจะได้เรียนศิลปะทุกวิชาอย่างที่ใฝ่ฝันไว้ จึง มุ่งมั่นตั้งใจเรียนอย่างเต็มที่ ทุ่มเทให้การเขียนรูป วิชาอื่นที่คนไม่สนใจเรียนอย่าง สถาปัตยกรรมไทย ลายไทย ลายรดน้ำ ผมเรียนหมด และช่วงปลายปีส่งประกวด แข่งขันงานวิชาเรียนต่างๆ ทุกอย่างที่มี เช่น วาดเส้น จิตรกรรม ประติมากรรม
องค์ประกอบศิลป์ ฯลฯ ผมส่งประกวดได้รางวัลทุกปี ชั้นปีที่ 1 ได้ 3 รางวัล ขึ้นชั้น ปีที่ 2 ได้ 5 รางวัล พอถึงปีที่ 3ได้ถึง 9 รางวัล ตอนที่ขึ้นไปรับรางวัลนั้นรุ่นน้อง ฮือฮากันใหญ่ เพราะได้รับประกาศเรียกชื่อบ่อย
ตำนานของน้ำและไฟแห่งนิรันดร์ ขนาด 160x220 ซม. สีน้ำมันและสี อะคริลิคอีพอกซี่ แอโรซอล พ่นบนฟอร์ไมคาปีพ.ศ.2539
ตอนเรียนช่างศิลป์ผมได้คะแนนดี เพราะมีทักษะดี เขียนได้เหมือน แต่เมื่อเข้า มหาวิทยาลัยศิลปากร ช่วงแรกรู้สึกแย่ ไม่เข้าใจว่างานบางชิ้นที่เราว่าดีทำไม อาจารย์ให้คะแนนน้อย ชิ้นที่ว่าไม่ดีทำไมได้คะแนนมากกว่า นั่นเพราะผมยังไม่ เข้าใจการเขียนรูปที่เป็นศิลปะว่า ต้องมีอารมณ์ ความรู้สึก ความจริงความงามมาก
ขึ้น ค่อยๆ เรียนรู้ไปทีละนิด สักพักหนึ่งจึงเข้าใจและทำได้ เรื่องเหล่านี้ไม่ได้มีวิชา สอน แต่อาศัยต้องดู คิด และศึกษาด้วยตัวเองให้เป็นทุกอย่าง
ไหลลื่น ขนาด110x160 ซม. สีน้ำมันบนกระดาษผนึกบนไม้อัด และ ฟอร์ไมคา พ.ศ. 2542
ศิลปะนั้น ผมคิดว่าเรื่องพรสวรรค์เป็นแค่ส่วนหนึ่ง ที่สำคัญคือ ความรักและความ ศรัทธาในศิลปะ ถ้ามีมากก็ต้องทุ่มเทให้อย่างมุ่งมั่น ผมชอบค้นคว้าชอบอ่าน หนังสือจึงเริ่มสะสมหนังสือศิลปะ และดูงานของคนอื่น เพื่อฝึกวิเคราะห์ วิจารณ์ ประเมินคุณค่า ตอนที่จะเขียนรูปตึกก็ไปหารูปตึกของคนอื่นๆ มาดูว่าเขาเขียนกัน
อย่างไร ไม่ต้องให้อาจารย์บอก ทุกอย่างคือ การเรียนรู้ แม้กระทั่งวิชากายวิภาค (Anatomy) ซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยชอบ ก็เป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องเรียนรู้และเขียน ให้ถูกต้องที่สุด เพราะเป็นพื้นฐานสำคัญของการเขียนรูปคน
พอผมขึ้นชั้นปีที่4 ตัดสินใจเลือกเรียนเอกวิชาภาพพิมพ์ที่เพิ่งเปิดสอนเป็นรุ่นที่3 ที่จริงเวลานั้น ก็มีวิชาจิตรกรรมสร้างสรรค์ แต่ผมก็ยังเลือกเรียนภาพพิมพ์ เพราะ คิดว่าจิตรกรรมนั้นเราสร้างสรรค์เองได้ แต่ภาพพิมพ์นั้นมีเทคนิคเฉพาะที่ต้องมีคน
สอน ต้องมีเครื่องไม้ เครื่องมือ มีวัสดุอุปกรณ์ ซึ่งทางคณะจิตรกรรม จัดหามาให้ หมด ไม่ต้องซื้อ และการเรียนภาพพิมพ์นี้นอกจากผมได้เรียนรู้เทคนิค และ สร้างสรรค์ งานครบทั้ง 4 กระบวนการแล้ว สิ่งสำคัญคือได้เรียนรู้ระบบการทำงาน อย่างเป็นขั้นเป็นตอน กระบวนการทางเทคนิคภาพพิมพ์ได้ฝึกฝนให้ผู้เรียนมี ระเบียบ วินัย และความเพียรสูงขึ้น
1,728 จุด ขนาด 122x159.5 ซม. สีอะครีลิคบนฟอร์ไมคาผนึกบนไม้ พ.ศ.2543
การค้นพบอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากในขณะที่เรียนภาพพิมพ์ คือ เทคนิคเป็นมากกว่า เครื่องมือ เทคนิคสามารถกลับมาเป็นเนื้อหา มาเป็นตัวสร้างสไตล์หรือความงาม เฉพาะก็ได้ และเทคนิคยังนำไปสู่ความคิด หรือเรื่องราวความหมายก็ได้ ผมได้รู้ว่า
เมื่อเจอสิ่งใหม่ที่ไม่เคยใช้ ทั้งวัสดุ อุปกรณ์ สีชนิดนี้ เครื่องมือแบบนี้ทำอะไรได้ บ้าง ต้องทดลองทำความรู้จักกับมันก่อน แล้วค่อยมาคิดต่อว่า จะนำมาใช้ทำอะไร ได้ในงาน ซึ่งจะทำให้เกิดแนวคิด สไตล์ รูปแบบตามมา นี่คือสิ่งที่ผมเรียนรู้ ค้นพบ และใช้เป็นกระบวนการทางเทคนิคที่ติดตัวมาจนถึงปัจจุบัน บางครั้งเวลาคิดอะไร
ไม่ออก ผมจะเริ่มที่เทคนิค หาเทคนิคใหม่ๆ ค้นคว้า ทดลองทำให้สนุกสนาน ให้ มันพาไปสู่เรื่องใหม่ เนื้อหาใหม่ และรูปแบบใหม่ๆ ได้เสมอ
จานีน: อยากทราบเรื่องประวัติส่วนตัว การศึกษา หน้าที่การงาน
พลบค่ำ ขนาด 120x155 ซม. สีอะครีลิคบนผ้าใบ พ.ศ.2546
อิทธิพล: ผมยืนหยัดบนเส้นทางการสร้างสรรค์ศิลปะนามธรรมมายาวนานกว่า 50 ปี ผลงานมีทั้งวาดเส้น ภาพพิมพ์ จิตรกรรม และประติมากรรม สร้างสรรค์ผลงาน มาแล้วไม่ต่ำกว่า 600 ชิ้น ปัจจุบันเกษียณอายุราชการมา 12 ปี แต่ยังเป็นอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สอนระดับชั้นปี 4 ปี 5 และระดับปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ทัศนศิลป์
ที่คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และเป็น กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิร่วมตัดสินการประกวดศิลปกรรมสำคัญๆ หลายงาน เช่น การ ประกวดศิลปกรรมแห่งชาติ, การประกวดวาดภาพของธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย เป็นต้น และยังคงสร้างสรรค์ทำงานศิลปะอย่างต่อเนื่องไม่เคย หยุดมาจนถึงทุกวันนี้ ผมเกิดวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489
แถบแนวตั้ง และแนวนอน ขนาด 145x195 ซม. สีอะครีลิคบนผ้าใบ พ.ศ.2548
การศึกษา
พ.ศ. 2513: - ปริญญาศิลปบัณฑิตภาพพิมพ์ เกียรตินิยมอันดับ 1 คณะ จิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. 2518: - ปริญญาโทศิลปมหาบัณฑิตจิตรกรรม มหาวิทยาลัยแห่งรัฐ วอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา (ทุนรัฐบาลไทย)
พ.ศ. 2526: - ประกาศนียบัตรทฤษฎี และปฏิบัติทางการศึกษา ระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยโมนาช ประเทศออสเตรเลีย
ความบังเอิญและความเป็นระเบียบ 130x195 ซม. สีอะครีลิคบนผ้าใบ พ.ศ. 2550
นิทรรศการสำคัญ
พ.ศ. 2535: - การแสดงศิลปกรรมเดี่ยว “จิตรกรรมชุดใหม่”หอศิลป์แห่งชาติ
พ.ศ. 2543: - การแสดงศิลปกรรมเดี่ยว “สีสันแห่งแสง”สุรพลแกลเลอรี่
พ.ศ. 2544: - การแสดงศิลปกรรมเดี่ยว “วัตถุแห่งจิต”หอศิลป์คณะ จิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. 2549: - การแสดงศิลปกรรมเดี่ยว “จิตวิญญาณบรรพบท”หอศิลป์คณะ จิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. 2551: - การแสดงศิลปกรรมเดี่ยว “ปัญญาญาณ ปรีชาญาณ” หอศิลป์ คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. 2556: - การแสดงศิลปกรรมเดี่ยว “อักขระ”หอศิลป์ร่วมสมัยอาร์เดล
พ.ศ. 2558: - การแสดงศิลปกรรมย้อนหลัง “นามธรรม: สัจจะแห่งศิลปะ” หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
ผนังแห่งศรัทธา ขนาด 115x160 ซม. สีอะครีลิคบนผ้าใบ พ.ศ. 2555
รางวัลและเกียรติคุณ
พ.ศ. 2512: - รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทภาพพิมพ์ การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 19
พ.ศ. 2513: - รางวัลเกียรตินิยม อันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทภาพพิมพ์ การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 20
พ.ศ. 2515: - รางวัลเกียรตินิยม อันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทภาพพิมพ์ การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 21
- รางวัลจากพิพิธภัณฑ์เมืองคาโลแวค การแสดงวาดเส้นต้นแบบ นานาชาติ ครั้งที่ 3 ริเจคา ประเทศยูโกสลาเวีย
พ.ศ. 2517: - รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทภาพพิมพ์ การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 22
พ.ศ. 2519: - รางวัลเหรียญทอง ประเภทภาพพิมพ์ การแสดงศิลปกรรมร่วม สมัยธนาคารศรีนคร
พ.ศ. 2520: - รางวัลเกียรตินิยม อันดับ 2 เหรียญเงิน ประเภทภาพพิมพ์ การ แสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 24
- รางวัลเกียรตินิยม อันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทจิตรกรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 24
- รางวัลที่1 ประเภทจิตรกรรม การประกวดจิตรกรรมบัวหลวง ครั้งที่ 3
พ.ศ. 2521: - รางวัลที่ 2 การแสดงภาพพิมพ์นานาชาติ นอร์วีเจียน ครั้งที่ 4 ประเทศนอร์เวย์
- รางวัลจากการแสดงภาพพิมพ์นานาชาติ ครั้งที่ 5 ฟรีเซ่น ประเทศเยอรมันนี
พ.ศ. 2522: - รางวัลเกียรตินิยม อันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทภาพพิมพ์ การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 25
- ได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินชั้นเยี่ยม ประเภทภาพพิมพ์ จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ
- รางวัลชนะเลิศ การประกวดศิลปกรรมร่วมสมัย ธนาคาร กสิกรไทย
พ.ศ. 2536: - รางวัลยอดเยี่ยม (ประเภทที่ 1) จิตรกรรม และรางวัลดีเด่น (ประเภทที่ 3) ประติมากรรม การประกวดศิลปกรรมเมืองไทย ภัทรคอมเพล็กซ์ กรุงเทพฯ
พ.ศ. 2551: - ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาฅทัศนศิลป์ (จิตรกรรม)
พ.ศ. 2557: - ได้รับปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาทัศนศิลป์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ได้รับเข็มและประกาศเกียรติคุณนักเรียนทุนรัฐบาลไทยดีเด่น ประจำปี 2555-2556
พ.ศ. 2561: - ได้รับรางวัล Thawan Arts and Culture Prize ครั้งที่ 3 สาขา จิตรกรรม
ผู้ชายล้ม ขนาด 55x75 ซม. มาร์กเกอร์สีน้ำมันบนกระดาษ พ.ศ. 2557
ผลงานในปัจจุบัน
- ร่วมแสดงในงาน การแสดงศิลปกรรมอาจารย์คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 35
- ร่วมแสดงในงาน Bangkok Art Biennale 2018
- ร่วมแสดงในงาน Thailand Biennale 2018 จังหวัดกระบี่
- ร่วมแสดงในงาน Thailand Glass Art Festival 2018
- ปัจจุบันกำลังสร้างสรรค์ผลงานชุดใหม่ และคาดว่าจะจัดแสดงงานเดี่ยว ครั้งที่ 7 ในปี พ.ศ. 2563
- ทำหนังสือรวบรวมผลงานของตัวเองฉบับสมบูรณ์ที่สุด
เส้นใยแห่งชีวิต ขนาด 75x106 ซม. มาร์กเกอร์สีน้ำมันบนแผ่น PVC พ.ศ. 2558
จานีน: ข้อคิดดีๆ ที่อยากฝากไว้ให้กับผู้อ่าน หรือเรื่องที่อยากประชาสัมพันธ์ให้ ผู้อ่านได้ทราบ
อิทธิพล: ผมพบความสำเร็จได้ เพราะคำเดียว คือ “รักในศิลปะ” รักถึงขั้น ศรัทธา หลงใหล จึงทำให้ตัดปัญหาอื่นไปหมด เหนื่อยก็ไม่เหนื่อย ท้อก็ไม่ท้อ ถ้าไม่มี ความรักศรัทธาเช่นนี้ อาจเลิกไปนานแล้ว ความสำเร็จเกิดจากการทำงานโดยไม่ ยอมเลิก ในขณะที่คนอื่นเลิกไปแล้ว ผมอยากให้ศิลปินรุ่นใหม่คิดได้อย่างนี้ แล้ว
คุณจะไม่มีวันแพ้แน่นอน
ใบไม้ 3 สี ขนาด 94x179 ซม. มาร์กเกอร์สีน้ำมันบนแผ่น PVC พ.ศ. 2559
ความรักในศิลปะ ไม่หวังผลตอบแทน เราต้องตั้งใจทำให้ดีที่สุด แล้วผลสำเร็จจึง ตามมา ผลตอบแทนที่ผมได้รับนั้น เช่น การได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปิน แห่งชาติ ซึ่งผมก็ไม่เคยคิดมาก่อน หรือการขายงานก็เป็นผลพลอยได้ที่มาทีหลัง เพราะสมัยก่อนการขายงานได้ยิ่งกว่าถูกลอตเตอรี่ ไม่เหมือนสมัยนี้ที่มีคนให้ความ
สนใจและมองเห็นคุณค่าของศิลปะมากขึ้น มีคนเรียนศิลปะจบออกมาเป็นศิลปิน อาชีพมากขึ้น มีคนซื้องาน สะสมงานศิลปะมากขึ้น
นาวาแห่งอันดามัน ขนาด 580x450 ซม. สแตนเลสพ่นเคลือบด้วยสีฝุ่น พ.ศ. 2559
ปัญหาที่ศิลปินส่วนใหญ่เป็นคือ เมื่อมีการค้นพบแนวทางการสร้างสรรค์เฉพาะตัวที่ บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ของตัวเองแล้ว มักจะทำซ้ำ ย่ำอยู่กับที่ งานกี่ชิ้น กี่ชุดก็ยัง เหมือนเดิม ไม่อาจหลีกหนีตัวเองได้ ดังนั้นคู่แข่งคนสำคัญที่สุด ใกล้ตัวที่สุด ก็คือ
ตัวคุณเอง มิฉะนั้นใหม่ก็จะกลายเป็นเก่า สร้างสรรค์จะกลายเป็นซ้ำซ้อน กล่าวใน อีกนัยหนึ่งก็คือ ศิลปินต้องสร้างกรอบแห่งแนวคิด กำหนดเนื้อหา จุดหมาย รูปแบบ เทคนิควิธีการ เพื่อให้มีขอบเขตมีจุดหมายปลายทางที่ชัดเจน กรอบต้อง ไม่กว้างจนเกินไปจนนำไปใช้กับการสร้างสรรค์ของใครก็ได้ หรือไม่แคบเกินไปจน
ขยับเขยื้อนไม่ได้ ต้องทำลายกรอบ คิดออกนอกกรอบของตัวเอง เพื่อสร้างสิ่งใหม่ ๆ ต่อไป ศิลปินจึงต้องค้นหาสิ่งใหม่อยู่เสมอ
สุดท้าย เคยมีคนถามว่า ผมชอบงานชิ้นไหนมากที่สุด ผมจะตอบไปว่างานชิ้นนั้น ยังไม่ได้ทำ เพราะถ้าทำไปแล้วผมก็คงไม่อยากทำงานใหม่อีกต่อไป เมื่อผมยัง ทำงานได้ไม่เป็นที่พอใจของตัวเอง ระดับของความลึกซึ้งของศิลปะนามธรรมนั้น น่าจะไปได้เยอะมาก การที่ผมเป็นอาจารย์สอนศิลปะและเป็นศิลปินไปด้วย ทำให้
ไม่มีสมาธิ ไม่เข้มข้น ไม่ต่อเนื่องเพียงพอ ถ้ามีเวลามากกว่านี้ ถ้ามีความสงบ นามธรรมน่าจะไปได้อีก เวลานี้ที่ผมป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน แม้จะมีเวลามากขึ้น แต่ ข้อเสียคือ ร่างกายไม่อำนวย แต่ผมก็ไม่รู้สึกว่าผิดพลาดหรือเสียดาย เพราะผมรัก ศิลปะและรักการเป็นครูด้วย จึงภูมิใจที่ทำได้ดีทั้งสองอย่าง จนถึงทุกวันนี้ก็ยัง
อยากสอน ผมประทับใจที่อาจารย์ศิลป์ พีระศรี กล่าวไว้ว่า ถ้าเป็นศิลปินสอนคนได้ ไม่มาก แต่เป็นอาจารย์สอนคนได้เป็นร้อย ผมมีความสุขเสมอที่ช่วยให้เด็กเรียนจบ หรือบางคนได้พบตัวเอง และเป็นศิลปินได้ในที่สุด
ภาพปก - กุมภาพันธ์ หมายเลข2 ขนาด 81x61 ซม. ภาพพิมพ์แกะไม้ พ.ศ. 2513
|