Scene4 Magazine - A Lifestyle of Ceramics in Thailand | Janine Yasovant

จานีน ยโสวันต์

อินไซท์

October 2009

เมื่อตอนที่ดิฉันอยู่ที่ภาคใต้ของประเทศไทยได้มีโอกาสไปเยี่ยมข้าราชการ
มุสลิมที่เก็บสะสมของโบราณที่บ้านของเขาในจังหวัดนราธิวาส ที่นั่นดิฉัน
ไปเจอดาบยาวแกะสลักตัวอักษร VK มีผู้กล่าวว่าเป็นดาบของสลัดทะเล
ไวกิ้ง ดิฉันยังได้พบจานและหม้อไหโบราณที่มีเพรียงขนาดใหญ่และเล็ก
มีลวดลายจีนเป็นรูปสัตว์และดอกไม้ สีอ่อนใส และภาพวาดน่าดึงดูดใจ
ความคิดของดิฉันในตอนนั้นตรงกันข้าม อีกด้านหนึ่งของผู้ชายที่เป็นนัก
สะสม เขากล่าวว่าเขาได้สิ่งของเหล่านี้มาจากอ่าวไทยและได้อ้างว่าเป็น
สมบัติของพ่อค้าชาวจีนที่นำมาค้าขายแลกเปลี่ยนอาหารและเครื่องเทศใน
สมัยราชวงศ์สุโขทัย (คริสต์ศตวรรษที่ 14-16)

ลวดลายต่างๆเช่นนกกระเรียน ดอกไม้ หรือเถาไม้เลื้อยทำให้เรานึกถึง
รูปแบบเครื่องถ้วยชามสมัยอาณาจักรล้านนาที่เราพบเห็นโดยทั่วไปเมื่อเรา
อยู่ที่ภาคเหนือของประเทศไทย ดอกไม้ที่มีกลีบหนาและสีสันของเครื่อง
ถ้วยชามจากอ่าวไทย แหล่งที่มาน่าจะมาจากดินเหนียวและเตาเผาของทาง
ภาคเหนือ

P001cr

หลายครั้งคราที่ผู้คนในเวลานั้นพยายามขนส่งเครื่องถ้วยชามไปยัง
ต่างประเทศแต่เรือหลายลำก็สูญหายไปในทะเล ต่อจากนั้นมา ผู้คนได้พบ
เจอเครื่องถ้วยชามเหล่านั้นในอ่าวไทย ครอบคลุมไปด้วยตัวเพรียง หอย
ทะเลและสัตว์ทะเลต่างๆ ของเหล่านั้นยังอยู่ในสภาพที่ดีและตอนนี้ก็มีราคา
หาค่าไม่ได้

รูปภาพปลาคู่ นกขนาดใหญ่ที่มีคอยาวและสัตว์ในเทพนิยายเช่นกิเลนบินใน
กลุ่มเมฆ มีรูปภาพนามธรรมแบบหลากหลาย ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นดิฉันรู้สึก
คุ้นเคยมากเนื่องจากความสนใจของดิฉันในอดีต

นี่เป็นลวดลายที่สามารถพบได้ในไม้แกะสลักและเครื่องเงินของทางเหนือ
รวมทั้งรอยพระพุทธบาทจำลองที่อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ในภาคเหนือของประเทศ
ไทย ศิลปะที่สืบทอดกันมานี้กลายเป็นรูปแบบของวัฒนธรรม อันที่จริงแล้ว
ศิลปะของประเทศจีนนี้มีอิทธิพลมากเพราะว่าได้รับพิจารณาให้เป็นศิลปะ
ต้นแบบ

ถ้วยชามในสมัยเริ่มแรกมีการสร้างที่บ้านเกาะน้อย อำเภอศรีสัชนาลัย
จังหวัดสุโขทัย ประเทศไทย แต่ก่อนอาณาจักรม้งปกครองส่วนใหญ่ของ
ประเทศพม่าตั้งแต่ศตวรรษที่ 9 ถึงศตวรรษที่ 11 และ ศตวรรษที่ 13 ถึง
ศตวรรษที่ 16 และอีกครั้งคือศตวรรษที่ 18 อาณาจักรที่ได้รับการบันทึก
อย่างที่ไม่สามารถปฏิเสธได้คือทวาราวดีซึ่งเจริญรุ่งเรืองถึงช่วงปีค.ศ.
1000 ก็ถูกอาณาจักรเขมรขับไล่ และประชากรทั้งหมดได้หลบหนีไปทาง
ตะวันตกจนกระทั่งเป็นพม่าในปัจจุบันและในที่สุดแล้วก็ได้ก่อตั้งอาณาจักร
ใหม่ ผู้คนกลุ่มนี้เช่นกันที่อยู่ใต้ความกดดันจากกลุ่มชาติพันธ์ใหม่ที่มาจาก
ทางเหนือ

P002cr

ศิลาดลที่มีคุณภาพสูงได้มีการเคลือบเงากับมีการแกะที่เรียบง่ายและ
ซับซ้อนนั้นมีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 – 16 (ประมาณ 500-600ปีที่แล้ว)
ดิฉันเคยเห็นตะเกียงสามขาสีครีมทีมีน้ำมันตะเกียงด้วย การออกแบบนั้น
เป็นรูปทรงเรขาคณิต ช่างน่ามหัศจรรย์จริงๆ

เครื่องถ้วยชามกาหลงถูกสร้างขึ้นและมีความเกี่ยวพันกับพระมหากษัตริย์
สงคราม ศาสนาเช่นการสร้างช้างศึกสำหรับพระมหากษัตริย์ กองทหาร
และเพื่อศาสนาฮินดู มีรูปปั้นเซรามิกส์พระพิฆเณศ 4 แขน แต่ละมือนั้นถือ
อาวุธต่างๆกัน สร้อยคอ กำไลข้อมือ กำไลข้อเท้า จากเซรามิกส์ของ
รูปแบบทางเหนือดูเหมือนกับเชียงแสนหรือรูปปั้นไม้ของพม่าในรูปแบบของ
เซรามิกส์ ในเตาเผาเวียงกาหลง การสร้างสรรค์ในยุคนี้จะแสดงภาพ ช้าง
ม้า วัว ควายเป็นสัตว์พาหนะ เป็นที่เชื่อกันว่าช่างชาวจีนได้สอนคนพื้นเมือง
ให้ทำเซรามิกส์ตรงพื้นที่ที่ดินเหนียวมีคุณภาพที่สุดเรียกว่าเวียงกาหลง
หลังจากที่เผาแล้วดินเหนียวจะมีสีเหลืองอ่อน สีครีม หรือสีเทา
นอกเหนือไปจากเครื่องถ้วยชามโบราณของอาณาจักรล้านนาจะมีรูปแบบ
ของศาสนา การใช้ชีวิต สงคราม และสัตว์ต่างๆ แล้ว ยังมีการปั้นรูปวงดนตรี
และรูปคู่รักโอบกอดกันอีกด้วย พวกเราสามารถทำความเข้าใจได้ว่านี่คือวิถี
ชีวิต

P003cr

ในเวลานั้นสนุกสานและเป็นอิสระเช่นเดียวกับที่ศิลปินมีโอกาสใช้ธรรมชาติ
เป็นตัวแบบโดยที่ไม่มีข้อจำกัด คุณลักษณะที่ยอดเยี่ยมของสันกำแพงคือ
ดินเหนียวเนื้อหยาบ ขอบด้านล่างต่ำ สีขาวทาไปที่ริมขอบปากหรือด้านใน
ก่อนที่จะเคลือบเงาหรือประดับตกแต่ง การออกแบบหรือตกแต่งที่เป็นที่
นิยมมากที่สุดของสันกำแพงและได้กลายเป็นรูปแบบปกติของเครื่องปั้นดิน
เผาสันกำแพงคือรูปปลาคู่ว่ายอยู่ตรงด้านล่าง เช่นเดียวกับสัญลักษณ์หยิน
และหยางของจีน เครื่องปั้นดินเผาที่พบเป็นจานเคลือบด้วยสีดำด้านในและ
แจกันขนาดใหญ่ที่มีการเคลือบสองชั้น

เครื่องปั้นดินเผาเมืองพานถูกผลิตที่เตาเผาในโป่งแดงและหมู่บ้านไม้หนอง
ปากจิกในตำบลทรายขาว อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย รูปร่างลักษณะของ
เซรามิกส์เมืองพานนั้นไม่ค่อยแตกต่างไปจากเวียงกาหลง แต่การเคลือบ
เงานั้นจะทำในแบบเดียวกับเครื่องปั้นดินเผาศิลาดล ข้อแตกต่างคือว่า
เครื่องปั้นดินเผาเมืองพานไม่ได้มีออกแบบให้ใช้สีดำรองเคลือบในตอนที่
ผลิต

ในสมัยก่อนนักโบราณคดีเรียกเซรามิกส์ที่สร้างมาจากเตาเผาเวียงท่ากานต์
ว่าเป็นขวดสมัยหริภุญไชยตอนปลาย พวกเขาเชื่อว่าต้นกำเนิดอยู่ที่จังหวัด
ลำพูน ตามข้อมูลที่ผ่านมาแล้วว่าพวกเขาได้บันทึกการขุดสำรวจที่สถาน
ประวัติศาสตร์หริภุญไชยและหลุมขุดสำรวจที่จังหวัดตาก ปัจจุบันนี้นัก
โบราณคดีรุ่นใหม่ได้ค้นพบหลักฐานใหม่ๆจากเวียงท่ากานต์ซึ่งเป็นเมือง
โบราณในอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

P004cr

รูปร่างลักษณะของขวดที่พบในตอนนี้เป็นสิ่งที่คนไทยภาคเหนือเรียกว่า"น้ำ
ต้น" เป็นขวดที่มีรูปร่างลักษณะเหมือนกับเครื่องปั้นดินเผาสุโขทัย
ลักษณะเฉพาะของขวดเหล่านี้คือมีสีส้มอันเนื่องมาจากการขึ้นรูปเป็นอย่าง
ดี เติมสีขาวหรืทาสีดำก็สามารถที่จะตกแต่งได้หลายรูปแบบเช่นรูปสัตว์และ
ดอกไม้ วัตถุประสงค์หลักของเครื่องดินเผาเวียงท่ากานต์คือเอาไว้เก็บน้ำ
มากกว่าที่จะใช้เก็บร่างผู้เสียชีวิตและถ้วยชามเหล่านี้ก็ได้มีการแลกเปลี่ยน
ในบริเวณใกล้เคียง ดังนั้นเครื่องปั้นดินเผาเวียงท่ากานต์น่าจะอยู่ในช่วง
ศตวรรษที่ 14 ซึ่งอยู่ในรัชสมัยของพ่อขุนเม็งรายผู้ครองอาณาจักรล้านนา

จากประวัติศาสตร์ของกษัตริย์ทั้งสามพระองค์ พ่อขุนรามคำแหงแห่ง
อาณาจักรสุโขทัย พ่อขุนเม็งรายแห่งอาณาจักรล้านนา และพ่อขุนงำเมือง
แห่งอาณาจักรพะเยา ทั้งสามพระองค์สาบานเป็นเพื่อนรักกัน ประชาชน
ปลูกข้าวและทำงานกับเตาเผาเซรามิกส์ซึ่งเป็นยุคแห่งการสร้างสรรค์และ
ใช้สำหรับการค้าขายแลกเปลี่ยน ทำให้แผ่นดินสุวรรณภูมิมั่งคั่งมากในเวลา
นั้น

P005cr

พวกเราได้เห็นรูปปั้นชาวบ้านอุ้มไก่ชนและถือเงินพดด้วงในอีกมือหนึ่งรูป
ปั้นคู่รักล่องแพท่องเที่ยว นี่คือความสนุกสนานของช่างเมื่อ 500ปีที่แล้ว
ศิลปะแห่งการใช้ชีวิตในหลายๆรูปแบบของคนโบราณก็จะบอกวิธีการใช้
ชีวิตได้

ภาพ: มาจาก Mekdhanasarn Museum

กรุณาลงความเห็น เกี่ยวกับบทความนี้

ส่ง
อีเมล์
หน้านี้

©2009 Janine Yasovant
©2009 Publication Scene4 Magazine

Scene4 Magazine: Janine Yasovant
จานีน ยโสวันต์ เป็นนักเขียน
เธออาศัยอยู่ในเชียงใหม่ประเทศไทย

สำหรับบทความและบทวิจารณ์อื่นๆ ของ จานีน ยโสวันต์
กรุณาตรวจดู แฟ้มเก็บข้อมูล

 

Scene4 Magazine - Arts and Media

October 2009

Cover | This Issue | inFocus | inView | reView | inSight | Blogs | inPrint | Books | New Tech | Links | Masthead Submissions | Advertising | Special Issues | Payments | Subscribe | Privacy | Terms | Contact | Archives

Search This Issue Share This Page

RSS FeedRSS Feed

Scene4 (ISSN 1932-3603), published monthly by Scene4 Magazine - International Magazine of Arts and Media. Copyright © 2000-2009 AVIAR-DKA LTD - AVIAR MEDIA LLC. All rights reserved.

Now in our 10th year of publication with
comprehensive archives of over 5000 pages 

Scene4 Magazine: Scientific American
Scene4 Magazine: StrikeOne Films