ถ้ามีสิ่งหนึ่งที่คนไทยรู้สึกภาคภูมิใจ สิ่งนั้นคือศิลปะไทยซึ่งสอดคล้องกับความ ดีและความงดงามในชีวิตประจำวันของคนไทย เมื่อศาสนากลายมาเป็นวิถีชีวิต และความเชื่อของผู้คน ศิลปินในท้องถิ่นหลายท่านมีความพยายามอย่าง สร้างสรรค์ที่จะผสมผสานปรัชญาศาสนาและความคิดรวบยอดให้เข้ากับงาน ศิลปะ ตามประวัติศาสตร์เช่นเดียวกันกับวัฒนธรรมอื่นๆ ศิลปะที่เกี่ยวกับศาสนา ของไทยกลายเป็นการอุปถัมภ์ การสนับสนุน และแรงบันดาลใจสำหรับผลงาน ที่ยอดเยี่ยมที่สุดของงานศิลปะภายในประเทศ
เป็นเวลาหลายปีที่ดิฉันได้สังเกตและศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ทางสัญลักษณ์ ของพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียง พระพุทธรูปถูกจัดสร้างด้วยของมีค่าหลายชนิดซึ่ง บางอย่างประเมินค่าไม่ได้และใช้เทคนิคที่แตกต่างกัน จึงไม่น่าที่จะประหลาด ใจเลยว่าศิลปินมืออาชีพชาวไทยสนใจในการวาดภาพเกี่ยวกับศาสนาหรือการ ปั้นพระพุทธรูป มีคนเคยกล่าวเอาไว้ว่าจะมีวัดอย่างน้อย 1 แห่งทุกๆกิโลเมตร ของจังหวัดเชียงใหม่และมีวัดมากกว่า 30 แห่งรวมทั้งวัดพระสิงห์และวัดเจดีย์ หลวงอยู่หลังกำแพงเมืองเก่า อีกหนึ่งมุมมองที่น่าสนใจของรูปแบบศิลปะพระ พุทธรูปทางเหนือ ผู้คนมักจะจ้องมองริมฝีปากพระพุทธรูปขนาดใหญ่ในปาง ประทับยืน ปางสมาธิ ปางไสยาสน์หรือปางอื่นๆ หลายคนอยากทราบว่าทำไม ริมฝีปากของพระพุทธรูปถึงทาด้วยสีแดง คำตอบคือริมฝีปากของพระพุทธรูป ทางเหนือนั้นได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะของพม่ามาอย่างมาก
ชาวเชียงใหม่และผู้มาเยือนจังหวัดเชียงใหม่อยากรู้ที่จะค้นหาพระพุทธรูปที่ สวยที่สุดในเมือง นี่เป็นความเห็นส่วนตัวแต่ดิฉันจะบอกกล่าวถึงพระพุทธรูป องค์ประธานที่ดิฉันชอบมากที่สุด 2องค์ พระพุทธรูปสององค์นี้ประดิษฐานอยู่ ในสถาบันการศึกษาสองแห่งในจังหวัดเชียงใหม่ พระพุทธรูปองค์แรกเรียกว่า "พระเจ้าเก้าตื้อ" ซึ่งอยู่ในพื้นที่ของวัดสวนดอกจังหวัดเชียงใหม่ เป็นที่ตั้งของ มหาวิทยาลัยสำหรับพระสงฆ์ "มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย"จังหวัดเชียงใหม่
|
พระพุทธรูปขนาดใหญ่สร้างมาจากโลหะหลอมเหลวและมีน้ำหนักประมาณ 9 ตัน (ตื้อเป็นภาษาล้านนามีความหมายถึงน้ำหนักประมาณ 1000 กิโลกรัม) ในอดีตกาลพระพุทธรูปองค์นี้ได้รับคำชื่นชมเป็นอย่างสูงว่าเป็นพระพุทธรูปที่ สวย ที่สุดของล้านนา ในปัจจุบันคำชื่นชมนั้นก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง เป็น พระพุทธรูปแบบเชียงแสนจัดทำโดยช่างฝีมือชาวล้านนาและสุโขทัย พญาเมืองแก้วกษัตริย์องค์ที่ 13 แห่งราชวงค์เม็งรายทรงมีพระราชโองการให้ ก่อสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ในปีพ.ศ. 2027 ให้เป็นพระพุทธรูปองค์ประธานของ วัดพระสิงห์ แต่เนื่องจากว่ามีขนาดใหญ่โตมากเกินไปและเคลื่อนย้ายไม่สะดวก พระองค์จึงพระราชทานวังส่วนพระองค์เพื่อสร้างครอบพระพุทธรูปและเปลี่ยน ชื่อใหม่เป็น "วัดเก้าตื้อ" ให้สอดคล้องกับองค์พระพุทธรูป พระพุทธรูปมีขนาด หน้าตักกว้าง ประมาณ 3 เมตรและมีความสูง 4.70 เมตร
|
พระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งคือ "พระนางเหลียว" ซึ่งประดิษฐานอยู่ในโรงเรียน ยุพราชวิทยาลัย ก่อนหน้านี้วัดที่มีอายุประมาณ 400 ปีอยู่ในสภาพที่ไม่ดีนักแต่ ต่อมาก็ได้รับการบูรณะสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาในโรงเรียน มีความเชื่อ ว่าวัดแห่งนี้และพระนางเหลียวถูกสร้างขึ้นในสมัยของท้าวแม่กุซึ่งเป็นกษัตริย์ องค์ที่ 17 แห่งราชวงค์เม็งราย
การบูรณะซ่อมแซมถูกจัดขึ้นในปีพ.ศ. 2550 ยังมีเจดีย์สีทองทรงแปดเหลี่ยม ซึ่งถูกสร้างขึ้นในแบบล้านนา ตัวอาคารทาสีขาวและประดับด้วยปูนปั้นสีขาว สถานที่แห่งนี้ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะทางตะวันตก พระพุทธรูปองค์ประธาน มีขนาดใหญ่ที่สุดอยู่ตรงกลาง และอยู่ด้านใต้ฉัตรสีทอง
จากชื่อที่ได้บอกไว้ พระนางเหลียวมีความงดงามมากจนหญิงสาวที่มาถวาย อาหารให้พระสงฆ์ต้องเหลียวหลังกลับมามองพระพุทธรูปอีกครั้งด้วยความชื่น ชมยินดี ชื่อเป็นที่จดจำได้และแปลกมากสำหรับชื่อของพระพุทธรูป หลายคน กล่าวว่าพระนางเหลียวเป็นหนึ่งในพระพุทธรูปที่สวยที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่
คุณจะพบว่าตนเองได้หันกลับไปอีกครั้งหนึ่งเพื่อที่จะเหลียวมองงานศิลปะชิ้น ยอดเยี่ยมนี้อย่างด้วยความประทับใจและยาวนาน
|