"ศิลปะเป็นวิถีชีวิตของชาวไทย ไม่ว่าจะเป็นจิตรกรรมฝาผนังแบบตามประเพณี หรือจะเป็นศิลปกรรมแนวล้ำสมัย ศิลปะไม่ได้ถูกนิยามด้วยรูปแบบเดียวกันเพราะ ศิลปะได้ให้นิยามใหม่แก่ตัวมันเองเพื่อที่จะทำให้เหมาะสมกับความต้องการของคน ไทยร่วมสมัย ศิลปะคือสิ่งสะท้อนของวัฒนธรรม ศิลปะไทยนั้นเป็นความสมดุลที่ดี ศิลปกรรมตามประเพณีที่หล่อหลอมรวมกับความคิดร่วมสมัยใหม่ๆ ทำให้ศิลปะ ท้องถิ่นเจริญเติบโตสำหรับการก้าวย่างอันสวยงามยามเข้าสู่ฤดูใบใม้ผลิ"
สิ่งนี้สร้างความสนใจให้กับคุณฟรานซิส วิทเทนเบอร์กเกอร์ให้มายังประเทศไทยใน ปีพ.ศ. 2545 เพื่อจัดตั้งเทศกาลสื่อศิลปะสมัยใหม่ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Initiative for Cultural Exchange and Computer Arts (ICECA) Thailand งาน เทศกาลเป็นเวลา 3 สัปดาห์ตั้งแต่เดือนมีนาคม– เมษายน 2546 เป็นจังหวะเวลา ที่เหมาะสมเพราะเป็นช่วงเฉลิมฉลองปีใหม่ไทยและเทศกาลสงกรานต์ มีผู้เข้า
เยี่ยมชมงานสื่อศิลปะครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่นั้นมากกว่า 4,000 คน คุณวิทเทนเบอร์กเกอร์เป็นนักประดิษฐ์ ศิลปิน และนักดนตรี ชาวฮังการี/อิสราเอล เขาศึกษากับคุณบอริส สเวอสกี้ ศิลปินผู้มาจากเซนต์ ปีเตอร์สเบอร์ก เมื่อปีพ.ศ. 2525 – พ.ศ. 2532 แล้วพวกเขาก็ร่วมกันจัดตั้งวงดนตรีอิเล็กทรอนิกส์อันทันสมัย ที่มีชื่อว่าSHARMUTA FLYING IN THE MOUNTAIN ขึ้นในปีพ.ศ. 2529 คุณ วิทเทนเบอร์กเกอร์ และคุณสเวอสกี้ได้พัฒนาชุดของเครื่องสังเคราะห์เสียงจาก ไฟฟ้า ที่มีชื่อว่าPARANOIDICO และได้แปรสภาพดนตรีแนวใต้ดินของอิสราเอล ไปด้วยการแสดงของพวกเขา คุณวิทเทนเบอร์กเกอร์ได้ออกจากอิสราเอลและ ดำเนินกิจกรรมทางสื่อศิลปะในประเทศเยอรมันเป็นเวลา 8 ปีจากนั้นจึงเดินทาง มายังประเทศไทย
ฟรานซิส วิทเทนเบอร์กเกอร์เป็นเพื่อนที่ดี ดิฉันทำงานเป็นนักแปลเอกสารให้กับ เขา เป็นเวลาเกือบปีก่อนที่งานเทศกาลครั้งแรกเริ่มขึ้น เขามาทำงาน ในออฟฟิศที่อยู่ด้านหลังฮอลิเดย์ อินท์ ในจังหวัดเชียงใหม่ เขาต้องการให้คนแปล เอกสารโครงการจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ในเวลานั้นดิฉันเป็นผู้บรรยายใน คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวะอุตสาหการ และสอนสัมมนาสำหรับนักศึกษาปีที่ 4 เขาต้องการผู้ที่พูดภาษาอังกฤษและไทยได้ และดิฉันยังได้ทำงานกับเขาใน ตำแหน่งผู้บริหารงานเทศกาล ในบทสัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ เขาได้อธิบายถึงงานแรกเริ่มใน จังหวัดเชียงใหม่และความคาดหวังที่ว่าเชียงใหม่สามารถกลายเป็นศูนย์กลาง สำหรับสื่อศิลปะสมัยใหม่ สาธารณูปโภคทางเทคโนโลยีทางข้อมูลข่าวสารอันเข้มแข็ง ยังมีวัฒนธรรมการใช้ อินเตอร์เน็ตและสังคมทีจะยอมรับมัน นักศึกษาไทยใช้อีเมล์และใช้เวลาหลาย ชั่วโมงเล่นอินเตอร์เน็ตในร้าน สิ่งเหล่านี้ทำให้เชียงใหม่นั่งอยู่เก้าอี้แถวหน้าของ การปฏิวัติทางด้านเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร เชียงใหม่ได้รับการประกาศให้เป็นเมืองไอที โดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ ศูนย์ออกแบบและซอฟท์แวร์ พาร์คได้รับการพัฒนาโดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และ วิทยาเขตใกล้เคียง ทั้งศูนย์ออกแบบและซอฟท์แวร์ พาร์ค จะช่วยพัฒนา อุตสาหกรรมซอฟท์แวร์ในท้องถิ่น และได้จัดหามืออาชีพมาสนับสนุนธุรกิจใน ท้องถิ่น สิ่งนี้ไม่เพียงแต่จะทำให้ประเทศไทยตอนเหนือมีชื่อเสียงในเรื่องงาน เทศกาลเท่านั้น แต่ยังมีชื่อเสียงในด้านเทคโนโลยีอีกด้วย
ประเทศไทยเปิดรับสื่อศิลปะสมัยใหม่ การขยายเป็นเส้นตรงของศิลปะร่วมสมัยที่ ผสมผสานเทคโนโลยีใหม่ๆ และความคิดสร้างสรรค์ อำนวยความสะดวกให้กับ ความหมายใหม่จากประเพณีที่มีมาแต่เดิม การปฏิวัติเทคโนโลยีคือการเชื่อม สะพานความแตกต่างทางวัฒนธรรมและการแลกเปลี่ยนความคิดทางประเพณีที่ว่า ความหลากหลายในขณะที่ผลักดันพรมแดนของศิลปะในบริบทสมัยใหม่ ขณะนี้สื่อศิลปะในประเทศไทยอยู่ในจุดสำคัญของการทำให้เกิดความตระหนัก สาธารณูปโภคทางด้านข้อมูลข่าวสารเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและอำนวยความ สะดวกให้กับการแสดงออกทางศิลปะแบบใหม่อย่างไรก็ตาม การสร้างสื่อศิลปะ สมัยใหม่ให้เป็นสาขาใหม่ที่น่าตื่นเต้นสำหรับคนไทยและได้จัดหาแท่นรองรับ ความคิดใหม่ๆสำหรับผู้มุ่งหวังในเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร บ้านของเขาอยู่ไม่ไกลจากออฟฟิศของดิฉัน เป็นบ้านที่มีพื้นที่สวนกว้างขวางและมี รั้วไม้ไผ่ และฟรานซิสอาศัยอยู่ที่นั่นกับแฟนสาวชาวไทยและสุนัขหนึ่งตัว เขาเช่า บ้านให้กับเพื่อนศิลปินที่มาวางแผนจัดงานเทศกาลและเขาบอกกับดิฉันว่า ผู้สนับสนุนเรื่องที่พักเป็นมูลนิธิสำหรับสื่อศิลปะในเมืองเบอร์ลิน คุณฟรานซิส สามารถทำงานภายใต้ความกดดันในดินแดนแห่งรอยยิ้ม เขาชอบประเทศไทยมาก เพราะเป็นสถานที่ที่เขาอยู่และคิดว่าประเทศนี้แตกต่างจากที่อื่นในโลก พวกเราช่วยกันจัดตั้งชื่อของมูลนิธิICECA เราเริ่มภารกิจในเมืองเชียงใหม่และ สร้างความร่วมมือเป็นครั้งแรกกับหอศิลป์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในช่วงต้นปี 2545 เชื่อมโยงศิลปินสื่อศิลปะจากยุโรปกับสถาบันการศึกษาของไทย วิสัยทัศน์ในการ เชื่อมสะพานวัฒนธรรมโดยการใช้สื่อศิลปะนั้นพิสูจน์มาแล้วว่าประสบความสำเร็จ ในระยะเริ่มแรกและเร็วๆ นี้ จากกิจกรรมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมเล็กๆ กลายเป็น โครงการที่ใหญ่มากขึ้น เทศกาลสื่อศิลปะสมัยใหม่ครั้งแรกในประเทศไทย แม้ว่าจะ มีงบประมาณน้อยแต่ก็ได้สร้างความสนใจในสื่อศิลปะในจังหวัดเชียงใหม่
ICECA: Initiative for Cultural Exchange and Computer Arts
The Initiative for Cultural Exchange and Computer Arts คือมูลนิธิที่ไม่ แสวงหาผลกำไรที่ก่อตั้งในปีพ.ศ 2544 และเปิดตัวอย่างเต็มตัวในปี 2545 เพื่อ สนับสนุนการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างศิลปินไทยกับศิลปินสื่อสมัยใหม่จากทั่ว โลก นอกเหนือจากนั้น พวกเราตั้งเป้าหมายศูนย์กลางสำหรับศิลปะและสื่อ (Center for Art and Media (CAM) Thailand) เช่นเดียวกับห้องสมุดสาธารณะ สำหรับเก็บสื่อศิลปะสมัยใหม่ในรูปแบบเครือข่าย ถึงตอนนี้ ICECA ได้จัดแจงการ มาเยี่ยมชมของศิลปินมากกว่า 20 ท่านจากยุโรป ญี่ปุ่น อิสราเอล และออสเตรเลีย และได้จัดเตรียมที่พักสำหรับพวกเขาในเชียงใหม่ ปัจจุบัน ประเภทของสื่อศิลปะสมัยใหม่นั้นขาดแคลนการจัดประชุม ดังนั้น เป้าหมายหลักของICECA คือการสร้างศูนย์สำหรับศิลปะและสื่อและเพื่อกระตุ้น การเติบโตของสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนอยู่ICECA ใช้เวลาทำงานมากกว่า 1 ปี ในเชียงใหม่ จัดการประชุมปฏิบัติงานแบบไม่เสียค่าใช้จ่ายและการบรรยายจาก ศิลปินที่มาในงานICECA ยังคงรักษาเครือข่ายที่เป็นอิสระสำหรับการแลกเปลี่ยน วัฒนธรรมนานาชาติ ICECA ยังเป็นผู้ก่อตั้งและผู้จัดการหลักของเทศกาลสื่อศิลปะสมัยใหม่ครั้งแรกของ ประเทศไทยที่เกิดขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่ด้วยความร่วมมือจากหลายสถาบัน งาน เทศกาลนั้นมีกำหนดการจัดงานปีละครั้งที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมีทั้งการจัด นิทรรศการ การประชุม การฉายภาพยนตร์ศิลปะและการประชุมปฏิบัติงานสื่อศิลปะ มีความพยายามเป็นพิเศษในการแปลสื่อวัสดุทั้งหมดให้กลายเป็นภาษาไทยและ แนะนำศัพท์เฉพาะภาษาไทยในเรื่องสื่อศิลปะ ห้องสมุดจะมีระบบการจัดเรียง เนื้อหาที่ตอบรับการกระทำต่างๆของผู้ใช้และช่วยเหลือผุ้ใช้คนอื่นๆ หลังจากที่ ห้องสมุดดิจิทัลของICECA ได้รับการจัดตั้งแล้วก็จะเป็นการง่ายที่จะเข้าถึงข้อมูล จากที่ใดก็ได้ที่มีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงหรือที่ๆมีเครือข่ายแบบท้องถิ่น
การแสดงสื่อศิลปะครั้งแรกในปี 2546 ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ งานเทศกาลจัด แสดง 2 นิทรรศการ งานนำเสนอ การประชุมปฏิบัติงานด้านสื่อศิลปะกับศิลปินที่มา เยี่ยมชม งานเทศกาลจัดขึ้นสามแห่งในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คือห้องจัด แสดงผลงานในหอศิลป์ โรงละคร และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีการจัดฉาย วิดีโอจากสถาบันการศึกษาจากAcademy of Fine Arts Prague Academy of Media Arts Köln, Experimental Festival, Australia, Audiovisuals Programme, Austria เอ็มบีซี เบอร์ลินได้จัดหาโปรแกรมของภาพยนตร์ศิลปะของเยอรมัน เทศกาลสื่อ ศิลปะของประเทศไทย ปีพ.ศ. 2547 มีเป้าหมายที่จะให้บริการกับชุมชนศิลปะโดย การเป็นแท่นรองรับและผู้กระตุ้น ทำให้ศิลปินชาวไทยและชาวต่างชาติแลกเปลี่ยน ความคิด พวกเราหวังที่จะกระตุ้นศิลปินไทยในงานสื่อสมัยใหม่และให้โอกาสและ ช่องทางในการติดต่อกับศิลปินต่างชาติ การใช้เทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นในประเทศไทยรวมกับการใช้ชีวิตแบบไทยที่มี เอกลักษณ์และวัฒนธรรมได้สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีสำหรับสื่อศิลปะเพื่อที่จะขึ้นมา และบำรุงรักษาศิลปะของโลก ในปี2547งานเทศกาลถูกจัดขึ้นโดยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒใน กรุงเทพมหานครและเป็นความร่วมมือของแผนกภาพพิมพ์ของคณะจิตรกรรม มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ สมาคมฝรั่งเศส สถาบันเกอเต้โอดิสซี่สยาม บ้านไร่กาแฟ และมีเดีย เชกเกอร์ สยาม งานเทศกาลใน 2547 นั้นเก็บสะสมงานมากกว่า 30 ประเทศ งานที่นำมาเสนอนั้น เกี่ยวข้องกับสื่อสมัยใหม่ในทุกๆ รูปแบบ งานแสดงจัดขึ้น 7 แห่งเชื่อมต่อโดย รถไฟฟ้าบีทีเอส พวกเรายินดีต้อนรับชาวกรุงเทพ นักท่องเที่ยว ศิลปินไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษาและวัยรุ่นให้มาเยี่ยมชม สัปดาห์แห่งสื่อศิลปะร่วมสมัย งานนิทรรศการ การประชุมปฏิบัติงานและการสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้
ศิลปินหลายท่าน อาจารย์ทางด้านสื่อ และนักแสดงได้เสนอความคิดในการสัมมนา ประชุมปฏิบัติการ การฉายภาพยนตร์ ไม่มีการคิดค่าเข้าชมงานแต่อย่างใด เทศกาลสื่อศิลปะสมัยใหม่ของไทยปี 2548 นั้นอุทิศให้แก่เหยื่อสึนามิและสร้าง ความปรองดองและการสร้างวัฒนธรรมขึ้นมาใหม่ มีการประชุมนานาชาติ การแสดง การฉายภาพยนตร์และการบรรยาย โดยศิลปินที่มาเยี่ยมชม งานเทศกาลถูกจัดขึ้น เป็นสองตอน เดือนกุมภาพันธ์ และเดือนมิถุนายน
เทศกาลสื่อศิลปะสมัยใหม่ในเดือนมิถุนายนนั้นวางแผนอย่างเต็มรูปแบบขนาดที่ไม่ เคยเห็นมาก่อนในประเทศไทย งานเน้นไปในการเชื่อมต่อกับงานเดือนกุมภาพันธ์ เทศกาลสื่อศิลปะสมัยใหม่เดือนมิถุนายนนั้นได้เก็บการบรรยาย งานนำเสนอ นิทรรศการ การแสดงต่างๆ ไว้มากมาย นวัตกรรมของเทศกาลสื่อศิลปะสมัยใหม่เดือนมิถุนายนคือส่วนของThai iCommissioned New Media Art ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของศิลปกรรมร่วมสมัย ในประเทศไทย มีการมอบเงินให้กับศิลปินไทยเพื่อสนับสนุนการสร้างสรรค์สื่อ ศิลปะแบบต้นตำรับและงานนี้ก็จะเป็นจุดเด่นทั้งงานเทศกาลนี้และงานเทศกาลใน ต่างประเทศ เทศกาลสื่อศิลปะสมัยใหม่เดือนมิถุนายนได้นำเสนอความเกี่ยวพันกับศิลปิน นานาชาติเพื่อเป็นแท่นรองรับของการแลกเปลี่ยนความคิด เทศกาลสื่อศิลปะ สมัยใหม่มิถุนายนได้จัดตั้งการเชื่อมต่อกับ เทศกาล BananaRam เพื่อเสนอ ทางเลือกของนิทรรศการเครือข่ายแบบตอบสนองผู้ใช้หลายคน เทศกาล Artbots จากสหรัฐอเมริกาได้นำศิลปะการสร้างหุ่นยนต์มายังประเทศไทยIDEA จาก ประเทศอินเดียได้นำเสนอ ศิลปะบนอินเตอร์เน็ต โปรเจคภาพและเสียงแบบอิน เทอร์แอคทีฟ เทศกาลสื่อศิลปะสมัยใหม่เดือนมิถุนายนได้นำเสนอผลงานมากกว่า 60 ชิ้นที่ส่งมาในเดือนกุมภาพันธ์แต่ถูกเลื่อนเนื่องจากวิกฤตการณ์สึนามิ ผลงานเหล่านี้ถูกนำมาแสดงในงานเดือนมิถุนายน 4 แห่ง คือ
MediaArtVenue] Bed SupperClub, [art@bar] British Council of Thailand, [MAF05_screen] Alliance Francaise of Bangkok, สยาม สแควร์ [CenterPoint], [Public_Attraction] ที่ร้าน Playground! ทองหล่อ เทศกาลสื่อศิลปะสมัยใหม่เดือนมิถุนายนได้นำเสนอการฉายภาพยนตร์ การบรรยาย การแสดง และการนำเสนอ เช่นเดียวกับงานนิทรรศการ โดยจัดแยกงานเป็นสอง ส่วน ศิลปินสื่อสมัยใหม่มากกว่า 200 ท่านจาก 42 ประเทศจะแสดงผลงานชั้นเยี่ยม บนเนื้อหาสำคัญของผลกระทบจากเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีต่อความคิดในเรื่อง พรมแดนต่างๆ
งานเทศกาลได้สำรวจเทคโนโลยีการสื่อสารที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆนั้นได้ทำให้พรมแดน ของความเสมือนจริงและสิ่งที่จับต้องได้พร่ามัวลง หัวข้อนั้นได้รวมทั้งการแยกแยะ ความเป็นส่วนตัว สังคมไซเบอร์สเปซ และนวัตกรรมทางชีววิทยา ตามภาษาหรือ การเปรียบเปรยDigital Skin คือศัพท์ใหม่สำหรับ cross-platform hyper- connective interfacing งานเทศกาลสื่อศิลปะได้จัดตั้งพันธมิตรกับ Bangkok based media creations company Modern Formulations Co. Ltd. และ the London Development Co Ltd. เทศกาลสื่อศิลปะสมัยใหม่ 2549 จะเป็นการร่วมงานครั้งที่ 3 กับ Oxygen Holding'sBED Supperclub และเป็นครั้งที่ 5 กับ แผนกแผนกสื่อศิลปะสมัยใหม่ ของ Czech Academy of Fine Arts สาธารณรัฐเช็ค ภายใต้การควบคุมของ ศาสตราจารย์ ไมเคิล บิลิกลี่ Michael Bielicky
เครือข่ายของเรากว้างขึ้นทุกปี ทำงานกับสถาบันภายในและภายนอกประเทศเช่น บริทิช เคาซิล ประเทศไทย สมาคมฝรั่งเศส(ครั้งนี้ไม่ได้ทำงานด้วยกัน)สถาบัน เกอเต้ สถาบันสื่อศิลปะในเมืองโคโลญ เยอรมนี ในแต่ละปีของงานเทศกาลมีการ ขยายความร่วมมือกับศิลปิน ผู้ร่วมจัดงาน และหลายสถานที่ที่จัดแสดงนิทรรศการ ทั่วกรุงเทพ เทศกาลสื่อศิลปะสมัยใหม่ 2549 ได้มีความร่วมมือกับบริษัทจัดงานDude/Sweet ที่เป็นที่รู้จักในด้านเครือข่ายของศิลปะท้องถิ่น และ Dude/Sweet ยังทำหน้าที่ผู้ โปรโมทงานของเราอีกด้วย เทศกาลสื่อศิลปะสมัยใหม่ 2549 ถูกจัดขึ้นในกรุงเทพหลายๆ แห่ง จัดทั้งภายใน และภายนอก สถานที่ที่ได้ตอบรับคำยืนยันมาแล้ว เช่น BED Supperclub งาน นิทรรศการ งานแสดง และงานเปิด HOF Art Gallery งานนิทรรศการ และพิธีปิด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประชุมปฏิบัติการและงานนำเสนอพิเศษ สถานที่อื่นๆ จะแจ้งให้ทราบในภายหลัง ในเดือนพฤษภาคม เทศกาลสื่อศิลปะสมัยใหม่ 2549 จะเสนอ ออดิโอ วิช่วล โปรแกรม การแสดง การนำเสนอต่างๆ ที่ได้สำรวจความสนใจที่เพิ่มมากขึ้นใน ศิลปะอิเล็กทรอนิกส์ และสื่อสมัยใหม่ในประเทศไทยตั้งแต่มีการจัดการเทศกาลสื่อ ศิลปะสมัยใหม่ สำหรับผู้ที่เห็นเทศกาลสื่อศิลปะสมัยใหม่เป็นหน้าต่างที่พวกเขาสามารถดู พัฒนาการของสื่อสมัยใหม่ในแต่ละพื้นที่ พวกเราได้ส่งข้อความที่ว่า"new media is here to stay" เทศกาลสื่อศิลปะสมัยใหม่กำลังสำรวจโอกาสในการจัดตั้งศูนย์ สำหรับศิลปะและสื่อในใจกลางกรุงเทพ หลายปีที่ผ่านมา กรุงเทพได้มี การเพิ่มความสนใจมากขึ้นเพราะสื่อศิลปะมีการพัฒนามากขึ้นและการออกแบบที่ สร้างสรรค์ได้เกิดขึ้นในเมือง
ปีนี้งานเทศกาลมีชื่อว่า Live & Retrospective และจะมีงานเก่าๆ จากห้อง สมุดดิจิทัลของ เทศกาลสื่อศิลปะสมัยใหม่อีกด้วย ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.thailand-maf.org
|