นิทรรศการสีน้ำ 60th Anniversary World Master's จัดขึ้นระหว่างวันที่ 6-31
มกราคม 2568 โดยเป็นนิทรรศการศิลปะสีน้ำระดับนานาชาติเนื่องในโอกาสครบรอบ
60 ปี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ "Lanna Landscape" เป็นโครงการศิลปะที่จัดโดยคณะ
วิจิตรศิลป์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เป็นเรื่องราวของศิลปะสีน้ำ
ซึ่งเป็นโครงการแรกที่
จัดขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่
รองศาสตราจารย์อุดม ฉิมภักดี คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เจ้าของ
โครงการที่ต้องการสร้างผลกระทบต่อสังคมไทย มีความสนใจทั้งด้านจิตรกรรมและ
ประติมากรรม โดยเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยที่มีผลงานประติมากรรมสำคัญๆ ใน
กรุงเทพฯ เคยทำงานด้านประติมากรรมกับประเทศจีน จึงมองเห็นความสำคัญของ
โครงการนิทรรศการสีน้ำ โดยได้ร่วมมือกับศิลปินที่มีชื่อเสียงในประเทศไทย จึงได้
เชิญศิลปินระดับปรมาจารย์จากประเทศไทยและต่างประเทศ รวมถึงศิลปินสีน้ำหน้า
ใหม่ที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมงาน โดยทั้งสองได้มีโอกาสพบกันครั้งแรกในจังหวัด
เชียงใหม่ อาจารย์อิงอร หอมสุวรรณ์ ศิลปินสีน้ำระดับ World Master ผู้ผลิตสีน้ำ
เกรด Artist ให้กับมหาวิทยาลัยศิลปากร ท่านเคยเป็นอาจารย์สอนให้กับ
มหาวิทยาลัยศิลปากร และเป็นอาจารย์พิเศษสอนสีน้ำ ทำให้ การทำงานระดับ
มหาวิทยาลัยในประเทศไทยได้ก้าวสู่โลก
ในงานนี้จะมีการเชิญและแสดงผลงานของศิลปินแห่งชาติ เข้าร่วมแสดงงาน
ตลอดจนศิลปินสีน้ำผู้ทรงคุณวุฒิ สาขาต่างๆ และเข้าร่วมแสดงงาน ซึ่งได้รับความ
ร่วมมืออย่างดียิ่ง เริ่มส่งงานมาให้ผู้ร่วมงานได้ชื่นชมกัน และส่วนที่สำคัญในงานคือ
การเชิญศิลปินสีน้ำระดับมาสเตอร์หลายท่านของประเทศไทย ศิลปินสีน้ำที่มีชื่อเสียง
ให้มาร่วมงาน และศิลปินจากเกือบทุกจังหวัด จำนวนสองร้อยกว่าท่านเข้าร่วมแสดง
และสาธิตงาน ตลอดจนศิลปินที่ได้รับการคัดเลือก จาก การส่งงานขอเข้าร่วมงาน ใน
ครั้งนี้
IWM(International Watercolour Masters) เป็นองค์กรศิลปินสีน้ำตั้งอยู่ใน
ประเทศอังกฤษ ระดับมาสเตอร์ของโลก ซึ่งมี LaFe คุณศรัทธา หอมสวัสดิ์ ซึ่งเป็น
สมาชิกของ IWM ได้ประสานงานเพื่อมาร่วมแสดงงานและสาธิต ที่ได้เชิญมาร่วม
งานประมาณ 13 ท่าน เพื่อเฉลิมฉลองมรดกของมหาวิทยาลัยผ่านการจัดแสดงผล
งานศิลปะสีน้ำระดับโลกและระดับท้องถิ่น งานนี้เน้นย้ำถึงวัฒนธรรมและความคิด
สร้างสรรค์ของล้านนา ซึ่งสอดคล้องกับวาระเชิงกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยในการ
พัฒนาอย่างยั่งยืนและการสร้างแบรนด์สร้างสรรค์ภายในภูมิภาค นิทรรศการนี้มุ่งหวัง
ที่จะเน้นให้เชียงใหม่เป็น "แพลตฟอร์มล้านนาสร้างสรรค์" ที่ผสมผสานศิลปะ
วัฒนธรรม และการออกแบบ
ช่วงปลายเดือนตุลาคม 2567ดิฉัน มีโอกาสเรียนรู้เกี่ยวกับนิทรรศการสีน้ำที่จัดโดย
คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณสุทนี ผาวิจิตร ผู้
ประสานงานโครงการ
JY.
กลุ่มเป้าหมายหลักของนิทรรศการนี้คือใคร?
SP.
กลุ่มเป้าหมายหลักคือ นักศึกษา อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และบุคลากรของ
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภาพสีน้ำเป็นภาพที่คนทั่วไปเข้าถึงได้ง่าย สามารถสัมผัสได้
ทำให้ผู้คนจะไม่รู้สึกเคอะเขินมาชมงานศิลปะ
JY.
นิทรรศการนี้ต้องการดึงดูดนักศึกษา ศิลปินท้องถิ่น นักท่องเที่ยว หรือประชาชน
ทั่วไปหรือไม่?
SP.
ผลงานสีน้ำภายใต้หัวข้อLanna Landscape จะสะท้อนถึงรากเหง้าของ
วัฒนธรรมไทยผ่าน สถาปัตยกรรม วัดวาอาราม ตลอดจนภาพประเพณีวัฒนธรรม การ
ดำเนินชีวิต ที่ทั้งศิลปินไทยและต่างชาติร่วมสะท้อนผ่านผลงานสีน้ำช่วยตอกย้ำถึง
ความร่ำรวยทางวัฒนธรรมของไทย เป็นการส่งเสริมของท่องเที่ยวทางหนึ่ง
JY.
วัตถุประสงค์หลักของนิทรรศการนี้คืออะไร?
SP.
จุดประสงค์หลักคือ การส่งความงดงามทางสุนทรียะจากการถ่ายทอดของศิลปิน
ไทยและต่างประเทศสู่ผู้คนในสังคม
JY.
กิจกรรมหรือรูปแบบนิทรรศการจะเป็นอย่างไร?จะเป็นการแสดงผลงานของ
ศิลปินท้องถิ่น สร้างแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่ หรือส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิง
ศิลปะในเชียงใหม่ กิจกรรมหรือรูปแบบนิทรรศการจะเป็นอย่างไร
SP.
การจัดนิทรรศการครั้งนี้มีจุดเด่นคือจะมีการสาธิตสีน้ำก่อนมีนิทรรศการ เพื่อเป็น
ประชาสัมพันธ์งานผ่าน 3 หัวข้อ ที่มีความท้าทายในการทำงานของศิลปินดังนี้
- Demo สาธิตสีน้ำ Experimental Watercolor ณ คณะวิจิตรศิลป์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2567
- Demo สาธิตสีน้ำ Floral Watercolor/Still live ณ อิงกา แกลเลอรี่ อำเภอดอย
สะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 7 ธันวาคม 2567
- Demoสาธิตสีน้ำ Innovation Watercolor ณ มะกอก อาร์ต สเปซ ตำบลน้ำแพร่
อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
จะมีการมอบโล่เกียรติคุณ CMU-WMW 2025 สำหรับศิลปินไทยที่ผ่านการเลือกจาก
คณะกรรมการไทยและต่างประเทศร่วมกันคัดเลือกจำนวน 20 คน เพื่อเป็นกำลังใจให้
ศิลปินสีน้ำ
และในช่วง8-10มกราคมเราจะมี การเสวนาจากศิลปินสีน้ำ การสาธิตสีน้ำร่วมกันของ
ศิลปินไทยและต่างประเทศ
JY.
สถานที่และงบประมาณสำหรับการจัดงานมีความพร้อมหรือไม่? ความสำเร็จของ
โครงการนำร่องจะถูกวัดผลอย่างไรคะ
SP.
งบสนันสนุนหลักของโครงการนี้มาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การประเมินจะมีแบบฟอร์มออนไลน์ ติดตามได้ทาง FB: CMU-World Master's
Watercolor
นิทรรศการจะจัดขึ้นที่หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
CMU-WMW จะเป็นสร้าง branding ครั้งแรกของวงการสีน้ำไทย ที่สามารถเชื่อมโยง
กับองค์กรสีน้ำในต่างประเทศในอนาคต
|