ดิฉันรู้สึกยินดีที่ได้รับทราบว่า"วิหารลายคำ"ซึ่งเป็นวิหารขนาดเล็กในวัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ได้รับการบูรณะด้วยการสนับสนุนจากกลุ่มจิราธิวัฒน์ในตอน ปลายปี 2548 ผู้คนพูดถึงสถาปัตยกรรมของวัดพระสิงห์ว่าเป็น "รูปแบบวิหาร ล้านนา" มีพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่งคือพระพุทธสิหิงค์ซึ่งถูกสร้างขึ้นในสมัยเชียง แสน (พุทธศักราชที่ 1800 - 2400) ประดิษฐานอยู่ในวิหารหลังนี้ รูปร่างของ พระพุทธรูปโบราณนี้มีความสง่างาม ที่จริงแล้วในประเทศไทยมีพระพุทธรูปสาม องค์ที่ใช้ชื่อนี้แต่ไม่มีผู้ใดทราบว่าองค์ไหนเป็นของจริงเพราะทุกองค์ถูกสร้างขึ้นใน สมัยเดียวกันและแต่ละองค์มีลักษณะที่แตกต่างกันไปเพียงเล็กน้อย
ในสมัยอดีต พระพุทธรูปองค์นี้ถูกนำไปประดิษฐานในหลายอาณาจักรรวมทั้ง สุโขทัย กรุงศรีอยุธยา และท้ายสุดที่วัดพระสิงค์ แต่อย่างไรก็ตามพระพุทธรูปทุก องค์ในวิหารหลังนี้เป็นงานสร้างสรรทางศิลปะของช่างฝีมือชาวล้านนาและเพราะ เหตุนั้นจึงสมเหตุสมผลที่พระพุทธสิหิงค์เป็นหนึ่งในพระพุทธรูปที่เป็นที่เคารพ สักการะมากที่สุดในภาคเหนือของประเทศไทย
วิหารลายคำต้อนรับผู้มาเยือนที่มาสักการะพระพุทธสิหิงค์ทุกวัน ในบริเวณพื้นที่ ของวัดมีโรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายสำหรับพระสงฆ์ และฆราวาสชายชื่อว่าธรรมราชศึกษาซึ่งได้รับการสนับสนุนจากวัดพระสิงห์เช่นกัน คุณตาของดิฉันเคยเป็นอาจารย์ใหญ่และในตอนนั้นดิฉันปั่นจักรยานมาเยี่ยมท่าน ทุกวันเสาร์เพราะโรงเรียนหยุดทุกวันอาทิตย์และวันพระ
นอกเหนือไปจากนี้มีวิหารใหญ่ที่คนไทยเรียกว่าอุโบสถและหอไตรซึ่งเป็นที่เก็บ รักษาคำภีร์ที่สำคัญ คุณตาบอกให้ดิฉันไปนั่งรอที่วิหาร ที่นั่นดิฉันได้เห็นภาพ จิตรกรรมฝาผนังที่ดูน่าสนใจ ฝั่งทางเหนือเป็นภาพเขียนที่บอกเล่าเรื่องราวพื้นบ้าน เรื่องสังข์ทอง ภาพเขียนในด้านนี้สร้างโดยศิลปินจากทางภาคเหนือของประเทศ ไทย ฝั่งทางใต้เป็นภาพเขียนที่บอกเล่าเรื่องราวพื้นบ้านของภาคกลางเรื่อง สุวรรณหงส์ภาพเขียนในด้านนั้นสร้างโดยศิลปินจากภาคกลางของประเทศไทย ผู้มาเยือนสามารถมองดูภาพเขียนได้อย่างใกล้ชิด
มีเสาทรงกลมด้านหลังพระพุทธรูปและเสาทรงสี่เหลี่ยมภายในวิหาร เสาเหล่านี้ ทาสีแดงเข้มและมีลวดลายสีทองสวยงามจากพื้นจนขึ้นไปถึงเพดานและมี ภาพเขียนรูปพระราชวัง มังกรและหงส์อยู่ด้านหลังพระพุทธรูป คุณตาของดิฉัน กล่าวอีกว่าศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีจากมหาวิทยาลัยศิลปากรได้ศึกษาถึง แนวทางของศิลปะของภาคเหนือในอดีตและได้สังเกตว่าศิลปินในเวลานั้นชอบที่ จะวาดรูปชีวิตประจำวัน ถ้าเรามองดูรูปภาพสังข์ทองในวิหารอย่างใกล้ชิดก็อาจมี ความรู้สึกว่าเราอยู่ในสถานการณ์จริงของเมื่อหลายร้อยปีก่อน
ในตอนปลายปี 2548 การบูรณะซ่อมแซมวิหารลายคำครั้งใหญ่นั้นเสร็จสิ้นโดย กลุ่มหัวหน้าช่างรวมทั้งคุณสุวิทย์ ชมชื่นจากกรมศิลปากร ลวดลายและพื้นผิวที่ ขาดหายของภาพเขียนได้ถูกเพิ่มเติมเข้ามาให้ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ลายเส้น เก่าและสีของภาพมีความชัดเจนมากขึ้นแต่ก็ยังมีร่องรอยเดิมหลงเหลืออยู่สีทอง ได้ถูกเพิ่มเติมไปที่เสา บานประตูและหน้าต่างของวิหาร แสงไฟนีออนสีเหลืองเพิ่ม บรรยากาศให้กับรูปภาพเป็นอย่างมาก หลายๆวัดในจังหวัดเชียงใหม่ก็อยู่ในช่วง ของการบรูณะซ่อมแซมเช่นนี้
ดิฉันได้ถ่ายภาพวัดพระสิงห์ในเวลากลางคืนประมาณสองทุ่มครึ่งในวัดสุดปลาย ถนนคนเดินในวันอาทิตย์และในเช้าวันถัดมาดิฉันไปที่นั่นอีกครั้งเพื่อถ่ายภาพวิหาร ลายคำและอาคารอื่นๆ ภายในวัด วิหารและภาพเขียนเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของ ศิลปะที่มีชื่อเสียงและทรงคุณค่ามากที่สุดจากช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ที่ยังเหลือมา จนถึงทุกวันนี้ ชาวเชียงใหม่ทุกคนรวมทั้งดิฉันรู้สึกภูมิใจมาก เราขอเชิญคุณทุกคน มาเที่ยวเชียงใหม่เพื่อเยี่ยมชม ดิฉันแน่ใจว่าคุณจะประทับใจและยินดีกับความงาม และความหมายของสมบัติของชาติไทยเหล่านี้ไปอีกนาน
|