Scene4 Magazine — International Magazine of Arts and Media

อินไซท์

may 2009

Scene4 Magazine "The Secrets of Wat U Mong" by Janine Yasovant

จานีน ยโสวันต์

เมื่อคุณได้มองไปที่ภาพถ่ายวัดอุโมงค์โดยลูกา อินเตอนิสซี และอัลแบร์โต
แคสสิโอ คุณจะได้เห็นเจดีย์รูปทรงระฆังในสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ ก่อสร้างขึ้น
ที่จังหวัดเชียงใหม่ในสมัยโบราณ วัดอุโมงค์ตั้งอยู่ที่เชิงดอยสุเทพ-ปุยซึ่ง
เป็นพรมแดนธรรมชาติกั้นระหว่างประเทศประเทศไทยและประเทศพม่า มี
ทางเข้าสามทางเหมือนศิลปะพุกามของพม่า เจดีย์รูปทรงระฆังเป็นเป็น
สถาปัตยกรรมล้านนายุคแรก (ประมาณพุทธศตวรรษที่ 19) ที่ได้รับอิทธิพล
มาจากสถาปัตยกรรมลังกาของอินเดีย เจดีย์และอุโมงค์ถูกละทิ้งมาเป็น
เวลานาน แม้ว่าว่าชาวเชียงใหม่จะทราบว่าวัดอุโมงค์เป็นวัดโบราณและเป็น
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นเพราะอาราม เจดีย์และกำแพงผุพังและพิพิธภัณฑ์ที่
เก็บวัตถุโบราณ

วัดอุโมงค์ได้รับการบูรณะในปีพ.ศ. 2543 โดยกรมศิลปากร พระสงฆ์เริ่มที่
จะไปอาศัยจำวัดอยู่ที่นั่น เมื่อมีการขุดดินออกมาแล้วก็เป็นการเปิดเผยถ้ำที่
ซ่อนอยู่ ในตอนนั้นยังไม่มีผู้ใดทราบเกี่ยวกับการมีอยู่ของถ้ำที่นั่นจนกระทั่ง
มีการค้นพบในปีนั้น

U5cr

ความกว้าง 140 เซนติเมตร (55 นิ้ว) ความยาว 14 เมตร (46 ฟุต) และ
ความสูง 180 เซนติเมตร (71 นิ้ว) อุโมงค์ประดับตกแต่งไปด้วยภาพเขียนสี
น้ำตาลปกคลุมไปด้วยดินและทรายจากตัวอุโมงค์เอง เมื้อชั้นหินปูนถูกเอา
ออกไป สีน้ำตาลกลายเป็นสีแดงชาดเหมือนที่เคยทาสีไว้เมื่อ 500 ปีก่อน

Umong1

คณะจิตรกรรมและคณะวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้สร้าง
ภาพจำลองโดยใช้คอมพิวเตอร์กราฟฟิคเพื่อศึกษาภาพบนผนังเพื่อทำการ
บูรณะปฏิสังขรณ์ เมื่อดิฉันอยู่ในอุโมงค์ฉันเห็นภาพทั้งบนหนังเพียงกวาด
สายตามอง เป็นภาพแนวกว้างที่ทำให้ดิฉันรู้สึกประหลาดใจแม้ว่าดิฉันจะ
อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่มาเป็นเวลาหลายปี

เมื่อตอนที่ดิฉันยังเด็ก ดิฉันได้แสดงความเคารพอยู่ด้านนอกซึ่งดูค่อนข้าง
รกร้างและดิฉันประหลาดใจที่ไม่สามารถเข้าอุโมงค์ได้เพราะอุโมงค์ถูกปิด
อยู่ เห็นเพียงแค่บันไดเท่านั้น

IMGP0021cr

เมื่อดิฉันได้ทราบข่าวเกี่ยวกับโครงการของกรมศิลปากรซึ่งเฝ้าดูแลวัดทุก
แห่งในจังหวัดเชียงใหม่ ดิฉันพบว่าวัดอุโมงค์มีภาพเขียนบนผนังที่มีค่าและ
ได้ติดตามงานของทีมงานบูรณะ เมื่อชั้นหินปูนครอบคลุมภาพเขียนบน
พื้นผิวกำแพง ภาพเขียนก็ดูคล้ายคลึงกับที่เครื่องถ้วยชามสมัยราชวงค์หมิง
ของประเทศจีน เมื่อปรากฏสีที่แท้จริง สีแดงชาด สีเขียวมรกตนั้นสวยงาม
ตามธรรมชาติจริงๆ สีเขียวนั้นค่อนข้างจะมืดและชัดเจนกว่าสีแดงและสีน้ำ
เงินที่พบในลายดอกโบตั๋นของเครื่องถ้วยชามสมัยราชวงค์หยวนหรือหมิง
ของประเทศจีน มองไปที่ภาพถ่ายอินฟราเรดของสมาชิกโครงการ ดิฉันเห็น
ภาพฝูงนกกระสาและดอกโบตั๋นได้อย่างชัดเจน

119-01cr

อันที่จริงแล้วก็มีอุโมงค์4แห่งที่เชื่อมกับเจดีย์ในทางด้านทิศเหนือ ทางเข้า
ของทั้งสามอุโมงค์ตรงด้านหน้ามีภาพบนผนัง อุโมงค์แห่งที่ 4 ตรงกลางที่
ใหญ่ที่สุดนั้นไม่มีภาพบนผนัง ทั้งเทคนิคการทำด้วยมือและภาพ
คอมพิวเตอร์กราฟฟิคนั้นช่วยในการสร้างภาพขึ้นมาใหม่ อุโมงค์นั้นสวยงาม
เป็นพิเศษ องค์ประกอบและลวดลายในอุโมงค์ทั้ง 3 แห่งนั้นเหมือน
ลวดลายผ้าที่ใช้เทคนิคสีฝุ่นและเขียนด้วยสีแดงชาดและสีเขียวมรกต และ
มีสีขาวและสีดำ

U1cr

ภาพเขียนในอุโมงค์แห่งแรกคือฝูงรูปนกกระสาและดอกโบตั๋น ภาพเขียนใน
อุโมงค์แห่งที่สองคือดอกบัวและกลุ่มเมฆ ภาพเขียนในอุโมงค์แห่งที่สาม
คือลายดอกบัวและลายประจำยามซึ่งเป็นการขนานนามลายไทยชนิดหนึ่ง

ดูแล้วก็น่าจะเป็นประสบการณ์ที่คุณแทบจะลืมหายใจเมื่อมีโอกาสไปเยือน..
 

กรุณาลงความเห็น เกี่ยวกับบทความนี้

ส่ง
อีเมล์
หน้านี้

©2009 Janine Yasovant
©2009 Publication Scene4 Magazine

Scene4 Magazine: Janine Yasovant
จานีน ยโสวันต์ เป็นนักเขียน
เธออาศัยอยู่ในเชียงใหม่ประเทศไทย

สำหรับบทความและบทวิจารณ์อื่นๆ ของ จานีน ยโสวันต์
กรุณาตรวจดู แฟ้มเก็บข้อมูล

 

Scene4 Magazine-International Magazine of Arts and Media
This Issue
Cover | This Issue | inFocus | inView | reView | inSight | Blogs | inPrint | Books | New Tech | Links | Masthead Submissions Advertising | Special Issues | Payments | Subscribe | Privacy | Terms | Contact | Archives

Search This Issue Email This Page

RSS FeedRSS Feed

Scene4 (ISSN 1932-3603), published monthly by Scene4 Magazine - International Magazine of Arts and Media. Copyright © 2000-2009 AVIAR-DKA LTD - AVIAR MEDIA LLC. All rights reserved.

Now in our 10th year of publication with
comprehensive archives of over 3000 pages 

Scene4 Magazine - Sony Digital Camera
Scene4 Magazine: Scientific American

 

 

 

Scene4 Magazine: StrikeOne Films