ในเดือนนี้ดิฉันขอแนะนำศิลปินภาพพิมพ์อีกท่านหนึ่งจากทางภาคใต้ของประเทศ ไทย คุณมณเฑียร ยางทอง ที่เป็นศิษย์เก่าภาควิชาศิลปศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ภาคใต้ของประเทศไทย
ปีพ.ศ. 2539 – 2549 คุณมณเฑียร ยางทอง ทำงานที่ฝ่ายศิลป์ของโรงแรมแห่ง หนึ่ง หลังจากนั้นคุณมณเฑียร กลับกลายเป็นศิลปินเต็มตัวและในบางครั้งก็จัด บรรยายและเวิร์คช็อปเกี่ยวกับงานศิลปะ
ปัจจุบันนี้คุณมณเฑียร มีห้องแสดงภาพของตัวเองและเท่าที่ดิฉันทราบมาคุณ มณเฑียร ยางทอง เป็นศิลปินภาพพิมพ์เพียงคนเดียวในจังหวัดภูเก็ตที่เปิด แกลเลอรี่แห่งแรกและยังเป็นแห่งเดียวของงานภาพพิมพ์ในภูเก็ต ผลงานส่วนมาก
เป็นภาพพิมพ์ขาวดำแต่ก็มีภาพพิมพ์สีเช่นกัน จนถึงตอนนี้คุณมณเฑียรได้เข้า ร่วมงานนิทรรศการกลุ่มมากกว่า 60 ครั้ง และมีงานนิทรรศการเดี่ยวสี่ครั้ง งาน นิทรรศการครั้งล่าสุดมีชื่อว่า “มนตราแห่งท้องทุ่ง”จัดขึ้นในปีพ.ศ. 2561
ที่งานนิทรรศการครั้งล่าสุด อาจารย์สมศักดิ์ เชาวน์ธาดาพงศ์ ศิลปินแห่งชาติเป็น ประธานผู้ดำเนินพิธีเปิดงาน ท่านให้ความเห็นว่าผลงานของคุณมณเฑียร ยางทอง เป็นวิธีการทำภาพพิมพ์แกะไม้แบบดั้งเดิมที่ต้องอาศัยทักษะ ฝีมือ และการ
วางแผนแกะไม้เพื่อทำภาพพิมพ์ไม้และพิมพ์ภาพด้วยมือเพื่อแสดงเนื้อหา รูปทรง และพื้นที่ว่างจากสีดำไปยังสีขาว นั่นหมายความว่าพื้นที่สีขาวถูกแกะออกไปตาม วีธีการทำแม่พิมพ์ไม้
จากนี้ไปเป็นการสัมภาษณ์
จานีน: อยากให้คุณมณเฑียรเล่าถึงเรื่องตอนวัยเด็ก
|
มณเฑียร: การได้เติบโตจากครอบครัวที่มีพ่อผู้มีความสามารถทางช่าง และ ปราชญ์ท้องถิ่น ไม่ว่างานแทงหยวก แกะลายโลงศพ ช่างปูน ช่างไม้ บทกลอน พิธีกรรมทางศาสนาและรวมถึงเครื่องใช้ไม้สอย ทำให้ผมคุ้นชินและซึมซับมา ตั้งแต่เด็ก เสมือนเป็นเบ้าหลอมให้หลงใหลงานทางช่าง บางงานมีโอกาสเป็น
ลูกมือพ่อตั้งแต่จำความได้ สิ่งที่สัมผัสเหล่านี้คือตัวจุดชนวนเริ่มต้นสำหรับการ ทำงานศิลปะ ซึ่งทางครอบครัวก็ไม่ได้กีดกันใดๆ จำได้ว่าตอนเด็ก นำกระดาษแข็ง ทำตัวหนังตะลุงแล้วใช้ไฟฉายส่อง ประดิษฐ์อุปกรณ์เครื่องใช้ เช่น ข้องใส่ปลา กรงนก เป็นความสุขที่ได้ทำและใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อีก โดยไม่เข้าใจ
หรอกว่า ศิลปะคืออะไร จนเข้าสู่ในระบบการเรียน ได้จับต้อง ดินสอ ปากกานั้น แหละงานขีดๆเขียนๆ จึงปรากฏ ชอบลอกจากแบบหนังสือการ์ตูน วาดรูปดารา ต้นแบบจากนิยายสาระบันเทิงที่ชื่นชอบในยุคนั้น ได้นำผลงานเหล่านี้แปะหน้าปก สมุด เหมือนบ้าง คลับคล้ายคลับคลาบ้าง เพื่อนๆ ชื่นชม ผมก็สุขใจ วิชาศิลปะจะ
เป็นชั่วโมงที่ให้ความสนใจเป็นพิเศษ รับจ้างออกแบบตัวอักษรหน้าปกรายงาน ตั้งแต่ตอนเรียนมัธยม ในตอนนั้นยังไม่รู้เลยโลกแห่งศิลปะวงกว้างเป็นอย่างไร ได้ ทำ ได้วาด ได้คิด และได้เงินมาบ้างก็มีความสุขที่สุดแล้ว จนกระทั่งเรียนจบมัธยม ปลาย รอยต่อของความคิดของช่วงวัย ที่จะเดินสู่ระบบการศึกษาศิลปะก็เกิดขึ้น ได้
เข้าเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคที่วิทยาลัยศิลปหัตถกรรม นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นระดับสำหรับผู้ที่ตัดสินในช้าในสายนี้ เพราะเราไม่ได้ผ่าน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพมาก่อน เป็นระดับการเรียนก้าวกระโดด ไม่ต้องลงลึก มากนัก แต่ก็ทำให้เข้าใจพื้นฐานการวาดรูป ประติมากรรม และภาพพิมพ์ เข้าใจ
โลกศิลปะแจ่มชัดมากขึ้นตามลำดับ แอบใฝ่ฝันอยากจะอาชีพทำงานศิลปะตั้งแต่ ตอนนั้น แต่ก็รู้ตัวดีว่า ผมยังด้อยความสามารถ ยังจำต้องฝึกฝนอีกมาก
จานีน: เรื่องอาชีพทางศิลปะหลังจากที่จบการศึกษา
|
มณเฑียร: หลังจากจบหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค ศิลปะประยุกต์ ที่ นครศรีธรรมราชว่างเว้นจากการเรียนหนึ่งปี มีโอกาสไปเขียนร่ม เขียนพัด ที่บ่อ สร้าง ซึ่งเป็นอีกประสบการณ์ ประมาณปีพ.ศ. 2534 เข้าเรียนระดับปริญญาตรี
ศิลปศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี แม้จะเป็นหลักสูตรครู ศิลปะความคิดฝันจะเป็นศิลปินก็ไม้ได้จางหายไปเลย ทางครอบครัวต้องการให้ผม รับราชการครูในแบบที่เค้าต้องการ ตามวิถีคิดพ่อแม่ในแถบชนบท แต่ผมปฏิเสธ เงียบมาตลอด ปีพ.ศ. 2539ผมเข้าทำงานโรงแรมแห่งหนึ่งในจังหวัดปัตตานีใน
หน้าที่ของฝ่ายศิลป์ การมีรายได้หล่อเลี้ยงชีวิตและให้ทางครอบครัวได้อุ่นใจ ช่วง ปีแรกผมเป็นแค่มนุษย์เงินเดือน ผมเริ่มฉุกคิดในสิ่งที่ฝันไว้เมื่อเข้าสู่ปีที่สองได้ บริหารจัดการชีวิตให้ได้ทำงาน สองส่วน กล่าวคือ กลางวันทำงานฝ่ายศิลป์ตาม หน้าที่ของลูกจ้าง ตกกลางคืนและวันหยุดผมได้สร้างสรรค์ ช่วงแรกเป็นงานเพ้นท์
สีน้ำมัน ด้วยเรื่องราวรอบๆตัวและความทรงจำ ซึ่งได้ผลงานจำนวนหนึ่ง แต่ผม วิเคราะห์ว่างานช่วงนั้นมีกลิ่นสีใกล้เคียงกับศิลปินรุ่นใหญ่คนหนึ่ง มากเกินไป ผม ต้องการหนี ผมเริ่มก้าวกะโดดสู่งานพิมพ์แกะไม้ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ผมทำได้ดี ในสมัยเรียน การวางแผนและขั้นตอนของงานพิมพ์สอดคล้องกับงานประจำ ซึ่งสิบ
ปีของการเป็นลูกจ้าง ผมมีผลงานสร้างสรรค์สะสมไว้จำนวนไม่น้อยเป็นงานพิมพ์ ขาวดำ และงานพิมพ์สี ผลงานเหล่านี้นำไปสู่การแสดงเดี่ยวปลายปีพ.ศ. 2549 ที่ ภูเก็ต รวมทั้งใช้ชีวิตแบบศิลปินอิสระเต็มตัวตั้งแต่นั้นมา การมีเวลาสร้างสรรค์เต็มที่
|
วิเคราะห์ ทดลอง ค้นคว้า โดยการนำวินัยจากการที่เคยเป็นลูกจ้างมาใช้กับวิถี ศิลปะ ผมทำงานแบบไม่มีวันหยุด ทำให้เจอการแกะเส้นที่ให้ความรู้สึกใหม่สำหรับ งานภาพพิมพ์แกะไม้ และพัฒนาการแกะแม่พิมพ์ เพื่อให้เส้นเป็นตัวสื่อใน
หลากหลายเรื่องราว ให้เป็นเช่นเลือดเนื้อ เส้นแห่งการไหลเวียน เมื่อเป็นงาน ภาพเหมือนบุคคลที่ประทับใจ ทำหน้าที่เป็นน้ำและลมเมื่อเป็นเรื่องราวของ ธรรมชาติ บางชุดผมได้นำไปต่อยอด ก้าวไปผสมเพ้นท์บนวัสดุที่ไม่ใช่แค่กระดาษ เพื่อค้นหามิติใหม่ๆ ที่งานพิมพ์แกะไม้ที่พึงจะเป็นไปได้
จานีน: คุณได้ค้นพบอะไรเพิ่มเติมอีกบ้างคะ
มณเฑียร: การไม่หยุดนิ่งในความคิด มันสนุกและสุขเสมอ ผลงานทั้งหมดเกิดจาก การพิมพ์มือ คือ บาเรง ปีพ.ศ. 2560 ผมได้นำเครื่องจักรสำหรับรีดแผ่นยางพารา มาปรับใช้ เพื่อความสะดวกของงานพิมพ์บนกระดาษ ผลลัพธ์ที่ได้น่าพึงพอใจ ทีเดียว เอื้อประโยชน์ได้ไม่น้อยเลย
|
เข้าใจดีว่า สังคมไทยยังด้อยอยู่มากสำหรับงานศิลปะภาพพิมพ์ การที่ร่ำเรียนเป็น ครูศิลปะ ผมมุ่งหวังที่จะแบ่งปันองค์ความรู้สู่ทุกๆคน อาจจะด้วยการพูดคุยหรือทาง สื่อก็ตาม ซึ่งเป็นสื่อหลักการเป็นศิลปินภาพพิมพ์แกะไม้คนเดียวในภูเก็ต รวมถึงมี
พื้นที่สตูดิโอกึ่งแกลอรี่เป็นของตัวเอง บนย่านเมืองเก่าของจังหวัดภูเก็ต ที่ที่ตรงนี้ เป็นที่ต้อนรับและเป็นเวทีพบปะศิลปะแขนงนี้ ผมปราถนาให้คนไทยมีความรู้ ทัดเทียมเยี่ยงประเทศอื่นๆ ผมเชื่อเสมอว่าคนไทย ศิลปินไทยมีความสามารถสู้ ระดับนานาชาติได้แน่นอน หากเราเอาจริง เอาจังผลงานที่ผมรังสรรค์ถูกซื้อสะสม
ไปสู่นานาชาติ นั้นคือ ตัวสะท้อนได้ในจุดหนึ่ง ชีวิตไม่เคยนำผลงานส่งประกวด ใดๆเลย ซึ่งผมก็เข้าใจดีว่า หากมีรางวัลติดตัวเพื่อเบิกทางอาจจะเรื่องง่ายสำหรับ การสร้างชื่อเสียง ผมเลือกที่จะสู้และฟันฝ่าในแบบเรียนรู้ภูมิคุ้มกัน แม้จะล้มลุก คลุกคลานบ้าง ก็ยอมรับมันได้ ทั้งหมด และผมก็ก้าวข้ามสิ่งที่คิดว่าเป็นอุปสรรค
มาอยู่ในจุดที่มั่นคงของตัวเองและครอบครัวในปัจจุปัน
จานีน: คุณมีความมุ่งหวังอะไรในอนาคต
มณเฑียร: นอกจากทุ่มเทเพื่อการทำงานที่รักให้สุดทางแล้ว อีกอย่างที่ผมทิ้ง ไม่ได้ คือการสืบสานภูมิปัญญางานแทงหยวกจากบรรพบุรุษเป็นอีกหนึ่งความ ภูมิใจที เป็นอีกงานที่ผมสืบทอดมาเกือบสิบปี ตั้งเป้าหมายว่าในสักวันจะคืนถิ่นเกิด
กลับไปฟื้นฟู อนุรักษ์ ด้วยองค์ความรู้ทางศิลปะที่เกี่ยวมาทั้งชีวิต ควบคู่กับงาน สร้างสรรค์
|