www.scene4.com
Jirawat Phirasant | Janine Yasovant | Scene4 Magazine | November 2019 | www.scene4.com

 จิรวัฒน์ พิระสันต์
การพัฒนานวัตกรรมของศิลปะ
คนเปลี่ยนศิลปะก็เปลี่ยนตาม

จานีน ยโสวันต์

ป็นโอกาสของดิฉันที่ได้สัมภาษณ์ศาสตราจารย์ ดร. จิรวัฒน์ พิระสันต์ ที่ตอนนี้
ดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร ดิฉันได้เห็นผลงานและคอย
ติดตามงานประชุมเชิงปฎิบัติการในประเทศไทยและต่างประเทศเช่น จีน เกาหลีใต้
เวียตนาม อินโดนีเซียและอีกหลายๆครั้งที่จังหวัดกระบี่ ประเทศไทย ทีมทำงานสำหรับ
การศึกษาทางศิลปะมีความเข้มแข็งอยู่เสมอและดูท่าทางมีความสุข ดังที่กล่าวกัน
ว่าจะเป็นกลุ่มที่ยอดเยี่ยมทางศิลปะในประเทศไทยที่คอยช่วยเหลือสังคมใน
รูปแบบงานโร้ดโชว์เชิงวิชาการ ในขณะที่ทำการสัมภาษณ์ดิฉันได้พบว่าการมอบ
ความรู้นั้นมาจากการเลี้ยงดูและการศึกษา ผลงานด้านวิชาการเรื่อง “การพัฒนา
คุณค่าของพื้นที่ภูมิวัฒนธรรมในเขตภาคเหนือตอนล่างด้วยนวัตกรรมทางด้าน
ศิลปะ” และ “การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมชุดธรรมชาติตามแนวความคิดศิลปะ
สมัยใหม่” อยู่ระหว่างการจัดทำ ดิฉันหวังว่าผลงานทั้งสองเล่มสามารถช่วยพัฒนา
การศึกษาศิลปะในบริบทของนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ในประเทศไทย

R14-cr

จากนี้ไปเป็นการสัมภาษณ์

จานีน: อยากให้อาจารย์เล่าเรื่องเกี่ยวกับตนเอง

จิรวัฒน์:ผมเกิดที่จังหวัดพิษณุโลก ที่อยู่ของผมมักมีคนเรียกว่า ชายขอบจะ
เขตในเขตเมืองก็ไม่ไช่ จะอยู่ชนบทก็ไม่ไช่ บ้านของผมอยู่ห่างจากใจกลางเมือง
พิษณุโลกแค่ 6 กิโลเมตร แต่ความรู้สึกของผมในตอนนั้นมันไกลมาก ในสมัยเด็ก
ผมชอบเขียนรูปมาก โชคดีที่บ้านผมมีภาพเขียนติดบ้านเต็มไปหมด ผลงานนี้เป็น
ฝีมือคุณน้าของผมซึ่งท่านจบมาจากที่โรงเรียนเพาะช่าง

บ้านของผมเป็นบ้านเดียวของตำบลที่ได้เรียนศิลปะกันหลายคน  ทั้งที่ตอนนั้นที่
พิษณุโลกไม่มีที่เรียนศิลปะ ญาติของผมทุกคนต้องเดินทางไปกรุงเทพฯ เพื่อตาม
ฝันของตนเองที่โรงเรียนเพาะช่างกันหลายคน ตระกูลของผมที่เป็นญาติกับทางฝั่ง
คุณแม่ก็ได้เป็นครูสอนที่โรงเรียนเพาะช่างในยุคนั้นก็คือ อาจารย์สุจริต หิรัญกุล ซึ่ง
มีฐานะเป็นลุงเป็นคนบุกเบิกให้ลูกหลานได้เรียนหนังสือกันโดยเฉพาะได้เรียน
ศิลปะที่โรงเรียนเพาะช่าง

DSC_5498-cr

จานีน:การศึกษาด้านศิลปะเป็นอย่างไรบ้าง

จิรวัฒน์: ในช่วงที่เรียนในระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนอนุบาลโรจนวิทย์ เป็น
โรงเรียนเอกชนที่สนับสนุนศิลปะเป็นอย่างมาก และผมก็มีโอกาสเป็นตัวแทนของ
โรงเรียนตลอดติดต่อกันหลายปี ได้มีโอกาสการแข่งขันในระดับโรงเรียนและระดับ
จังหวัดหลายครั้ง ซึ่งก็ได้ใบประกาศบ้าง ได้เหรียญบ้าง ไม่ได้บ้าง ตามปกติ เป็น
จุดเริ่มต้นที่ได้เรียนศิลปะอย่างที่ตนเองชอบและมีความสุขทุกครั้งได้เขียนรูป

จนกระทั่งมาเรียนที่โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมในชั้น ม.ศ. 1- ม.ศ. 4 ผมแทบจะ
ไม่มีการเรียนศิลปะหรือสร้างงานศิลปะได้ เนื่องจากว่าในสมัยนั้นผมต้องเรียน
วิชาการที่เขาเรียกกันว่าวิชาสามัญ ได้แก่วิทย์ คณิต ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และ
สังคม ผมคิดว่าเป็นวิชาที่สำคัญ แต่สมองผมเป็นสมองซีกขวา ส่วนซีกซ้ายแทบจะ
ไม่พัฒนาเลย ผมทุกข์ทรมาณมากที่ต้องจำสูตร ตัวเลข และต้องจำตรรกะมากมาย
ในยุคนี้ผมจึงเรียนได้ไม่ดี แต่ก็ไม่เกเรแค่ประคองตัวให้รอด ผมคิดเสมอว่าผมจะ
เรียนศิลปะมาตั้งแต่แรกๆ แต่เนื่องจากว่าอยู่ต่างจังหวัดจึงไม่มีที่เรียนศิลปะ จะ
เรียนเพาะช่างเหมือนญาติๆ ก็ต้องจบปวส. ก่อนแถวบ้านผมไม่มีเรียน ผมเรียนสาย
สามัญมาต้องเข้ามหาวิทยาลัยเท่านั้นมหาวิทยาลัยทางศิลปะก็มีแค่กรุงเทพ
เท่านั้นที่มีการเรียนการสอนกัน

พอขึ้นชั้นม.ศ.5 ผมขอแม่ไปเรียนที่กรุงเทพฯที่โรงเรียนปทุมคงคา ย่านเอกมัย
โดยคาดหวังว่าหลังจากจบที่นี้แล้วก็จะต่อศิลปะศิลปะให้ได้  และฝันก็เป็นจริง
ผมก็มีโอกาสได้ไปเรียนศิลปะที่วิทยาลัยครูจันทรเกษม ในระดับปกศ.สูงวิชาเอก
ศิลปศึกษา ซึ่งตอนนั้นรู้อย่างเดียวว่าอยากจะเรียนแค่งานศิลปะเท่านั้น ผมได้
คะแนนสูงมากอย่างที่ไม่เคยเป็น ผมเรียน 2 ปีก็จบโดยได้คะแนนเฉลี่ย 3.72
แล้วจากนั้นก็ไปต่อระดับปริญญาตรีอีก 2 ปีที่มหาวิทยาลันศรีนครินทรวิโรฒ
บางแสน หรือปัจจุบันนี้ก็คือมหาวิทยาลัยบูรพา

ในระหว่างที่ได้เรียนที่ มศว.บางแสนนั้น ผมเรียนภาคค่ำ ส่วนกลางวันผมได้ทำงาน
ที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลตำแหน่งช่างศิลป์เพื่อหาประสบการณ์ทาง
สร้างงานศิลปะหลาย ๆ แขนง ทั้งเขียนรูปประกอบฉาก ทำประติมากรรมออกแบบ
จัดนิทรรศการ ทำมา 2 ปี จนจบการศึกษา

DSC_5496-cr

ผมวางแผนการเป็นศิลปินมาตั้งแต่เด็กๆ ผมรู้อย่างเดียวว่าผมต้องเป็นศิลปินให้ได้
ผมได้เห็นครูบาอาจารย์ที่ทำงานศิลปะในสตูดิโออย่างต่อเนื่อง เช่น รศ.เทพศักดิ์
ทองนพคุณ ศ. สุชาติ เถาทอง และคนหลายๆ คน  ครูบาอาจารย์ในสมัยนั้นก็
ทำงานศิลปะพร้อมๆ กับสอนหนังสือไปด้วย ทำให้ตื่นตาตื่นใจรวมทั้งบรรยากาศที่
เพื่อนๆ ส่วนใหญ่ที่เข้ามาเรียนด้วยจบจากวิทยาลัยช่างศิลป์ โรงเรียนเพาะช่าง
วิทยาลัยเสาวภา และวิทยาลัยอาชีวศึกษา ซึ่งผมเป็นคนกลุ่มน้อยที่จบมาจาก
วิทยาลัยครูที่มีโอกาสได้เรียนต่อ

ประสบการณ์การมีโอกาสได้เรียนศิลปะมันฮึกเหิมและมีความมุ่งมั่นมาก กลางวัน
ผมทำงานศิลปะ กลางคืนผมเรียนศิลปะอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย ผมมีครูดี ผมมีเพื่อน
ดี ผมมีเพื่อนร่วมดี ผมจะไม่ปล่อยโอกาสหลุดลอยไปแน่ และจากการเรียนศิลปะที่
หนักหน่วง ทำให้ผมมีโอกาสแสดงงานกับเพื่อน ๆ หลายครั้งในเวลาต่อมา ถ้า
เทียบอายุประมาณ 18-19 ปีก็สามารถแสดงงานเองได้แล้ว แต่ผมคิดว่าผมยังไม่
พอและผมจะเรียนต่อทั้งที่รู้ว่ามันยากมาก

J200-cr

หลังจากที่ได้เรียนทางศิลปะที่มศว.บางแสนแล้ว ผมอยากทำอะไรเพื่อพ่อ-แม่บ้าง
ท่านอยากให้เป็นข้าราชการเหมือนท่าน ผมจึงไปสอบเป็นครูมัธยมศึกษาที่จังหวัด
กำแพงเพชร ผมได้สอนที่โรงเรียนคลองขลุงราษฎร์รังสรรค์  แต่ในระหว่างที่สอน
นั้น ผมมาเรียนภาษาอังกฤษที่ AUA Language Center จังหวัดพิษณุโลกอีก 2 ปี
เพราะผมจะต่อไปสอบเรียนต่อในระดับปริญญาโท ผมทราบว่าข้อสอบในระดับ
บัณฑิตศึกษาเป็นข้อสอบภาษาอังกฤษทั้งสิ้น  ประกอบกับผมก็เลยเขียนรูปอย่าง
หนักคนเดียวในโรงเรียน

จนกระทั้งผมสามารถสอนเข้ามาเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสาน
มิตรได้ภายในครั้งเดียว ผมได้เรียนกับศ.(พิเศษ) อารี สุทธิพันธุ์  ศ.ดร.วิรุณ ตั้ง
เจริญ ผศ.อำนาจ เย็นสบาย และอีกหลาย ๆ ท่านที่ผมสอนในเรื่องของผลงาน
ศิลปะร่วมสมัย กระบวนการทางศิลปะ วิธีคิดและวิจัยทางศิลปะ นอกจากนี้ที่ตั้ง
มหาวิทยาลัยฯ อยู่ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ ผมไปดูงานทุกหอศิลป์ในกรุงเทพ
ได้เห็นงานของรุ่นพี่หลายๆ คน ได้เห็นงานจากศิลปินที่มีชื่อเสียงหลายๆ ท่าน
รวมทั้งผมมีโอกาสได้แสดงงานบ่อยครั้งขึ้น ผมเก็บเกี่ยวประสบการณ์ทั้งผลงาน
ศิลปะและวิชาการทางศิลปะเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ

หลังจากจบการศึกษาระดับปริญญาโท ก็กลับไปอยู่โรงเรียนมัธยมศึกษาอีก 2ปี
และผมก็ย้ายมาที่ก็มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งเป็นปีแรกที่เปลี่ยนชื่อจาก
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก เป็นมหาวิทยาลัยนเรศวร การได้มี
โอกาสกลับบ้านเกิดในยุคแรกๆ ขึ้นมาในยุคนั้นผมก็ทำงานศิลปะต่อเนื่องโดยเริ่ม
สร้างสตูดิโอของตนเองที่บ้าน และผมมีโอกาสได้เป็นผู้บริหารดูแลหอศิลป์ของ
มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้นำศิลปินภาคเหนือตอนล่าง ศิลปินจากทั่วประเทศมา
แสดง หลังจากนั้นผมได้เริ่มรู้จักเพื่อนศิลปินจำนวนมาก และผมก็ร่วมแสดงผลงาน
ศิลปะกับเพื่อนๆ ศิลปินมากยิ่งขึ้น ผมยังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจาก
มหาวิทยาลัยนเรศวรอีกด้วย

จานีน: อยากให้พูดถึงโครงการทำเวิร์คช็อปศิลปะนานาชาติในประเทศไทย

DSC_3375-cr

จิรวัฒน์: คนที่ทำให้ผมเปลี่ยนอีกจุดหนึ่งก็คือพี่แป้ง หรืออาจารย์วัฒนโชติ
ตุงคะเตชะ ได้มีโอกาสไปที่หอศิลป์  มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้เห็นผลงานผมและรู้
ว่าผมเป็นรุ่นน้องจบที่มศว. บางแสนด้วยกัน และพี่แป้งก็เคยเป็นครูเก่าของมศว.
พิษณุโลก จึงชวนผมไปแสดงงานศิลปะด้วยกัน ผมตอบตกลงทันทีโดยไม่ต้องคิด

ผมก็ได้มีโอกาสไปแสดงงานกับอาจารย์วัฒนโชคอยู่หลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม
ศิลปิน กลุ่มศิลปินต่าง ๆ ในเขตภาคเหนือตอนล่าง กลุ่มแสดงงานกลุ่มครูศิลปะ
รวมทั้งมีการทำเวิร์คช็อปในระดับชาติและระดับนานาชาติหลายๆ ครั้ง ทำให้สะสม
ประสบการณ์และฝีมือขึ้นมาเป็นระยะ ๆ จนกระทั่งผมคิดว่าผมพร้อมจะจัด
ศิลปกรรมนานาชาติที่มหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นครั้งแรกขึ้น ผมจึงวางแผนทำงาน
ใหญ่สำหรับประเทศชาติขึ้น  ผมรู้ว่าต้องมีการเตรียมตัวเป็นเวลานาน และผมก็มี
โอกาสได้พูดคุยกับ ดร.กมล ทัศนาญชลีว่าผมอยากจะจัด Art workshop
Internationalที่มหาวิทยาลัยนเรศวร ท่านก็ให้คำแนะนำเป็นระยะ ๆ

จากนั้นก็จะมีจุดเปลี่ยนของชีวิตอีกครั้งหนึ่งก็คือ ที่สมาคมศิลปกรรมประเทศ
เกาหลีใต้ เชิญดร.กมล ทัศนาญชลี และอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ไป Art workshop
International ที่ประเทศเกาหลีใต้ แต่ทั้ง 2 ท่านเห็นว่าน่าจะสร้างศิลปินคนรุ่น
ใหม่ก็เลยได้เชิญอาจารย์วัฒนโชติ ตุงคะเตชะ ไปพร้อมทั้งได้เชิญผมในฐานะเป็น
คนที่กำลังจะดำเนินการจัดศิลปะนานาชาติขึ้นในประเทศไทย เป็นครั้งแรกที่ผมได้
Art workshop Internationalและแสดงงานศิลปะในต่างประเทศเป็นครั้งแรก ผม
เรียนรู้ทุกอย่างที่อยู่ในประเทศเกาหลีใต้ สถานที่จัดงาน วัสดุอุปกรณ์ การจัดการ
ระบบต่าง ๆ อาหารการกิน ที่พักอาศัย และนิสัยใจคอของศิลปิน รวมทั้งมีโอกาส
ได้ทาบทามเพื่อนศิลปินอีกหลาย ๆ คน ครั้งนี้ผมได้เรียนรู้ต่าง ๆ อย่างมากมายทั้ง
ผลงาน ศิลปิน และการจัดการในระดับนานาชาติ

จนกระทั่งปีถัดมาผมได้จัดศิลปะนานาชาติขึ้นที่มหาวิทยาลัยนเรศวรขึ้นมา จุดนี้
เป็นจุดที่ทำให้ผมสร้างหอศิลป์ มหาวิทยาลัยนเรศวรที่ได้มาตรฐานและสมบูรณ์
ขึ้นมา ผมเลยทำงานและบริหารงานทางด้วนศิลปะควบคู่กัน สำหรับผลงานศิลปะ
ส่วนตัวนั้น ผมสร้างสตูดิโองานศิลปะเพื่อสร้างสรรค์ผลงานแสดงศิลปกรรมในเวที
ต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่วนในระดับนานาชาติจะแสดงทุกปี ปีละ
ประมาณ 2-3 ครั้ง นอกจากนี้ยังสร้างหอศิลป์ขึ้นที่บริเวณบ้าน ในพื้นที่ 4 ไร่ เป็นที่
เก็บผลงานจากศิลปินทั่วโลกให้เป็นแหล่งเรียนรู้อีกแห่งหนึ่ง

DSC_5499-cr

จานีน: มีอะไรที่อยากบอกเพิ่มเติม

จิรวัฒน์: จากการที่ผมได้มีโอกาสไปรู้จักและเรียนรู้กับเพื่อนศิลปินทั่วโลก ทำให้
ผมทำงานศิลปะมากขึ้นด้วยตามลำดับ ทำให้ผมมีแนวคิดว่าความเปลี่ยนแปลง
อย่างรวดเร็วของโลกในกระแสโลกาภิวัตน์นี้ ได้นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงอย่าง
เฉียบพลันต่อวิถีชีวิต แนวคิด ค่านิยมของผู้คนในสังคม เพราะศิลปะเกิดจากคน
เมื่อคนเปลี่ยนศิลปะก็เปลี่ยนตาม โลกาภิวัตน์จึงมีผลโดยตรงต่อวิธีคิด เทคนิค
รวมทั้งกระบวนการสร้างสรรค์ศิลปะทุกแขนง และเมื่อศิลปะนั้นถูกสร้างขึ้นแล้ว ก็
ได้ทำหน้าที่เป็นเครื่องหล่อหลอมผู้คนในสังคมต่อเนื่องกันไปอีก เป็นวงจรไม่มีที่
สิ้นสุด หากศิลปะจะเป็นเครื่องมือในการจรรโลงความดีงามของสังคมให้อยู่รอดกับ
ศิลปะที่กำลังรอคอยให้สังคมยื่นมือเข้ามาดูแลความอยู่รอดของตัวเองนั้นเป็นสิ่ง
เดียวกัน ความพยายามที่จะพึ่งพาตัวเองให้ได้อย่างแท้จริง น่าจะเป็นคำตอบ
สุดท้ายสำหรับการดำรงอยู่เหนือกาลของศิลปะทุกแขนงและทุกสรรพสิ่ง

DSC00036-cr

ประกอบกับภาระหน้าที่ความเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ทำให้ผมจะต้องทำวิจัย
ควบคู่กับการสอน รวมทั้งผมสนใจในศาสตร์อีกศาสตร์หนึ่งคือ การถ่ายภาพ ผม
เลยจำเป็นต้องไปเรียนกับศิลปินแห่งชาติ อาจารย์วรนันทน์ ชัชวาลทิพากร เวลานี้
ผมเลยทำงานพร้อม ๆ กันหลายด้านเป็นสิ่งเดียวกัน  ไม่ว่าจะเป็นการเป็นผู้สอน
นักวิจัย ผู้บริหารมหาวิทยาลัยฯ เป็นศิลปินทางด้านการจิตรกรรม ภาพถ่าย และก็
ทำทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับงานศิลปะของมหาวิทยาลัย รวมทั้งต้องไปแสดงงานใน
ประเทศ และต่างประเทศต่าง ๆ ทำให้ทุกวันนี้ผมมีความรู้สึกว่าผมทำงานทุกวัน
จนกระทั่งเป็นปกตินิสัยผมที่จะต้องตื่นขึ้นมาแล้วต้องทำงานศิลปะ ฝึกอย่าง
ต่อเนื่องจนกระทั่งผมคิดว่าผมก็คงจะต้องทำงานแบบนี้ตลอดไป

S21-cr

กรุณาลงความเห็น เกี่ยวกับบทความนี้ี้

Scene4 Magazine: Janine Yasovant

ส่ง
อีเมล์
หน้านี้

จานีน ยโสวันต์ เป็นนักเขียน
เธออาศัยอยู่ในเชียงใหม่ประเทศไทย
สำหรับบทความและบทวิจารณ์อื่นๆ ของ จานีน ยโสวันต์
กรุณาตรวจดู
 แฟ้มเก็บข้อมูล

Click Here for this article in English
©2019 Janine Yasovant
©2019 Publication Scene4 Magazine

 

 

Beauty Without Vanity

 Trending in This Issue

Bad Hair Day

Where’s My Roy Cohn?

Stock Images

Sleeping In Desert

www.scene4.com

  Sections~Cover · This Issue · inFocus · inView · inSight · Perspectives · Special Issues 
  Columns~Adler · Alenier · Bettencourt · Jones · Luce · Marcott · Thomas · Walsh 
  Information~Masthead · Submissions · Past Issues · Your Support · Archives · Books
  Connections~Contact Us · Comments · Subscribe · Advertising · Privacy · Terms · Letters

Search This Issue |

Search The Archives |

Share via Email

Scene4 (ISSN 1932-3603), published monthly by Scene4 Magazine–International Magazine
of Arts and Culture. Copyright © 2000-2019 Aviar-Dka Ltd – Aviar Media Llc.

November 2019

Scientific American - www.scene4.com
Calibre Ebook Management - www.scene4.com
Thai Airways at Scene4 Magazine
14990330623594616631