August 2005 | This Issue

จานีน
ยโสวันต์

ศิลปะ
ของ
ประเทศไทย
เทศกาล
เดอบุสซ
ี่

 

เทศกาลเดอบุสซี่                                                 

ข้างนอกมีมรสุม

ทำให้เชียงใหม่มีความน่าสนใจมากขึ้น

ค.ศ. 2005 เป็นการกลับมาครั้งที่สองของดร. เบนเน็ตเลินเนอร์ และกลุ่มเพื่อนในคอนเสิร์ตครั้งที่สองนับจากปี ค.ศ. 1997 ด้วยความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ คอนเสิร์ตนี้ได้รับการจัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ โคลด เดอบุสซี่  

การผสมผสานอันน่ารักของรูปแบบตะวันตกและตะวันออกและการนำเสนอเสียง
อันไพเราะของเครื่องดนตรีหลายชนิดในบทเพลงเดียวกัน ความหวานซึ้งแบบธรรมชาติและความเป็นอิสระจากจังหวะดนตรีร่วมสมัยทำให้ผู้คนประ ทับใจอย่างง่ายดาย ไม่น่าประหลาดใจเลยที่ว่าผู้รักดนตรีทั่วโลกรู้จักและรักบทเพลงเหล่านี้

Claude Debussy 1862-1918

เขาเป็นนักประพันธ์เพลงชาวฝรั่งเศสและนักวิจารณ์ บทเพลงของเขามักเกี่ยวข้องกับความเคลื่อนไหวแนวอิมเพรสชั่นนิสต์ในภาพเขียน และบทเพลงของเขาได้แสดงคุณลักษณะเข่นนี้ออกมาด้วย ผลงาน Prélude to the Afternoon of a Faunนั้นแยกตัวออกมาจากการพัฒนาตามจารีตนิยม โดยอาศัยลำดับของความซ้ำซ้อนแบบอิสระของหัวข้อพื้นฐาน กวีและจิตรกรยุคอิมเพรสชันนิสต์ที่มารวมตัวกันที่บ้านของกวีที่มีชื่อว่าStéphaneMallar méนั้นมีอิทธิพลต่องานดนตรีออเครสตร้าชิ้นแรกที่สำคัญของเดอบุสซี่ ผลงานPrélude to the Afternoon of a Faun (1892-94) นั้นได้รับแรงบันดาลใจมาจากบทกวีของMallarméที่มีชื่อว่าL'Après-midi d'un faune ผลงานชิ้นนี้ได้จัดตั้งประเภทของเพลงแนวอิมเพรสขั่นนิสต์และได้เริ่มเข้าสู่สมัยที่

เดอบุสซี่มีผลงานมากที่สุดเป็นเวลานานเกือบ 20 ปี

ในช่วงเวลานั้น เขาได้แต่งเพลงออเครสตร้า เช่น Nocturnes(1893-99) La Mer(1903-05) และ Images (1906-09)และเขียนหนังสือเกี่ยวกับPréludes อีกสองเล่มคือบทเพลงปลีกย่อยของThe Martyrdom of St. Sebastian (1911)และ the ballet Jeux (1912) แต่งเพลงหลายเพลงและChamber music รวมทั้งโอเปร่าที่ชื่อว่า Pelléas et Mélisande (1892-1902) นั้นมาจากบทละครของMaurice Maeterlinck ในปี ค.ศ. 1904 เขายังได้ให้คำนิยามว่า"The primary aim of French music is to give pleasure more than anything" หมายความว่าเป้าหมายอันดับแรกของดนตรีฝรั่งเศสคือการมอบความสุขมากกว่าสิ่งอื่นใ ด

ความสนใจของเดอบุสซี่ในเรื่องของความวิจิตรและความรู้สึกได้นำเขาเข้าไปสู่ความซาบ ซึ้งของดนตรีจากวัฒนธรรมอื่น การใช้หลายระดับเสียงที่นอกเหนือไปจากบันไดเสียงเมเจอร์และไมเนอร์ที่ใช้ตามปกติแ สดงให้เห็นถึงอิทธิพลของเพลงเอเชียและรัสเซียอีกด้วย

อิทธิพลที่มีผลมากที่สุดคืองานนิทรรศการดนตรีที่เมืองปารีสในปีค.ศ. 1889 เขาได้พบวงดนตรีออเครสตร้าของประเทศอินโดนิเซีย บันไดเสียงที่แปลก และความพลิ้วไหวของรูปแบบและจังหวะสามารถนำเข้าไปรวมในผลงานของเขาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานเปียโนGamelan เป็นวงดนตรีที่มีเครื่องเคาะจังหวะ วง Gamelan ของอินโดนิเซียนั้นมีเครื่องเคาะจังหวะที่ทำด้วยเหล็กเคริ่องเป่า และกลอง

เดอบุสซี่เริ่มนำบทเพลงของเขาไปรวมกับทัศนศิลป์ต่างๆ ของประเทศตะวันออกไกล ประเทศสเปน ภาพทิวทัศน์ เป็นต้น แล้วทำเป็นบทเพลงสั้นๆ

เราสามารถฟังได้ที่อัลบั้ม Estampes (1903) ซึ่งเปิดด้วยเพลงPagodas และปลุกเร้าความรู้สึกของเอเชียและเจดีย์ที่สง่างาม ป้อมปืน งานชิ้นที่สองในEstampesที่มีชื่อว่า

La soirée dans Grenade ที่ฉายภาพบรรยากาศแบบสเปนแม้กระทั่งChildren's Corner Suite for piano ที่เขาเขียนให้กับลูกสาวอันเป็นที่รักที่เขาเรียกว่าChou Chouมีการนำดนตรีแจ๊สจากตะวันตกมารวมกับดนตรีจากตะวันออก

เร็วๆนี้จะมีการเพิ่มรายการนักดนตรีที่บันทึกผลงานของ โคลด เดอบุสซี่ ทั้งหมดนั่นคือ

ดร. เบ็นเน็ตเลินเนอร์ ผู้มีถิ่นพำนักอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ เขาได้รับเชิญจาก  American label, Bridge Records ให้บันทึกผลงานเพลงทั้งหมด
ดร.เบ็นเน็ต
 บอกกับเราว่า"ผมมีความฝันจะทำงานนี้มาหลายปีแล้วตอนนี้ผมมีโอกาสแสดงดนตรีที่มี ความงดงาม"ผู้รักดนตรีในเชียงใหม่จำนวนมากทราบว่า ดร. เบ็นเน็ตเลินเนอร์ได้ดำเนินรอยตามคีตกวีเดอบุสซี่ หลังจากที่เคยรวบรวมงานดนตรีขณะที่สอนในคณะดุริยศิลป์ มหาวิทยาลัยพายัพ เชียงใหม่ และทำงานดนตรีสำเร็จโดยสมบูรณ์

©2005 Janine Yasovant
©2005 Publication Scene4 Magazinel

Scene4 Renate Stendhal


านีน ยโสวันต์ เป็นอาจารย์และนักเขียน ได้รับปริญญาตรีทางจิตวิทยา และปริญญาโทการบริหารภาครัฐ และยังเป็นผู้อำนวยการของ ICECA ทำงานทางด้านสื่อศิลปะต่างๆ เธอมีความเห็นว่า จิตใจที่เงียบสงบทำให้ทุกสิ่งเป็นไปได

ส่งความคิดเห็นของคุณมาที่นี่ 

 

 

All prior issues are secured in the Scene4 archives.
To access the Archives:

Scene4 Archives-Click
Scene4 Magazine Subscribe

Scene4 Email This Page To A Friend-Click

© 2000-2005 Scene4 - International Magazine of Performing Arts and Media - AVIAR-DKA Ltd. All rights reserved (including author and individual copyrights as indicated). All copyrights, trademarks and servicemarks are protected by the laws of the United States and International laws. Reproduction in whole or in part without permission is prohibited.