Scene4 Magazine - Arts of Thailand - History - The Lost City of Wieng Kumkam | Janine Yasovant - November 2010 - www.scene4.com

จานีน ยโสวันต์

ในปีพ.ศ. 2372 พระยามังรายผู้ซึ่งปกครองเมืองในภาคเหนือของประเทศ
ไทยอยู่ใกล้กับแม่น้ำโขงได้ขยายพื้นที่ของเข้ามายังเมืองเชียงใหม่และ
เมืองลำพูน ได้จัดตั้งให้เมืองใหม่เป็นศูนย์กลางการค้าขายโดยใช้แม่น้ำปิง
เป็นเส้นทางขนส่งสินค้าและหลังจากนั้นมาเมืองก็หายสาบสูญไป อันที่จริง
คือการจมไปจากสายตาจนกระทั่งได้มีการค้นพบอีกครั้งหนึ่งในปีพ.ศ.
2540 ท่ามกลางการโต้แย้งแต่ก็มีความตื่นเต้นและความน่าอัศจรรย์

เมื่อเจ้าหน้าที่ได้ทำการขุดค้นและสำรวจพื้นที่ก็พบว่าเมืองที่ถูกลืมมีเนื้อที่
650 ไร่ มีวัดอย่างน้อย 25 แห่ง ระบบน้ำที่ละเอียดซับซ้อน ชลประทานเพื่อ
การเกษตรแบบเป็นชั้นๆ วัตถุมีค่าอยู่กระจัดกระจาย และยังได้พบซากเรือ
รวมทั้ง "เรือหางแมงป่อง"มีลักษณะค่อนข้างแปลก ในปีพ.ศ. 2545
เจ้าหน้าที่ได้ประกาศว่าเวียงกุมกามซึ่งเป็นเมืองในตำนานที่สูญหายนั้นเป็น
เมืองโบราณจริงๆ

เชียงใหม่เป็นจังหวัดที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศไทยที่มีสถานที่
ท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่โดดเด่นอยู่มากมาย เชียงใหม่เป็น
จังหวัดเดียวที่ห้าอำเภออยู่ใกล้กับชายแดนพม่า ภูเขาที่สูงที่สุดคือดอย
อินทนนท์ที่อยู่อำเภอจอมทองทางใต้ของตัวเมืองเชียงใหม่และมีความสูง
2,565.33 เมตร ภูเขาสูงเป็นอันดับสองคืออุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปกใน
อำเภอฝางที่มีความสูง 2,285 เมตรและภูเขาที่สูงเป็นอันดับสามคือดอย
หลวงเชียงดาวในอำเภอเชียงดาวและมีความสูง 2,170 เมตร ภูเขาเหล่านี้
เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาผีปันน้ำ เพราะว่าอากาศดีแม้ว่าจะเย็นเล็กน้อยใน
ฤดูหนาวหลายๆคนได้มาท่องเที่ยวภูเขาทั้งสามแห่งนี้ในแต่ละปี

D2-cr

ภูเขาเหล่านี้เป็นต้นน้ำของแม่น้ำปิงซึ่งไหลลงมาทางที่ราบภาคกลางไปรวม
แม่น้ำ วัง ยม และน่านที่จังหวัดนครสวรรค์กลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนที่
จะไหลลงทางใต้ไปยังอ่าวไทยที่จังหวัดสมุทรปราการ

Intanont2-cr

แม่น้ำปิงนั้นสวยงามและอยู่ในภาพเขียนและภาพถ่ายมากมาย ความน่า
ดึงดูดใจนั้นปรากฏบทกวีและเพลงพื้นบ้านที่เน้นถึงวัฒนธรรมพื้นบ้านและ
แสดงความงดงามและเสน่ห์ของเชียงใหม่

P1-cr

ประวัติแม่น้ำปิงของประเทศไทยนั้นเกี่ยวข้องกับผู้คนทางเหนือและเรื่องราว
ทางประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของอดีตเมืองที่จมอยู่ใต้น้ำ ก่อนที่จะถึงปี

Wieng-KumKam1-cr

พ.ศ. 2540 เรื่องราวอันลึกลับประกอบด้วยเจดีย์ทั้งสองแห่งที่เหลืออยู่
พระพุทธรูปองค์ใหญ่ และเรื่องพื้นบ้านเกี่ยวกับแม่น้ำและสถานที่ไม่มีใคร
รู้จักแห่งนี้ ในที่สุดเมื่อมีผู้คนย้ายมาในพื้นที่นี้และได้ค้นพบสิ่งของโบราณ
มากมาย เจ้าหน้าที่ได้ตรวจตราและพบว่าพื้นที่นั้นครอบคลุมไปด้วยดิน
โคลนและทรายซึ่งสะสมมาจากน้ำท่วมและตามประวัติศาสตร์แล้วก็มีน้ำ
ท่วมใหญ่ที่ไม่อาจต้านทานได้ในบริเวณนั้น เมื่อได้มีการสำรวจต่อไปก็
ได้รับหลักฐานมากขึ้น ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์และภาพถ่ายทาง
อากาศได้พิสูจน์ว่าแผนเมืองเชียงใหม่ล้อมรอบไปด้วยลำคลองรูปทรงกลม
ที่สร้างโดยมนุษย์และไม่ปรากฏในแผนที่ หลักฐานของการก่อสร้างเมือง
เชียงใหม่ภายหลังจากชาวล้านนาอพยพออกจากเวียงกุมกามนั้นเขียนไว้ที่
หลักศิลาจารึกที่วัดเชียงมั่นเมื่อปีพ.ศ. 1839 ดังนั้นจึงสามารถที่จะกล่าวได้
ว่าเวียงกุมกามเป็นอาณาจักรที่อยู่ใต้พิภพ

ในตอนที่เวียงกุมกามยังเจริญรุ่งเรือง การเกษตรสมบูรณ์ดีและการทหารนั้น
แข็งแกร่ง ช่างฝีมือชาวจีนเข้ามาสร้างเครื่องปั้นดินเผาโดยใช้ดินเหนียวที่มี
มากมายและมีคุณลักษณะที่มีค่าที่อยู่ใกล้แหล่งเตาเผาที่มีชื่อเสียง แต่ละ
เตาได้สร้างเครื่องปั้นดินเผาที่มีลักษณะค่อนข้างต่างกัน เครื่องปั้นดินเผา
ของสันกำแพงจะทาสีเป็นลายปลาคู่ เครื่องปั้นดินเผาจากเวียงกาหลงก็จะ
ทาสีเป็นรูปนก เตาเผาที่จังหวัดพะเยาใช้ดินสร้างรูปปั้นทหารบนช้างศึก
เครื่องปั้นดินเผาจากเตาสุโขทัยจะเน้นสีเขียวเป็นหลัก เตาเครื่องปั้นดินเผา
ที่น่านจะใช้สีเข้มมีลวดลายนกฮูก เตาเผาในแต่ละแห่งถูกเรียกว่าเตามังกร
เพราะมีขนาดใหญ่มากและมีกำลังการผลิตถ้วยและจานดินเผาได้มากกว่า
1,000 ใบต่อครั้ง

พระยามังรายเป็นผู้ปกครองเมืองนากโยนกนคร ตามธรรมเนียมชาวพุทธ
นากถูกจัดสร้างเป็นราวบันไดทางเข้าวัด พระยามังรายเป็นสหายกับพระยา
งำเมืองผู้ครองเมืองพะเยาและพ่อขุนรามคำแหงที่ปกครองอาณาจักร
สุโขทัย ทั้งกษัตริย์ทั้งสามพระองค์ทรงเป็นผู้ก่อตั้งเมืองเวียงกุมกามที่เป็น
ทั้งศูนย์กลางการค้าขายและศาสนา ผู้คนในเวลานั้นอาศัยอยู่ใกล้วัด
เพราะว่าง่ายต่อการดูแลพระสงฆ์ด้วยอาหารและเงินทอง

ในช่วงการก่อสร้างเวียงกุมกาม พระยามังรายปกครองเมืองหริภุญไชย
ก่อนที่จะย้ายมาเชียงใหม่และสร้างวัดหลายแห่งเช่นวัดเจ็ดยอด วัดอุโมงค์
วัดพระสิงห์ วัดเจดีย์หลวง และวัดเชียงมั่น ศิลปะรูปแบบล้านนาผสมผสาน
กับศิลปะพม่าและจีน เมื่อพม่ายึดครองภาคเหนือ ไม่มีผู้ใดกล่าวถึงเวียง
กุมกาม เกิดน้ำท่วมขึ้นและเมืองก็ถูกลืมเลือนในที่สุด ทุกวันนี้แม่น้ำปิงที่ซัด
สาดขึ้นลงเกิดความงามที่เป็นเส้นทางต้อนรับเวียงกุมกามที่ไม่ได้เป็นนครที่
ถูกลืมเลือนอีกต่อไป

Ping_river_tak-cr

 

ภาพประกอบโดยวิสูตร เจริญพร

กรุณาลงความเห็น เกี่ยวกับบทความนี้

ส่ง
อีเมล์
หน้านี้

©2010 Janine Yasovant
©2010 Publication Scene4 Magazine

Scene4 Magazine: Janine Yasovant
จานีน ยโสวันต์ เป็นนักเขียน
เธออาศัยอยู่ในเชียงใหม่ประเทศไทย

สำหรับบทความและบทวิจารณ์อื่นๆ ของ จานีน ยโสวันต์
กรุณาตรวจดู แฟ้มเก็บข้อมูล

 

อินไซท์

November 2010

Scene4 Magazine - Arts and Media

November 2010

Cover | This Issue | inFocus | inView | reView | inSight | Blogs | inPrint | Books | New Tech | Links | Masthead Submissions | Advertising | Special Issues | Payments | Subscribe | Privacy | Terms | Contact | Archives

Search This Issue Share This Page

RSS FeedRSS Feed

Scene4 (ISSN 1932-3603), published monthly by Scene4 Magazine - International Magazine of Arts and Media. Copyright © 2000-2010 AVIAR-DKA LTD - AVIAR MEDIA LLC. All rights reserved.

Now in our 11h year of publication with
comprehensive archives of over 6000 pages 

sciam-subs-221tf71
taos