www.scene4.com
R03-cr

 รุ่งโรจน์ เปี่ยมยศศักดิ์
101 เฮือนโบราณสันป่าตอง
ศิลปะคือพลังอ่อนโยนที่จะเชื่อมโยง
สิ่งต่างๆให้รวมกันได้

จานีน ยโสวันต์

คุณรุ่งโรจน์ เปี่ยมยศศักดิ์เป็นศิลปินที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากรใน
กรุงเทพ งานของเขามีส่วนเกี่ยวข้องอย่างชัดเจนในการเข้าใกล้ชุมชนที่คุ้นเคยเก่า
กล่าวอีกนัยหนึ่งคุณรุ่งโรจน์สร้างงานศิลปะและพัฒนาชุมชนของเขาในเวลา
เดียวกัน ดิฉันรู้จักคุณรุ่งโรจน์มาตั้งแต่จัดแสดงนิทรรศการการติดตั้งเมื่อหลายปี
ก่อน คุณรุ่งโรจน์ยังเคยเป็นผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านหนึ่งแห่งในอำเภอสันป่าตอง
จังหวัดเชียงใหม่และร่วมมือกับ 120 หมู่บ้าน

ในตอนที่ยังเป็นผู้ใหญ่บ้าน เป้าหมายหลักของคุณรุ่งโรจน์คือช่วยศิลปินท้องถิ่น
ส่งเสริมงานศิลปะในชุมชนและอนุรักษ์อาคารเก่าแก่ คุณรุ่งโรจน์พยายามหา
ผู้สนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลและองค์กรเอกชน เขาเริ่มการวิจัย
โดยใช้เงินของตัวเองเพื่อใช้แบบจำลองจากสมาคมสยามเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับ
แบบจำลองสันป่าตองและร่างงานของคุณรุ่งโรจน์ในทุกขั้นตอน คุณรุ่งโรจน์เชื่อว่า
ศิลปะจะเข้าถึงผู้คนได้อย่างง่ายดาย เป็นกระบวนการคิดที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการ
ดูแลสภาพแวดล้อมของตนเอง

งานนิทรรศการครั้งล่าสุดของคุณรุ่งโรจน์จัดขึ้นที่ล้ง 1919 กรุงเทพในช่วงวันที่
15- 30 สิงหาคม พ.ศ. 2562

Long1919-cr

จากนี้ไปเป็นบทสัมภาษณ์

จานีน: อยากให้พูดถึงเรื่องโครงการ 101 เฮือนโบราณสันป่าตอง

รุ่งโรจน์: ผมเกิดและเติบโตที่สันป่าตอง เป็นอำเภอหนึ่งในเชียงใหม่ รู้เห็นความ
สำเร็จและล้มเหลวของหลายโครงการที่เกิดขึ้นที่นี่ ปัจจัยที่ทำให้ทุกกิจกรรม
ทุกโครงการ บรรลุถึงเป้าหมายได้นั้น มิใช่มีเพียงการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนกับภาคส่วนจากรัฐ ส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดความสำเร็จตามที่ตั้งไว้ก็คือ ความจริงใจ อันเป็นรากฐานในระหว่างปฎิบัติการของแต่ละฝ่ายที่ควรมีต่อกัน และศิลปะคือ พลังอ่อนโยนที่จะเชื่อมโยงสิ่งต่างๆให้รวมกันได้ อันเป็นด้านลึกซึ้งที่ร้อยรัดจิตใจหมู่คนเอาไว้ให้เป็นหนึ่งเดียว

R200-cr

เช่นเดียวกันกับโครงการศิลปะ101เฮือนโบราณสันป่าตอง คือ'ศิลปชุมชน' ที่มิใช่
เป็นการชี้นำจากความคิดของใครคนเดียว แต่เป็นการแสดงความคิดจากหมู่คนที่
เป็นทายาทเฮือนโบราณฯ หลายเฮือน หลายตระกูล หลายความรู้สึกที่เห็นเป็นอยู่
ในชุมชน สะท้อนมิติความสัมพันธ์ของครอบครัว ต้นตระกูลและบรรพบุรุษ ทำให้
มองเห็นถึงแนวทาง-ที่คนรุ่นก่อนได้สร้างให้กับคนรุ่นหลัง รวมทั้งเข้าใจถึงสาเหตุ
และปัญหาในการรื้อ ขายเฮือนโบราณ รับรู้ถึงความรู้สึกด้านลึกของหมู่ทายาทที่
อนุรักษ์เฮือนโบราณ

ด้วยประเด็นปัญหาการทำลายสิ่งแวดล้อมด้านศิลปะวัฒนธรรม ในปัจจุบัน
กลายเป็นดุจเชื้อโรคแพร่ระบาดและกระจายไปทั่วโลก มิใช่เป็นเรื่องของใครคนใดคน
หนึ่ง ที่ต้องรับผิดชอบคนเดียว แต่เราควรหันมาสร้างร่วมมือกัน ก่อนที่ทุกสิ่งจะ
สายเกินไป

ที่ผ่านมา ผมก็เหมือนกับคนอื่นๆในชุมชนสันป่าตอง ที่ต้องเคยเห็น รวมทั้งเคยเฝ้า
มองการรื้อขายเฮือนไม้โบราณ เราแสนเสียดาย ทั้งที่รู้ว่าหยุดไม่ได้ แต่ก็ยัง
พยายามทุกวิถีทาง หลายครั้งต้องท้อใจ กับกระแสผันผวนเปลี่ยนแปลงของยุค
สมัย น้ำตาตกในนับครั้งไม่ถ้วน ยามใดที่เห็นการรื้อเฮือนโบราณขาย แล้วก็ถึงจุดที่
ผมแบกรับกับความรู้สึกภายในต่อไปอีกไม่ไหว ด้วยขณะนั้นผมรู้สึกสัมผัสถึงความ
มีชีวิตจิตวิญาณของเฮือน ดั่งถูกหล่อหลอมอยู่ในความปราณีตละเอียดภายในตัว
เฮือน อันเกิดจากความตั้งใจจดจ่อต่อสิ่งที่บรรพบุรุษได้สร้างขึ้น การรื้อทำลายสิ่งนี้
เหมือนการชำแหละชิ้นส่วนหรืออวัยวะ ผมเห็นและรู้สึกรับแบบนี้อีกต่อไปไม่ได้
แล้ว

จานีน: แล้วคุณรุ่งโรจน์คิดจะทำอย่างไรต่อไป

R05-cr

รุ่งโรจน์:ผมจึงลงมือทำสิ่งที่ทำได้และถนัด คือ วาดรูป ในแบบคล้ายภาพพิมพ์
อินตากลิโย โดยเริ่มจากเฮือนแม่สมศรี ไพรัชกุล เป็นเฮือนหลังแรก ด้วยความที่ผม
ไม่อยากให้เป็นเพียงภาพแสดงแต่รูปภายนอก อยากให้มีสื่อ แสดงออกความรู้สึก
ภายในของทายาทเฮือนนั้นๆ จึงเลือกใช้การบันทึกข้อความ ประวัติและเรื่องราวแต่
ละตระกูล สะท้อนถึงภาพชีวิตของเฮือนโบราณ ผ่านรูปแบบของตัวอักษร ทั้งใช้สื่อ

R02-cr

ภาพถ่าย วิดิโอ เพื่อให้ผู้ชมได้เสพถึงอรรถรสยิ่งขึ้น ค่อยๆทำแบบนี้ ไปทีละหลัง
ทีละหมู่บ้าน ทำงานอย่างอดทน กระทั่งครบ 101 หลัง จาก 120 หมู่บ้านของ
อำเภอสันป่าตอง ใช้เวลากว่าปี ในการลงชุมชนที่เคยวางรากฐานไว้กว่า 30 ปี จาก
ที่ทายาทเจ้าของเฮือนโบราณที่ไม่เข้าใจ จนเริ่มเข้าใจ และเกิดความพร้อมในการ
ร่วมมือด้านอื่นๆ ที่จะติดตามมา

จานีน:คุณรุ่งโรจน์ทำการประชาสัมพันธ์ผลงานอย่างไร

R600-cr

รุ่งโรจน์:ผมเริ่มเผยแพร่โครงการศิลปะ 101เฮือนโบราณสันป่าตอง สู่สาธารณะ
โดยผ่านรูปแบบหนังสือเป็นดุจห้องแสดงงานศิลปะ ใช้หน้ากระดาษเป็นดั่งฝนังใน
การติดตั้งจัดวางภาพและตัวอักษร ให้ผู้ชมค่อยพลิกหน้ากระดาษ คล้ายการเคลื่อน
สายตาไปเรื่อยๆ ให้อิสระ มีสมาธิในการสัมผัส ระลึกถึง เฮือนในใจอีกด้านหนึ่ง ที่
จะกระตุ้นสำนึก ความทรงจำประสบการณ์ในอดีตแต่ละคน ในการเผยแพร่ผลงาน
ชุดนี้ในพื้นที่สาธารณะของชุมชน ได้รับการประสานความร่วมมืออย่างดีจากอีก
หลายองค์กร เริ่มที่พื้นที่ชุมชนบ้านทุ่งเสี้ยว ที่พิพิธภัณฑ์เฮือนโบราณไทเขิน และ
ที่ตึกของ เพเยอร์เท็กซ์ไทล์แกลอรี่ สยามสแควร์ กรุงเทพฯ รวมทั้งมีการร่วม
ประชุมเชิงปฎิบัติการ ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการใช้
กฎหมายคุ้มครองเฮือนโบราณ จัดโดยคณะนิติศาสตร์ มช./ เครือข่ายพิพิธภัณฑ์
กลางเวียง ชม. สยามสมาคมโดยพระบรมราชูปถัมภ์ และภาคประชาสังคม ชม. ซึ่ง
ล้วนเป็นปฎิบัติการที่เกิดขึ้น ในระหว่างดำเนินงานที่ผ่านมา แสดงถึงมีกระแสตอบ
รับส่วนหนึ่งจากผู้คนในสังคมบ้านเรา อีกทั้งหวังใจในอนาคตข้างหน้า คงจะเพิ่มขึ้น
ไปอีกเรื่อยๆ เพื่อเฮือนโบราณทั่วโลกจักอยู่คู่กับมนุษยชาติต่อไป

ประวัติศิลปิน

รุ่งโรจน์ เปี่ยมยศศักดิ์ เกิดปี พ.ศ.2507ที่จังหวัดเชียงใหม่ เรียนจบชั้นมัธยม
ตอนต้นที่โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม เริ่มเรียนศิลปะที่โรงเรียนสิริกรศิลปวิทยา
เชียงใหม่ วิทยาลัยช่างศิลป และศิลปบัณฑิต คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัย
ศิลปากร(ปี 2530) หลังจากนั้นได้เข้าไปศึกษาศิลปโฟลค์อาร์ตกับสล่าบ้านถวาย
และเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชนจนนำไปสู่การมีผลงานยุคเริ่มต้น

ทาบทับตี้แก่นใจ (ปี 2538)
ความไหวหวั่นตี้บ่ล่มสลาย(ปี 2538)
เกิดตี้เจียงใหม่(ปี 2540)

เนื่องจากพื้นฐานเป็นคนที่มีใจมุ่งมั่นจึงได้ทำงานอย่างหนักจนถึงขั้นล้มป่วย และ
ในระหว่างที่พักฟื้นรักษาตัวได้ศึกษาพุทธศาสนา รวมทั้งแนวคิดศิลปะจัดวาง ที่
สร้างการมีส่วนร่วมของผู้ชมและกระบวนการจัดแสดงผลงานออกนอกพื้นที่หอศิลป
ผลงานศิลปะในยุคนี้ได้สร้างชื่อเสียงให้กับรุ่งโรจน์เป็นอย่างดี ตั้งแต่ชุด

พุทธานุสติ 50 (ปี 2543)
อนัตตา-ตัวตนซึ่งมิใช่ตัวตน (ปี 2545)
อัตตา-อนัตตา (ปี 2546)
วิหารประชาชน (ปี 2547)
สังฆานุสติ (ปี 2548)
ปิดตา ปิดหู ปิด..? (ปี 2548)

ผลสืบเนื่องหลังจากมีประสบการณ์ร่วมทำงานอยู่กับชาวบ้านตลอด รวมทั้งการเคย
เป็นผู้ใหญ่บ้าน (ปี 2550-2555)ทำให้รุ่งโรจน์เป็นที่รู้จักและถนัดการสร้างผลงาน
ศิลปะที่เป็นโครงการที่มีส่วนร่วมของชุมชน โดยเริ่มตั้งแต่การออกแบบสร้าง วิหาร
และจิตรกรรมวัดแม่สะป๊อก อ.แม่วาง (ปี 2549-2553) วิหารและจิตรกรรมวัดปาง
มะโอ อ.เชียงดาว (ปี 2554-2556) หอศิลป์สันป่าตอง (ปี 2556-2560)เพื่อเป็น
แหล่งเรียนรู้และเผยแพร่ศิลปะในวงกว้าง กับโครงการ 101 เฮือนโบราณสันป่า
ตอง (ปี 2561) ที่ริเริ่มนำผลงานศิลปะให้มีบทบาทสร้างแนวความคิดสู่ปัญญา
ปฎิบัติในวิถีชีวิตสังคมชุมชนบ้านเกิด

รางวัลและเกียรติยศ

พ.ศ.2522 เยาวชนดีเด่น ประจำปี 2522 สาขาศิลปกรรม จากสำนักงาน
ประสานงานและส่งเสริมเยาวชนแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี

พ.ศ.2529 รับพระราชทานทุนภูมิพล ประเภทเรียนดี จากคณะจิตรกรรม
มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพมหานคร

พ.ศ.2550-60 รองประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอสันป่าตอง

พ.ศ.2551 เพชรราชภัฎ-เพชรล้านนา สาขาทัศนศิลป์ ด้านจิตรกรรมจาก
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

พ.ศ.2553 ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม ระดับอำเภอ ด้านศิลปะ จาก
จังหวัดเชียงใหม่

พ.ศ.2554 ศิลปินดีเด่นจังหวัดเชียงใหม่ สาขาทัศนศิลป ด้านสื่อผสม จากสำนัก
วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่

พ.ศ.2554 ครูภูมิปัญญา รุ่นที่ 7 ด้านศิลปกรรม จากสำนักงานเลขาธิการสภา
การศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

พ.ศ.2559 ครูภูมิปัญญาเชียงใหม่ ด้านศิลปะ จากภาคีเชียงใหม่เพื่อการปฎิรูป
การศึกษา จังหวัดเชียงใหม่

กรุณาลงความเห็น เกี่ยวกับบทความนี้ี้

Scene4 Magazine: Janine Yasovant

ส่ง
อีเมล์
หน้านี้

จานีน ยโสวันต์ เป็นนักเขียน
เธออาศัยอยู่ในเชียงใหม่ประเทศไทย
สำหรับบทความและบทวิจารณ์อื่นๆ ของ จานีน ยโสวันต์
กรุณาตรวจดู
 แฟ้มเก็บข้อมูล

Click Here for this article in English
©2019 Janine Yasovant
©2019 Publication Scene4 Magazine

 

 

Could It Be Sex?

 Trending in This Issue

Dopesick& Gunsick

Chicago’s Leading Lady

The First People

Undress Me

www.scene4.com

  Sections~Cover · This Issue · inFocus · inView · inSight · Perspectives · Special Issues 
  Columns~Adler · Alenier · Bettencourt · Jones · Luce · Marcott · Thomas · Walsh 
  Information~Masthead · Submissions · Past Issues · Your Support · Archives · Books
  Connections~Contact Us · Comments · Subscribe · Advertising · Privacy · Terms · Letters

Search This Issue |

Search The Archives |

Share via Email

Scene4 (ISSN 1932-3603), published monthly by Scene4 Magazine–International Magazine
of Arts and Culture. Copyright © 2000-2019 Aviar-Dka Ltd – Aviar Media Llc.

October 2019

Scientific American - www.scene4.com
Calibre Ebook Management - www.scene4.com
Thai Airways at Scene4 Magazine
14990330623594616631