Scene4 Magazine — International Magazine of Arts and Media

อินไซท์

december 2008

Joe-Louis-Puppets1cr-th

จานีน ยโสวันต์

ดิฉันเขียนบทความนี้ในเดือนของความเศร้าโศกสำหรับชาวไทยทุกคน
ในคืนวันที่ 15 พฤษจิกายน พ.ศ. 2551 พระราชพิธีถวายเพลิงพระศพ
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา พระพี่นางของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช บริเวณสนามหลวงที่มี
การจัดพระราชพิธีขึ้นนั้นก็มีมหรสพต่างๆที่ไม่เพียงแต่จะน่าสนใจเท่านั้น
แต่ยังมีชีวิตชีวาอีกด้วย มหรสพเหล่านี้แสดงขึ้นเพื่อเป็นการ
เทิดพระเกียรติและยังเป็นสัญญาณว่าพ้นช่วงเวลาไว้ทุกข์แล้วเช่นกัน

มีการแสดงเรื่อง "กำเนิดพระคเณศ" โดยคณะหุ่นละครเล็กโจ หลุยส์ ใน
พระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา และงาน
ครั้งนี้ก็มีความหมายเป็นพิเศษและสะเทือนอารมณ์สำหรับผู้ชมในโอกาส
อันเศร้าสลดนี้
Joe-Louis-Puppets4cr
กำเนิดพระคเณศ
เนื้อเรื่องย่อ

เมื่อพระอิศวรสูญสิ้นพระสตีผู้เป็นชายาไป พระองค์ได้สละซึ่งทุกสิ่งทุก
อย่างและบำเพ็ญเพียรทรมานตนอยู่เพียงลำพัง ครานั้นอสูรตารกาจึงคิด
การณ์จะเป็นใหญ่ เฝ้าทำพิธีบูชาพระพรหม จนได้รับพรให้มีฤทธิ์เดช
เก่งกล้ากว่าใครในสามโลก มีเพียงบุตรแห่งพระอิศวรเท่านั้นที่จะสังหาร
อสุรีได้ ครั้นได้รับพรแล้วตารกากำเริบจิตพาพลพรรคอสุราขึ้นมาราวีกับ
เหล่าเทวาบนสรวง สวรรค์ พระอินทร์จึงรีบรุดไปแจ้งเหตุแก่พระพรหม
พระพรหมจึงให้พระกามเทพไปอัญเชิญพระแม่อุมาปารวตี ซึ่งแท้จริง
แล้วคือพระสตีกลับชาติมาเกิด ให้ได้ประสบพักตร์กับพระอิศวร ให้พระ
กามเทพแผลงปุบผศรไปต้องอุราพระอิศวร

จนเกิดความรักในพระแม่อุมา และได้วิวาห์ครองคู่ วันหนึ่งพระอิศวรได้
เสด็จไปบำเพ็ญเพียรพระแม่อุมาอยู่กับนางวิชยาแต่เพียง ลำพัง สดับ
เสียงอันสะเทือนเลื่อนลั่นในชั้นฟ้า จึงสอบถามจนรู้ว่าตารกากำลังฮึก
เหิมรุกรานเหล่าเทวา นางวิชยาจึงทูลว่าพระอุมาน่าจะมีบริวารไว้
คุ้มครององค์ พระอุมาจึงได้สร้างพระกุมารขึ้นมาเมื่อคราสรงน้ำ โดยปั้น
จากเหงื่อไคลแล้วอัญเชิญพระคงคามาสรงวารี จนได้เทวกำเนิดเป็นพระ
กุมาร พระอุมาให้กุมารนั้นเฝ้าหน้าทวารามิให้ผู้ใดล่วงเข้ามาได้ ครั้นเมื่อ
พระอิศวรเสด็จกลับมาพบกุมารน้อยขวางกั้นมิให้เข้าสู่ด้านในได้ ความ
พิโรธจึงบังเกิด ในที่สุดพระอิศวรจึงใช้ตรีศูรขว้างไปถูกเศียรของกุมาร
นั้นขาดลอยหายไป พระอุมาออกมาเห็นเหตุการณ์ จึงโศกเศร้ายิ่งนัก
ทูลแก่ พระอิศวรว่านั่นคือบุตรอันเกิดจากตน พระอิศวรจึงให้พระ
วิสสุกรรมเร่งรุดไปทางทิศตะวันตกเพื่อหาเศียรมาต่อชีวีให้ พระกุมาร
พระวิสสุกรรมไม่พบเศียรของพระกุมาร จึงได้นำเศียรช้างมาแทน พระ
อิศวรทำพิธีต่อเศียรให้กุมารและประทานชื่อให้ว่า พระคเณศ จากนั้นพระ
อินทร์ได้ทูลเรื่องอสูรตารกา พระอิศวรจึงให้พระคเณศไปปราบ เพื่อ
ความผาสุขของสามโลก ตารกาจึงสิ้นชีพ พระคเณศจึงเป็นมหาเทพที่
เคารพมาจนถึงปัจจุบัน
re01cr
นี่เป็นการแสดงที่น่าตื่นตาตื่นใจที่ได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในการแสดง
หุ่นกระบอกที่ดีที่สุดประจำปีพ.ศ.2551 ที่กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก
นอกเหนือไปจากหุ่นละครเล็กโจหลุยส์แล้วก็มีการแสดงที่มีชื่อเสียงอื่นๆ

โขน ศิลปะการแสดงที่สูงค่าของไทย คือส่วนผสมของการแสดงและการ
เต้นรำ การแสดงนั้นเป็นเหมือนการแสดงละครเวทีและการเต้นรำก็เป็น
เหมือนละครนอก(การแสดงด้วยชายล้วน) แต่เดิมแล้วการแสดงนี้เป็น
การถวายความเคารพต่อพระเจ้าแผ่นดินและพระราชวงค์ ผู้แสดงทั้งหมด
เป็นชาย สวมหน้ากากยักษ์ วานร หรือตัวละครอื่นๆแล้วแต่บทบาทใน
เรื่อง พวกเขาไม่พูดในช่วงการแสดง ผู้เล่าจะเล่าเรื่องราวและพูดเป็น
โคลงกลอนให้ผู้รับชมได้ฟัง
Khon002cr
ในช่วงการครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่ง
อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา จากบันทึกเรื่อง "Du Royaume de Siam" ของ
มองซิเออร์ เดอ ลา ลูแบร์ เอกอัครราชทูตจากกษัตริย์หลุยส์ที่ 14 แห่ง
ประเทศฝรั่งเศส ในปีพ.ศ 2236 เขาเห็นการแสดงต้อนรับแขกบ้านแขก
เมืองที่เรียกว่า "โขน" นอกจากนี้ เขายังกล่าวอีกว่าโขนเป็นการเต้นรำ
และการแสดงประกอบดนตรีไทย ผู้แสดงสวมหน้ากากและถืออาวุธ

โขนรามเกียรติ์ได้รับการดัดแปลงมาจากวรรณกรรมมหากาพย์โบราณ
จากประเทศอินเดียเรื่อง "รามายณะ" เป็นที่เชื่อกันในหมู่ผู้นับถือศาสนา
ฮินดูว่าพระมหากษัตริย์ทรงกลับชาติมาเกิดจากเทพเจ้า

มีการแสดงโขนเต็มรูปแบบหลังจากพระราชพิธีถวายเพลิงพระศพของ
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กำกับการแสดงโดย
"ครูมืด" นายประสาท ทองอร่าม ใช้เวลาประมาณแปดเดือนในการ
เตรียมตัวและฝึกซ้อม นักแสดงโขนส่วนมากมาจากกรมศิลปากรและ
วิทยาลัยนาฏศิลป์จากทุกจังหวัดของประเทศไทย

ครูมืด ผู้ฝึกสอนและผู้กำกับหนังใหญ่ (หุ่นเงา) และการแสดงโขน
สำหรับพระราชพิธีถวายเพลิงพระศพกล่าวว่าหนังใหญ่และโขนแสดงที่
KRUMUDcr
เวทีหลักเป็นเวลา 11 ชั่วโมง จำนวนผู้แสดงเกือบสองพันคน เขาชี้แจง
ว่ามหรสพแบบดั้งเดิมได้รับการรักษาไว้เป็นอย่างดี มีการเพิ่มเนื้อหา
ทันสมัยเข้าไปโดยที่ไม่ทำลายศิลปะดั้งเดิม ไม่เพียงแต่จะมีตัวแสดง
หลายๆแบบเช่น ตัวพระ ตัวนาง ยักษ์ วานรและอื่นๆเท่านั้น แต่ยังมีนัก
พากย์ ผู้บรรยาย และวงดนตรีไทยก็เป็นสิ่งจำเป็น ทุกสิ่งต้องอยู่ใน
สภาพดั้งเดิมและถูกต้องถ้าเป็นไปได้ เป็นความพยายามที่จะรักษาศิลปะ
และประเพณีไทยเอาไว้
Joe-Louis-Puppetscr
การแสดงโขนรวบรวมศิลปะหลายๆอย่างเช่นการเต้นรำ การแต่งกาย
การเต้นรำในฉากการต่อสู้ก็มาจากวิชากระบี่กระบองแต่ได้รับการ
ดัดแปลงให้มีความสวยงามและไม่มีอันตรายไว้เพื่อการแสดง

การแสดงหุ่นกระบอกจากกรมศิลปากร แสดงเรื่องพระอภัยมณีจำนวน 3
ตอน คณะหุ่นกระบอกไทยคณะแรกได้มีการก่อตั้งในปี พ.ศ. 2436
หลังจากนั้นหุ่นกระบอกก็เป็นที่นิยมมากขึ้น การแสดงหุ่นกระบอกที่เป็น
ที่นิยมคือพระอภัยมณี ขุนช้างขุนแผน ไกรทอง พระเวสสันดร และ
ลักษณวงศ์ จนกระทั่งปีพ.ศ. 2522 มีคณะหุ่นกระบอกคณะหนึ่งมีโอกาส
ได้แสดงเรื่องพระอภัยมณี นี่เป็นการเริ่มต้นที่ปลุกชีพของหุ่นกระบอก
ไทย พวกเขานำเรื่องราวจากบท "ละครนอก" และทำตัวหุ่นใหญ่กว่าเดิม
ผู้ชมจะได้มองเห็นได้ง่ายขึ้น

อ.เผด็จพัฒน์ พลับกระสงค์ ในฐานะผู้ประพันธ์บทและกำกับการแสดง
ละครหุ่นในงาน บอกว่า จุดประสงค์ของการนำหุ่นกระบอกมาเป็นหนึ่งใน
มหรสพเนื่องด้วย หุ่นกระบอกเป็นอีกการแสดงหนึ่งที่จัดอยู่ใน
ศิลปะการแสดงสืบทอดราชประเพณี ซึ่งไม่ว่างานรื่นเริง งานบุญ กระทั่ง
งานศพก็สามารถชมได้

"เราไม่สามารถไปซ้อมกับเวทีจริงได้ เนื่องจากหุ่นกระบอกนั้นมีการแต่ง
องค์ทรงเครื่องของหุ่นเรียบร้อยแล้ว หากไปซ้อมกลางแจ้งอาจจะไม่
ตื่นเต้นเมื่อแสดงจริง " อ.เผด็จพัฒน์กล่าวปิดท้าย

การแสดงละครพื้นบ้าน 6 ตอนโดยสถาบันบัญฑิตพัฒนศิลปะ
Lakon-Nok2cr
ตามความเห็นของดร.ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์ ความเข้าใจดั้งเดิมเรื่องละคร
นอกและละครในเปลี่ยนแปลงไปบ้างเล็กน้อย เมื่อก่อนละครนอกใช้ผู้
แสดงเป็นชายทั้งหมด แสดงให้คนธรรมดาได้ชม ส่วนละครในใช้ผู้แสดง
เป็นหญิงทั้งหมด แสดงเฉพาะในรั้วในวัง ธรรมเนียมนี้ก็ยังคงอยู่แต่
บุคคลทั่วไปสามารถรับชมได้ทั้งคู่

เรื่องที่เลือกมาสำหรับการแสดงนั้นมีความหมายเน้นไปถึงความโชคดี
ชัยชนะ และความสุข เรื่องนี้เรียกว่าสุวรรณหงษ์ มีหกตอนและใช้เวลา
ประมาณ3 ชั่วโมงจึงจบ นี่เป็นการแสดงลำดับสุดท้ายของพระราชพิธี
ถวายเพลิงพระศพที่ทุ่งพระเมรุท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร

Photos - Mailak and manager.co.th

กรุณาลงความเห็น เกี่ยวกับบทความนี้

ส่ง
อีเมล์
หน้านี้

©2008 Janine Yasovant
©2008 Publication Scene4 Magazine

Scene4 Magazine: Janine Yasovant
จานีน ยโสวันต์ เป็นนักเขียน
เธออาศัยอยู่ในเชียงใหม่ประเทศไทย

สำหรับบทความและบทวิจารณ์อื่นๆ ของ จานีน ยโสวันต์
กรุณาตรวจดู แฟ้มเก็บข้อมูล

 

Scene4 Magazine-International Magazine of Arts and Media
This Issue
Cover | This Issue | inFocus | inView | reView | inSight | Blogs | inPrint | Links | Masthead Submissions | Advertising | Special Issues | Payments | Subscribe | Privacy | Terms | Contact | Archives

Search This Issue Email This Page

RSS FeedRSS Feed

Scene4 (ISSN 1932-3603), published monthly by Scene4 Magazine - International Magazine of Arts and Media. Copyright © 2000-2008 AVIAR-DKA LTD - AVIAR MEDIA LLC. All rights reserved.

Now in our 9th year of publication with
comprehensive archives of over 3000 pages 

sciam-subs-221tf71
lavasoft-adaware-1tf338

 

 

 

strikeone