ในขณะนี้เป็นเวลาพิเศษในกรุงเทพที่จัดงานนิทรรศการของศิลปินแห่งชาติ
อาจารย์ประเทือง เอมเจริญ งานนิทรรศการอยู่ที่ชั้น 8 ของหอศิลปวัฒนธรรมแห่ง
กรุงเทพมหานครในระหว่างวันที่ 2 กันยายน – 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ในครั้งก่อน
ดิฉันไปเยี่ยมชมหอศิลป์เอมเจริญที่จังหวัดกาญจนบุรี ได้สัมภาษณ์คุณศรีศิลป์
เอมเจริญ ลูกสาวคนสุดท้องของอาจารย์ประเทือง เอมเจริญ เธอเป็นภัณฑารักษ์ของ
หอศิลป์แห่งนี้ ในครั้งนี้ดิฉันมีโอกาสทำการสัมภาษณ์อย่างใกล้ชิดกับคุณพ่อของเธอ
ซึ่งตอนนี้มีอายุ 81 ปี เราได้พูดคุยกันเรื่องสุขภาพ งานนิทรรศการที่กำลังจะมาถึงและ
หลักการทำงาน
จานีน:สุขภาพของอาจารย์เป็นอย่างไรบ้าง
ประเทือง: สุขภาพของผมในภาพรวมก็เหมือนกับผู้สูงอายุคนอื่นๆ ที่อยู่ในวัยเดียวกัน
ผมทราบดีถึงอาการเจ็บป่วยของตัวเองและไปพบแพทย์เป็นประจำ ในช่วงฤดูร้อนที่
ผ่านมาผมทานได้น้อยลงและน้ำหนักลดลงไปมาก บุญยิ่งภรรยาคนที่สามของผมดูแล
ผมดีมาก ถึงแม้ว่าสุขภาพของผมในปัจจุบันไม่สามารถเปรียบเทียบได้กับเวลาในอดีต
ผมรู้สึกดีใจที่ลูกหลานมาเยี่ยมบ่อย พวกเขารู้จักผมดีว่าผมชอบฟังเพลงและร้องเพลง
ก็เลยซื้อเพลงไทยเก่าๆ เพลงลูกทุ่งมาให้ผมฟังทั้งวัน บ่อยครั้งที่ผมวาดรูปและร้อง
เพลงในเวลาเดียวกันทำให้ผมมีความสุขมาก
จานีน: อาจารย์ยังวาดรูปทุกวันหรือเปล่าคะ
ประเทือง: ครับผมยังวาดอยู่ทุกวัน สำหรับผมแล้วการวาดรูปก็เหมือนการหายใจ เป็น
ส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของผม หลังจากตื่นนอนสิ่งแรกที่ผมทำคือวาดอะไรสัก
อย่างด้วยปากกาลงในสมุดวาดเส้นแล้วจากนั้นจึงไปแปรงฟัน หลังจากทานอาหารเช้า
แล้วผมวาดรูปต่อแล้วจึงค่อยหยุดพักเมื่อรู้สึกเหนื่อยมากเกินไป
จานีน: ดิฉันอยากทราบเกี่ยวกับงานนิทรรศการแสดงผลงานของอาจารย์ครั้งล่าสุด
ประเทือง: งานนิทรรศการจะถูกจัดขึ้นโดยหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
ภาพเขียนในนิทรรศการทำขึ้นมาในช่วงปี 2506 -2548 งานนิทรรศการครั้งนี้ค่อนข้าง
จะต่างไปจากครั้งก่อนที่ผมเป็นผู้จัดงานด้วยตัวเองในปีพ.ศ. 2548 เป็นการสะท้อน
มุมมองของทีมงานภัณฑารักษ์แทนที่จะเป็นศิลปินคนเดียว ดังนั้นการจัดงาน การจัด
กลุ่มผลงานและประเภทของงานนิทรรศการก็ต่างกัน ชื่อของงานนิทรรศการคือ
ประเทือง เอมเจริญ “ร้อยริ้วสรรพสีสรร ตำนานชีวิตและสังคม” งานนิทรรศการอยู่ที่
ชั้น 8 ของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครในระหว่างวันที่ 2 กันยายน – 25
พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ในระหว่างงานแสดงนิทรรศการภัณฑารักษ์จะนำทางผู้มา
เยี่ยมชมไปดูภาพเขียนและจะมีกิจกรรมเสวนาพูดคุยเกี่ยวกับตัวผมและผลงานโดย
กลุ่มลูกศิษย์และสมาชิกกลุ่มธรรม ผู้เยี่ยมชมสามารถเข้ารับฟังการพูดคุยได้ ทีมงาน
ภัณฑารักษ์ยังจัดให้มีกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็ก (รับจำนวนจำกัด) เดือนละหนึ่งครั้ง
ผลงานชิ้นเด่นในงานนิทรรศการคือความเสียสละ(พระพุทธเจ้าบำเพ็ญทุกรกิริยา)
ธรรมะและอธรรม (ภาพเขียนชิ้นนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเหตุการณ์ทางการเมืองใน
ประเทศไทยในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2519) ผมใช้เวลาวาดภาพนี้เป็นเวลาหนึ่งปีซึ่งมี
ขนาดความยาวเกือบ 6 เมตร ผลงานชื่อ สมาธิ และภาพเขียนที่สวยงามอีกหลายรูปที่
ได้ขอยืมมาจากนักสะสมเช่น ดนตรีแห่งจักรวาล (รูปนี้เป็นส่วนหนึ่งของผลงานรูปชุด
จักรวาลซึ่งทำให้ผมมีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับว่าเป็นศิลปิน) และผลงานชื่อใบบัว
(หยดน้ำบนใบบัวเป็นผลงานภาพเขียนของผมอีกชุดหนึ่งที่สวยงามและนักสะสมต่าง
เสาะแสวงหามาเก็บไว้)
จานีน: หลักสำคัญในการทำงานที่อาจารย์อยากพูดถึง
ประเทือง: เพื่อที่จะสร้างงานศิลปะที่ดีงาม ผมอุทิศตัวเองและชีวิตของผมให้กับการ
เรียนรู้โดยที่ไม่ต้องสิ้นเปลืองเงินทองมากมายหรือต้องพึ่งพาใครก็ตาม โรงเรียนศิลปะ
ของผมอยู่ที่ใดก็ได้ไม่ว่าจะบนพื้นดิน ใต้น้ำ หรือในอากาศ
ศิลปะอยู่ในทุกอณูของธรรมชาติ ผมเลือกวิธีที่ง่ายและตรงที่สุดในการนำเสนอ
ความคิด นั่นก็คือถ้าผมอยากรู้เกี่ยวกับอะไรสักอย่างหนึ่ง ผมจะเข้าไปสัมผัสและศึกษา
สิ่งนั้นโดยตรง ผมเชื่อว่าธรรมชาติคือครูสอนสัจธรรมที่แท้จริง มันง่ายมากสำหรับผมที่
จะศึกษาอะไรก็ตามจากธรรมชาติ คำสอนจากธรรมชาตินั้นมีความชัดเจนและแตกต่าง
ทั้งภายในและภายนอก สามารถปัดเอาความมืดของความไม่รู้ออกไปและนำพาแสง
สว่างแห่งความรู้มาให้กับเราทั้งหมดทุกคน
เมื่อใดก็ตามที่ผมไปเรียนรู้จากโลกที่สอนผมในเรื่องความเสียสละและทำให้ผมเห็น
ความดีงามจากการอุทิศตนเพื่อสิ่งมีชีวิตทั้งหมดเช่นพืช สัตว์ และมนุษย์ ภูเขาได้รับ
การรองรับน้ำหนักจากแผ่นดิน ผมเห็นอย่างชัดเจนว่าดินแดนที่มีแผลนั้นเต็มไปด้วย
ความเสียสละ พื้นดินสามารถทำให้นุ่มหรือแข็งได้ตามแต่การใช้งาน ดินยังสามารถเป็น
ฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือหรือก้อนผลึกขนาดใหญ่ที่มีความคงทน ทุกรูปแบบและขนาด
ของเปลือกโลกลงไปจนถึงจุดศูนย์กลางของโลกมีคำสอนที่แท้จริงซึ่งเป็นความงดงาม
ที่สมบูรณ์พร้อมและมีอำนาจในทุกสิ่ง
|
นอกเหนือจากนี้ผมยังคงเห็นความดีงามของแผ่นดินอยู่ในดอกไม้และพืชพันธุ์ต่างๆ
เช่นข้าว ผมได้สัมผัสและลิ้มลอง ได้เห็นวงจรชีวิต การเริ่มต้น ความเปลี่ยนแปลง และ
การสิ้นสุดในทุกวงจรของเวลา เพื่อที่จะหาความรู้ในแผ่นดินให้มากกว่านี้ แผ่นดิน
ไม่ได้สอนให้ผมเพียงแค่ความงามที่มองเห็นได้ในรูปร่าง ปริมาณ สีผิว และธาตุต่างๆ
เพราะว่ามันเป็นเพียงเปลือกนอกของความรู้ แต่ยังได้สอนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่เป็น
อิสระ ความงามภายในและภายนอกเต็มไปด้วยชีวิตและจิตวิญญาณ แผ่นดินบอกกับ
ผมว่าความดีงามเหล่านี้เป็นความสวยงามที่แท้จริงเหนือการเวลา
จานีน: นอกจากการเขียนภาพแล้ว ดิฉันได้ยินมาว่าอาจารย์ชอบเขียนบทกวีและ
บทความด้วย
ประเทือง: ผมจะขอยกบทกวีบทหนึ่งที่ผมเคยเขียนไว้
การเสพศิลปะ อย่าดูรูปแค่สีสัน อย่าดูรูปแค่ท่าทีของพู่กัน
อย่าดูรูปแค่เรื่องราวที่ตัวรู้ อย่าดูรูปแค่เทคนิค
อย่าดูรูปแค่องค์ประกอบ อย่าดูรูปด้วยความรู้ทางวิชาการ
อย่าดูรูปด้วยใจอคติ อย่าดูรูปด้วยชอบไม่ชอบ
อย่าดูรูปแค่สวยไม่สวย อย่าดูรูปในขณะที่ไม่มีสมาธิ
จงดูรูปด้วยความปลอดโปร่งใจ
|