ดิฉันรู้สึกดีใจมากและขอกล่าวชมเชยโครงการก่อสร้าง "ข่วงพระเจ้าล้านนา" แม้ว่าสถานที่แห่งนี้ไม่ได้ถูกสร้างเป็นวัด ชาวพุทธสามารถเข้ามาเยี่ยมชมและ สักการะพระพุทธรูปต่างๆ ในพื้นที่แห่งนี้ได้ วันเปิดสถานที่อย่างเป็นทางการคือ วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2556 ที่ผ่านมาและในวันเดียวกันนั้นเองสถานที่แห่งนี้ถูก ส่งมอบให้เป็นสมบัติของชาติ ดิฉันไปที่งานในตอนเย็นวันนั้นเพื่อเก็บภาพงานพิธี อาจารย์ วารินทร์ บัววิรัตน์เลิศ นักธุรกิจและนักทำนายดวงชะตา เป็นหัวหน้า โครงการผู้เริ่มคิดจะก่อสร้างและเป็นผู้ดูแลโครงการมาตั้งแต่เริ่มแรก ใช้เวลาก่อสร้างจนเสร็จสิ้นเป็นเวลา 5 ปี
ในฐานะที่เป็นนักเขียน โดยส่วนตัวแล้วดิฉันรู้สึกชื่นชมความตั้งใจของอาจารย์ วารินทร์ที่ทำอะไรสักอย่างเพื่อประเทศไทย เขาโฆษณาโครงการในสื่อต่างๆ ทั้งโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ สถานีวิทยุทำให้คนไทยที่อยู่ในประเทศและต่าง ประเทศได้ติดตามข่าวเรื่องการก่อสร้างและสนับสนุนโครงการได้ง่าย อาจารย์ วารินทร์ได้เขียนหนังสือภาษาไทยสี่เล่มเกี่ยวกับการทำนายชะตาของประเทศไทย หนังสือนี้ได้นำเสนอชีวิต การทำงานของอาจารย์วารินทร์และความคิดที่ชัดเจน ว่าคนไทยควรสามัคคีกันเพื่อสังคมที่ดีกว่า เงินรายได้จากการขายหนังสือเป็น การสมทบทุนให้กับโครงการนี้อีกด้วย
ข่วงพระเจ้าล้านนาตั้งอยู่ที่ถนนทางเข้าห้วยตึงเฒ่าที่เป็นอ่างเก็บน้ำในจัง หวัดเชียงใหม่ สถาปนิกที่เป็นผู้ออกแบบสถานที่แห่งนี้คือผู้ช่วยศาสตราจารย์ จุไรพร ตุมพสุวรรณจากคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ล้านนา
ข่วงพระเจ้าล้านนาเป็นโครงการที่ริเริ่มโดยอาจารย์วารินทร์ บัววิรัตน์เลิศ การก่อสร้างเริ่มต้นในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 โดยได้รับการสนับสนุน จากชาวพุทธทั่วโลก สถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้กล่าวได้ว่าเป็นที่แห่งเดียว ในประวัติศาสตร์ไทยที่ไม่ได้ใช้เงินทุนจากรัฐบาลในการก่อสร้าง เป้าหมาย ของการก่อสร้างคือทำให้ข่วงพระเจ้าล้านนาเป็นสมบัติของชาติ ทำหน้าที่เป็น ศูนย์กลางพระพุทธศาสนาแห่งหนึ่งสำหรับชาวพุทธทุกคนและมนุษยชาติและ ทำเพื่อให้ประเทศจากการหยุดชะงักและความขัดแย้งต่างๆ และยังสร้างความสุข และความสามัคคีกลมเกลียวกันในประเทศ
สถานที่แห่งนี้มีแนวคิดการออกแบบสามอย่าง อันดับแรก การออกแบบมา จากแนวคิดสถาปัตยกรรมล้านนาแบบร่วมสมัย อันดับที่สอง การออกแบบเป็น งานนิทรรศการเรื่องประวัติของพระพุทธเจ้า แนวคิดแต่ละอย่างแสดงออกมา ผ่านอาคารสถาปัตยกรรมที่ต่างกันและฉากต่างๆ และอันดับสุดท้าย การออกแบบ นี้มีรากฐานมาจากความเชื่อล้านนา ธรรมเนียมและประเพณีต่างๆ บริเวณแห่งนี้ เป็นสถานที่ทางพุทธศาสนาซึ่งเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเพื่อ ประโยชน์ของคนรุ่นต่อไปและเป็นการรักษาการดำเนินชีวิตแบบล้านนา
การก่อสร้างเริ่มต้นด้วยการปั้นพระพุทธรูปหน้าตักกว้าง99 นิ้วในปางพิชิต มาร ประดิษฐานในซุ้มประตูโค้งรูปแบบล้านนา จากนั้นตามด้วยการก่อสร้าง ศาลาบาตร ศาลาธรรม สระอโนดาต สังเวชนียสถานอันประกอบด้วยศาลา ประสูติ ศาลาตรัสรู้และศาลาปรินิพพาน
ข่วงพระเจ้าล้านนาก่อสร้างขึ้นในวันที่1 มีนาคม พ.ศ. 2553 องค์พระเจดีย์สูง 29.99 เมตรถูกสร้างขึ้นมีแบบจำลองพระพุทธบาทสี่รอยประดิษฐานด้านใน พิธีเฉลิมฉลองถูกจัดขึ้นในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2553
เมื่อการก่อสร้างเสร็จสิ้นลง อาจารย์วารินทร์ บัววิรัตน์เลิศและคณะชาวไทยผู้นับ ถือถือศาสนาพุทธจะทำการส่งมอบสถานที่แห่งนี้ให้เป็นสมบัติของชาติ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยุ่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระชนมายุ 84 พรรษา ข่วงพระเจ้าล้านนาเป็นสัญ ลักษณ์แห่งการจดจำพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า สถานที่แห่งนี้จะ เป็นหนึ่งในสถาปัตยกรรมสำคัญที่สร้างขึ้นมาด้วยความพยายามอันยื่งใหญ่ของ ชาวพุทธโดยไม่คาดหวังสิ่งใดตอบแทน ภายในบริเวณของข่วงพระเจ้าล้านนา ยังมีสถานที่ที่น่าสนใจให้เดินชมดังนี้
1. ลานประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
เป็นสถานที่สำหรับจัดงานพิธีทางศาสนาพุทธ เช่นการเดินเวียนเทียนรอบวิหาร พิธีสืบชะตาเมือง การฟังเทศน์ฟังธรรมในวันพระ และต้อนรับบุคคลสำคัญ บริเวณตรงนี้เป็นประตูทางเข้าข่วงพระเจ้าล้านนา แนวคิดของพื้นที่แห่งนี้ เปรียบเทียบได้กับการเชื้อเชิญแขกเข้ามาในบ้าน จากตรงนี้ผู้มาเยือนสามารถ มองเห็นภาพมุมกว้างอันงดงามของยอดดอยสุเทพและป่าไม้รอบข้าง หนึ่ง ในประเด็นสำคัญของการออกแบบข่วงพระเจ้าล้านนาคือบริเวณที่ยกพื้นสูงขึ้น เพื่อเป็นที่หมายในการเคารพพระพุทธรูปพระเจ้าล้านนาที่เป็นองค์พระประธาน ในปางพิชิตมาร พื้นที่ตรงนี้ล้อมรอบไปด้วยกำแพงแก้วที่เป็นที่ล้อมเขตแดนศักดิ์สิทธิ์
2. พระพุทธรูปพระเจ้าล้านนา
เป็นพระพุทธรูปองค์ประธานของสถานที่แห่งนี้ พระพุทธรูปสำริดหน้าตักกว้าง 99 นิ้วปางพิชิตมารตั้งอยู่บนฐานสูงห้าเมตรที่มีซุ้มรูปโค้งแบบล้านนา องค์พระพุทธ รูปหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านหลังพระพุทธรูปมีต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ พื้นที่ ประกอบพีธีตรงด้านหน้าพระพุทธรูปล้อมรอบไปด้วยกำแพงแก้วที่มีพระพุทธรูป 9 องค์ แต่ละองค์เป็นตัวแทนของแต่ละวันในหนึ่งสัปดาห์ พระพุทธรูปขนาดเก้า นิ้วอยู่ในซุ้มรูปโค้งแบบล้านนาที่มีคำจารึกรายชื่อผู้บริจาคอยู่ที่ฐานพระพุทธรูป ผู้บริจาคเงินมีความเคารพเลื่อมใสที่จะดูแลรักษาข่วงพระเจ้าล้านนาแม้ว่าตัวจะ จากไปแล้วเมื่อพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองต่อไปเป็นเวลา 5,000ปีหรือจนกว่า จะถึงยุคพระศรีอารย์ ในช่วงเวลานี้จะมีผู้บริจาคที่ทำบุญกุศลในการก่อสร้าง ข่วงพระเจ้าล้านนา ที่ไปจุติในสรวงสวรรค์หลังจากที่ได้ล่วงลับไปแล้ว นอก เหนือจากนี้ยังมีเทวรูปเทพารักษ์ทั้งสององค์อยู่ด้านหน้าพระพุทธรูปพระเจ้าล้านนา
ตุงรัตนตรัยล้านนาอยู่ด้านหน้าพระเจ้าล้านนาและแดงถึงความเคารพพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ที่เป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงาม ชาวล้านนาเชื่อว่าถ้านำตุง ไปแขวนจิตที่เป็นบุญกุศลจะพ้นไปจากความทุกข์ ตุงจึงไม่ได้เป็นเพียงแค่ ของถวายที่เป็นการแสดงความนับถือเท่านั้นแต่ยังเป็นการสงวนรักษาธรรม เนียมและประเพณีล้านนาไว้ให้กับชนรุ่นหลัง ด้านหน้าข่วงพระเจ้าล้านนายังมี รูปปั้นพญานาคเป็นผู้ปกปักรักษาพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์
3. พุทธมหาเจดีย์ที่ข่วงพระเจ้าล้านนาและพระพุทธบาทสี่รอย
เจดีย์แบบล้านนามีความกว้าง 10เมตร ยาว 10เมตรและ และสูง 29.99 เมตร ก่อสร้างด้วยอิฐและมีลายปูนปั้นปิดทอง มีซุ้มโค้งปูนปั้นอยู่สี่ด้านมีพระพุทธรูปรวม 20 องค์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนเจ็ดวันในหนึ่งสัปดาห์ บนยอดเจดีย์มีพระ บรมสารีริกธาตุที่ได้มาจากสมเด็จพระพุทธาจารย์ (สมเด็จเกี่ยว)จากวัดสระเกตุ พิธีประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุจัดขึ้นในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2553 ภาย ในเจดีย์มีแบบจำลองรอยพระพุทธบาท 4 รอยที่จำลองมาจากวัดพระพุทธบาท สี่รอย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ กำแพงด้านในมีพระพุทธรูปประจำทั้งเจ็ด วัน หน้าตัก 9 นิ้ว 99 องค์ พื้นบริเวณรอบเจดีย์มีเจดีย์ 12 องค์ ประจำราศีเกิด ทั้ง 12 ราศี เจดีย์มีขนาดกว้าง 99 เซนติเมตร ยาว 99 เซนติเมตร สูง 1.30 เมตร เจดีย์แต่ละองค์เป็นแบบจำลองมาจากองค์จริง ชาวล้านนาเชื่อว่าการได้ บูชาเจดีย์ประจำราศีเกิด จะเสริมความเป็นศิริมงคลและให้โชคลาภ
4. ศาลาบาตร
ศาลาถวายอาหารรูปแบบล้านนาสมัยใหม่สร้างมาจากอิฐและปูนปั้นปิดทอง ตกแต่งด้วยแก้วหลากสี ในศาลาตั้งพระพุทธรูปรวม 9 องค์ประจำวันเกิดคือวัน อาทิตย์ วันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ วันพุธกลางคืน วันพฤหัสบดี วันพฤหัสบดี กลางคืน วันศุกร์และวันเสาร์ พระพุทธรูปมีขนาดเท่าคนจริงและประทับนั่งใน รูปแบบล้านนา มีฐานประดับตกแต่ง ตามธรรมเนียมแล้วศาลาถวายภัตตาหารจะ ใช้เป็นสถานที่ให้คนมาใส่บาตรถวายพระ (ตอนหลังจะถูกส่งไปให้พระสงฆ์และผู้ ที่อาศัยอยู่วัด) เมื่อได้รับแรงบรรดาลใจจากประเพณีนี้ สถาปนิกได้ตั้งพระพุทธ รูป 9 องค์ไว้ในศาลาเพื่อแสดงถึงรับการให้ทานในศาลาแห่งนี้ เมื่อใดก็ตามที่มี การจัดกิจกรรมถวายภัตตาหาร ศาลาบาตรถูกจัดสร้างเพื่อรับรองกิจกรรมนี้
5. ศาลาธรรมและสระอโนดาต
อยู่ทางทิศเหนือของข่วงพระเจ้าล้านนา ออกแบบเป็นหอนั่งสมาธิสำหรับผู้มา แสวงบุญ อาคารรูปแบบล้านนาสมัยใหม่ประดิษฐานพระพุทธรูปพระเจ้าทันใจ หน้าตักกว้าง 59 นิ้ว พระพุทธรูปองค์นี้สร้างเสร็จภายในเวลาเพียงแค่เจ็ดวัน ภายนอกอาคารมีสระน้ำขนาดใหญ่เรียกว่าสระอโนดาต ทางเข้าประดับตกแต่ง ด้วยนาคคู่นำเข้าไปสู่ศาลาธรรม นาคคู่ทำหน้าที่เป็นผู้ปกปักรักษาพระพุทธ ศาสนา ว่ายขึ้นมาจากน้ำเพื่อฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า ภายในสระอโนดาตนี้ มีพระพุทธรูปยืนอยู่ในปาง "รำพึง" มีความสูง 169 เซนติเมตรลอยอยู่เหนือน้ำ ตกขนาดใหญ่ที่สวยงาม
จากพุทธประวัติ พระพุทธรูปปางประทับยืนนี้แสดงถึงตอนที่พระพุทธเจ้าทราบ ถึงลักษณะที่ต่างกันไปของบุคคลในโลก พระองค์เปรียบเทียบบุคคลกับบัวทั้ง 4 เหล่า ดอกบัวชนิดแรกคืออุคคฏิตัญญูที่โผล่ขึ้นเหนือน้ำ ได้รับแสงอาทิตย์ และพร้อมจะเบ่งบานเหมือนกับผู้ที่เข้าใจทุกอย่างได้อย่างง่ายดาย ดอกบัวชนิด ที่สองคือวิปจิตัญญูที่อยู่ปริ่มน้ำ จำเป็นต้องใช้เวลาสักพักหนึ่งที่จะโผล่พ้นน้ำได้ รับแสงอาทิตย์แล้วจึงเบ่งบานต่อไป เปรียบเหมือนผู้ที่ยังไม่เข้าใจในครั้งแรกใน สิ่งที่พยายามเรียนรู้แต่ก็พยายามจนเข้าใจ ดอกบัวชนิดที่สามคือเนยยะ ที่ยังอยู่ ในน้ำลึก ใช้เวลานานมากกว่าจะพ้นน้ำได้รับแสงอาทิตย์แล้วจึงเบ่งบานต่อไป เปรียบกับคนที่ไม่เข้าใจแต่พยายามศึกษาครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างไม่ย่อท้อ สุด ท้ายจึงเข้าใจ ดอกบัวชนิดสุดท้ายคือปทปรมะ อยู่ในโคลนตมไม่สามารถเติบ โตออกมาจากโคลนได้ เหมือนกับคนที่พยายามเรียนอย่างหนักแต่ก็ไม่มี ความสามารถในการเข้าใจ พระพุทธเจ้าตกลงใจว่าจะสอนผู้ที่สามารถสอน ได้จนกว่าพระองค์ได้จัดตั้งพระพุทธศาสนาเพื่อมนุษย์ทุกคน นี่เป็นเรื่องราวภูมิ หลังของพระพุทธรูปยืนนี้
6. สังเวชนียสถาน
อาคารเหล่านี้ก่อสร้างเพื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้าในยามที่ท่านประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน พื้นด้านหน้าซุ้มประตูโค้งมีเสาทั้งแปดต้นแสดงถึงทางมรรค8 ประการคือ 1.สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ 2. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ 3. สัมมาวาจา วาจาชอบ 4. สัมมากันมันตะ การงานชอบ 5.สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ 6. สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ 7. สัมมาสติ ระลึกชอบและ 8. สัมมาสมาธิ ตั้ง ใจมั่นชอบ
ทางไปสู่ศาลาประสูติแสดงเรื่องราวของเจ้าชายสิตธัตถะและพระมารดา เจ้า ชายน้อยเดินบนดอกบัวทั้ง 7 ดอกใต้ต้นสาละต้นใหญ่ ทางไปสู่ศาลาตรัสรู้ มีพระพุทธรูปสำริดหน้าตักกว้าง 59 นิ้วในวิหารรูปแบบล้านนา ด้านหลังศาลามี ต้นโพธ์ต้นใหญ่ล้อมรอบด้วยสระบัวและที่เคารพสักการะ จากนั้นทางไปสู่ ศาลานิพพานมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์ความยาว 5 เมตร พระนอนบนฐานแก้ว สูงหนึ่งเมตรในวิหารรูปแบบล้านนาไทย ภายนอกศาลามีต้นสาละปลูกคู่กัน 2 ต้นทำให้บริเวณดูเงียบสงบและสวยงาม มีสวนจำลองที่พระพุทธเจ้าแสดง ธรรมเป็นครั้งแรก ป่านั้นเรียกว่าอิสิปตนมฤคทายวัน ซึ่งปลูกต้นไม้มงคล 108 ต้น สังเวชนียสถานตั้งใจจะให้เป็นสถานที่เรียนรู้คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
7. เฮือนผญาปูจาพระเจ้าล้านนา(บ้านแห่งปัญญา)
เฮือนผญาปูจาพระเจ้าล้านนา ความหมายตามตัวอักษรคือบ้านที่สร้างมาเพื่อ แสดงความเคารพพระเจ้าล้านนา แสดงถึงถูมิปัญญาไทยล้านนาโบราณ และประเพณี สถานที่ประกอบไปด้วยอาคารล้านนา ห้องผู้อำนวยการ ห้อง ภูมิปัญญา ห้องแสดงนิทรรศการ โรงนาและพื้นที่จัดแสดงกิจกรรมสำกรับนัก เรียนนักศึกษาและผู้ที่สนใจพิธีแบบล้านนา เทศกาลปีใหม่ งานปอยหลวง ภาษาไทยเหนือ ธงล้านนาไทย เครื่องแต่งกาย อาหารพื้นเมือง ยาสมุนไพร และอื่นๆ
ชาวไทยพุทธที่ได้รับการสอนสั่งจากบรรพบุรุษและครูบาอาจารย์ในสมัยโบราณ มีภูมิปัญญาที่สมควรถ่ายทอดต่อไปให้คนรุ่นหลัง โอกาสนี้ขอเชิญผู้ที่มีภูมิปัญ ญาล้ำค่ามาถ่ายทอดสืบต่อและบอกต่อผู้อื่นให้มาร่วมมือกันกับเรา ถ้าท่าน มีเอกสาร หนังสือธรรมเนียมโบราณ ตำนาน ความเชื่อเรื่องปลูกบ้านเรือน อาหาร เสื้อผ้า ยาสมุนไพร ของโบราณ ของเก่าแก่ และถ้าท่านสามารถแบ่งปันความ รู้ต่างๆคุณสามารถติดต่อมูลนิธิอาจารย์วารินทร์ บัววิรัตน์เลิศเพื่อแบ่งความรู้ให้กับ ผู้อื่น เพื่อที่ความรู้จะได้ไม่สูญหายไปตามกาลเวลา
8. ไร่นาผสมผสานตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
อาจารย์วารินทร์ บัววิรัตน์เลิศเริ่มทำไร่นาสวนผสมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ถัดออกไปจากข่วงพระเจ้าล้านนา พื้นที่มีประมาณ 4,800 ตารางเมตร (12 ไร่) ประกอบไปด้วยนาข้าว แปลงผักสวนครัว อ่างเลี้ยงปลา ที่เลี้ยงสัตว์ ที่ปลูกผล ไม้ท้องถิ่น ยาสมุนไพร ผักปลอดสารพิษ พื้นที่แห่งนี้ยังเป็นศูนย์สำหรับการ อนุรักษ์การปลูกข้าวแบบ ใข้วัวควายไถนา การเก็บเกี่ยวข้าวแบบโบราณ ทาง ศูนย์ยังเปิดให้ชาวนา ชาวบ้าน เยาวชนและผู้ที่สนใจในการทำนาแบบดั้งเดิม
วิธีชีวิตล้านนาแบบนี้เคยมีการฝึกปฏิบัติในอดีตกาลเมื่อตอนที่ศาสนาพุทธ และชุมชนล้านนายังใกล้ชิดกัน จะทำให้ผู้คนทราบถึงต้นกำเนิดที่มาจาก บรรพบุรุษ
|