อินไซท์

April 2011

Scene4 Magazine: "Bringing Home the Elephant" | Janine Yasovant | April 2011 www.scene4.com

จานีน ยโสวันต์

ในอำเภอแม่แตงจังหวัดเชียงใหม่ ที่ศูนย์ Elephant Nature Park
(สวนช้างธรรมชาติ)มีโครงการมีชื่อว่า"Bring the elephant home พา
ช้างกลับบ้าน"ซึ่งก่อตั้งโดยคุณอังตัวเน็ท แวน เดอ วอเตอร์เพื่อที่จะ
ช่วยเหลือและอนุรักษ์ช้างไทย โครงการนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำการปลูก
สร้างที่พักถาวรให้กับช้างสายพันธ์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งกำลังจะหมด
ไปอย่างน่าตื่นตระหนก ในปีพ.ศ. 2552 ทางสวนช้างธรรมชาติได้ซื้อที่ดิน
เพิ่มเติมเพื่อปลูกพืชผักผลไม้เป็นอาหารสำหรับช้างและสร้างบ้านพัก
สำหรับแขกที่มาเยี่ยมชมสถานที่ หัวหน้าโครงการเป็นสุภาพสตรีชาวดัตช์ที่
มีภารกิจที่ยากลำบาก เหน็ดเหนื่อย และเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากอย่าง
ต่อเนื่อง ไม่นานมานี้เองที่ดิฉันได้พูดคุยกับคุณอังตัวเน็ท แวน เดอ
วอเตอร์ในวันที่เธอไม่ค่อยมีธุระยุ่งนัก

คุณได้แรงบันดาลใจจากอะไรในการริเริ่มโครงการพาช้างกลับบ้าน

ความคิดในโครงการพาช้างกลับบ้านเริ่มขึ้นตอนที่ดิฉันทำงานเป็นอาสา
สมัครที่สวนช้างธรรมชาติ ในปีพ.ศ. 2545 ที่แห่งนี้เป็นที่พักพิงและปกป้อง
ช้างอายุมากจากชีวิตขอทาน การแสดง และกิจกรรมต่างๆที่ลดคุณค่าและ
ไม่ดีต่อสุขภาพของช้าง ดิฉันรู้สึกหลงรักลูกช้างตัวผู้เชือกหนึ่งที่มีชื่อว่ากิ่ง
ไม้ ลูกช้างตัวนี้พึงจะเสียแม่ไป คุณเล็ก แสงเดือน ไชยเลิศ ผู้ก่อตั้งสวน
ช้างธรรมชาติมอบความรักทั้งหมดให้กับกิ่งไม้และดูแลจนกว่าลูกช้างจะอยู่
รอดปลอดภัย เธอเปรียบเสมือนเป็นตัวแทนแม่ช้างที่ให้กำเนิดเลยทีเดียว
ในตอนที่เดินทางไปยังกรุงเทพ ดิฉันได้พบลูกช้างอีกเชือกหนึ่งที่ต้องการ
ความช่วยเหลือ กำลังร้องขออาหารอยู่ที่ถนนข้าวสาร ลูกช้างแสดงความ
หวาดกลัวให้เห็นในแววตาซึ่งดิฉันจะไม่มีวันลืมเลย ฉันรู้สึกเศร้าใจมากแต่ก็
ไม่สามารถพาช้างเชือกนี้กลับมาที่สวนช้างธรรมชาติ ด้วยได้ การพบกันกับ
ช้างตัวน้อยๆ และประสบการณ์ที่สวนช้างธรรมชาติ นั้นได้ให้ความประทับ
ใจแก่ดิฉันจนได้กลับมาอีกครั้งในสองปีถัดมาเพื่อเป็นอาสา สมัครอีกครั้ง
หนึ่ง ครั้งนี้ดิฉันต้องการจะทำให้มากไปกว่าเดิม ในตอนแรกดิฉันเป็นคนที่
เหนียมอายและวิตกกังวลง่าย แต่ในตอนนี้ดิฉันได้พูดคุยกับผู้คนที่อยู่สวน
ช้างธรรมชาติเกี่ยวกับความฝันและเป้าหมาย จะเกิดอะไรขึ้นถ้าดิฉัน
สามารถช่วยเหลือช้างสองเชือกและการท่องเที่ยวทั่วทั้งประเทศไทยโดย
ให้องค์กรมาให้ความรู้ถึงเรื่องสภาพที่เลวร้ายของช้าง ดิฉันได้รับคำแนะนำ
เชิงปฏิบัติ ความรู้สึกเป็นห่วง การสนับสนุนและเงินงบประมาณ เมื่อมีความ
คิดมากมาย แรงบันดาลใจและความมุ่งมั่นในการทำสิ่งนี้ให้เกิดขึ้น ดิฉัน
เดินทางกลับบ้านที่เนเธอร์แลนด์เพื่อทำความฝันของตนเองให้เป็นจริง
หลังจากที่ดิฉันกลับมาถึงบ้านแล้วก็ไปจดทะเบียนมูลนิธิพาช้างกลับบ้าน
และตั้งเป้าหมายให้สำเร็จสำหรับกิจกรรมหาทุน

คุณได้หาช้างที่คุณต้องการช่วยเหลือได้อย่างไร

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ดิฉันได้พบกับดอกเงิน"ช้างเพศเมียอายุ
8 ปี" ที่งานเทศกาลช้างในจังหวัดสุรินทร์ ดอกเงินดูเครียดมาก ร้องเสียงดัง
และสั่นหัวไปมา ดอกเงินกำลังถูกฝึกให้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆอยู่เช่นการเป่า
ฮาร์โมนิก้า จะเห็นได้ชัดเลยว่าการฝึกนี้ไม่เป็นมิตรต่อสัตว์แค่ไหนเพราะมี
แต่แผลเป็นและแผลสดให้เห็น จากนั้นดิฉันได้ทราบว่าจำเป็นต้องช่วย
ดอกเงิน ศรีนวล(อายุ 47 ปี) ก็เป็นช้างขอทานเช่นกัน ควาญช้างเจ้าของ
บอกดิฉันว่าในคืนหนึ่งศรีนวลดึงโซ่ขาดแล้ววิ่งหนีไป ตรงแถวนาข้าวมีคน
ยิงหนังสติ๊กใส่ที่ดวงตาของศรีนวล ลูกของช้างศรีนวลถูกขายให้กับงาน
แสดงเมื่อมีอายุได้แปดเดือน แม้จะโศกเศร้าเพราะเสียลูกไปและตาบอดไป
ข้างหนึ่ง ช้างศรีนวลยังคงขอทานตามถนนต่อไป ดิฉันคิดว่าศรีนวลคงมี
ความสุขที่ได้ดูแลดอกเงินบ้างเล็กน้อย และดอกเงินก็ต้องการป้าสักคน
หนึ่ง โชคดีที่เราสามารถซื้อได้ทั้งสองเชือก ศรีนวล ดอกเงิน และทีมงาน
ช่วยเหลือช้างได้จัดแสดงทัวร์จากกรุงเทพไปยังสวนช้างธรรมชาติที่แม่แตง
ทางเหนือจากเมืองเชียงใหม่ 60 กิโลเมตรในระหว่างการนี้ได้มีการจัด
เตรียมบทเรียนของช้างที่โรงเรียน การแข่งขันงานศิลปะของช้างและการ
รวบรวมความคิดกับหน่วยงานท้องถิ่นของรัฐเกี่ยวกับเรื่องช้างที่อยู่ตามท้อง
ถนน

อะไรที่ทำให้คุณทำงานต่อไปแม้ว่าจะมีช้างอีกหลายเชือกที่ต้องการ
ความช่วยเหลือ

ทุกวันนี้ศรีนวลและดอกเงินมีความสุขกับชีวิตที่สวนช้างธรรมชาติ สถานที่ที่
สามารถใช้ที่เหลือของชีวิตเป็นช้างอิสระ ในตอนที่มาถึงดอกเงินกลัวช้าง
ทกเชือกและผู้คนที่นั่น แต่ศรีนวลปกป้องดอกเงิน ทำให้ดอกเงินรู้สึก
ปลอดภัยและทำให้แน่ใจว่าเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวที่สร้างขึ้นมาใหม่
ดอกเงินใช้เวลาปรับตัวประมาณครึ่งปีก่อนที่มีความสุขกับการเป็นช้างวัยรุ่น
ครั้งแรกที่ดิฉันเห็นดอกเงินเล่นอยู่ในอ่างโคลนกับช้างเชือกอื่นๆ หัวใจของ
ดิฉันยิ้ม งานแรกเสร็จสิ้นไปแล้ว ตั้งแต่ที่ดอกเงินมาอยู่ที่สวนช้างธรรมชาติ
ก็ได้เปลี่ยนพฤติกรรมไปหลายครั้ง ตอนแรกทำตัวเป็นเหมือนช้างเด็กที่ไม่
เคยรู้สึกพอกับการกลิ้งตัวในโคลนกับช้างเชือกอื่นๆ คุณสามารถที่จะบอก
ได้ว่าดอกเงินรู้สึกภาคภูมิใจที่ทำตัวเป็นพี่สาวคนโต ตลอดเวลาดอกเงิน
พยายามที่จะใช้เวลาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้กับช้างผู้ใหญ่หลายเชือกที่
อาศัยอยู่ในสวนแห่งนี้เหมือนว่าเธอต้องการจะเรียนรู้ทุกสิ่งเกี่ยวกับการเป็น
แม่ที่ดี สักพักหนึ่งก็เริ่มไปหยอกล้อเล่นกับวัวกระทิง ในตอนกลางวันก็
ปล่อยครอบครัวแล้วไปเดินเล่นกับช้างหนุ่มเชือกหนึ่งที่อยู่ในสวน หนึ่งปี
ครึ่งก่อนหน้านี้ความฝันของดอกเงินก็กลายเป็นจริง ดอกเงินได้ให้กำเนิด
ลูกช้างตัวผู้ที่มีชื่อว่าช้างยิ้ม ดอกเงินจึงเป็นศูนย์กลางของครอบครัวช้าง
ขนาดใหญ่และมีความสุขตลอดเวลาในครอบครัว เพื่อเป็นพยานให้กับ
ความสุขของดอกเงินและชีวิตธรรมชาติที่เป็นอยู่ในตอนนี้ ทำให้ดิฉันมีแรง
ที่จะดำเนินงานต่อไปเพื่อที่จะช่วยเหลือช้างได้มากขึ้น ช้างยิ้มจะเติบโต
อย่างมีอิสระล้อมรอบไปด้วยครอบครัวและไม่ต้องบรรทุกนักท่องเที่ยวไว้บน
หลัง ดิฉันมีความเห็นว่าช้างทุกตัวสมควรที่จะมีชีวิตที่ดีในลักษณะนี้

คุณได้รับการสนับสนุนมากมายจาผู้คนที่เกี่ยวข้องในภารกิจของคุณ
และเงินทุนมาได้อย่างไร

ในอันดับแรกดิฉันและทีมงานได้รับการขอเข้ามาถ่ายทำจากสื่อมวลชนทั้ง
ในและต่างประเทศรวมทั้งสารคดีที่ได้รับรางวัลRoscar Award ใน
โครงการที่มีชื่อว่า"Return to the wild" ที่ออกอากาศไปทั่วโลกรวมทั้ง
ประเทศไทยทางช่องAnimal planet และหนังสือที่มีชื่อว่า"the Great
Elephant Escape" ที่ได้ตีพิมพ์ในประเทศไทยในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552
โดยสำนักพิมพ์Silkworm ทุกคนทราบถึงความลำบากของช้างตามถนน

great-elephant-cove-crr

ผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่าทุกคนต่างมาเยี่ยมสวนที่เป็นมิตรกับสัตว์เช่นที่สวน
ช้างธรรมชาติแห่งนี้ แต่ดิฉันและทีมงานก็ยังมีงานอีกมากมายที่ต้องทำ
ภายหลังจากก่อตั้งโครงการนี้ดิฉันและทีมงานจะเริ่มทำโครงการหาทุน
สนับสนุนช้าง สำหรับดอกเงินและศรีนวลก็มีโครงการช่วยกันรับเลี้ยงดู ใน
การที่จะขยายที่อยู่และให้อาหารก็มีการซื้อแปลงปลูกกล้วยและที่ดิน 1
แปลงที่ติดกับสวนช้างธรรมชาติ ดิฉันได้พูดคุยกับบริษัททัวร์ของประเทศ
เนเธอร์แลนด์ให้รวมสวนช้างธรรมชาติเข้าร่วมในโปรแกรมทัวร์แทนที่จะมา
เพียงแค่ขี่หลังช้างเท่านั้น ในตอนนี้บริษัททัวร์ทั้งหมดในเนเธอร์แลนด์มีแต่
การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อช้าง

trees-planting-cr

ยิ่งดิฉันเรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับช้างมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทราบว่าการตัดไม้ทำลาย
ป่าเป็นสาเหตุของหลายๆปัญหาที่ช้างได้ประสบอยู่ จะช่วยเหลือช้างใน
ประเทศไทยก็ต้องทำอะไรสักอย่างกับปัญหานั้น สองปีที่ผ่านมาดิฉันและ
ทีมงานได้ปลูกต้นไม้ไปมากกว่า 200,000 ต้นเพื่อช้างใน 5 พื้นที่ที่ช้าง
ต้องการที่อยู่และอาหาร ต้นไม้จะนำพาแมลง นก และสัตว์ป่าเข้ามาพัก
อาศัย ช้างได้ช่วยขยายพันธ์เมล็ดพืชและสิ่งนี้ตามธรรมชาติก็จะนำพืชอีก
หลายสายพันธุ์ ด้วยวิธีนี้สภาพแวดล้อมสำหรับช้างป่าก็จะพัฒนาขึ้นเป็น
ลำดับขั้นตอน อาสาสมัครหลายพันคนช่วยปลูกและดูแลต้นไม้ และด้วย
เหตุการณ์นี้ก็ได้มีการมอบเงินเพิ่มเติมสำหรับโครงการ"Trees for
elephants" (ป่าไม้สำหรับช้าง) ด้วยเช่นกัน โครงการป่าไม้สำหรับช้างชนะ
รางวัล The World of Difference award of Vodafone และ the Terre
des Femmes award of Yves Rocher ในประเทศเนเธอร์แลนด์

อะไรเป็นสึ่งสำคัญของงานในช่วงเวลานี้

ในช่วงปีพ.ศ. 2553เป็นต้นมาดิฉันได้เน้นในเรื่องโครงการสร้างป่าไม้
สำหรับช้างขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่ ด้วยการสนับสนุนจากมูลนิธิพาช้างกลับ
บ้าน สวนช้างธรรมชาติได้ซื้อที่ดิน 1 แปลงในปีพ.ศ. 2551 ขนากที่ดิน
ประมาณ 150 เอเคอร์ ล้อมรอบไปด้วยเขตป่าสงวนและมีแม่น้ำไหลผ่าน

dsc_0027-cr

ที่ดินโดยทั่วไปใช้ปลูกพืชผักเลยไม่มีป่าเหลือแล้ว ในอีกหลายปีต่อมาได้มี
การปลูกต้นไม้มากขึ้นเพื่อเป็นการดึงดูดนกและสัตว์ป่า ด้วยวิธีการนี้ผู้
ขยายพันธ์เมล็ดพืชตามธรรมชาติจากป่าใกล้เคียงก็จะมาเยี่ยมโดยอัตโนมัติ
และช่วยปลูกต้นไม้หลากหลายสายพันธ์ ผ่านไปอย่างช้าๆ พื้นที่นี้กำลังจะ
กลายเป็นสวรรค์ที่แท้จริงของช้าง ความฝันของดิฉันคือช้างสามารถ
พักผ่อนจากการทำงานหนักและอาศัยอยู่อย่างอิสระในป่าแห่งนี้โดยที่แทบ
จะไม่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คน นอกเหนือไปจากความเคารพสัตว์ทั้ง

elephant-jungle-cr

หมดแล้วโครงการนี้ก็ยังเคารพสภาพแวดล้อมและชุมชนท้องถิ่นอีกด้วย
ดิฉันและทีมงานได้จัดตั้งวิถีชีวิตที่อยู่อย่างพอเพียง มั่นคงยั่งยืนและมีความ
กลมเกลียวกับสภาพแวดล้อม ความฝันส่วนตัวของดิฉันคือโครงการนี้
อาศัยอยู่กับธรรมชาติ ปลูกพืชของตนเอง ก่อสร้างบ้านของตัวเอง สร้าง
พลังงานให้กับตัวเอง ไม่ต้องขึ้นอยู่กับสังคม อยู่อย่างสุขภาพดีและสุขสงบ

อะไรเป็นมุมมองของคุณที่มีต่ออนาคตของช้างไทย

ดิฉันไม่สามารถจินตนาการถึงอนาคตที่ไม่มีช้างอาศัยอยู่ในประเทศไทย
และช้างก็หายไปเรื่อยๆ ดิฉันคิดว่าช้างทุกตัวควรอาสัยอยู่ในป่า ถ้าสิ่งนี้ยัง
เป็นไปไม่ได้ ช้างเหล่านั้นควรอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ มี
ชีวิตอยู่อย่างธรรมดาเท่าที่จะเป็นไปได้ ดังนั้นจึงได้เน้นให้โครงการสามารถ
ทำสิ่งเหล่านี้ให้เป็นจริง สวนช้างและอ่างเก็บน้ำ ดิฉันทราบว่าการใช้ช้าง
เพื่อการหาเงินนั้นจำเป็นต่อการอยู่รอดของช้าง โครงการพาช้างกลับบ้าน
นั้นสนับสนุนการทำงานกับช้างตามวิธีธรรมชาติ ไม่มีการรังแกและไปยุ่งกับ
พฤติกรรมตามธรรมชาติของสัตว์ เพราะฉะนั้น ดิฉันขอร้องให้สนับสนุน
โครงการเป็นมิตรต่อช้างที่มีความเป็นธรรมชาติและมั่นคงยั่งยืน ดิฉันและ
ทีมงานอยากจะช่วยเจ้าของและควาญช้างค้นหาวิธีอื่นๆที่สร้างรายได้และ
ให้ช้างมีโอกาสได้เดินป่าหาอาการกินเอง อยู่กับช้างตัวอื่นๆและมีการ
เพาะพันธุ์ช้างโดยวิธีธรรมชาติ โครงการพาช้างกลับบ้านได้เน้นในเรื่อง
ความงดงามของช้างไทยและพยายามสร้างการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกและ
ทำงานร่วมกันกับคนในชุมชน ได้มีการสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็น
จุดมุ่งหมายแห่งการท่องเที่ยวและพานักท่องเที่ยวมาแบ่งปันความรักชอบ
ช้างไทยกับทีมงานของเราและคนในชุมชน ความเชื่อมั่นที่แข็งแกร่งของ
ดิฉันคือการสร้างความแตกต่างเพื่อช้างไทยได้ด้วยความสำเร็จ

กรุณาลงความเห็น เกี่ยวกับบทความนี้

ส่ง
อีเมล์
หน้านี้

©2011 Janine Yasovant
©2011 Publication Scene4 Magazine

Scene4 Magazine: Janine Yasovant
จานีน ยโสวันต์ เป็นนักเขียน
เธออาศัยอยู่ในเชียงใหม่ประเทศไทย

สำหรับบทความและบทวิจารณ์อื่นๆ ของ จานีน ยโสวันต์
กรุณาตรวจดู แฟ้มเก็บข้อมูล

 

Scene4 Magazine - Arts and Media

April 2011

Cover | This Issue | inFocus | inView | reView | inSight | Blogs | inPrint | Books | New Tech | Links | Masthead Submissions | Advertising | Special Issues | Payments | Subscribe | Privacy | Terms | Contact | Archives

Search This Issue Share This Page

RSS FeedRSS Feed

Scene4 (ISSN 1932-3603), published monthly by Scene4 Magazine - International Magazine of Arts and Media. Copyright © 2000-2011 AVIAR-DKA LTD - AVIAR MEDIA LLC. All rights reserved.

Now in our 11h year of publication with
comprehensive archives of over 6000 pages 

sciam-subs-221tf71
taos