รองศาสตราจารย์เทพศักดิ์ทองนพคุณ จบการศึกษาจากคณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ในขณะนั้นงานภาพพิมพ์พึ่งจะ เป็นที่รู้จักและกำลังได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศไทย ปีพ.ศ. 2509 ศาสตราจารย์ชลูด นิ่มเสมอ ศิลปินแห่งชาติ (พ.ศ. 2472 - 2558) เป็นผู้ที่มี
ชื่อเสียงมากในแวดวงศิลปินภาพพิมพ์ที่ใช้เทคนิคต่างๆ เช่นภาพพิมพ์โลหะ ภาพพิมพ์ตะแกรงไหม และภาพพิมพ์หิน
ประมาณปีพ.ศ. 2515 อาจารย์เทพศักดิ์เป็นอาจารย์สอนศิลปะที่มหาวิทยาลัย ศรีนครินทร์วิโรฒ บางแสน (มหาวิทยาลัยบูรพา) ในปีพ.ศ. 2523 อาจารย์ เทพศักดิ์ลาศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยศิลปากรอีกครั้งหนึ่งจากนั้นจึงกลับมาสอนที่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ บางแสนจนเกษียณอายุราชการในปีพ.ศ. 2561
โดยรวมแล้วอาจารย์เทพศักดิ์สอนศิลปะมาเป็นเวลา 46ปี
อาจารย์เทพศักดิ์บอกกับดิฉันว่าท่านเป็นหนึ่งในผู้อำนวยการของคณะศิลปกรรม ศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ท่านพูดว่าจะมีความร่วมมือระหว่างประเทศระหว่าง ศิลปินจากต่างประเทศเช่น ประเทศจีน ประเทศเวียตนาม ประเทศเกาหลีใต้ และก็ ยังมีการแสดงนิทรรศการกลุ่มร่วมกับทางมหาวิทยาลัยมารี คูรี เมืองลูบิน ประเทศ
โปแลนด์ เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมายังมีลงนามความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย ดังกล่าวและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ดิฉันได้ติดตามงานเวิร์คช็อปและงานนิทรรศการของอาจารย์เทพศักดิ์มาเป็น เวลานาน ผลงานของอาจารย์นั้นแสดงให้เห็นภาพงานภาพพิมพ์หลายประเภทซึ่งมี ความแตกต่างจากศิลปินไทยทั่วไป เมื่อมองดูผลงานของอาจารย์ ผู้คนยิ้มแย้มที่ ได้เห็นความมั่นใจในการนำเสนอผลงานอย่างต่อเนื่อง ในช่วงระยะเวลาการทำงาน
ของอาจารย์ท่านรับเลือกให้เป็นคณบดีของมหาวิทยาลัยบูรพาถึง 4 สมัย
จากนี้ไปเป็นการสัมภาษณ์
จานีน: ทำไมอาจารย์ถึงสนใจในการศึกษาศิลปะงานภาพพิมพ์
เทพศักดิ์: งานศิลปะภาพพิมพ์เริ่มเป็นที่รู้จักและนิยมกันอย่างแพร่หลายในประเทศ ไทย ประมาณปีพ.ศ. 2509 ซึ่งมีการเปิดหลักสูตรศิลปะภาพพิมพ์ ในระดับปริญญา ตรีขึ้นที่คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นปี แรก โดย ศาสตราจารย์ ชลูด นิ่มเสมอ ศิลปินผู้มีชื่อเสียงด้านศิลปะภาพพิมพ์ของ
ไทยเป็นผู้ริเริ่ม
สำหรับผมตัดสินใจเข้าศึกษาสาขาศิลปะภาพพิมพ์เป็นรุ่นที่3 เหตุที่เลือก เพราะ ตอนนั้นเป็นสาขาวิชาใหม่ มีเทคนิคการทำงานศิลปะหลากหลายที่น่าเรียนรู้ เช่น ภาพพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์โลหะ ภาพพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์ตระแกรงไหม ภาพพิมพ์ด้วย แม่พิมพ์หิน ซึ่งผมไม่เคยศึกษาและฝึกปฏิบัติมาก่อน และคิดว่างานจิตรกรรม และ
ประติมากรรมเป็นสิ่งที่คุ้นเคย น่าจะสามารถศึกษาฝึกปฏิบัติเพิ่มเติมด้วยตนเองได้
จานีน: อยากทราบประวัติของอาจารย์
เทพศักดิ์: ผมเป็นคนชนบท เกิดที่อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ในปีพ.ศ. 2491 วาดภาพมาตั้งแต่เด็ก และยิ่งชอบมากเมื่อเห็นจ่าตำรวจแก่ๆ คนหนึ่งเขียนภาพ หนุมาน ภาพยักษ์ ในเรื่องรามเกียรติ์ เลยขอมาเป็นแบบหัดวาด หลังจบการศึกษา ระดับมัธยม ที่โรงเรียนประจำอำเภอ ก็เข้ามาเรียนศิลปะที่โรงเรียนเพาะช่าง เพราะ
อยากเป็นครูสอนศิลปะเหมือนครูผม ซึ่งจบการศึกษามาจากโรงเรียนเพาะช่าง และ ผมก็ไม่รู้จักสถาบันศิลปะอื่นๆเลยในประเทศไทยตอนนั้น นอกจากอยากเป็นครู สอนศิลปะแล้ว ยังอยากมีชื่อเสียงเหมือน เหม เวชกร ซึ่งเป็นช่างเขียนที่มีชื่อเสียง มากในสมัยนั้น
หลังจากเข้าเรียนที่เพาะช่างในปีพ.ศ.2507 ก็เริ่มศึกษาหาความรู้ศิลปะเพิ่มเติมให้ กว้างขวางยิ่งขึ้น ในปีพ.ศ. 2509 จึงสอบเข้าศึกษาต่อที่คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยเลือกเรียนสาขาศิลปะภาพ พิมพ์ จนสำเร็จการศึกษาในปีพ.ศ. 2513 ภายหลังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญา
ตรี ก็ไปเป็นอาจารย์สอนศิลปะที่วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครราชสีมา ในปีพ.ศ. 2515 ต่อมาได้ลาศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขา ศิลปะภาพพิมพ์ จากมหาวิทยาลัยศิลปากร จนสำเร็จการศึกษาในปีพ.ศ. 2523ใน ปีพ.ศ. 2526 ได้ย้ายมาสอนศิลปะที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน ซึ่ง
ต่อมาเปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยบูรพาจนกระทั่งปัจจุบัน รวมเวลาที่ทำ หน้าที่สอนศิลปะจากปีพ.ศ. 2515 จนเกษียณการทำงานอายุ70 ปี ในปี พ.ศ. 2561
จานีน: อาจารย์มีหลักการอย่างไรในการสอนศิลปะ
เทพศักดิ์: ในการสอนศิลปะระดับมหาวิทยาลัยนั้น ผมยึดแบบอย่างจากอาจารย์ที่ สอนผม ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร คือการสอนและทำงานสร้างสรรค์ศิลปะไปด้วย เพราะการพร่ำสอนถึงคุณค่าความสำคัญของศิลปะแต่ไม่ทำงานศิลปะนั้น ใครจะ เชื่อถือ ดังนั้นผมจึงสอนด้วยและทำงานศิลปะด้วย จนติดเป็นนิสัยตลอดมา แม้จะมี
งานบริหาร หรืองานอื่นต้องรับผิดชอบก็ยังคงทำงานศิลปะเสมอ ผมเคยเป็นคณบดี คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 4 สมัย และยังแนะนำให้อาจารย์รุ่น น้องๆ นึกถึงประโยชน์ที่ได้รับ จากการสอนและทำงานสร้างสรรค์ไปด้วย คือ อันดับแรกได้แนวคิด รูปแบบ วิธีการใหม่ๆ เป็นการพัฒนางานสร้างสรรค์ของ
ตัวเอง และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการสอน ซึ่งเกิดขึ้นจากประสบการณ์ โดยตรง อันดับสองนำผลงานไปขอตำแหน่งทางวิชาการได้ และ อันดับสุดท้าย อาจมีผลพลอยได้คือ มีผู้ต้องการเป็นเจ้าของผลงาน นอกจากนี้ ที่สำคัญคือ สร้าง ความเชื่อมั่น ศรัทธาแก่ผู้เรียน กิจกรรมวิชาการในการสอนศิลปะในมหาวิทยาลัย
นั้น เมื่อผู้สอนทำงานศิลปะ ซึ่งเป็นงานวิชาการของตนแล้ว ยังนำไปสู่การจัด นิทรรศการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติ นอกจากนี้ งานวิจัยและงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ ก็มีส่วนช่วยพัฒนาผลงานศิลปะที่ สำคัญเช่นกัน
|
กิจกรรมที่สำคัญทางการศึกษาศิลปะและการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ คือการจัด นิทรรศการ ในฐานะผู้บริหารคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้นำ ผลงานทั้งของตัวเอง และคณาจารย์ ไปแสดงแลกเปลี่ยนกับสถาบันศิลปะใน มหาวิทยาลัยต่างประเทศเสมอ เช่น ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เวียดนาม
เกาหลีใต้ ส่วนงานสร้างสรรค์ของตัวเอง มีทั้งส่งผลงานเข้าร่วมแสดงและได้รับ เชิญให้ไปจัดแสดงผลงานในหลากหลายประเทศ ครั้งหลังสุดแสดงผลงานกลุ่มที่ มหาวิทยาลัย แมรี คูรี เมืองลูบิน ประเทศโปแลนด์
จานีน: อาจารย์ทำอะไรอยู่ในตอนนี้
เทพศักดิ์: ปัจจุบันผมเกษียณจากการปฏิบัติงานแล้ว ทำให้มีเวลาในการสร้างสรรค์ งานศิลปะอย่างเต็มที่ ตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติงานอยู่ ได้ทำงานศิลปะอย่าง ต่อเนื่อง ทั้งงานภาพพิมพ์ที่ศึกษามาโดยตรง งานจิตรกรรม ประติมากรรม แต่ ในช่วงหลังที่ทำหน้าที่บริหารด้วย จะหนักไปในทางทำจิตรกรรม เพราะทำได้
สะดวก พักไว้แล้วทำต่อเมื่อมีเวลาได้ งานภาพพิมพ์ต้องใช้เวลาต่อเนื่อง เทคนิค มีความซับซ้อนเลยทำน้อยลง แต่อย่างไรเสียผมก็ยังอยากจะทำงานภาพพิมพ์อยู่ ตลอด เพราะตรงกับความถนัดของผม
งานชุดใหม่ที่กำลังจะทำเป็นชุดนามธรรม ซึ่งเป็นชุดหลังสุดที่เปลี่ยนแปลงจาก รูปธรรมที่ใช้รูปทรงผู้หญิงมาสู่รูปทรงอิสระ จะทำทั้งจิตรกรรมและภาพพิมพ์ ผมได้ ทำภาพร่างลายเส้นไว้ แล้ว พร้อมลงมือทำอย่างเต็มที่ และตั้งใจว่าจะจัดแสดงใน โอกาสต่อไป ผลงานศิลปะอื่นๆ ผมทำงานศิลปะทั้งภาพพิมพ์ จิตรกรรม และ
ประติมากรรม ใช้โครงสร้างทางความคิดที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา ทำให้มี รูปแบบทั้งที่เป็นรูปธรรม กึ่งนามธรรม และนามธรรมและใช้วิธีการและวัสดุที่ต่างกัน ไปด้วย
|