ถ้าคุณมีโอกาส เข้าชมงานนิทรรศการทางศิลปะ ของ นักศึกษาในประเทศไทย ในสถาบันอุดมศึกษา ที่จัดในหอ ศิลป์ ซึ่งสถาบันต่างๆจะจัดงานให้อย่างเป็นทางการ สิ่ง แรกเราจะเห็น ความตั้งใจจากการนำเสนองาน ผู้ร่วมชมงาน จะได้รับ หนังสือโปรแกรมของงานที่เรียกว่า แคตตาล็อกที่
มีรายละเอียดและภาพประกอบ รายนาม ผู้เสนองาน อาจารย์ที่ปรึกษา และรายละเอียดอื่นๆ อย่างน่าชื่นชม และ ติดตามด้วยช่อเข็มกลัดดอกไม้ ที่มอบให้ คุณผู้เข้าชม ให้ คุณทราบว่า เขาได้รับเกียรติ และได้รับความชื่นชมยินดี จากผู้มาร่วมงาน มากเพียงใด
จากนั้นคุณจะประหลาดใจ กับศิลปะของศิลปินรุ่นใหม่ ที่ ยังเรียนอยู่ในสถาบันการศึกษาที่สามารถ ทำให้คุณยอมรับ ความเป็นสากลของงานศิลปะของนักศึกษาใน ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย ที่มาจาก
ภาษาถิ่นอีสาน ลูกอีสาน สู้ สู้ คำกล่าวแห่งความภูมิใจ ที่ มีความหมายว่าการต่อสู้ เพื่อความสำเร็จ ของเด็กชาว อีสาน ที่เกิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
I-Saan เป็นคำเรียก ดินแดนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทยทั้งหมด ซึ่งเป็นภาคที่มีพื้นที่มากที่สุด
มีประชากรมากที่สุดในประเทศไทย ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็น ภาคที่มีรายได้ถัวเฉลี่ย น้อยที่สุดในประเทศไทย ภูมิภาคที่ มีความอุดมสมบูรณ์น้อยที่สุด เช่นกัน
บทความต่อไปนี้ เป็นความตั้งใจของดิฉัน สำหรับท่าน ผู้อ่าน ในประเทศไทย และทั่วโลก ที่รักงานศิลปะ มาทำ ความรู้จัก กับที่มาของกรรมการตัดสินงานศิลปะที่ตัดสินใจ ที่จะช่วยเหลือชุมชน เมื่อพบว่ามีความจำเป็นจะต้องยื่นมือ เข้าช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน และได้พบว่างานศิลปะของ
นักศึกษาเหล่านั้น เป็นงานที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง
อาจารย์ เจษฎา คงสมมาตร ศิลปินอิสระ ผู้มีชื่อเสียง และ มีงานแสดงศิลปะทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ที่มี โอกาสได้รับเชิญ ให้เข้าร่วมการตรวจ และประเมินผลงาน ของนักศึกษาหลายสถาบัน ของภาคอีสาน เป็นเวลาหลาย ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานจิตรกรรมและประติมากรรม
ต่อจากนี้เป็นบทสัมภาษณ์
JY. ดิฉันติดตามงานของคุณมาหลายปี มีคำถามที่อยากให้ ผู้อ่านได้รู้จัก กองทุนศิลปะอีสานบ้าง ขอช่วยเล่าความ เป็นมา ของกองทุนและตัวของคุณเอง ที่พยายามเข้ามา ช่วยเหลือนักศึกษา ถึงแม้ว่าคุณไม่ใช่อาจารย์สอนใน สถาบัน ดิฉันต้องการให้ผู้อ่านได้ทราบ เกี่ยวกับ โครงการ
ของคุณ สำหรับนักศึกษาอีสาน ของประเทศไทย ช่วยเล่า โครงการนี้ที่คุณเข้ามาเกี่ยวข้อง ได้อย่างไร
JK. ผมทำงานเป็นศิลปินอิสระมาหลายปีแล้ว ต่อมาก็ได้รับ เชิญมาเป็นกรรมการ ตรวจผลงานของนักศึกษา หลายๆ สถาบัน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผมพบปัญหาว่า ทำ อย่างไรที่จะหาทางช่วยเหลือ นักศึกษา ที่มีฝีมือ แต่ขาด แคลนทุนทรัพย์ ในการสร้างงาน ผมถามตัวเอง ผมจะช่วย พวกเขาได้อย่างไร ?
ผมและอาจารย์คนอื่นๆ และเพื่อนๆของผม ได้เห็นงานจาก นักศึกษาที่มีอายุน้อย กล่าวได้ว่างานดีจากพรสวรรค์ ของ เขาเหล่านั้นเลยทีเดียว และมีตัวอย่างเมื่อถึงฤดูกาลของ การแสดงงาน นักศึกษาก็ต้องการเงินสำหรับมาใช้ทำงาน เช่น แคตตาล็อก งาน ที่ต้องแจกฟรีให้ผู้เข้าร่วมชมงาน
ของใช้ในการ สร้างงาน ศิลปะก็แสนจะแพง ยิ่งเวลา เป็น งานแสดงครั้งสุดท้ายของการเรียน นักศึกษาก็ต้องจ่ายเงิน ทำงานเอง
จนมาถึงปี 2560 ผมจึงจัดตั้งกองทุน ศิลปะอีสาน โดย จุดประสงค์หลัก ในการช่วยเหลือ โปรโมทงานสร้างสรรค์
ส่งเสริม ผลักดันในการสร้างสรรค์ จัดแสดงผลงานศิลปะ นิพนธ์ ของนิสิตด้านศิลปะในภาคอีสาน ให้มีศักยภาพ คุณภาพ ให้ยิ่งๆขึ้นไป เริ่มจากการย้ายจากการแสดงงาน
ในมหาวิทยาลัย ไปห้างสรรพสินค้าในเมือง เพื่อเป็นการให้ ความรู้ กับผู้ชมในภาคอีสาน
โชคดีที่ว่าผมได้เป็นกรรมการตัดสิน ใน 13 สถาบันที่นั่น นักศึกษาของผมก็สามารถขายภาพวาด หรืองานปั้นต่างๆ ในเวลาเดียวกัน
ผมกลับมาใช้ เฟสบุ๊ค ทำการตลาดออนไลน์ ผมได้รับการ ตอบรับจากเฟสบุ๊คที่ดี และได้ใช้เงิน 200,000 บาทในการ ก่อตั้ง กองทุนศิลปะอีสาน
ปีต่อมาผมใช้รูปภาพที่ ผมวาด พิมพ์จำหน่าย เริ่มขายงาน จริงของตนเอง ก็ได้รับ การสนับสนุน จากนักสะสม ผมนำ เงินบางส่วนไปซื้องานของนักศึกษา และนำเงินกลับไปเป็น ทุนการศึกษาที่นักศึกษาต้องใช้เมื่อเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น เมื่อนักศึกษาเรียนจบจากมหาวิทยาลัยในภาคอีสาน
ตัวอย่างเช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาวิทยาลัยเอกชนอื่นๆ ต่างก็มี ความประสงค์จะเรียนต่อ ในสถาบันที่มีชื่อเสียง เช่น มหาวิทยาลัยศิลปากร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในระดับ ปริญญาโท กันทั้งนั้น
เมื่อรายได้ของกองทุนที่เข้ามา ผมก็ดำเนินการทำตาม จุดประสงค์ ที่วางไว้ ตามกติกา ซึ่งประกอบด้วย กิจกรรม ดังต่อไปนี้
1.ให้ทุนสนับสนุน และส่งเสริมการจัดนิทรรศการ ศิลปะ นิพนธ์ ของ13 สถาบัน 21 โครงการ ศิลปนิพนธ์ ในภาค อีสาน
2.ให้ทุนสนับสนุน ส่งเสริม เป็นรายบุคคล( โดยการช่วยซื้อ ผลงานศิลปนิพนธ์ เป็นรายบุคคล)
3.ให้ทุนสนับสนุน ส่งเสริมนิทรรศการครั้งสำคัญ ในภาค อีสาน อาทิ เช่น นิทรรศการประจำปีของแต่ละสถาบัน, นิทรรศการ 4 ชั้นปี ,นิทรรศการรวมภาพพิมพ์, นิทรรศการ รวมประติมากรรม เป็นต้น
4.ให้ทุนสนับสนุน ส่งเสริม ผลักดัน ให้นิสิตด้านศิลปะใน ภาคอีสาน ที่มีความสามารถสูง แต่ฐานะทางครอบครัวไม่ ค่อยดีนัก ได้มีโอกาสได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโท
มาจัดแสดงร่วมกัน ในนิทรรศการ"ศิลปนิพนธ์อีสาน"
5.จัดนิทรรศการรวมศิลปนิพนธ์ที่ดีที่สุดของภาคอีสาน มา จัดแสดงร่วมกัน ในนิทรรศการ"ศิลปนิพนธ์อีสาน"
มีโครงการเล็กๆอีกหนึ่งโครงการคือ โครงการพี่ช่วยน้อง
ที่จัดตั้งในปีนี้ ที่นำเงินที่ได้มาเพื่อนำไปจ่ายค่าเทอม ของ นักศึกษาระดับปริญญาโท ในเวลาที่ผ่านมา นอกจากการ ซื้อภาพวาดจากนักศึกษา และนำไปจำหน่ายเพื่อกองทุน ผมยังตัดสินใจนำผ้าไหมที่เก็บสะสมไว้ หลายชิ้นเป็น เวลานานมาแล้วนำออกมาขาย เป็นผ้าไหมจาก
นางคำสอน สระทอง ศิลปินแห่งชาติ และเมื่อ เดือนเมษา 2020 ที่ผ่านมา โครงการ"พี่ช่วยน้อง"...จากการประกาศ จำหน่าย ผ้าไหม ผ้าทุกชิ้นจะมีลายเซ็นของท่านกำกับไว้
โครงการพี่ช่วยน้อง ที่ เป็นงานผ้าไหม ของนางคำสอน
สระทอง ที่เป็นผ้าไหมมัดหมี่ ก็ได้ขายออกไป ผมพยายาม ติดต่อนักสะสม และเพื่อนๆที่ใช้ เฟสบุ๊ค บอกถึงงานสะสมที ผมมี มานานแล้ว ผมมีความประสงค์ จะเปิดประมูลงาน ออนไลน์ เพื่อเป็นการนำร่อง ในการช่วยเหลือ นักศึกษาที่
ได้รับผลกระทบ จากโรคระบาด โควิด 19 โดยการจัดตั้ง กองทุน
ผมยินดี ที่จะนำของสะสมหลายชิ้น ที่ผมรัก เช่นที่เป็นผ้า มัดหมี่ จากนางคำสอน สระทอง หาทุนเพื่อซื้อภาพของ นักศึกษา โครงการพี่ช่วยน้อง เป็นหนึ่งใน โครงการ I-saan Art Funds ซึ่งในปีจะจัดได้หลายครั้ง เป็นการหาเงิน มาซื้อ งาน ของนักศึกษา และเป็นค่าใช้จ่ายในรายการต่างๆ เท่าที่
จะทำได้ ผมโชคดีที่มีภรรยาที่เข้าใจ ร่วมแรงร่วมใจ กับ โครงการที่เกิดจาก ความคิดที่จะหาทางช่วยนักศึกษาศิลป อีสานที่มีฝีมือ บางคนได้รับรางวัลของผลงานมาแล้ว บาง คนยังเรียนต่อในระดับปริญญาโท
ผมยินดีนำผลงาน สุดรัก สุดหวง ของผม ที่ค่อยๆเก็บสะสม มานานบางชิ้น อยู่กับผมมาเกิน 20 ปี เพื่อนำออกมา จำหน่ายในราคาย่อมเยา รายได้ทั้งหมดสมทบทุน โครงการ
"พี่ช่วยน้อง" โดย"ทุนศิลปะอีสาน"
ผมขอเสนอผลงานของศิลปินที่ผมเคารพรัก ที่นำออกมา จำหน่ายในครั้งนี้
คุณยายคำสอน สระทอง ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประณีตศิลป์-ทอผ้า) พ.ศ.2559
ภาพวาดของ อาจารย์ประเทือง เอมเจริญ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พ.ศ.2548
ภาพวาดของศาสตราจารย์ สุชาติ เถาทอง
ภาพพิมพ์ ของรองศาสตราจารย์ เทพศักดิ์ ทองนพคุณ
งานปั้น ของอาจารย์ จุมพล อุทโยภาศ
และ งานของผมเองเจษฎา คงสมมาศ ซึ่งได้ขายออกไปใน ราคาที่ไม่แพง และจำหน่ายได้ทั้งหมด
ผมพยายามจะซื้องานของนักศึกษา ด้วยเงินกองทุนเท่าที่มี อย่างหนึ่งที่สามารถทำได้ ผมโชคดีที่มีภรรยาที่เข้าใจ ร่วม แรงร่วมใจ กับโครงการที่ ได้เข้ามาช่วย
ประวัติ
นายเจษฎา คงสมมาศ
เกิด 7 มกราคม 2518, จ.กาฬสินธุ์
- เรียนจบคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
จังหวัด ชลบุรี
นิทรรศการเดี่ยว:(โดยย่อ)
2543 - "กำเนิดวัฒนธรรม" ณ หอศิลป์วิทยนิทรรศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,กรุงเทพมหานคร
2544 - "Thai smiles" ณ Museum Plain เมือง อัมสเตอร์ดัม, ประเทศเนเธอร์แลนด์
2545 - "เรื่องเล่าจากพระจันทร์" ณ Take it Easy Art Gallery , ชลบุรี
2546 - "Silk Road" ณ หอศิลป์จามจุรีจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
- "Silk Road" ณ Guilford Gallery เมืองเพิร์ธ ประเทศออสเตรเลีย
2547 - "ถิ่นที่ฉันเกิด" ณ หอศิลปวัฒนธรรมภาค ตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี
2548 - "THAI LIVING" ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพมหานคร
2549 - "Silk Threads" ณ Gallery Opium ประเทศไทย
2550 - "Kalasin" ณ. La Artcore, เมืองลอสแอนเจลิส ประเทศ สหรัฐอเมริกา
2551 - "The Countryside Story", ณ Number 1 Gallery, กรุงเทพมหานคร
2554 - " HEET 12 " ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอ ศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพมหานคร
- " HEET 12 " ณ The Urban Sanctuary Art Gallery เมืองลอสแองเจิลรีส, สหรัฐอเมริกา
2557 - " ลำนำอีสาน " ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพมหานคร
2560 - "Relax" ณ Nature's Corner Gallery, Fonthill, เมืองออนแทริโอ, ประเทศแคนาดา
|