www.scene4.com
Arpapun Jokowidjaja | Janine Yasovant | Scene4 Magazine | December 2019 | www.scene4.com

 อาภาพรรณ โจโควิดจาจา
สิ่งทอไทย อนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรม

จานีน ยโสวันต์

ในเดือนนี้ดิฉันขอแนะนำให้รู้จักคุณอาภาพรรณ โจโควิดจาจาที่เป็นนักธุรกิจชาว
ไทย แต่งงานกับคุณชันดร้า ฮาร์โทโน โจโควิดจาจานักธุรกิจชาวอินโดนิเซียที่
ส่งออกข้าวไทยไปยังประเทศอินโดนีเซียคุณอาภาพรรณ โจโควิดจาจาทำงานเป็น
อาสาสมัครให้กับโครงการต่างๆ ในประเทศไทยและยังมีความชื่นชอบในการสะสมของโบราณ ผ้าไหมไทย และสิ่งทอชนิดอื่นๆ ในประเทศไทย

ต่อไปนี้เป็นบทสัมภาษณ์

จานีน: เล่าถึงงานที่คุณสนใจและได้ทำกิจกรรมในชุมชนที่ผ่านมา

อาภาพรรณ: ดิฉันเริ่มทำงานจิตอาสามาตั้งแต่เรียนอยู่ชั้นปี 1 มหาวิทยาลัยมหิดล
อินเตอร์เนชั่นแนล คอลเลจ  พอมาตอนอยู่ปี 3 ก็เป็น ประธานชมรมอาสาพัฒนา
ชนบท ทุกปีดิฉันจะออกไปสอนหนังสือเด็กๆในพื้นที่ห่างไกล เช่น อำเภอฝาง
จังหวัดเชียงใหม่ และ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก และเป็นจิตอาสาช่วง
เลี้ยงเด็กกำพร้าที่บ้านเด็กอ่อนพญาไทอาทิตย์ละหนึ่งวัน ในวันที่เราเป็นเด็กยังไม่
มีรายได้เราก็ลงแรง และเมื่อวันที่เรามีพอและมีพร้อม เราก็พร้อมจะแบ่งปันที่สิ่ง
สังคมยังขาดอยู่ตามกำลังที่เรามี

หลังจากจบมหาวิทยาลัย ดิฉันก็เริ่มทำงานเริ่มมีชีวิตครอบครัว งานอาสาจึงห่าง
หายไปบ้าง ทำได้นิดๆหน่อยๆ แต่เมื่อวันหนึ่งที่ดิฉันพร้อมมากขึ้นก็กลับมาทำสิ่งที่
ดิฉันรักอีกครั้ง โดยส่วนใหญ่จะเน้นไปทาง 3 จังหวัดชายแดนใต้ ผ่านแฟนเพจ
“พลังใจถึงชายแดนใต้” แต่ต่อมาได้เริ่มทำไปยังที่อื่นๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะงาน
ภัยพิบัติต่างๆ โดยได้เปิดอีกแฟนเพจ “พลังใจไทยแลนด์”เริ่มจากนั่งแพคสิ่งของ
ประจำเป็นไปให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ทหารตำรวจอาสาที่ประจำการอยู่ในสามจังหวัด
ชายแดนใต้ จาก 10 กล่อง 20 กล่อง 100 กล่อง ไปจนถึงหลายๆ ตู้โบกี้รถไฟ ไม่
แค่เพียงส่งกำลังใจให้เจ้าหน้าที่ ดิฉันและคณะทำงานคอยช่วยเหลือชาวบ้าน คน
พิการ คนชรา เด็กนักเรียน นักศึกษา ในรูปแบบต่างๆ ผ่านทั้ง 2 แฟนเพจ

ทุกปีเราก็จะร่วมจัดค่ายเยาวชนพาน้องๆ จาก 3 จังหวัดชายแดนใต้ มาทัศนศึกษา
ที่กรุงเทพ มาเรียนรู้ แลกเปลี่ยน ทำกิจกรรมร่วมกัน ช่วงภัยพิบัติ ดิฉันและทีมงาน
จะช่วยกันจัดของบรรเทาสาธารณภัย ช่วงปีใหม่วันเด็กพวกก็จะช่วยกันจัดงานวัน
เด็กทุกวันสำคัญอย่างเช่น วันพ่อแห่งชาติ วันแม่แห่งชาติ ดิฉันและทีมงานก็จะทำ
กิจกรรมดีๆ ถวายเป็นพระราชกุศล ทุกปีการศึกษาใหม่เราจะช่วยอุปถัมภ์โรงเรียน
เมธีวุฒิกร จังหวัดลำพูน สำหรับสามเณรและเด็กนักเรียนที่ยากไร้ ปัจจุบัน
โรงเรียนเมธีวุฒิกร โดยเจ้าคณะจังหวัดลำพูน ได้แต่งตั้งดิฉันให้เป็นกรรมการ
โรงเรียนฝ่ายฆราวาส

3 ปีที่ผ่านมา ดิฉันเริ่มมาสนใจศึกษาเรื่องผ้าไทย เริ่มสะสมไปจนถึงความรู้สึกที่
เรียกว่า หลงรักผ้าไทยและของไทยๆ จนตั้งใจที่จะใส่ผ้าไทย ใช้ของไทย ใน
ชีวิตประจำวัน ซึ่งเราคิดว่ามันเป็นมากกว่าการอนุรักษ์ สืบสาน เพราะสิ่งนี้คือการให้
กำลังใจในการผลิตสินค้าดีมีคุณภาพ เป็นการสร้างอาชีพที่สืบสานมาอย่าง
ยาวนาน อยากส่งเสริมให้คนไทยใช้ของไทยมากขึ้น คนไทยก็จะสามารถผลิตของ
ได้มากขึ้น มีการต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้สวยหรูเก๋ไก๋ทันสมัยมากขึ้น โดยเริ่มจาก
ตัวเอง ซื้อเอง ใช้เอง ใส่เอง เพื่อถูกใจใครให้นำไปประยุกต์ใช้ตามกันจนเป็นที่มา
ของการเปิดอีกแฟนเพจ “สวยช่วยชาติ”

จานีน: คุณมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องการสวมใส่ผ้าไทย

M5-cr M3-cr

อาภาพรรณ: จากคนบ้าแบรนด์เนมสู่คนที่รักของไทยๆอย่างหมดใจ ด้วยความรัก
ในผ้าไทยของไทยและความมุ่งมั่นสืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้า
สิริกิติ์พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 ผู้ทรงรื้อฟื้นและพัฒนาผ้าไทยรากเหง้าของ
วัฒนธรรมไทยให้อยู่คู่ชาติไทยและคนไทยสืบต่อไปนานเท่านาน จึงทำให้ดิฉันทิ้ง
แบรนด์เนมที่เคยคลั่งไคล้ กระเป๋าหลายสิบใบรวมทั้งเสื้อผ้าก็ขาย แล้วมาซื้อของ
ไทย ใส่ผ้าไทย แต่งกายอย่างไทยทั้งอย่างโบราณและอย่างประยุกต์ให้ทันสมัย
ใช้ของนอกเราก็ได้ใช้ ใครๆเห็นก็ว่าหรูเป็นที่รู้จัก แต่ถ้าใช้ของไทยเราก็ใช้ได้ อาจ
ไม่หรูเท่า อาจไม่เป็นที่รู้จัก อาจไม่มีชื่อเสียงอะไรในความรู้สึกในสายตาของใคร
หลายคน แต่ใช้แล้วดิฉันรู้สึกภูมิใจมากกว่าใช้ของนอกของแบรนด์เนม คนรอบข้าง
หลายคนอาจมองว่าแปลก แต่เดี๋ยวเค้าก็คงชิน และรู้เองว่านี่คือสไตล์ของดิฉันเอง
พยายามผสมผสาน พยายามประยุกต์ใช้ เอามาใส่ให้ดูดี ดูทันสมัย ใส่ผ้าไทยไม่
แก่ไม่เชยอย่างที่เคยคิดจริงๆ

M-10-cr

เมื่อก่อนคนจะมองว่าผ้าไทยเป็นเรื่องไกลตัว เป็นผ้าคุณแม่ใส่คุณยายนุ่ง เพราะ
กลัวนุ่งแล้วแก่ กลัวไม่เข้ากับคาแร็คเตอร์ ดิฉันคิดว่าหลายๆคนคงมีความกังวล
คล้ายๆกัน ตัวดิฉันเองก็ลองผิดลองถูกมาเยอะ แต่ก่อนเวลาที่จะแต่งตัว ดิฉันก็ใส่
แล้วออกจากบ้านได้เลย ตั้งแต่นุ่งซิ่นแต่งผ้าไทยดิฉันคิดเยอะขึ้น ที่บอกว่าคิด
เยอะขึ้นในที่นี้ เพราะใส่แล้วอยากให้ผ้าไทยออกมาดูดีที่สุด จริงๆ แล้วมันไม่มีผ้า
ผืนไหนสวยที่สุด แต่อยู่ที่ว่าผืนไหนที่เหมาะกับคนๆ นั้น ณ เวลาๆ นั้นที่สุด
ต่างหาก จึงมีประโยคที่ได้ยินจนชิน ผ้าเลือกคนคนเลือกผ้า ไม่ว่าจะเป็นผ้าไหม
ผ้าฝ้าย ผ้าทอใหม่ ผ้าเก่าเก็บ ผ้าโบราณ ล้วนแล้วที่คุณค่า มีความหมายทั้งสิ้น ยิ่ง
เราชอบเรียนรู้ศึกษาไปด้วย ดิฉันชอบอ่านประวัติศาสตร์ทั้งของไทยและต่างชาติ
จึงเริ่มสนใจสะสมผ้าเก่าผ้าโบราณและของเก่าของไทยๆ ไว้ด้วย

จานีน: อยากให้เล่าถึงความประทับใจถึงสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวง

อาภาพรรณ: อันที่จริงมิเคยได้ทำงานถวายพระองค์ท่านแต่อย่างใด เพียงมี
พระองค์เป็นแบบอย่างก็เป็นบุญอันประเสริฐที่สุดแล้ว การสูญเสียโศกเศร้าได้
กลายเป็นแรงบันดาลใจอันยิ่งใหญ่ ใครหลายคนตั้งคำถามว่าทำไมเราถึงหันหลัง
ให้แบรนด์เนมและตกหลุมรักศิลปหัตถกรรมไทยอย่างหมดใจ เริ่มขึ้นจากเมื่อ 3 ปี
ที่แล้วค่ำของวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เสมือนหัวใจสลาย ทุกอย่างมันหยุดนิ่ง
มีเพียงน้ำตาที่ไม่หยุดไหล นั่งดูภาพพระราชกรณียกิจวนแล้ววนเล่าแบบนั้นอยู่
หลายวัน ฉันเป็น 1 ในคนไทยที่เติบโตมาในช่วงที่ทั้งสองพระองค์เริ่มชรา ข่าวใน
พระราชสำนักฉันติดตามแต่ไม่ได้ตื่นเต้นในความรู้สึกของฉัน แต่ในวันแห่งความ
สูญเสียอันยิ่งใหญ่ ความคิดของฉันได้เปลี่ยนไป

ตั้งแต่ภาพการเสด็จเจริญสัมพันธไมตรีครั้งแรกของทั้ง2 พระองค์ ประเทศเล็กๆ
อย่างประเทศไทยได้อยู่ในสายตาชาวโลก นานาชาติได้เห็นถึงพระปรีชาสามารถ
ของทั้ง 2 พระองค์ นิตยสารดังๆ หนังสือพิมพ์ใหญ่ๆ ต่างลงข่าวของทั้ง 2 พระองค์
 ด้วยพระสิริโฉมอันงดงามของพระราชินีไทยที่ถูกเผยแพร่ออกไป ทำให้พระองค์
ท่านทรงเป็นผู้หญิงที่โด่งดังและได้รับการสนใจจากคนทั่วโลก ด้วยพระปรีชา
สามารถและพระสิริโฉมที่งดงามโดดเด่นจนเป็นที่เลื่องลือกล่าวขาน ด้วยพระทัย
อันมุ่งมั่นในการนำผ้าไทยสิ่งทอภูมิปัญญาชาวบ้านสู่เวทีโลก พระองค์ท่านทรงทำ
ได้สำเร็จ ดั่งจะเห็นว่าแฟชั่นในยุคปี 1960-70 หลายแบรนด์ฝรั่งชั้นนำ ได้นำผ้า
ไหมไทยไปออกแบบตัดเย็บมากมายจนเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง ด้วยสายพระ

A2-cr

เนตรอันกว้างไกล ด้วยพระอัจฉริยภาพด้านแฟชั่น ด้วยน้ำพระทัยต่อปวงชนชาว
ไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้รับพระราชทานการสนับสนุนฟื้นฟู สร้างรายได้แก่
พสกนิกร พร้อมทรงอนุรักษ์รักษาวัฒนธรรมศิลปหัตถกรรมภูมิปัญญาไทยการสร้าง
ชาติการพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องคงไว้ซึ่งรากเหง้าของชนชาติไปพร้อมกับการพัฒนา
ทางด้านเทคโนโลยียุคใหม่ ไม่ให้ถูกกลืนกินความเป็นชาติจากโลกโลกาภิวัฒน์
พระราชินีของฉันทรงเป็นที่รักที่เทิดทูน และเป็นต้นแบบที่ประเสริฐสุดของดิฉัน
3 ปี ที่หันหลังให้แบรนเนมด์นอก เริ่มใช้ของไทยๆ อย่างจริงจังเป็นครั้งแรก แม้จะ
มีล้านแปดข้อจำกัดจนเกือบถอดใจ แต่ทุกครั้งที่นึกถึงพระองค์ก็มีกำลังใจทุกครั้ง
ค่อยๆลอง ค่อยๆทำความเข้าใจ ค่อยๆหาความรู้ อะไรที่เป็นปัญหา อะไรที่เราไม่
ชอบ ค่อยๆปรับปรุงไปเรื่อยๆ

ดิฉันไม่แคร์สายตาคนอื่นแต่ยอมรับคำติชม ไม่สนว่าใครจะดูถูกแต่ต้องไม่ดูถูก
ตัวเอง แบรนด์เนมใส่ว่าโก้แต่มันก็โหลอยู่ดี ผ้าไทยไร้แบรนด์แต่ฉันให้คุณค่างาน
ศิลปหัตถกรรมกับการแต่งตัว ยอมรับว่าคิดเยอะและฟุ่มเฟือย แต่มันคือหนึ่งใน
ความสุขของชีวิตผู้หญิงคนหนึ่ง รักสวยรักงามในแบบไทยๆ เงินทองรั่วไหลสู่
ชุมชน ไม่ต้องตามแฟชั่นให้เหนื่อยอีกต่อไป ค่อยตามใจตัวเองก็พอ

A4-cr

พระราชินีของดิฉันทรงฟื้นฟูส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทยที่เกือบจะสูญหายกลับไป
รุ่งเรืองอีกครั้ง ดิฉันขอเป็นพสกนิกรไทยคนหนึ่งที่ขอเดินตามรอยพระบาท สืบสาน
ปณิธานของพระองค์ แม้มิอาจทำได้เพียงเศษเสี้ยวธุลีแต่ขอให้ทำให้ดีที่สุดเท่าที่
จะทำได้ อีกหนึ่งวิธีปฏิบัติในการระลึกถึงพระมหากรุณาของทั้งสองพระองค์ ลูกขอ
นำผ้าไหมไทยมาออกแบบตัดเย็บสวมใส่อย่างภาคภูมิว่าของไทยๆ ก็สวยไม่แพ้
ชาติใดเลย

จานีน: คุณมีแผนการณ์อย่างไรต่อไปกับการประชาสัมพันธ์ผ้าไทย

อาภาพรรณ: ปัจจุบันดิฉันสะสมทั้งผ้าทอของไทยทั้งเก่าและใหม่ไปจนถึงของ
ประเทศเพื่อนบ้าน การเก็บรักษาผ้าเก่าผ้าโบราณนั้นไม่ง่ายเลย สภาพบางผืนก็
ขาดหวิ่น ก็ต้องยังเก็บค่ะ อนาคตอยากทำแกลอรี่เล็กๆ พิพิธภัณฑ์ผ้าและของ
สะสมอื่นๆ พร้อมบันทึกเรื่องราวไว้ให้คนที่สนใจคนรุ่นต่อไปได้ศึกษา ในฐานะที่เรา
เป็นคนธรรมดาคงไม่สามารถทำอะไรได้มากมายนัก ขอเพียงได้ส่งเสริม อุดหนุน
สวมใส่ ผ้าไทย ได้เก็บรักษาผ้าโบราณของเก่าอันมีคุณค่า ได้อนุรักษ์
ศิลปหัตถกรรมวัฒนธรรมของไทยก็ดีใจแล้วคะ ผ้าไทยไม่มีคำว่าล้าสมัย มี
เอกลักษณ์ และสามารถบ่งบอกความเป็นตัวตนของคนใส่ได้เป็นอย่างดี เพราะผ้า

M8-cr

ไทยทุกผืนมีความงดงามเป็นของตัวเองอยู่แล้ว อยู่ที่เราจะนำมาสวมใส่อย่างไรให้
ผ้าเหล่านี้สวยและเก๋เข้ากับตัวเราเข้ากับยุคสมัยสไตล์ปัจจุบัน

 

กรุณาลงความเห็น เกี่ยวกับบทความนี้ี้

Scene4 Magazine: Janine Yasovant

ส่ง
อีเมล์
หน้านี้

จานีน ยโสวันต์ เป็นนักเขียน
เธออาศัยอยู่ในเชียงใหม่ประเทศไทย
สำหรับบทความและบทวิจารณ์อื่นๆ ของ จานีน ยโสวันต์
กรุณาตรวจดู
 แฟ้มเก็บข้อมูล

Click Here for this article in English
©2019 Janine Yasovant
©2019 Publication Scene4 Magazine

 

 

www.scene4.com

December 2019

  Sections~Cover · This Issue · inFocus · inView · inSight · Perspectives · Special Issues 
  Columns~Adler · Alenier · Bettencourt · Jones · Luce · Marcott · Thomas · Walsh 
  Information~Masthead · Submissions · Past Issues · Your Support · Archives · Books
  Connections~Contact Us · Comments · Subscribe · Advertising · Privacy · Terms · Letters

Search This Issue |

Search The Archives |

Share via Email

Scene4 (ISSN 1932-3603), published monthly by Scene4 Magazine–International Magazine
of Arts and Culture. Copyright © 2000-2019 Aviar-Dka Ltd – Aviar Media Llc.

Scientific American - www.scene4.com
Uniucef - www.scene4.com
Calibre Ebook Management - www.scene4.com
Thai Airways at Scene4 Magazine
14990330623594616631