เดือนที่ผ่านมาดิฉันได้นัดหมายกับศิลปินอีกที่โดดเด่นท่านหนึ่งที่ชื่นชอบศิลปะการ ทำภาพพิมพ์เช่นเดียวกับอาจารย์ ศรีใจ กันทะวัง ที่ดิฉันเคยเขียนถึงในฉบับก่อน ชื่อว่าอาจารย์ กิติก้อง ติลกวัฒโนทัย ไม่เพียงแต่ว่าเขาเป็นที่รู้จักมาเป็นเวลา 20 ปีแล้วเท่านั้น แต่ยังเป็นศิลปินงานภาพพิมพ์รุ่นใหม่ในประเทศไทย ในวันสัมภาษณ์ เป็นเวลาที่กำลังเตรียมตัวสำหรับงานนิทรรศการที่กำลังจะมาถึงในกรุงเทพ ในช่วงปลายเดือนกันยายน สตูดิโอที่ชื่อว่า C.A.P (Chiangmai Art on Paper) ซึ่งตั้งอยู่ที่ถนนนิมมานเหมินทร์ จังหวัดเชียงใหม่ เขากำลังทำงานอยู่กับเพื่อนๆ มีชาวต่าง ชาติมาพบเขาในตอนบ่าย ดิฉันเรียกเขาว่าอาจารย์กิติก้องเขาเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลล้านนา เขายิ้มและกล่าวว่าเขาได้ทำงาน เป็นอาจารย์สอนศิลปะมาเป็นเวลา 15 ปีแล้วและถึงเวลาแล้วที่เขาจะลาออกจาก งานปัจจุบันเพื่อเริ่มทำธุรกิจส่วนตัวตามที่เขาตั้งใจเอาไว้
จานีน: ดิฉันอยากทราบเรื่องราวของคุณมากกว่านี้
กิติก้อง: ผมเกิดที่จังหวัดลำปางซึ่งอยู่ห่างประมาณเกือบ 200 กิโลเมตรจาก จังหวัดเชียงใหม่ และจบปริญญาตรีจากคณะจิตรกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หลังจากที่เรียนจบแล้ว ผมไปศึกษาต่อด้านภาพพิมพ์ที่ college of Fine Arts, University of New South Wales ประเทศออสเตรเลีย งานภาพพิมพ์เป็นแนว ศิลปะที่น่าสนใจซึ่งต้องอาศัยการทำงานด้วยมือเป็นหลักมากกว่าเครื่องจักรที่ใช้ ทำงานด้านดิจิตอล ปริ้นท์ คนที่เข้าใจงานศิลปะจะรักในการรักษาผลงานเหล่านี้ เอาไว้ ถึงแม้ว่าโลกจะเปลี่ยนแปลงไปสนับสนุนเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ากว่าเดิม ผม เชื่อว่างานศิลปะที่มีความสร้างสรรค์ยังคงมีอยู่ งานเหล่านี้สามารถประเมินคุณค่า ได้และสมควรที่จะเก็บรักษาไว้
จานีน: คุณโชคดีมากที่ซื้อที่ดินแถวนี้เพราะทำเลดีมากสำหรับการทำธุรกิจ
กิติก้อง: มีความแตกต่างระหว่างงานภาพพิมพ์และงานพิมพ์แบบดิจิตอลซึ่ง สามารถสังเกตได้โดยง่าย เมื่อมองลวดลายของงานภาพพิมพ์อย่างใกล้ชิดด้วย แว่นขยาย ก็จะเห็นว่าทุกสีนั้นนุ่มนวลและผสมกันได้ดี ในทางตรงกันข้ามงานพิมพ์ แบบดิจิตอลจะเห็นจุดหมึกได้อย่างชัดเจนและลวดลายไม่นุ่มนวลเท่างานภาพ พิมพ์ ในความคิดของผมงานภาพพิมพ์ทำด้วยมือนั้นมีลักษณะพิเศษและมีความ น่าสนใจมากสำหรับศิลปินที่มีแรงบันดาลใจและนักสะสมงานศิลปะที่มีความชอบ ในงานแนวนี้ ผมยังคิดอีกว่างานภาพพิมพ์แบบดั้งเดิมสามารถที่จะซึมซับหัวใจและ จิตใจของคนได้
ในกรณีนี้ผมอยากจะอธิบายความหมายของงานภาพพิมพ์และงานพิมพ์แบบ ดิจิตอลเพราะหลายคนอาจเกิดความสับสนระหว่างคำศัพท์ทั้งสองคำนี้ สำหรับงาน ภาพพิมพ์ ศิลปินจะจำกัดจำนวนภาพที่เขาสร้างเอาไว้อย่างแน่นอนและต้องแน่ใจ ว่างานของเขาไม่ได้ผลิตออกมามากกว่าจำนวนนั้น การทำสำเนาภาพพิมพ์ทุกชิ้น ต้องทำด้วยมือเท่านั้น คุณภาพสามารถควบคุมได้เนื่องจากจำนวนที่มีจำกัด นอกเหนือไปจากนี้ กระบวนการทำภาพพิมพ์นั้นมีความยากลำบากและซ้ำซ้อนแต่ สำหรับบางคนแล้วนั่นคือรางวัลอันมีค่า อย่างไรก็ตามงานพิมพ์แบบดิจิตอลคือไฟล์ ภาพความละเอียดสูงมาจากคอมพิวเตอร์ที่สามารถพิมพ์ที่ใหนก็ได้และมีจำนวน เท่าไหร่ก็ได้ถ้าคุณมีปริ้นเตอร์ที่ดีและมีหมึกสีมากพอ
ราคางานภาพพิมพ์ที่C.A.P. นั้นมีราคาไม่แพงและสามารถซื้อไปตกแต่งบ้านได้ ลูกค้าชาวไทยและชาวต่างประเทศส่วนมากจะมาที่สตูดิโอเพราะชื่อเสียงของเขา
จานีน: คุณทำงานศิลปะมากี่ปีแล้วคะ
กิติก้อง: ประมาณ 20 ปีแล้วครับที่ผมเป็นศิลปิน หลังจากจบจากภาควิชา จิตรกรรม ภาพพิมพ์ และปฎิมากรรม จากคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผมไปศึกษาต่อปริญญาที่ College of Fine Arts, University of New South Wales (COFA UNSW) ประเทศออสเตรเลีย ผมได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องธุรกิจและ การตลาดภายหลังจากที่ได้ร่วมงานกับศิลปินและอาจารย์มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง หลายท่านในออสเตรเลีย เมื่อผมกลับมายังจังหวัดเชียงใหม่ก็ซื้อที่ดินและอาคาร บนถนนนิมมานเหมินทร์ไว้เมื่อเจ็ดปีที่แล้วและเริ่มธุรกิจของตนเอง
จานีน: คุณโชคดีมากที่ซื้อที่ดินแถวนี้เพราะทำเลดีมากสำหรับการทำธุรกิจ
กิติก้อง: เมื่อมีความพร้อมแบบนี้แล้ว ผมตัดสินใจจะลาออกจากงานปัจจุบัน มหาวิทยาลัยราชมงคลเทคโนโลยีล้านนาในอีกไม่นานนี้แต่ผมก็ยังคงเป็นอาจารย์ พิเศษได้เช่นเดียวกัน
จานีน: งานของคุณเกียวกับการเปลี่ยนแปลงและความเคลื่อนไหวอย่างไร
กิติก้อง: ในปีพ.ศ. 2546 คอนที่ผมยังอยู่ที่นิวเซาท์เวลส์ ออสเตรเลีย ผมทำการ ออกแบบที่เรียกว่า Etching (แม่พิมพ์โลหะ) เป็นงานโปรเจ็คสำหรับการจบ การศึกษา เป็นเรื่องของตัวอักษรไทยที่มีความสลับซับซ้อนมาก นี่คือเรื่องราวของ เส้นที่สร้างเงาของพื้นที่ แล้วตัดบางส่วนของตัวอักษรมารวมกับงานหลายๆส่วนแต่ ผมไม่ยึดติดกับศิลปะแบบใดแบบหนึ่ง เราสามารถประยุกต์ใช้ในงานศิลปะหลาย ชนิดรวมทั้งในบ้านและการตกแต่งโฆษณาหรือการพิมพ์สื่อหลายๆ ชนิด ในปีพ.ศ. 2548 ผมจัดนิทรรศการและสร้างโปรเจ็คที่เรียกว่า "Visions of lines" (การมอง เส้น) จนกระทั่งปีพ.ศ. 2550 งานของผมส่วนใหญ่เป็นสีน้ำมันบนผ้าใบ ภาพพิมพ์ โลหะ (Etching) ภาพพิมพ์หิน (Lithography)ปีพ.ศ. 2553 งานภาพพิมพ์ของผม เรียกว่าเป็นงานภาพพิมพ์รูปนามธรรมลายไหม้ที่มีความคล้ายคลึงกับสีเบจ ปีพ.ศ. 2554 ภาพพิมพ์แกะเหล็กยังคงเป็นที่นิยมพร้อมด้วยสีสว่าง ในปีนี้คุณจะเห็นรอบๆ สตูดิโอของผมมีงานที่ใช้สีตัดกันเป็นแนวคิดหลักซึ่งดูจะรู้สึกดีที่ได้พบเห็นและ ทำงานร่วมกับเพื่อนๆ ความคิดสร้างสรรค์และเพื่อนร่วมงานจะนำความสุขและ ดึงดูดจินตนาการของคนรุ่นใหม่ที่สามารถจะเป็นสื่อสำหรับใช้ในหลายโอกาสที่ เหมาะสมและเพื่อนำชีวิตของเรากลับสู่ความสุขของเส้นและสีสันต่างๆ
|
|