ประเทศไทยเป็นดินแดนแห่งศาสนาและความเชื่อ ไม่น่าประหลาดใจเลย ที่ว่ามีการรวมพิธีกรรมจากศาสนาพราหมณ์ ศาสนาฮินดู เข้าไปในศาสนา พุทธซึ่งเป็นศาสนาหลักในประเทศไทย
ในท่ามกลางเทพเจ้ามากมายหลายองค์ พระคเณศเป็นเทพเจ้าองค์สำคัญ ในเรื่องของความรู้และเป็นครูของศิลปินทุกคนในศาสนาฮินดู ตามตำนาน ท่านเป็นบุตรของพระศิวะและพระแม่อุมาเทวี(ชาวฮินดูเรียกกว่าพระนางปาร์วตี) ท่านมีหลายนามในหลายๆ ประเทศ ชาวทมิฬเรียกท่านว่า “Pillaiyar” ชาวทิเบตเรียกท่านว่า “Tsoge- badag” ท่านมีรูปร่างลักษณะหลายปาง โดยทั่วไปแล้วรูปแบบศิลปะพระ คเณศที่เป็นที่นิยมมีอยู่ 11 รูปแบบ
ปางบาลคเณศ พระคเณศในลักษณะเด็ก ปางนารทคเณศ ในลักษณะยืนมี4 กร ถือคัมภีร์ หม้อน้ำไม้เท้าและร่ม ปางลักษมีคเณศ ประทับเคียงข้างพระลักษมี มี 6กร ปางวัลลยภาคเณศ ประทับโอบพระชายาทั้งสองไว้บนตัก ปางวีระคเณศ ปางที่มีพระกรมากเป็นพิเศษ ตั้งแต่ 12-16 กร พร้อมด้วย ศาสตราวุธ ปางเหรัมภะคเณศ ประทับบนราชสีห์ 5พระเศียร เหมาะแก่ผู้มีบริวารมาก ปางสัมปทายะคเณศ พระคเณศที่เราพบเห็นกันมากที่สุด มี 2 พระกร ปางตรีมุขคเณศ มี 4 กร 3พระพักตร์ ปางปัญจคเณศ บางคนเรียกว่า พระคเณศเปิดโลก มี 5 พระพักตร์ 10 กร ปางวิชัยคเณศ พระคเณศทรงหนูเป็นพาหนะ มี 4กร ปางคเณศนารายณ์ บางคนเรียกว่า พระคเณศครองพิภพ มี4-6 กร 1-5 พระพักตร์
พระคเณศที่อยู่ในรูปสตรีเพศเรียกว่าคเณศานี หรือคเณศารี รูปปั้น ของคเณศานีโดยมากแล้วอยู่ในประเทศอินเดีย ทิเบต มองโกเลียและ บาหลี ในบางพื้นที่มีการเรียกคเณศานีว่ากันจานานีหรือกันจานารี มีความ เชื่อว่าผู้คนบูชาพระคเณศานีเพื่อขอบุตรอีกด้วย
ปีที่ผ่านมาดิฉันเขียนเกี่ยวกับงานนิทรรศการศิลปินสตรีชาวไทย สล่าวารินทร์ ใจจันทึก และได้เปิดเผยแรงบันดาลใจที่จะสร้างภาพของ พระคเณศานี ในเวลานั้นเองเราก็ได้เห็นสิ่งที่เธอได้จินตนาการใว้ ในวันที่ 10 มีนาคม 2550 เธอเป็นศิลปินรับเชิญของโรงละครนาฏยศาลา โจหลุยส์ หุ่นละครเล็ก และในเดือนพฤษภาคม เธอจัดแสดงงานพระคเณศศิลป์” ที่ กรุงเทพพร้อมกับกลุ่มศิลปินสัญจร 20 ท่าน
ในตอนนี้ เธอมีงานนิทรรศการเดี่ยว “จินตศิลป์สรรค์สร้างจากพลังสตรี คเณศานีอัครนารีเทพ” อีกครั้งหนึ่งในกรุงเทพ งานของเธอยังคงสะท้อน เทคนิคการแกะสลักไม้และการวาดภาพบนไม้ ผลงานชิ้นล่าสุดที่เป็นพระ คเณศที่เป็นสตรีนั้นมาจากการค้นคว้าและการจินตนกาดารของเธอนั่นเอง
|