รองศาสตราจารย์สรรณรงค์ สิงหเสนี เป็นบุคคลที่น่าสนใจเป็นพิเศษ
ในด้านการศึกษาศิลปะในประเทศไทย ท่านเป็นคนที่น่าเคารพนับถือและเป็นที่รัก
ของลูกศิษย์ นับเป็นเกียรติสำหรับดิฉัน ที่ได้นำบทสัมภาษณ์มาเผยแพร่เกี่ยวกับ
ความก้าวหน้าของศิลปะการวาดภาพสีน้ำ ด้วยความตั้งใจที่จะช่วยเผยแพร่ผลงาน
ของศิลปินไทยไปสู่เวทีนานาชาติ บทความนี้เป็นการทบทวน ความเป็นหนึ่งใน
เอกลักษณ์ โดยเฉพาะการวาดภาพสีน้ำ ศิลปินทั่วโลกมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ใน
ความสัมพันธ์กับการแข่งขันสีน้ำ รองศาสตราจารย์ สรรณรงค์ สิงหเสนี ได้รับ
เลือกให้เป็นกรรมการ ตัดสินในการประกวดศิลปกรรมระดับชาติ การเดินทาง
ทำงานอย่างต่อเนื่องและประสบการณ์ของท่าน ที่จะช่วยให้ความสำเร็จของศิลปิน
ไทยเป็นที่ประจักษ์
JY.
กรุณาเล่าให้ฟังเกี่ยวกับชีวิตและครอบครัวของอาจารย์
SS.
ผมเกิดที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2494 ผมได้เข้าเรียนที่
โรงเรียนสตรีจุลนาค ถนนหลานหลวง ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนสำหรับเด็กชายและ
เด็กหญิง ผมเรียนที่นั่นอย่างมีความสุขตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 7
แล้วจึงย้ายมาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ที่โรงเรียนโยธินบูรณะ เป็นโรงเรียนชาย
ล้วนที่มีสไตล์ทหาร และในช่วงเวลานั้นผมได้รู้จักโรงเรียนช่างศิลป์ จากเพื่อนและ
รุ่นพี่ที่กำลังเรียนอยู่เป็นโรงเรียนที่สอนแต่ศิลปะเท่านั้นเหมือนโรงเรียนในฝัน ผม
มาสอบเพื่อเป็นนักเรียนช่างศิลป์รุ่นที่ 17 ที่บ้านคุณพ่อคุณแม่ของผมถามผม
ง่ายๆ ว่าจะทำอย่างไรเพื่อหาเลี้ยงชีพของตนเอง ตอนนั้นคิดไม่ออก ผมรู้เพียงแต่
ว่าผมต้องการเรียนการวาดภาพ ตอนเรียนอยู่ชั้น ปีที่ 1-3 (พ.ศ.2511-2513) กับ
เพื่อนร่วมชั้นคือ วิโชค มุกดามณี และ ศราวุธ ดวงจำปา (ปัจจุบัน อาจารย์ศราวุธ
ดวงจำปา ได้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ 2560 และศาสตราจารย์วิโชค
มุกดามณี ได้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ 2555 และได้เสียชีวิตเมื่อสองปี
ที่แล้ว)
ต่อจากนั้นผมก็สอบเข้าศึกษาที่คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์
มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นรุ่นที่ 29 ในปี พ.ศ. 2515-2519 เป็นหลักสูตร 5 ปี ผม
เลือกเรียนวิชาเอกจิตรกรรมสีน้ำมันตามที่นักเรียนศิลปะทุกคนใฝ่ฝัน และผมยัง
เลือกเรียนวิชาภาพพิมพ์ เพราะนักเรียนศิลปะจะชอบเทคนิคซิลค์สกรีนของ Andy
Warhol ซึ่งเป็นที่นิยมมากในตอนนั้น ตอนเราเรียนมหาวิทยาลัย เราหาเงินจาก
การพิมพ์เสื้อยืดขายและทำงานต่าง ๆ เพื่อหาเงินซื้อสีและกรอบผ้าใบจากเทคนิค
ซิลค์สกรีน มีเพื่อนร่วมชั้นที่ยังคงทำงานศิลปะมาจนถึงทุกวันนี้ คือ ปริญญา ตันติ
สุข ศรีวรรณ เจนหัตถการกิจ และ สมพง อดุลย์สารพัน (ปัจจุบันศาสตราจารย์
เกียรติคุณปริญญา ตันติสุข ได้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ 2561) และทุก
คนยังคงทำงานศิลปะมาจนถึงทุกวันนี้
หลังจากที่ผมเรียนจบปริญญาตรีคณะจิตรกรรม (เกียรตินิยมอันดับ 2) ผม
ได้สอบเข้าเป็นอาจารย์สอนศิลปะที่วิทยาลัยช่างศิลป์ เมื่อปี 2522 ขณะนั้น
อาจารย์สวัสดิ์ ตันติสุข (ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ 2534) เป็นผู้อำนวยการ
วิทยาลัย ผมได้รับมอบหมายให้เริ่มสอนสีน้ำให้กับนักเรียนชั้นปีที่ 1 ซึ่งผมรู้สึก
พอใจมากเพราะผมต้องการปลูกฝังความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสีน้ำที่ถูกต้องให้เด็ก ๆ
จากการเรียนที่ช่างศิลป์และมหาวิทยาลัยศิลปากร
ในปี 2523 วิทยาลัยช่างศิลป์ส่งผมไปสอบและได้รับทุน"โครงการเรือ
เยาวชนแห่งเอเชียอาคเนย์ 2523" ผมเป็นหนึ่งในเยาวชน 35 คน ในฐานะตัวแทน
ของประเทศไทยเดินทางและใช้เวลาสองเดือนบนเรือ Nippon Maru กับเยาวชน
35 คนจากอาเซียนและญี่ปุ่นจากแต่ละประเทศ สำหรับเยาวชนหลายคนในแต่ละ
ประเทศ นี่เป็นการเดินทางไปต่างประเทศครั้งแรกในชีวิตกับเยาวชนต่างชาติของ
เอเชีย
ขณะสอนอยู่ที่ช่างศิลป์ พ.ศ. 2525 อาจารย์วิโชค มุกดามณี อาจารย์
มณเฑียร บุญมา อาจารย์สมศักดิ์ เชาวน์ธาดาพงศ์ (ศิลปินแห่งชาติ สาขา
ทัศนศิลป์ 2560) อาจารย์ปัญญา วิจินธนสาร (ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์
2557) อาจารย์ศรีวรรณ เจนหัตถการกิจ อาจารย์พิชิต ตั้งเจริญ และตัวผม พร้อม
ด้วยคณาจารย์และศิลปินอิสระท่านอื่น ๆ ได้ก่อตั้งกลุ่มสีน้ำร่วมสมัยภายใต้ชื่อว่า
"กลุ่มไวท์"(The White Group) มีผลงานงานสีน้ำร่วมสมัยที่ไม่ยึดติดกับงานสีน้ำ
แนวประเพณีแบบดั้งเดิม เป้าหมายคือการสร้างสรรค์ค้นพบเทคนิคและวิธีการใหม่
ๆ ในการนำเสนอให้แก่วงการสีน้ำของประเทศไทย กลุ่มไวท์ได้จัดแสดงผลงานสี
น้ำร่วมสมัยอย่างต่อเนื่องทั้งในและต่างประเทศ มีนิทรรศการสีน้ำมานานกว่า 15 ปี
ติดต่อกันตั้งแต่ปี 2525-2540 เราเข้าร่วมสมาพันธ์สีน้ำแห่งเอเชียซึ่งมีสมาชิกจาก
ประเทศอาเซียน แต่ละประเทศหมุนเวียนเป็นเจ้าภาพซึ่งรวมถึงการจัดนิทรรศการ
"Asian Watercolour Exhibition" สองครั้งในประเทศไทยในปี 2532 และ 2538
ประสบความสำเร็จอย่างมาก
ต่อมาผมก็หาเวลาไปเรียนต่อปริญญาโทสาขาจิตรกรรมที่คณะจิตรกรรมฯ
มหาวิทยาลัยศิลปากร จบหลักสูตรในปี 2529 ด้วยคะแนนดีเยี่ยม นำเสนอ
วิทยานิพนธ์ด้วยเทคนิคสีน้ำ หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ผมก็
กลับไปสอนที่วิทยาลัยช่างศิลป์ ในปี 2533 ผมมีโอกาสได้รับทุนการศึกษาจาก
SPAFA (ศูนย์ SEAMEO Reginal Center for Archeology and Fine Arts) เพื่อ
ฝึกอบรมด้านศิลปะหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน ณ ศูนย์ศิลปะที่ เดนปาซาร์ บาหลี
อินโดนีเซีย นานถึงสองเดือน ที่นั่นผมได้รับความรู้และเทคนิคเกี่ยวกับศิลปะ
พื้นบ้านบาหลีที่มีประโยชน์อย่างมากในการสร้างงานศิลปะ ในปี พ.ศ. 2534 ซึ่ง
อาจารย์ธงชัย รักปทุม (ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ 2553) เป็นผู้อำนวยการ
วิทยาลัย ผมได้มีโอกาสช่วยกระทรวงการต่างประเทศจัด
นิทรรศการของพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ณ สำนักงาน
ใหญ่องค์การสหประชาชาติ ณ กรุงปารีส และเจนีวา เป็นเวลา 2 เดือน ซึ่งทำให้
ผมมีโอกาสได้ชมงานศิลปะต้นฉบับจากภาพวาดจริงที่ไม่ใช่ภาพในตำราเป็นครั้ง
แรกจากพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ทั้งในปารีสและเจนีวา ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้ตนเองนำ
พลังสร้างสรรค์ของงานศิลปะเหล่านั้นกลับมาอย่างเต็มที่
ผมสอนที่วิทยาลัยช่างศิลป์จนถึงปี 2538 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ
ในชีวิตผมได้ย้ายไปสอนที่ภาควิชาวิจิตรศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบัน
เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) ด้วยการชักชวนจาก
อาจารย์ศรีวรรณ เจนหัตถการกิจ ที่ย้ายจากวิทยาลัยช่างศิลป์มาสอนที่นั่นก่อน
หน้านี้ โดยมี ศาสตราจารย์ เกียรติศักดิ์ ชานนนารถ (ศิลปินแห่งชาติ สาขา
ทัศนศิลป์ 2549) หัวหน้าภาควิชาฯในขณะนั้น และ ศาสตราจารย์ เดชา วราชุน
(ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ 2550) อาจารย์อาวุโสอีกท่านหนึ่งในภาควิชาฯที่
คอยสนับสนุนผมมาโดยตลอด ในปี พ.ศ. 2546 ผมได้รับตำแหน่งหัวหน้า
ภาควิชาวิจิตรศิลป์ต่อจากศาสตราจารย์ เกียรติศักดิ์ ชานนนารถ ที่เกษียณอายุ
ราชการในปีนั้น
ตลอดเวลาที่ผมสอนศิลปะทั้งสองแห่ง ผมได้สอนวิชาจิตรกรรมสีน้ำและสี
น้ำมันให้กับนักศึกษาระดับปริญญาตรี เมื่อมีหลักสูตรปริญญาโทสาขาทัศนศิลป์
ผมต้องเปลี่ยนไปสอนวิชาต่าง ๆ ในระดับปริญญาโทแทน ตลอด
ระยะเวลา 16 ปี การสอนที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร
ลาดกระบัง (KMITL) ผมได้มีโอกาสนำผลงานของคณาจารย์ในภาควิชาฯมาจัด
แสดงและแลกเปลี่ยนนิทรรศการกับสถาบันต่างประเทศหลายครั้ง ทำให้ได้
เดินทางไปติดต่อกับมหาวิทยาลัยและหอศิลป์ รวมทั้งชมผลงานจากพิพิธภัณฑ์
และ ร่วมแลกเปลี่ยนการทำเวิร์คช็อปกับอีกหลายประเทศ เช่น เยอรมนี ญี่ปุ่น
สหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ ในแต่ละปี คณาจารย์ในภาควิชาฯมักจะรวมตัวกันเพื่อ
จัดการเดินทางระหว่างปิดภาคเรียนเดือนตุลาคมไปทัศนศึกษาดูงานแสดงศิลปะ
ระดับนานาชาติ เช่น Venice Biennale ตลอดจนพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ในเมือง
ต่างๆ ในอิตาลี ฝรั่งเศส เยอรมันและญี่ปุ่น เพิ่มพูนความรู้และวิสัยทัศน์ในการ
สร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัยให้แก่พวกเราเป็นอย่างมาก ผมได้ปฏิบัติราชการและสอน
ศิลปะจนเกษียณในปี พ.ศ. 2554 และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งวิชาการ
รองศาสตราจารย์ระดับ 9
ชีวิตครอบครัว
ผมใช้ชีวิตอย่างมีความสุขหลังเกษียณอายุกับครอบครัวสามคน พ่อแม่ลูก
กับภรรยาคุณเป้า (ทับทิม สิงหเสนี) ที่เกษียณอายุก่อนกำหนดจากธนาคาร
CIMBTHAI เมื่อสองปีก่อนผมจะเกษียณเพื่อดูแลน้องจิตต์ (สมานจิตต์ แสงจักร )
ซึ่งเป็นเด็กดาวน์ซินโดรม น้องจิตต์เป็นน้องสาวแท้ๆของคุณเป้าที่อายุน้อยกว่า 16
ปี เราดูแลน้องเหมือนลูกสาวตั้งแต่ปี 2546 จนถึง ปัจจุบัน พ่อ-แม่ที่แท้จริงของ
น้องจิตต์เสียชีวิตแล้ว และน้องจิตต์ก็พอใจที่จะเลือกเราเป็นผู้ดูแลและเรียกเราว่า
พ่อกับแม่แทน
หลังเกษียณ ผมยังคงทำงานด้านศิลปะและสอนศิลปะอย่างต่อเนื่อง โดย
ได้รับเชิญเป็นอาจารย์พิเศษสอนระดับปริญญาโทที่ภาควิชาศิลปกรรม (เดิมคือ
วิจิตรศิลป์) คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระ
จอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังและเป็นอาจารย์พิเศษสอนระดับปริญญาโทและ
ปริญญาตรี คณะศิลปะวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ศาลายา นอกจากนี้ ผมยัง
เป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกในการสอบวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท คณะจิตรกรรม
ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ ผมได้
เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินงานแสดงศิลปกรรมเด็กและเยาวชนแห่งชาติ
รวมทั้งเป็นวิทยากรไปบรรยายเกี่ยวกับศิลปะหรือเข้าร่วมปฏิบัติการอบรมสีน้ำใน
วาระต่าง ๆ
ผมทำงานวาดภาพสีน้ำเกือบทุกวัน เขียนสีอะคริลิคบ้าง และเขียนสีน้ำมัน
บ้าง แล้วแต่โอกาส ที่จริงแล้วหลังเกษียณควรมีเวลาวาดรูปมากกว่านี้ แต่ด้วย
ภาระในการสอนและดูแลครอบครัวซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ จึงต้องจัดสรรเวลาให้
เหมาะสม การวาดภาพสีน้ำหรือทำงานศิลปะเป็นงานหลักในชีวิตของผม เป็นการ
ปลดปล่อยอารมณ์และความคิดที่จะหมกมุ่นอยู่กับงาน ทุก ๆ วันผมคิดเสมอว่างาน
ชิ้นต่อไปต่อไปต้องแก้ไข "จุดบกพร่อง" และทำให้ดีกว่าเดิม เมื่อได้งานใหม่ ๆ
มักจะอาศัยการเผยแพร่ผ่านโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook มีความสุขทุกครั้งที่ได้
วาดภาพ ผมค้นคว้าและพยายามหาเทคนิคสนุกๆ ในการสร้างสรรค์และใช้เป็นสื่อ
การสอนสำหรับเวลาที่ผมเป็นวิทยากรให้กับผู้เข้าร่วมหลักสูตรฝึกอบรมสีน้ำที่
สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์เปิดทุกปี
ก่อนการระบาดของโควิด-19 ผมมักจะมีโอกาสได้เดินทางไปต่างประเทศ
บ่อย ๆ โดยเฉพาะที่ประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากคุณเป้าภรรยาของผมมีงานอดิเรก
เกี่ยวกับการเย็บผ้าแบบญี่ปุ่น(Quilt and Patchwork) ทำให้ได้ไปเยี่ยมชม
นิทรรศการประจำปีในโตเกียวและเมืองอื่น ๆ บ่อยครั้ง ผมจะใช้โอกาสนี้ไปดูงาน
ตามพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ มีโอกาสได้วาดภาพสีน้ำทุกครั้งที่เดินทางและดูงาน ทำให้
รู้สึกว่ามีสิ่งใหม่ ๆ อยู่ในใจเสมอ ที่น่าประทับใจที่สุดคือทริปไปนอนโรงแรมริม
ทะเลสาบคาวากุจิโกะ หน้าภูเขาไฟฟูจิ ที่เห็นอย่างชัดเจน ตื่นมาวาดรูปฟูจิตั้งแต่
เช้าสายบ่ายและเย็น มีความสุขที่สุดทั้งสองคน ได้ภาพวาดสีน้ำและลายเส้นที่
สวยงามกลับมาจากภูเขาไฟฟูจิหลายชิ้น และเราวางแผนที่จะกลับไปในปีหน้า
เพื่อเขียนภาพสีน้ำภูเขาไฟฟูจิในฤดูใบไม้ร่วงซึ่งเป็นฤดูที่สวยงามที่สุดของ
ประเทศญี่ปุ่น
เมื่อพูดถึงงานอดิเรกหลังเกษียณ นอกจากวาดภาพสีน้ำแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่
ผมสนใจคือการทำอาหารและการทำขนม แต่ทำแต่เฉพาะสิ่งที่อยากกินหรือชอบ
เท่านั้น ที่บ้านผมดูแลอาหารให้ภรรยาและลูกสาวของผม ทั้งสองคนจะคิดเมนูและ
บอกล่วงหน้าว่าพรุ่งนี้จะกินอะไร ทุกวันนี้ต้องขอบคุณ Internet,YouTube
และ Facebook เราจึงสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลการเรียนรู้ได้ง่ายกว่าสมัยประถม
มัธยม หรือมหาวิทยาลัยในอดีต ต้องการทำอาหาร ทำขนม ไปดูงานศิลปะใน
แกลเลอรี่ต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ หรือต้องการเผยแพร่งานศิลปะก็ สามารถ
ทำได้ในพริบตา อีกอย่างที่เราทั้งคู่ชอบคือการดูซีรีย์เกาหลี ไม่เพียงแต่สนุกแต่ยัง
เต็มไปด้วยศิลปะ สอดแทรกด้วยคุณธรรมมีอะไรอีกมากมายที่จะได้รับนอกเหนือ
จากความบันเทิงจากละครเกาหลีเหล่านี้ ในท้ายที่สุดแค่ได้เห็นหอศิลป์ อันโอ่อ่า
การออกแบบและรูปแบบสถาปัตยกรรมร่วมสมัยของเกาหลีในภาพยนตร์ก็ทำให้
น้ำตาคลอได้แต่ภาวนาให้เศรษฐีในไทยหรือรัฐบาลมีรสนิยมและกล้าลงทุนแบบนี้
บ้าง
JY.
กรุณาช่วยเล่าเกี่ยวกับการสอน ผลงานสีน้ำ เทคนิค และเวิร์คช็อปที่อาจารย์
ได้รับรางวัลศิลปะทั้งในและต่างประเทศ
SS.
ก่อนที่จะมาเขียนสีน้ำอย่างจริงจังเดิมผมเขียนรูปด้วยสีน้ำมันในรูปแบบกึ่ง
นามธรรม นับตั้งแต่เรียนปริญญาตรีคณะจิตรกรรมและทำงานครั้งแรกที่วิทยาลัย
ช่างศิลป์ แต่หลังกลับมาจากดูงานศิลปะร่วมสมัยที่ฝรั่งเศส ก็เริ่มเปลี่ยนจาก
เทคนิคการวาดภาพสีน้ำมันเป็นสีอะคริลิค ทำงานด้วยสีอะคริลิค ควบคู่กับสีน้ำมา
โดยตลอดเมื่อเกษียณและกลับไปทำงานที่บ้าน การวาดภาพบน ขาหยั่งขนาด
ใหญ่เริ่มเป็นปัญหาบนพื้นที่ในการทำงาน การวาดภาพสีน้ำเป็นเทคนิคที่ไม่ยุ่งยาก
ไม่ต้องใช้พื้นที่มาก และสามารถเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ได้ง่าย ทำให้งานวาดภาพสี
น้ำที่เปลี่ยนจากงานอดิเรกเป็นเป็นรูปแบบจริงจัง
ตลอด10 ปีที่ผ่านมาวงการสีน้ำทั้งในและต่างประเทศมีความตื่นตัวมากขึ้น
ผู้คนมีความสนใจในการเรียนรู้หรือฝึกอบรมเรื่องสีน้ำมากขึ้น ศิลปินสีน้ำรุ่นใหม่ได้
ถือกำเนิดขึ้นมากมาย ทุกคนมีทักษะและรูปแบบตลอดจนเทคนิคเฉพาะตัวที่
น่าสนใจมากขึ้น รวมทั้งศิลปินสีน้ำต่างประเทศทั้งเก่าและใหม่ เหตุการณ์สำคัญที่
จุดประกายให้แก่วงการสีน้ำในประเทศไทยบ้านของเราตื่นตัวเป็นอย่างมากในปี
2557 กล่าวคือนิทรรศการ "World Watermedia Exposition,Thailand 2014" ณ
หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 11 มิถุนายน – 20 กรกฎาคม
2557 จัดโดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม โดยมี
อาจารย์ สมศักดิ์ เชาวน์ธาดาพงศ์, ผมเอง และคุณศรัทธา หอมสวัสดิ์ (ลาเฟ่)
เป็นทีมภัณฑารักษ์ งานนี้ประสบความสำเร็จอย่างมากทำให้คนไทยได้รู้จักงานสี
น้ำและพบปะกับศิลปินสีน้ำทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ รวมทั้งจัดเวิร์กช็อปสี
น้ำที่มีผู้เข้าร่วมหนาแน่น นั่นคือที่มาของการเติบโตและพัฒนาการของสีน้ำในบ้าน
เรามาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ตัวผมเองมีโอกาสได้เข้าร่วมนิทรรศการสีน้ำทั้ง
ในและต่างประเทศอีกหลายรายการ
สิ่งที่ผมภูมิใจคือในปี2020 ผมได้รับรางวัล – "Best Watercolor Artist" Juried
Award, Tbilisi Watercolor Festival 2020. Tbilisi, Georgia และหลังจากนั้นผม
ก็ได้รับรางวัลอื่น ๆ อีกหลายรางวัล เช่น ในปี 2022 – Top 80 PaintingsAward
"Spring", Malaysia International Online Juried Art Competition 2022.
Still-Life & Floral Category. และในปี 2021 - Top 80 Paintings Award
"Autumn", Malaysia International Online Juried Art Competition 2021.
Landscape Category. เป็นต้น
สำหรับรางวัลในประเทศไทย รางวัลสูงสุดในชีวิตผมคงเป็นในปี 2550
โครงการ "ทุนรางวัลศิลป์ พีระศรี ครั้งที่ 7 โครงการเชิดชูเกียรติศิลปินยอดเยี่ยม
แห่งประเทศไทย" จัดแสดงที่หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร การประชุมเชิง
ปฏิบัติการระดับนานาชาติที่สำคัญที่เป็นเกียรติและภาคภูมิใจที่ได้แสดงภาพ และ
สาธิตการวาดภาพสีน้ำในนามตัวแทนของศิลปินไทยในนิทรรศการสีน้ำนานาชาติ
Fabriano in Acquarello 2018 ในเมือง Fabriano ประเทศอิตาลี
ปัจจุบันผมยังเป็นอาจารย์สอนวิชาสีน้ำให้กับผู้เข้ารับการอบรมทั่วไปทุกปีใน
ภาคเรียนฤดูร้อนที่จัดโดยสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พยายามหาวิธีและเทคนิคใน
การสร้างผลงานสีน้ำให้มีการพัฒนาการอยู่เสมอ เช่น การใช้สีน้ำร่วมกับการเขียน
ลายเส้นด้วยปากกา (Watercolor and Pen) ตำราเรียนบางเล่มเรียกว่า Pen and
Wash และเทคนิค: สีน้ำกับหมึกจีน (Watercolor and Chinese Ink) ดัดแปลงมา
จากการเขียนแบบพู่กันจีนประเพณี สู่สีน้ำร่วมสมัยในรูปแบบเฉพาะตัวของผม เพื่อ
เผยแพร่ให้เป็นประโยชน์ในวงกว้างโดยเผยแพร่ในสื่อออนไลน์เช่น Facebook
หรือเขียนบทความวิชาการเพื่อใช้ในการเรียนการสอนแก่ผู้สนใจต่อไป
JY.
มหกรรมสื่อสีน้ำโลกที่ส่งผลงานเข้าประกวดมีความสำคัญอย่างไร มีการ
เปลี่ยนแปลงและพัฒนาผลงานอย่างไร?
SS.
ปัจจุบันวงการสีน้ำในประเทศนี้มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปตามกระแส
นิยมมากขึ้น ที่เด่นชัดที่สุดคือปี 2557: นิทรรศการในประเทศไทย"World
Watermedia Exposition,Thailand 2014" ที่หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน
กรุงเทพฯ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม เชิญศิลปินสีน้ำ
จากต่างประเทศรวมถึง John Salminen (สหรัฐอเมริกา), Joe Francis Dowden
(อังกฤษ), Igor Sava (อิตาลี), Liu Yi (จีน), Konstantin Sterkhov (รัสเซีย),
Yuko Nagayama (ญี่ปุ่น) มีผลงานให้ชมมากกว่า 290 ผลงาน เป็นเหตุการณ์ที่
จุดประกายให้ผู้คนในมหกรรมสีน้ำ เราถูกปลุกเร้าให้ได้เห็นผลงานสีน้ำต้นฉบับ
จากศิลปินสีน้ำมืออาชีพทั้งในและต่างประเทศในระดับสากล พบปะพูดคุยกับ
ศิลปินตัวจริงที่เข้าร่วมงาน ชมการสาธิต และเทคนิคการนำเสนอที่หลากหลาย
หลังจากนั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงในวงการสีน้ำในประเทศที่ร่วมกันขับเคลื่อน
กิจกรรมต่าง ๆ มากขึ้น รวมถึงการจัดตั้งกลุ่มสีน้ำและการเป็นสมาชิกในสมาคมสี
น้ำระหว่างประเทศกับเครือข่ายระดับโลก เช่น International Watercolor
Society (IWS) Thailand, IWS Secret Art Garden at Korat, หมู่บ้านศิลปินหัว
หิน ของอาจารย์ทวี เกศางาม เป็นต้น
การจัดนิทรรศการและการประชุมเชิงปฏิบัติการในหอศิลป์และสถานที่ต่าง ๆ การ
ส่งผลงานเข้าประกวด และเข้าร่วมงานนิทรรศการในประเทศและต่างประเทศ
ประจำปีที่จัดขึ้นโดยแต่ละประเทศในเอเชียและยุโรปหมุนเวียนกันไป มีศิลปินสีน้ำ
ไทยที่ได้รับรางวัลระดับนานาชาติมากขึ้นและได้รับเลือกให้เข้าร่วมในนิทรรศการ
ระดับนานาชาติเพิ่ม มากขึ้น เช่น LaFe (ศรัทธา หอมสวัสดิ์) อู๊ด อัมพวา (บัญญัติ
พวงทอง) ทำให้เกิดการแข่งขันและพัฒนาฝีมือของตนเองให้เป็นมาตรฐานสากล
มากยิ่งขึ้น ทั้งการใช้วัสดุคุณภาพดี กระดาษ สี และพู่กัน ทำให้งานมีคุณค่าทั้ง
ทางศิลปะและเชิงพาณิชย์อีกด้วย ในปี 2561 ผมได้มีโอกาสคัดเลือกเป็นตัวแทน
ศิลปินไทย (ตัวแทนชุมชน) เข้าร่วมนิทรรศการและสาธิตสีน้ำในต่างประเทศที่
Fabriano in Acquarello 2018 แสดงให้เห็นว่าศิลปินสีน้ำไทยไม่ได้ด้อยกว่า
ศิลปินชาติอื่นๆ ศิลปินสีน้ำรุ่นเก่า ๆ เรายังจำกันได้แต่ละคนอยู่ในระดับปรมาจารย์
ทั้งนั้น เช่น ออง กิมเส็ง (สิงคโปร์) เจสัน โหย่ว (มาเลเซีย)
LaFe ยังเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกรายแรก ๆ ที่จัดแสดงผลงานของเขาและศิลปินสีน้ำ
ชาวไทยไปทั่วโลก ได้รับรางวัลมากมายและเป็นที่รู้จักกันดีในสายตาผู้คนใน
วงการสีน้ำระดับนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง LaFe มีฝีมือและความคิด
สร้างสรรค์ในการวาดดอกกุหลาบดอกเดียวบนกระดาษขนาดเต็มแผ่น A1 (56 x
76 ซม.) ให้สวยงามภายใน 1 ชั่วโมงในการสาธิต ซึ่งกลายเป็น สัญลักษณ์ที่ทุก
คนใน วงการรู้จักกันดี ตอนนี้ LaFe ได้รับเชิญให้เข้าร่วมในนิทรรศการหรือได้รับ
เชิญให้เป็นผู้ตัดสินการแข่งขันสีน้ำระดับนานาชาติมากมาย นับเป็นเกียรติอย่างยิ่ง
ที่ประเทศไทยมีตัวแทนศิลปินสีน้ำชาวไทยมาตัดสินผลงานในระดับสากลที่เป็นที่
ยอมรับของคนในวงการ สำหรับคนอื่น ๆ การเป็นผู้ตัดสินระดับนานาชาติไม่ใช่เรื่อง
ง่าย และต้องใช้ทักษะและการทำงานเพื่อให้ได้รับการยอมรับจากสมาคมสีน้ำ
นานาชาติเช่นกัน
หลังการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในช่วงปลายปี 2562 การแข่งขันสีน้ำ
ระดับนานาชาติและนิทรรศการที่เคยส่งผลงานจริงต้อง ปรับเปลี่ยนส่งเป็นไฟล์
อาร์ตเวิร์คแทน และแสดงในรูปแบบนิทรรศการออนไลน์แทนซึ่งมีทั้งผลดีและ
ผลเสีย เราจะจ่ายเฉพาะค่าสมัครส่งงานออนไลน์แต่เราไม่ต้องจ่ายสำหรับการส่ง
งานจริง ส่วนการรับรางวัลนั้นขึ้นอยู่กับเจ้าภาพจะตกลงกันว่าใครจะเป็นผู้ออก
ค่าใช้จ่าย ศิลปินที่ได้รับรางวัลมักจะต้องจ่ายค่าใช้จ่ายในการส่งรางวัลกลับ
สำหรับ ใบประกาศนียบัตรนั้น ในอดีตผู้จัดจะส่งใบจริงกลับมาพร้อมกับงานที่
ส่งคืน แต่งานออนไลน์วันนี้สามารถดาวน์โหลดใบประกาศนียบัตรได้เลย หาก
ต้องการขายให้ระบุราคาเมื่อกรอกใบสมัครออนไลน์ หากขายได้ ทางผู้จัดมักจะขอ
ค่าธรรมเนียมการดำเนินการ 30% คาดว่าหลังจากการระบาดสงบลงจะมีการจัด
แสดงงานและการประกวดสีน้ำในรูปแบบการส่งผลงานจริง ขณะนี้หลายประเทศ
เริ่มกลับมาดำเนินการทั้งทางออนไลน์และส่งผลงานจริง เช่น IWS INDIA Plein
Air Festival and Competition in New Delhi 2023, Step by Step
International Foundation Contemporary Watercolor Art, โปแลนด์,
International Watercolor Society Art Contest รวมถึงเว็บไซต์, YouTube และ
Facebook ของศิลปินแต่ละท่านที่เข้าถึงได้ง่ายและมีประโยชน์มาก ในแง่ของ
การค้าขายผลงานสีน้ำในประเทศไทยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ราคาซื้อ
ขายขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของศิลปินเจ้าของผลงานกับผู้ซื้อที่ตกลงกันโดยตรง
เป็นสำคัญ อาจเริ่มต้นที่ราคาหลักร้อย หลักพันไปจนถึงหลักล้านบาท ราคาฝาก
ขายของแกลเลอรีต้องเพิ่มขึ้น 30-50% และราคาประมูลการกุศลมักจะได้ราคาสูง
กว่าเพดานที่กำหนดโดยศิลปินหรือผู้ประมูล ส่วนการขายงานในต่างประเทศ เมื่อ
ส่งงานไปโชว์ ศิลปินจะแจ้งราคาที่ตนตั้งไว้ และบวกเพิ่มอีกร้อยละที่ผู้จัดงาน
กำหนด แต่ก็เป็นสัญญาณที่ดีสำหรับวงการว่างานสีน้ำสามารถขายได้ราคาถึงหลัก
ล้าน เป็นเรื่องดีที่มีนักสะสมรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบงานและสนับสนุนศิลปินรุ่นใหม่เพื่อ
ส่งเสริมให้สร้างสรรค์ผลงานต่อไป
ท้ายที่สุดสีน้ำสำหรับผมในสมัยเริ่มต้นเรียนมีลักษณะเฉพาะตัวที่บางโปร่งใส
ห้ามใช้สีขาวหรือสีดำผสมเพราะจะทำให้ขุ่นมัว ผมจึงชอบเขียนสีน้ำใส ๆ บาง ๆ
มาโดยตลอด แต่เมื่อเวลาผ่านไป อายุมากขึ้น ประสบการณ์มากขึ้น ทำงานมาก
ขึ้นและความคิดเปิดกว้างมากขึ้น งานสีน้ำในปัจจุบันของผมจึงมีสีสันที่สดใสจัด
จ้านบางครั้งก็เข้มข้นจนต้องใช้หมึกจีนสีดำผสมกับสีน้ำเพื่อทำให้งานของผมดู
แตกต่างจากในอดีต ดูสุขุมสมวัยที่สำคัญมีอะไรที่น่าติดตามค้นหามากขึ้น
สรรณรงค์ สิงหเสนี
Sannarong Singhaseni
เกิด 2494
วุฒิการศึกษา
2520 ศ.บ. จิตรกรรม (เกียรตินิยมอันดับ 2) คณะจิตรกรรมประติมากรรม
และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
2529 ศ.ม. จิตรกรรม คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์
มหาวิทยาลัยศิลปากร
2533 Cert. Handicrafts and Folkcrafts, Art Centre, Bali, Indonesia.
สถานที่ทำงาน ภาควิชาวิจิตรศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ถนนฉลองกรุง กรุงเทพฯ
10520
ตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ ระดับ 9
เกษียณอายุราชการ พ.ศ. 2554
ปัจจุบัน อาจารย์พิเศษ ภาควิชาศิลปกรรม คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะ
และการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร
ลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร 10520
อาจารย์พิเศษ คณะศิลปะวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ศาลายา
นครปฐม 73170
เกียรติประวัต
2565 - Top 80 Paintings Award "Spring" Malaysia International
Online Juried Art Competition Still-Life & Floral Category.
2564 - Top 80 Paintings Award "Autumn" Malaysia International
Online Juried Art Competition Landscape Category.
- JIWI Japan International Watercolor Exhibition, Nigata,
Japan Autumn 2021.
- "Top 100 Artists" Celebrate the 100th Anniversary of the
Founding of the Communist Party of China.
- "Top 80 Paintings Award "Spring" Malaysia International
Online Juried Art Competition, Still-Life and Floral Category.
- JIWI Japan International Watercolor Exhibition, Nigata,
Japan Summer 2021.
2563 - "Best Watercolor Artist" Jury Award Tbilisi Watercolor
Festival 2020. Tbilisi, Georgia.
- "Top 80 Paintings Award Malaysia International Online
Juried Art Competition Floral Category
- "International Watercolor Society (IWS) Thailand
Watercolor Master Artist 2020 Award" by International Watercolor Society
Globe Network.
2561 - Thailand representative artist demonstration in Fabriano in
Acquarello 2018, Fabriano, Italy.
2550 - ทุนรางวัลศิลป์ พีระศรี ครั้งที่ ๗ โครงการเชิดชูเกียรติศิลปินยอด
เยี่ยมแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร
2533 - SPAFA Scholarship for "Handicrafts and Folkcrafts" Art Center,
Bali, Indonesia.
2528 - ทุนอุดหนุนวิจัยวิทยานิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
2523 - ทุน "The Ship for Southeast Asian Youth Programme 1980"
2515-2519 - ทุนการศึกษา ธนาคารกสิกรไทย
การแสดงงานเดี่ยว
2558 - "Sannarong's Watercolour" ร้านหนังสือคิโนะคูนิยะ สยามพารากอน
และห้างอิเซตัน เซ็นทรัลเวิร์ด
2554 - "The Story of Colour" หอศิลป์จามจุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กทม.
2545 - "Me and My Colours" 1995-2002 ณ หอศิลป์คณะจิตรกรรม
ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กทม.
2537 - "จากอดีต…สู่ปัจจุบัน" ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ หอศิลป์ ถนนเจ้า
ฟ้า กทม.
- "The Art Corner" โรงละครกรุงเทพฯ กทม.
|