Scene4 Magazine — International Magazine of Arts and Media
mwright1-crT

จานีน ยโสวันต์

อินไซท์

february/march 2009

ไมเคิล ไร้ท์ มีชื่อไทยว่านามเมฆ มณีวาจา หรือเป็นที่รู้จักกันในฉายา ฝรั่ง
คลั่งสยาม เขาได้ศึกษาและเขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยตั้งแต่เขามาที่
ประเทศไทยในปีพ.ศ. 2504 เมื่อตอนเขามีอายุ 21 ปี ก่อนหน้านั้นงานแรก
ของเขาคือการเป็นนักแปลเอกสารที่ธนาคารกรุงเทพ ต่อมาเขาจึงเข้ามายุ่ง
เกี่ยวและสร้างผลงานการศึกษาประเทศไทยโดยผ่านการเรียงความและ
บทความที่เขียนเป็นภาษาไทยเป็นเวลามากกว่า 30 ปี

ไร้ท์มีความสนใจอย่างยิ่งยวดในประวัติศาสตร์ประเทศไทยเพราะเขาชอบ
อ่านหนังสือ เขามักจะมีข้อมูลใหม่ๆและความคิดที่น่าสนใจเกี่ยวกับ

A1cr

ประวัติศาสตร์ไทย สังคม และวัฒนธรรม บ่อยครั้งที่เขาอธิบายและ
เชื่อมโยงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เพื่อแสดงภาพรวมภาพรวมอย่างเฉียบ
แหลมของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และเขียนลงในนิตยสารไทย ผู้อ่าน
หลายท่านต่างเห็นพ้องกันว่างานเขียนของเขามีสาระ กระชับ และน่าขบขัน

ตัวของไร้ท์เองไม่ได้รับการฝึกอบรมอย่างเป็นทางการในเรื่องประวัติศาสตร์
ไทย เขากล่าวว่าใด้ศึกษาผลงานผู้ทรงความรู้ที่มีชื่อเสียงและนักเขียนชาว
ไทยหลายท่านเช่นพระยาอนุมานราชธน หม่อมราชวงค์คึกฤทธิ์ ปราโมท
และหนังสือเรื่อง "สารสมเด็จ" ที่รวบรวมรวมการโต้ตอบจดหมายระหว่าง
สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ – สมเด็จกรมพระยาดำรงรา
ชานุภาพ ที่ให้ความกระจ่างในเรื่องศิลปะไทย วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และ
โบราณคดี

ไร้ท์ได้อธิบายถึงความสำคัญของ "ศิลาจารึกหลักที่ 2"ของวัดศรีชุมซึ่งนัก
ประวัติศาสตร์หลายท่านเพิกเฉยและกล่าวว่ามันไร้สาระและตีความได้ยาก
ในทางกลับกัน ไร้ท์บอกกว่าประวัติศาสตร์ของประเทศศรีลังกาที่จารึกบน
แท่งหินนั้นถูกต้องและภาษาก็สวยงาม เขายังเชื่ออีกว่าศิลาจารึกที่วัดศรีชุม
นั้นเก่าแก่กว่าศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่ง
อาณาจักรสุโขทัย ไม่น่าประหลาดใจว่าทำไมเขาถึงอ่านและเข้าใจภาษาใน
ศิลาจารึก ก็เพราะว่าเขาเคยอาศัยอยู่ในประเทศศรีลังกามาหลายปีก่อนที่
เขาจะมาประเทศไทย เขามีความเชียวชาญในเรื่องภาษาเอเซียโบราณ
ต่างๆ เช่น ภาษาบาลี สันสฤตอีกด้วย

การศึกษาที่วัดศรีชุมของไร้ท์นั้นเป็นที่รู้จักทั้งในประเทศไทยและ
ต่างประเทศ ต่อมาเขาได้รับเชิญจากหอสมุดแห่งชาติและกรมศิลปากรให้
ทำการตรวจสอบหลักศิลาเพิ่มเติม

ในเดือนพฤศจิกายน 2522 นิตยสารศิลปวัฒนธรรมฉบับแรกของประเทศ
ไทย บทความแรกของไมเคิล ไร้ท์เรียกว่า "ส้วมในประวัติศาสตร์สุโขทัย"
ในบทความกล่าวถึงห้องส้วมในสมัยสุโขทัย นายสุจิตต์ วงษ์เทศอธิบายว่า
ไร้ท์ได้ใช้ความรู้จากศรีลังกาชี้ให้เห็นว่าห้องน้ำสมัยนั้นไม่ได้สร้างไว้
สำหรับสามัญชน แต่สร้างไว้เพื่อพระสงฆ์ สุจิตต์เป็นนักประวัติศาสตร์ไทยที่
เป็นผู้ก่อตั้งหนังสือ เป็นผู้หนึ่งในไม่กี่คนที่กระตุ้นไห้ไร้ท์เขียนภาษาไทย

สุจิตต์กล่าวอีกว่า ไร้ท์ไม้ได้มีการศึกษาตามตวามเข้าใจของคนปกติแต่เขา
ได้ออกจากบ้านไปแสวงโชคที่ศรีลังกาและจากนั้นจึงมาที่ประเทศไทย
เรียนจบจากจากวิทยาลัยเซนต์ไมเคิลที่ฮิทชิน เฮิดฟอร์ดเชียร์ เขาออกจาก
บ้านเกิดในเซาท์แธมตันไปทำงานอยู่ที่ศรีลังกาอยู่หลายปี ก่อนจะเข้ามายัง
ประเทศไทย และอยู่จนสิ้นลมหายใจ ไมเคิล ไร้ท์เสียชีวิตในวันที่ 8
มกราคม พ.ศ.2552 ที่กรุงเทพ ในประเทศที่เขารัก

กรุณาลงความเห็น เกี่ยวกับบทความนี้

ส่ง
อีเมล์
หน้านี้

©2009 Janine Yasovant
©2009 Publication Scene4 Magazine

Scene4 Magazine: Janine Yasovant
จานีน ยโสวันต์ เป็นนักเขียน
เธออาศัยอยู่ในเชียงใหม่ประเทศไทย

สำหรับบทความและบทวิจารณ์อื่นๆ ของ จานีน ยโสวันต์
กรุณาตรวจดู แฟ้มเก็บข้อมูล

 

Scene4 Magazine-International Magazine of Arts and Media
This Issue
Cover | This Issue | inFocus | inView | reView | inSight | Blogs | inPrint | Links | Masthead | Submissions Advertising | Special Issues | Payments | Subscribe | Privacy | Terms | Contact | Archives

Search This Issue Email This Page

RSS FeedRSS Feed

Scene4 (ISSN 1932-3603), published monthly by Scene4 Magazine - International Magazine of Arts and Media. Copyright © 2000-2009 AVIAR-DKA LTD - AVIAR MEDIA LLC. All rights reserved.

Now in our 9th year of publication with
comprehensive archives of over 3000 pages 

sciam-subs-221tf71
2-728x90-jen-opt6-1857

 

 

 

strikeone