Scene4 Magazine — International Magazine of Arts and Media

อินไซท์

april 2009

Scene4 Magazine: Surya Deva by Janine Yasovant

จานีน ยโสวันต์

ในราวกลางเดือนมีนาคม2552 ที่ผ่านมา, มีข่าวหนึ่งที่สร้างความประหลาดใจให้กับ
ผู้คนในประเทศไทย.. มีคนขโมย ลูกปัดเล็กๆที่มีชื่อเรียกว่าสุริยะเทวา ขนาด
ประมาณ1เซ็นติเมตรจากนิทรรศการ บีด แอนด์ บียอน ในพิพิธภัณฑ์สยาม ใน
กรุงเทพมหานคร หลังจากนั้นสองสัปดาห์ คนขโมยลูกปัดได้ส่งลูกปัดคืนและเขียน
จดหมายขอโทษใจความว่า " ฉันขอโทษ ที่สร้างปัญหากับทุกท่าน,ฉันต้องการส่ง
ของนี้คืน และคิดว่าทุกคนจะได้มีความสุข… ขอโทษจากใจจริง …"

Msiam2-cr

ถึงแม้ว่าลูกปัดสุริยะเทพจะถูกส่งกลับคืนมา ผู้ทำผิดก็ยังจะต้องได้รับโทษตาม
กฎหมายอาญาของบ้านเมือง ตำรวจต้องทำหน้าที่ติดตามสืบสวนสอบสวนหาคน
ขโมยเพื่อหาทางจับตัวมาลงโทษต่อไป ข่าวการกลับคืนมาลูกปัดที่ได้ถูก
สร้างสรรค์ จากแก้วโมเสก มีขนาดไม่เกิน1เซ็นติเมตรที่ได้รับการขนานนามว่า
สุริยะเทวา สามารถลดความขัดแย้ง ระหว่างสีเหลืองและสีแดง ของผู้คนในชาติ
ไทย ที่รณรงค์อยู่และสามารถและสร้างความสุข ในชั่วขณะ กับของหายและได้
รับคืน

หลังจากการตรวจสอบขนาดและสีสัน เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ หลายท่านเชื่อว่าเป็น
ลูกปัดสุริยะเทวาที่ถูกขโมยไปจริงๆ ในอดีตกาล, ลูกปัดใช้แทนเงินตราสำหรับ
การค้าขาย และเป็นสมบัติและหลักฐานของความ งดงามทางประวัติศาสตร์

นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช เจ้าของลูกปัด ได้ยืนยันว่าลูกปัดที่กลับคืนมาเป็นอัน
เดียวกับลูกปัดที่หายไป และปฏิเสธข้อกล่าวหา ว่าเป็นการสร้างข่าวกับเหตุการณ์ที่
เกิดขึ้น ด้วยการยืนยันว่าเขาเป็นนักสะสมไม่ใช่ พ่อค้า คุณค่าของลูกปัดจะสูงกว่า
ราคาขายในท้องตลาด

Bancha-Dr-cr.

นายธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า " เป็นเรื่องดีที่ได้รับ
ลูกปัดกลับคืนมาเพราะว่า ลูกปัดถือว่าเป็นสมบัติของชาติ นานมาแล้วผมได้ยืนยัน
ว่าลูกปัดโบราณ  หรือวัตถุโบราณอื่นๆควรจะได้รับการจดทะเบียน ถ้าเกิดการสูญ
หาย จากการถูกขโมย มันจะง่ายขึ้นในการนำจับคืนมา"

ลูกปัดสุริยะเทพ ได้พบที่อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ประมาณอายุลูกปัดคงไม่
น้อยกว่า 2000 ปี มีคนเชื่อกันว่าลูกปัดเป็นของศักดิ์สิทธิ์ และเป็นที่เคารพ ที่หาได้
ยาก และเชื่อกันว่าผู้ครอบครองจะมีโชคและสุขภาพดี

IMG_9048-cr

เมื่อมีการตีพิมพ์หนังสือ รอยลูกปัด ลูกปัดที่เป็นที่นิยมก็เป็นที่รู้จักอีกครั้ง ผู้สะสม
ลูกปัดหลายท่านได้กล่าวว่า เมื่อ500 ปีก่อนคริสตกาล มีการทำแก้วแล้วบริเวณ
ชายฝั่ง เมดิเตอร์เรเนียน ในประเทศ ซีเรีย และเลบานอนและ ประเทศแถบเพื่อน
บ้าน ลูกปัดที่ทำออกมาคล้ายรูปหน้าของมนุษย์ใช้แลกซื้อสินค้า  และแลกกับ
อิสรภาพ

ในประเทศไทย ลูกปัดใช้แลกสินค้า เช่น งาช้าง เครื่องหนัง   ไม้กฤษณา  และ
แร่สังกะสีที่จะนำไปทำโลหะ บรอนซ์  ในความเป็นจริงแล้วชาวอารยันจากประเทศ
อินเดีย ได้แล่นเรือมายัง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถบอกได้ว่า ลูกปัดนั้นมา
จากภูมิภาคอื่นไม่ใช่มาจากประเทศไทย แม้ว่าเราจะมาพบที่นี่....

สิ่งที่ติดตามมานอกเหนือจากหนังสือ, เสื้อยืดที่มีภาพลูกปัดชนิดต่างๆกะนำมา
จำหน่ายในเดือนเมษายน..ซึ่งเป็นการเฉลิมฉลอง ฤดูร้อนที่กำลังมาถึง.

กรุณาลงความเห็น เกี่ยวกับบทความนี้

ส่ง
อีเมล์
หน้านี้

©2009 Janine Yasovant
©2009 Publication Scene4 Magazine

Scene4 Magazine: Janine Yasovant
จานีน ยโสวันต์ เป็นนักเขียน
เธออาศัยอยู่ในเชียงใหม่ประเทศไทย

สำหรับบทความและบทวิจารณ์อื่นๆ ของ จานีน ยโสวันต์
กรุณาตรวจดู แฟ้มเก็บข้อมูล

 

Scene4 Magazine-International Magazine of Arts and Media
This Issue
Cover | This Issue | inFocus | inView | reView | inSight | Blogs | inPrint | Links | Masthead | Submissions Advertising | Special Issues | Payments | Subscribe | Privacy | Terms | Contact | Archives

Search This Issue Email This Page

RSS FeedRSS Feed

Scene4 (ISSN 1932-3603), published monthly by Scene4 Magazine - International Magazine of Arts and Media. Copyright © 2000-2009 AVIAR-DKA LTD - AVIAR MEDIA LLC. All rights reserved.

Now in our 9th year of publication with
comprehensive archives of over 3000 pages 

sciam-subs-221tf71

 

 

 

strikeone