นี่คือเพลงที่มีชื่อเสียงจากงานเทศกาลลอยกระทง เมื่อฤดูฝนได้สิ้นสุดลงและฤดู
การท่องเที่ยวเริ่มต้นเข้ามา มีนักเดินทางที่มาเยี่ยมชมเทศกาลที่มีชื่อเสียงใน หลายๆภูมิภาคของประเทศไทย การลอยกระทงก็จะมีการรำวง ซึ่งเป็นการเต้นรำ ที่สวยงามในจังหวะที่ค่อนข้างเร็วสำหรับหญิงและชายในการเฉลิมฉลองประจำปีใน วันเพ็ญเดือนสิบสอง
เทศกาลลอยกระทงนั้นมีการเฉลิมฉลองทั่วประเทศและในต่างประเทศบางพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ๆมีน้ำเช่นแม่น้ำ ชายทะเล ลำคลอง และแหล่งน้ำอื่นๆ
ลอยหมายถึงปล่อยไปตามน้ำ กระทงหมายถึงเรือขนาดเล็กรูปทรงดอกบัวสร้างจาก ใบกล้วย มีการใส่เทียน ธูปสามดอก ดอกไม้และเงินเหรียญ ผู้ลอยกระทงจะจุดธูป เทียน อธิษฐานแล้วปล่อยกระทงลอยออกไปจนพ้นสายตา
พิธีใหญ่จะมีการจัดขึ้นในหลายจังหวัดเช่น กรุงเทพ อยุธยา สุโขทัย และเชียงใหม่
เทศกาลนี้มีต้นกำเนิดมาจากไหน
ประเพณีไทยนี้ย้อนกลับไปในสมัยสุโขทัย เมื่อนางนพมาศ พระสนม ได้ประดิษฐ์ กระทงถวายกษัตริย์ผู้ครองกรุงสุโขทัย การลอยกระทงนี้ได้รับอิทธิพลมาจาก เทศกาลโคมอินเดียหรือเทศกาลเทวาลัยที่จะมีการลอยสิ่งของเพื่อสักการะเทพ ของศาสนาพราหมณ์สามพระองค์คือ พระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ และการ ลอยกระทงยังสะท้อนให้เห็นความเชื่อที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตของชาวนาไทยที่ ขึ้นอยู่กับการไหลของน้ำ
การออกแบบของนางนพมาศและวัสดุบางอย่างที่เธอใช้ มีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง เล็กน้อย ได้ใช้มามาถึงทุกวันนี้ กระทงแต่ละใบถูกสร้างด้วยมือโดยใช้ต้นกล้วยที่ ตัดเป็นท่อนๆ กับใบกล้วยที่พับไว้หลายๆรูปแบบ ในกระทงจะมีดอกไม้ ธูปเทียน สิ่งของสักการะ เส้นผมหรือเล็บ
ตามตำนานบอกไว้ว่า กระทงที่สร้างขึ้นมาจากธรรมชาติถูกจัดวางไว้บนท้องน้ำด้วย พิธีการง่ายๆ เพื่อเป็นเกียรติแต่พระแม่คงคา แสดงถึงการขอบคุณน้ำที่ให้ชีวิตและ ขออภัยโทษจากการใช้น้ำผิดวิธี หลักศาสนาพุทธถูกนำมารวมในพิธีและผู้ที่ลอย กระทงทั้งหมดเชื่อว่าการลอยกระทงและการถวายสิ่งสักการะจะเป็นการนำพาโชค ร้าย โรคภัยไข้เจ็บ และความทุกข์ใดๆลอยไปกับสายน้ำ
การลอยกระทงมีรากฐานมาจากข้อมูลประวัติศาสตร์ในช่วงสมัยสุโขทัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่4 (King Mongkut) แห่ง ราชอาณาจักรสยาม ได้ทรงพระราชนิพนธ์เกี่ยวกับการลอยกระทงครั้งแรกในปี พ.ศ. 2406
รัชกาลที่4 ทรงเป็นผู้ที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมากและใช้เวลาส่วน ใหญ่ในการบวชเรียน พระองค์ทรงได้รับการศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์จากตะวันตก และทรงเชี่ยวชาญภาษาอังกฤษ พระองค์ยังทรงเป็นบิดาแห่งวิทยาศาสตร์และ ดาราศาสตร์ไทยและทรงเป็นนักปรัชญาอีกด้วย พระองค์สามารถอ่านดวงดาว ทำนายชะตาราศี ทำนายการเกิดสุริยุปราคา และทรงทำหน้าที่เป็นนักพยากรณ์ อากาศ ในฐานะที่เป็นผู้ก่อตั้งธรรมยุตินิกายสำหรับพระสงฆ์ในประเทศไทย พระองค์ทรงใช้ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ในการจัดวันที่ทีพิธีกรรมทางศาสนา ความมีชื่อเสียงของพระองค์ท่านต่อชาวตะวันตกมาจากภาพยนตร์อเมริกันเรื่อง "The King and I"
เทศกาลลอยกระทงครั้งแรก
เรื่องราวต่อไปนี้เป็นบทพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 (King Mongkut)ปีพุทธศักราช 2406 ในรัชสมัยของสมเด็จพระร่วง มีพราหมณ์ท่านหนึ่งมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ท่านมี ชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั้งในเมืองหลวงและประเทศใกล้เคียง ไม่มีศาสตร์สาขาวิชาใดที่ ท่านไม่ชำนาญ ท่านสามารถอ่านดวงดาว ทำนายชะตาราศี ทำนายการเกิด สุริยุปราคา และทำหน้าที่เป็นผู้พยากรณ์อากาศ ท่านมีความเชี่ยวชาญในเรื่องความ ลึกลับของทฤษฎีและปฏิบัติของการแพทย์ ท่านรู้จักชื่อ ถิ่นกำเนิด และคุณสมบัติที่ ดีของพืชทั้งหมดที่ปลูกในแถบนั้น ในฐานะที่ท่านเป็นนักศาสนศาสตร์ ท่านสามารถ อธิบายถึงต้นกำเนิดของทุกสิ่งและบรรยายถึงคำสอนอันลึกซึ้งของหลายๆศาสนาที่ ท่านรู้จัก เป็นผู้ที่มีอำนาจในทางกฎหมาย ท่านสามารถบอกถึงธรรมเนียมของคน หลายๆคน และวางแผนสำหรับองค์กรรัฐที่มั่นคง ในฐานะที่เป็นนักปฏิบัติตามแบบ โบราณที่ไม่มีผู้ใดทัดเทียมและล่วงรู้ข้อมูลทั้งหมดของการเติบโตของทุกศาสนา และการปฏิบัติทางสังคม บุคคลเช่นนี้เป็นผู้อยู่ในสายพระเนตรของพระมหากษัตริย์ ผู้ที่ทรงใช้ความรู้ของพราหมณ์ในการบริหารราชกิจต่างๆ ทรงมอบเกียรติยศและ ทรงแต่งตั้งให้พราหมณ์ท่านนี้ทำหน้าที่สำคัญๆหลายอย่าง ในระหว่างกิจการ หลายๆอย่างที่ดำเนินการอยู่มีสองตำแหน่งงานของท่านที่ไม่มีผู้ใดเทียมคือ ประธานทางการแพทย์และประธานตุลาการ
นักปรัชญาผู้รอบรู้ผู้นี้มีบุตรสาวงามนามว่านพมาศ เธอเป็นสตรีสาวผู้สง่าง่ามและมี ความเฉลียวฉลาดเช่นเดียวกับบิดาของเธอ เธอยังมีความชำนาญในศิลปวิทยาการ หลายแขนง ความงดงามของเธออยู่ในทุกบทเพลง ทุกคนกล่าวถึงนามของเธอ ทั้ง ประเทศมีความกระตือรือร้นที่จะชื่นชมในตัวเธอ เธอมีความน่าหลงใหลและมี ความสามารถถึงขนาดที่ว่าผู้หญิงเพศเดียวกันกับเธอไม่มีความอิจฉาริษยาแต่มี ความรู้สึกภาคภูมิใจที่ว่าผู้หญิงคนหนึ่งมีกริยามารยาทดีงาม เธอได้เรียนรู้ทุกสิ่งทุก อย่างจากพ่อของเธอและสนทนาปราศรัยในทุกๆเรื่องด้วยสติปัญญาอันเปรื่องปราด เธอเป็นกวีที่เฉลียวฉลาด เป็น นักดนตรีที่มีทักษะและศิลปินที่มีพลังมาก เมื่อเหล่า กวีต่างเหน็ดเหนื่อยจากการบรรยายความงามและพรสรรค์ของเธอ พวกเขาเริ่มร้อง เพลงเพื่อเป็นเกียรติที่เธอควรได้รับ เกียรติที่สูงที่สุดคือการเป็นพระสนมของ กษัตริย์ วันหนึ่งกษัตริย์ทรงสดับฟังบทเพลงจากนักดนตรีที่ร้องเพลงอย่างมี ความสุข เนื้อหาของเพลงเกี่ยวกับนางนพมาศที่เหมาะจะเป็นสนมขององค์กษัตริย์ บทเพลงนี้เป็นการหยามความคิดที่ว่าจะให้เธอแต่งงานกับผู้ที่มีศักดิ์ด้อยกว่า และ เป็นการสรรเสริญคุณค่าของเธอจนถึงที่สุด ถึงขนาดที่ว่าพระราชาที่ฟังเพลงอยู่เกิด ความอยากรู้อยากเห็นถึงที่สุด พระองค์เสด็จพระราชดำเนินกลับพระราชวังก็มี คำสั่งเรียกตัวเหล่านางกำนัลแล้วตรัสเล่าทุกสิ่งที่พระองค์ทรงสดับมาแล้วจึงตรัส ถามว่ามีใครรู้เรื่องของสตรีนางนี้บ้าง ด้วยความอยากรู้อยากเห็นของพระราชาเมื่อ เหล่านางกำนัลกลับมาตอบคำถามว่ามีบทเพลงนั้นจริง แต่ไม่มีคำใดอธิบายได้ อย่างเพียงพอถึงเสน่ห์ของบุตรสาวของพราหมณ์ พระองค์ได้ส่งคณะหญิงสูงศักดิ์ ไปสู่ขอนพมาศจากบิดาของเธอตามธรรมเนียมของประเทศ
คณะหญิงสูงศักดิ์ได้เดินทางไปและหน้าที่ก็เสร็จสมบูรณ์ทั้งหมด ที่ปรึกษาอาวุโสผู้ ซึ่งได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากพระมหากษัตริย์มีความยินดีที่จะมีโอกาส แสดงความขอบคุณด้วยวิธีการนี้จึงได้มอบบุตรสาวให้กับกษัตริย์ผู้ซึ่งต่อมาดูแลเธอ ด้วยความรักและนุ่มนวล ในเวลาต่อมาเธอได้เป็นหัวหน้าของนางสนมกำนัล ทั้งหมดในปราสาท ทั้งคู่มีความสุขที่อยู่ด้วยกัน เมื่อใดก็ตามที่นพมาศไม่ได้ทำ หน้าที่ของเธอในวัง เธอก็จะไปสนทนากับกษัตริย์ สร้างความยินดีให้กับพระองค์ ด้วยสติปัญญาและความรอบรู้ ให้ความบันเทิงด้วยบทเพลงและบทกวี
หลังจากพิธีอภิเษกสมรสเสร็จสิ้นไม่นานก็มีพิธีทอดกฐิน พระราชาทรงปรารถนาให้ นางนพมาศติดตามไปร่วมพระราชพิธีทางน้ำด้วย แม้ว่านางนพมาศจะอภิเษกสมรส กับกษัตริย์ผู้ทรงเป็นพุทธมามกะ แต่เธอก็ยังคงยึดมั่นในความเชื่อพราหมณ์และ ยังคงบูชารูปเคารพและจิตวิญญาณตามคำสั่งสอนของบิดาที่สอนเธอเมื่อวัยเยาว์ เป็นธรรมเนียมของพราหมณ์ที่ว่า ทุกสิ้นปีทุกคนจะต้องเตรียมสิ่งของที่เหมาะสมไป ถวายพระแม่คงคาเพื่อที่จะได้รับการอภัยโทษและเป็นการชำระบาป ทุกสิ้นปีเมื่อ ทุกคนเตรียมพร้อมสำหรับงานทอดกฐิน นางนพมาศได้เตรียมทำพิธีทางศาสนา ของเธออย่างลับๆและด้วยจุดมุ่งหมายนี้เองเธอได้สร้างสิ่งที่มีรูปร่างเล็กคล้ายเรือ แล้วเรียกว่า"กระทง"ทำมาจากใบกล้วย แล้งใส่เปลือกข้าวเพื่อทำให้ลอยแบบ สมดุล เธอถักใบกล้วยเข้าด้วยกันแล้วปักเข็มรอบขอบเรือเล็กๆเพื่อเป็นการตกแต่ง เธอแผ่ใบกล้วยไว้บนฐาน บนฐานสีเขียวมีภาชนะใส่เมล็ดพลู ใบพลู ข้าวหุง และ ดอกไม้หอม เธอเลือกผลไม้สดหลายชิดเช่นมะละกอ ฟักทอง แล้วนำมาแกะสลัก เป็นตัวแทนของผลไม้ ดอกไม้ และสัตว์ได้อย่างคล่องแคล่ว แล้วมัดรวมกันเป็น รูปทรงกรวยแล้วจัดไว้ตรงกลาง เธอแต้มน้ำหวานจากต้นไม้อื่นให้ดอกไม้ปลอม เพื่อทำให้เหมือนดอกไม้จริง เธอได้รัดภาพเขียนภาพหนึ่งและตกแต่งด้วยฉัตร กระดาษ ธงขนาดเล็กของเล่น ธูปเทียนหอม
คืนแรกของงานทอดกฐิน เรือได้ถูกจัดเตรียมอยู่หน้าปราสาทตามปกติ เรือ ท้องแบนพร้อมกับบัลลังก์แก้วมาเพื่อรอการเสด็จพระราชดำเนินของกษัตริย์ ทันใด นั้นเองความสนใจของทุกคนถูกดึงดูดด้วยวัตถุรูปร่างแปลกแล่นไปยังแท่นที่
ประทับ นั่นคือกระทงที่นางนพมาศได้ประดิษฐ์ขึ้น เธอมีความตั้งใจที่จะจุดธูปเทียน หอม ปล่อยให้ล่องลอยนำพาข้อความไปหาจิตวิญญาณ ในเวลาเดียวกันคณะของ กษัตริย์ควรจะไปถึงที่วัด แต่เมื่อกระทงมาถึงแท่นที่ประทับ นางกำนัลทั้งหลาย รวมทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ที่ไปรวมตัวรอกษัตริย์อยู่ที่นั่นก็ล้อมวงดูกระทงแล้วขอ อนุญาตตรวจสอบดู นางนพมาศจำเป็นต้องอธิบายถึงการออกแบบและความหมาย ของงานฝีมือของเธอ ทุกคนสนใจแต่ของเล่นอันน่ารักโดยไม่ได้สังเกตการมาถึง ของกษัตริย์ พระองค์ทรงเห็นผู้คนมากมายจึงเกิดความสงสัยว่าอะไรเป็นสาเหตุ ของความน่ายินดีและความน่าแปลกใจของพวกเขา มีบางคนกราบทูลต่อพระองค์ ว่าทุกคนกำลังยุ่งอยู่กับการชื่นชมกระทงที่นางนพมาศทำ พระองค์จึงทรงมีรับสั่งให้ นำสิ่งนั้นมาเผื่อว่าพระองค์เคยเห็นหรือได้ยินมาแล้ว เมื่อพระองค์ได้เห็นก็ไม่ สามารถมาหาคำพูดที่เพียงพอที่จะอธิบายความชมชอบทักษะการออกแบบและ การสร้าง พระองค์จึงทรงขออนุญาตเก็บไว้ นางนพมาศคุกเข่าตรงหน้าและ มอบกระทงที่ตกแต่งแล้วให้ พระองค์ตรัสชมผลงานอีกครั้งและตรัสชมนางนพมาศ ผู้ประดิษฐ์ด้วย เมื่อพระองค์ตรวจสอบแล้วท่านทรงเข้าใจถึงจุดประสงค์จึงตรัสว่า "สิ่งนี้เป็นเครื่องสักการะของท่านผู้หญิงผู้นับถือพราหมณ์"นางนพมาศตอบท่านไป ว่า "เป็นเช่นนั้นจริง ข้าพเจ้าเป็นพราหมณ์ จนกระทั่งบัดนี้ พระองค์มิได้ทรง ขัดขวางความเชื่อทางศาสนาของข้าพเจ้า ในช่วงฤดูนี้ของปี ข้าพเจ้าสร้างกระทง ด้วยความตั้งใจลอยตามน้ำเพื่อเป็นเครื่องสักการะพระแม่คงคา สิ่งนี้ถูกต้องและ เหมาะสมกับสตรีที่นับถือศาสนาพราหมณ์
พระร่วงทรงเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีและทรงเป็นผู้นับถือศาสนาอย่างเคร่งครัด แต่ กระนั้น กระทงก็มีความงดงาม และพระองค์ทรงตั้งพระทัยเป็นอย่างมากที่จะจุดธูป เทียนหอมแล้วปล่อยไปตามน้ำเช่นเดียวกับความตั้งใจของนางนพมาศ แต่พระองค์ ทรงเกรงความเห็นของประชาชนถ้าพระองค์ถวายเครื่องสักการะต่อจิตวิญญาณ แทนที่จะเป็นพุทธบูชา พระองค์ยังทรงเกรงอีกว่าประชาชนจะประณามและกล่าวหา ว่าพระองค์ละทิ้งศาสนาของตนไปหาศาสนาพราหมณ์ แต่พระองค์ไม่สามารถ ต้านทานความรู้สึกอยากเห็นว่ากระทงเป็นอย่างไรเมื่อยามจุดไฟ โดยที่ไม่มีความ สงสัยแม้เพียงน้อยนิด พระองค์ทรงจุดเทียนบนเรือใบไม้แต่ก็ยังรู้สึกไม่พอพระทัย ท่านยังต้องการให้กระทงลอยไปในความมืด แสงไฟจากกระทงสะท้อนผิวน้ำ พระองค์ทรงครุ่นคิดถึงคำถ้อยแถลงที่จะอธิบายการกระทำของท่าน พระองค์ตรัส ด้วยเสียงอันดังต่อพสกนิกรที่อยู่รอบข้างไม่ว่าจะบริเวณแท่นที่ประทับ ริมฝั่งแม่น้ำ หรือเรือที่แล่นผ่านหน้าพระองค์แล้วจึงตรัสว่า"ทรัพย์สินทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นวัด เจดีย์ พระสถูป ที่สร้างอยู่ที่ริมน้ำเพื่อเป็นการอุทิศแด่พระพุทธเจ้า พระบรม สารีริกธาตุ ไม่ว่าจะอยู่พื้นที่ใต้ดินปกปิดจากสายตา ใต้แม่น้ำ สถานที่พระพุทธเจ้า ทรงประทับรอยพระพุทธบาท ถึงมหาสมุทรที่ได้รับกระแสน้ำจากแม่น้ำแห่งนี้ ข้าพเจ้าขอถวายกระทงและเครื่องสักการะทั้งหลายที่มีคุณค่าแด่พระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าขออุทิศกระทงใบนี้ด้วยความเคารพแด่พระพุทธเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธ์ ทั้งหลาย และบุญกุศลใดที่ข้าพเจ้าได้รับจากการกระทำนี้ บุญนั้นไม่เหมาะสม สำหรับข้าพเจ้า โปรดมอบให้แก่พระแม่คงคาทีได้รับเกียรติจากกระทงที่ถูกสร้าง โดยนพมาศ ข้าพเจ้าก็เช่นเดียวกันที่เคารพพระแม่คงคาดังเช่นที่นางนพมาศตั้งใจ นับถือ" หลังจากเสร็จสิ้นคำพูดเพื่อปกป้องตนเองแล้ว พระองค์ทรงปล่อยกระทงที่ สุกสว่างไป ให้สายน้ำพัดพาสู่ทะเล
แต่ด้วยขั้นตอนทั้งหมดนี้ แม้ว่าจะมีคำสรรเสริญนางนพมาศ แต่ก็ไม่มีใครตระหนัก ว่าในฐานะที่เธอเป็นพราหมณ์ที่ต้องมีของสักการะพระแม่คงคา ตอนนี้เธอไม่มีของ ถวาย เธอจึงเริ่มทำขึ้นมาใหม่อีกใบ เธอรีบรวมใบไม้สดแล้วมัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมแบบ กล่องบางๆ เธอตัดก้านกล้วยมาบางส่วนแล้วมัด ในช่วงกลางเธอเสียบธูปเทียนที่ ยืมมาจากคนรอบข้างอย่างรวดเร็ว เธอหาทุกสิ่งที่ใช้ได้จุดธูปเทียนแล้วอธิษฐาน แล้วตัดสินใจส่งกระทงลอยน้ำตามกระทงที่กษัตริย์ปล่อยออกไป กษัตริย์ทรงเห็น และทรงเข้าพระทัยว่าผู้ที่ทำได้รวดเร็วมีเพียงสตรีคนเดียวที่มีความรู้และทักษะ สร้างกระทงได้อย่างรวดเร็ว ท่านตรัสชื่นชมด้วยเสียงอันดัง ประชาชนที่ดูตัวอย่างก็ เริ่มที่จะหาทุกสิ่งที่ลอยน้ำได้ เสียบธูปเทียนลงในกระทง แล้วปล่อยลงน้ำ ในตอนนี้ แม่น้ำเต็มไปด้วยแสงกระพริบ ในบรรยากาศมีเสียงแห่งความสนุกสนานรื่นเริง
พระราชาทรงมีความรู้สึกยินดีและทรงมีรับสั่งว่าการลอยกระทงควรจะมีทุกปีเพื่อ เป็นเกียรติแก่นางนพมาศผู้งดงามและเฉลียวฉลาด พระองค์ทรงอ้อนวอนให้พระแม่ คงคารับทรัพย์สมบัติของหัวใจและจิตใจในช่วงฤดูกาลนี้ของปีตลอดไป พระองค์ ทรงมีรับสั่งให้ประชาชนจัดงานเทศกาลให้ยิ่งใหญ่และทรงเรียกชื่อสั้นๆ ว่า "ลอยกระทง"ลอยหมายถึงปล่อยไปตามน้ำ กระทงหมายถึงเรือที่มีรูปร่างเหมือน ตะกร้าขนาดเล็กที่มีดอกไม้เล็กๆและของสักการะที่เหมาะสมสำหรับพระแม่คงคา ยังมีบางคนกล่าวไว้ว่าผู้สืบเชื้อสายของพยานในตอนจัดพิธีครั้งแรกนั้นคือข้าทาส ของพระร่วง ในช่วงฤดูนั้นจิตใจของพวกเขาถูกบังคับให้เชื่อฟังพระประสงค์ และ ต้องปล่อยกระทงไปหลายใบ
เป็นเวลากว่ามากกว่า700ปีแล้วที่พิธีนี้ถือกำเนิดมา แต่รายละเอียดก็ได้ เปลี่ยนแปลงไปในชั่วอายุคนรุ่นต่อๆมา สองสามปีต่อมาหลังการจัดงานครั้งแรก กษัตริย์ทรงยุติการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมชมวัดที่ไม่ได้อยู่ใกล้เคียง ดอกไม้ไฟ ทั้งหมดที่จะใช้ตอนที่พระองค์เสด็จมาถึงถูกนำมาจุดให้สวยงามที่พระแท่นบริเวณ พระบรมมหาราชวัง พระองค์ทรงนั่งประทับบนบัลลังก์แล้วทอดพระเนตรงาน มหรสพทั่วไป จากนั้นทรงปล่อยกระทงออกไปสองสามใบ
ตั้งแต่การก่อตั้งกรุงเทพ พิธีการทอดกฐินและการลอยกระทงถูกแยกออกจากกัน ในช่วงรัชกาลที่1และ2ของราชวงศ์จักรี ผู้คนชั้นสูงต่างแข่งขันประกอบกระทง สวยงาม รัชกาลที่3 ทรงเห็นว่าไม่มีความจำเป็นเพราะผู้คนชั้นสูงเสียเงินทองโดย ไม่มีประโยชน์ พระองค์จึงทรงสั่งระงับงานพระราชพิธีลอยกระทง แต่ประชาชนก็ยัง ลอยกระทงต่อไป ต่อมาลอยกระทงจึงกลายเป็นพิธีสำหรับสาธารณชนแทน
การลอยกระทงในจังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
อาณาจักรล้านนา มีพื้นที่ส่วนมากบนภาคเหนือของไทย เป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองมา ก่อนการเกิดกรุงสุโขทัย จังหวัดอยุธยาและเชียงใหม่สามารถสืบย้อนหลัง ประวัติศาสตร์ไปได้มากกว่า 700 ปี ทำให้เชียงใหม่เป็นเมืองที่น่าสนใจที่สุดเมือง หนึ่งในประเทศไทย
วันลอยกระทงในจังหวัดเชียงใหม่แตกต่างจากจังหวัดอื่นเล็กน้อย ภาษาถิ่นทาง เหนือของไทยเรียกงานลอยกระทงว่า"ยี่เป็ง" หมายถึงคืนวันพระจันทร์เต็มดวง พระจันทร์ส่องแสงสุกสว่างบนท้องฟ้า น้ำในแม่น้ำมีมากมาย ฤดูฝนผ่านพ้นไปแล้ว และอากาศไม่หนาวจนเกินไป
ก่อนถึงวันงาน ผู้คนมากมายบริจาคเงินและถวายสิ่งของที่เป็นประโยชน์ให้กับพระที่ วัดใกล้บ้าน คนหนุ่มสาวมีโอกาสทำบุญ บุญนี้เรียกว่าตานก๋วยสลาก หมายถึงการ ทำบุญร่วมกัน ผู้คนแต่งกายด้วยชุดพื้นเมืองที่สวยงาม โคมลอยหลายใบลอยบน ท้องฟ้าตลอดวันตลอดคืน
ในตอนเย็นวันลอยกระทง ผู้คนจากหลายๆชุมชนก็จะมาที่ริมแม่น้ำและเตรียม กระทงสาย พวกเขาตกแต่งต้นกล้วยด้วยพวงมาลัยดอกไม้ ธูปเทียนหอม ธงหลาก สี หลังจากนั้นผู้คนจะปล่อยกระทงต้นกล้วยที่เป็นกระทงนำลงไปก่อน ในแต่ละ ชุมชนก็จะปล่อยกระทงตามกันไปตามแม่น้ำ กระทงสายลอยอย่างสวยงามทีละใบๆ ทำให้แม่น้ำมีไฟสว่างไสว ผู้คนที่อยู่ริมแม่น้ำตีกลองและเล่นดนตรีพื้นเมือง แข่งขัน ร้องรำทำเพลงอย่างมีความสุข
พิธีการปล่อยโคมลอยแบบล้านนาเป็นลักษณะเฉพาะของเทศกาลลอยกระทงของ เชียงใหม่ ความเชื่อดั้งเดิมมีอยู่ว่าเมื่อโคมลอยยักษ์ลอยขึ้นไปในท้องฟ้า ปัญหา ของผู้ปล่อยโคมลอยก็หายไปด้วย รัชกาลที่4ทรงเชื่อเช่นนั้น
|