JY0425-5892cr

นพเก้า ศรีมาตยกุล

จานีน ยโสวันต์

ดิฉันได้พบกับนพเก้า ศรีมาตยกุล ที่หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เวลา
นั้นนั้นเธอมาดูแลงานที่ WMW นิทรรศการ World Master's Watercolor ในวาระ
ครบรอบ 60 ปี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้นำเสนอผลงานและจัดนิทรรศการ World
Master's Watercolor ในฐานะเจ้าภาพครั้งแรกในจังหวัดเชียงใหม่ประเทศไทย
ในช่วงต้นเดือนมกราคม 2025 อากาศที่เชียงใหม่ดีมาก ดอกไม้บานสะพรั่งราวกับฤดู
ใบไม้ผลิ และผู้เยี่ยมชมจากสถาบันต่างๆ ทั่วไทยจำนวนมากมีนัดหมายเพื่อชมงาน
นิทรรศการภาพวาดสีน้ำ
เราได้มีโอกาสสัมภาษณ์เกี่ยวกับผลงานและชีวิตของเธอ เธอคืออาจารย์สอนศิลปะที่
จัดนิทรรศการเดี่ยวของทุกๆปีทุกปี นับเป็นโอกาสดีที่จะได้รู้จักเธอมากขึ้น
นพเก้า ศรีมาตยกุล เป็นอาจารย์ประจำภาควิชาภาพพิมพ์ ภาควิชาทัศนศิลป์ คณะ
วิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เธอมีความเชี่ยวชาญด้านภาพพิมพ์แกะไม้สีน้ำ
ซึ่งเป็นความสามารถส่วนตัวของเธอ นอกจากนี้ เธอยังศึกษาเกี่ยวกับวัสดุธรรมชาติที่
สามารถนำมาใช้สร้างงานศิลปะได้โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด การที่มี
บทบาทเป็นอาจารย์สอน เธอต้องการปลูกฝังให้คนรุ่นใหม่เห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม
และเรียนรู้วิธีสร้างงานศิลปะโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นแนวทางที่เธอต้องการ
ศึกษาเพิ่มเติมและปลูกฝังให้คนรุ่นใหม่เข้าใจและเห็นคุณค่าของสิ่งนี้
ต่อไปนี้คือบทสัมภาษณ์

Nop5-cr

JY . อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้คุณศึกษาต่อและประกอบอาชีพด้านการพิมพ์ภาพ
และมีที่ปรึกษาหรือประสบการณ์เฉพาะเจาะจงที่หล่อหลอมเส้นทางอาชีพของคุณ
เป็นเช่นนี้หรือไม่หรือไม่
NS . จากความชอบในวัยเยาว์ ดิฉันจำได้ว่าตอนเด็กๆ ชอบวาดรูปมาก ชอบทำงาน
ฝีมือ งานประดิษฐ์ ตั้งแต่เด็กมักจะได้เป็นตัวแทนโรงเรียนไปประกวดวาดภาพในเวที
ต่างๆ เสมอ พอเริ่มเรียนในระดับมัธยมก็เลือกเข้าชมรมศิลปะเลย เอาเวลาว่างทั้งหมด
ที่มีในวัยเด็กมาทำงานศิลปะ ทำกิจกรรมของชมรม ส่งเข้าประกวดบ้าง ได้รางวัลบ้าง
ไม่ได้บ้างก็ยังไม่ได้คาดหวังว่าจะเลือกเป็นอาชีพ แต่ทำแล้วมีความสุข งานในช่วงวัย
เด็กๆ จะชอบสร้างสรรค์ผลงานที่นำเสนอแนวคิดในลักษณะเปรียบเทียบเพื่อสื่อ
ความหมายในสิ่งที่เราต้องการจะบอกเล่ามากกว่าวาดภาพแบบเหมือนจริง คุณครู
ศิลปะในช่วงมัธยมต้นเห็นว่าเรามีความมุ่งมั่นในการทำงานศิลปะ ก็แนะนำให้ไปเรียน
ต่อสายศิลปะโดยตรงในระดับ ปวช.ที่เทคโนราชมงคล เพื่อเตรียมตัวสอบเข้าเรียนใน
ระดับมหาวิทยาลัยด้านศิลปะต่อไปในระดับปริญญาตรี ในสมัยนั้นการสอบเข้า
มหาวิทยาลัยยังเป็นระบบเอนทรานซ (entrance) เลือกได้ 2-3 ลำดับ ก็เลือก
ศิลปากร ลำดับที่ 1 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ลำดับที่ 2 ผลสอบออกมาปรากฏว่าติดที่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก็เดินทางจากบ้านเกิดที่จังหวัดนครราชสีมา (ภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย) ไปเรียนต่อในระดับปริญญาตรีที่มาวิทยาลัย
เชียงใหม่ เป็นครั้งแรกที่ต้องย้ายถิ่นถานไปอยู่ต่างเมืองนานถึง 5 ปี ไม่รู้จักใครเลย
ไม่มีญาติ เพื่อนๆ ก็ต้องทำความรู้จักกันใหม่ ที่เทียวในเมืองก็ค่อนข้างน้อย เวลาจะ
ไปเที่ยวกับเพื่อนๆ ก็ชวนกันขึ้นดอย ไปดูป่า ดูเขา ดูวิถีชีวิตชาวดอย แม้ว ม้ง สนุก
มาก แสงสีลืมไปได้เลยในสมัยนั้นไปไกลสุดก็เซนทัลปางสวนแก้ว และกาดหลวง
เรียนเสร็จก็เข้า Studio ทำงานศิลปะ ทำ Project ทำ Thesis ในตอนนั้นผลงานที่ทำ
ก็เลือกทำงานศิลปะภาพพิมพ์ เทคนิคแกะไม้(Woodcut Printmaking) เนื่องจาก
ชอบทีการแกะล่องรอยพื้นผิวที่ปรกฏในงาน เป็นส่วนที่ดึงดูงอย่างมากให้สนใจ
ทำงานศิลปะ ชอบ ผลงานของ Picasso ผลงานของ Van Gogh ก็ศึกษาการจัดวาง
องค์ปะกอบของศิลปิน ส่วนการใช้สีก็ศึกษาผลงานศิลปะของ Monet เด็กๆ ศิลปะใน
ยุคสมัยนั้นก็จะชอบงาน Modern Art งาน impressionism art ก็พยายามศึกษาและ
ประยุกต์ใชในการสร้างสรรค์ผลงานของตนเอง ผลงานยุคแรกๆ เป็นผลงานภาพพิมพ์
แกะไม้สีน้ำมัน มีเรื่องราวที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากทิวทัศน์ในพื้นจังหวัดเชียงใหม่
ภาคเหนือ และบนดอยแทบทั้งสิ้น เน้นนำเสนอความประทับใจในบรรยากาศสีสัน
แสงเงาที่ได้พบเจอในช่วงระยะเวลาที่อยู่อาศัย ท่องเทียวไปในที่ต่างๆ ตลอดช่วง
ระยะเวลา 4-5 ปี ที่ศึกษาอยู่ที่คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หลังจากจบ
การศึกษาในระดับปริญญาตรีก็ได้เดินทางไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท และปริญญา
เอกที่มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยผลงานในยุคปริญญาโทเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงจาก
ความสนใจในทิวทัศน์(โลกภายนอก) มาสู่การสนใจสภาวะความรู้สึกภายในจิตใจ
ตนเอง (โลกภายใน) เป็นช่วงที่เริมสนใจศึกษาเกี่ยวกับการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
พอได้ศึกษาและฝึกปฏิบัติกรรมฐานอย่างจริงจัง ก็เห็นถึงประโยชน์ต่อชีวิตในหลายๆ
ด้าน จนสนใจที่จะนำเสนอสภาวะต่างๆ ที่เกิดขึ้นในขณะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานให้
ออกมาในงานศิลปะ ก็คิดหาแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่เชื่อโยงระหว่าง
การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเข้ากับการปฏิบัติการทางศิลปะ โดยศิลปินที่เป็นแรง
บันดาลในในช่วงนี้จะเป็นศิลปินเซ็น 2 ท่าน โมโตอิ ยามาโมโต (Motoi Yamamoto)
วูฟกัง ไลบ์ (Wolfgang Laib)
 ปัจจุบันเป็นอาจารย์สาขาวิชาศิลปะภาพพิมพ์ ภาควิชาทัศนศิลป์ คณะวิจิตร
ศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิชาที่สอนเป็นพิเศษคือวิชาศิลปะภาพพิมพ์แกะไม้สีน้ำ
ซึ่งเป็นกระบวนเทคนิคที่ถนัด นอกจากนี้ยังศึกษาเพิ่มเติมในประเด็นที่เกี่ยวกับวัสดุ
ธรรมชาติที่สามารถนำมาสร้างสรรค์งานศิลปะโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมให้ได้มาก
ที่สุด อยากปลูกฝังให้เยาวชนรุ่นใหม่นึกถึงคุณค่าของสิ่งแวดล้อม เรียนรู้การ
สร้างสรรค์ผลงานแบบไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นแนวทางที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติม
และอยากปลูกฝัง ส่งต่อให้คนรุ่นใหม่ได้ตระหนัก เห็นคุณค่า ในให้ความสำคัญ

Nop1-cr

JY . คุณเผชิญกับความท้าทายใดบ้างในฐานะผู้หญิงในสาขาการพิมพ์ภาพ และ
ประสบการณ์เหล่านั้นมีอิทธิพลต่อรูปแบบศิลปะหรือทิศทางอาชีพของคุณอย่างไร
NS . จากที่เคยได้พูดคุยกับศิลปินหญิงด้วยกัน ศิลปินหญิงส่วนใหญ่มักเผชิญปัญหา
ที่ท้าทายในช่วงที่ชีวิตต้องเปลี่ยนสถานะ เมื่อมีหน้าที่และบทบาทอื่นๆ ในชีวิตเข้ามา
เกี่ยวข้อง เช่นเมื่อต้องมีครอบครัว มีลูก มีภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบเพิ่มเข้ามา
บทบาทของความเป็นแม่ การเป็นผู้ดูแลความเรียบร้อยภายในบ้าน การเสียสละต่อ
ครอบครัวส่วนรวมมักส่งผลกระทบต่อการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะอย่างจริงจังของ
ศิลปินหญิง ศิลปินหญิงส่วนใหญ่สร้างสรรค์งานศิลปะเป็นงานอดิเรก หรือเพื่อพักผ่อน
ย่อนใจแทนการสร้างสรรค์อย่างจริงจัง และส่วนใหญ่มักห่างหายไปจากวงการศิลปะ
ไปค่อนข้างมาก แต่โดยส่วนตัวมองว่าปัญหาอีกส่วนที่มักเจอกับตัวเองอาจไม่ใช่แค่
การขาดเวลาในการสร้างสรรค์ผลงานที่ต่อเนื่อง แต่เป็นการขาดโอกาสในการ
นำเสนอผลงานต่อสังคมให้ได้รับรู้ถึงการมีอยู่ของศิลปินหญิงเหล่านั้น การนำเสนอ
ผลงานที่ต้องมีการเดินทางทั้งใกล้และไกล บางครั้งต้องเดินทางไปไกลถึง
ต่างประเทศบ่อยๆ ต้องเข้าร่วมกิจกรรมทางศิลปะต่างๆ ซึ่งความยากลำบากสำหรับ
ผู้หญิงในการเดินทางและพักอาศัยในต่างแดนก็เป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้ศิลปินหญิง
ค่อยๆ ลดน้อยลงไปในวงการศิลปะ
ด้วยเหตุปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ศิลปินหญิงหลายคนที่ยังยืนหยัดเพื่อสร้างสรรค์งานศิลปะ
อย่างต่อเนื่องก็ยังถูกมองว่า มีความเสี่ยงสูงที่จะละทิ้งไปกลางคัน "ไม่ยั่งยืน" หาก
ถามว่า "ประสบการณ์เหล่านั้นมีอิทธิพลต่อรูปแบบศิลปะหรือทิศทางอาชีพอย่างไร"
ก็สามารถตอบได้เลยว่าประสบการณ์ที่ผ่านมาในชีวิต ในทุกย่างก้าวของชีวิต อาจ
ไม่ใช่แค่ในฐานะศิลปินหญิง แต่ในบทบาทของมนุษย์ที่ต้องมีเส้นทางในการดำเนิน
ชีวิต และสร้างสรรค์ประโยชน์ต่อตนเอง และสังคมในแง่มุมต่างๆ ตลอดเส้นทางของ
ชีวิตที่ก้าวเดินมา อาจจะมีปัญหาบ้าง พบอุปสรรคบ้าง ทั้งหมดของชีวิตล้วนเป็น
แนวคิดและแรงบันดาลใจให้สามารถหยิบยกขึ้นมาสร้างสรรค์ผลงานศิลปะได้เสมอ
ในทุกรูปแบบ และไม่จำกัดวิธีการ โดยส่วนตัวมองว่าผลงานศิลปะที่เราสร้างสรรค์
สรรค์ขึ้นเป็นการนำเสนอมุมมองที่เรามีต่อโลก มีต่อการดำเนินชีวิต ที่ได้ถ่ายทอด
ออกมาในงานศิลปะของเรา
บางครั้งการสร้างสรรค์งานภาพพิมพ์ก็เผชิญปัญหากับเทคนิคที่ต้องใช้สารเคมี เมื่อ
เราเรียนรู้และต้องการที่จะมีชีวิตที่ดีอยู่เพื่อสร้างสรรค์ผลงานให้ได้ต่อไป การเลือกใช้
เทคนิคธรรมชาติเข้ามาทดแทนการใช้สารเคมีต่างๆ ก็เป็นส่วนหนึ่งในวิถีการ
สร้างสรรค์ผลงานที่เราเลือกปฏิบัติ การเรียนรู้และปรับใช้หลักธรรมมะ ธรรมชาติ เข้า
มาเป็นส่วนหนึ่งของหลักการสร้างสรรค์งานศิลปะ จนกลายเป็นวิถีปฏิบัติของการ
ดำเนินชีวิตก็เช่นกัน ทุกอย่างล้วนเกิดจากปัญหา และการแก้ปัญหา เพื่อหาจุดร่วม
หาสมดุล หาความพอดี สำหรับการดำเนินชีวิต และการทำงาน การประกอบอาชีพ
และการสร้างสรรค์งานศิลปะเข้าไว้ด้วยกัน

Nop4-cr

JY . คุณแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับกระบวนการสร้างสรรค์ของคุณได้ไหม คุณ
ออกแบบและสร้างสรรค์งานพิมพ์ภาพใหม่ได้อย่างไร
NS . ผลงานศิลปะที่สร้างสรรค์ขึ้นในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะเป็นผลงานศิลปะภาพพิมพ์
แม่พิมพ์ไม้สีน้ำ โดยที่มา แนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานแต่ละชุดจะขึ้นอยู่กับความ
สนใจในขณะนั้น เช่นผลงานที่สร้างขึ้นในปี 2566 เป็นผลงานที่ได้รับแรงบันดาลใจ
จากงานจักสานในท้องถิ่นล้านนาไทย ส่วนผลงานในปี 2567 เป็นผลงานที่สนใจ
เกี่ยวกับการผลิตกระดาษสาทำมือในท้องถิ่นล้านนาเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการ
สร้างสรรค์ผลงานของตนเอง อย่างไรก็ดีผลงานในทุกๆ ชิ้น แม้จะมีที่มาทาง
แนวความคิดที่แตกต่างกัน แต่โดยส่วนใหญ่ผลงานเหล่านั้นมักจะถูกสร้างสรรค์ด้วย
การผสมผสานหลักของการปฏิบัติการทางสมาธิเข้ากับหลักปฏิบัติการทางศิลปะเข้า
ไว้ด้วยกันเสมอ

1019739763270693_7275-cr

ในการสร้างแม่พิมพ์สำหรับการสร้างสรรค์ผลงานส่วนใหญ่จะสร้างด้วยการวาดสดลง
บนแม่พิมพ์โดยตรง บางครั้งสร้างด้วยการใช้พู่กันจุ่มหมึกและตวัดลงบนม่พิมพ์แบบ
ตรงไปตรงมา บางครั้งใช้ดินสอร่างภาพจากภาพเงาตกกระทบของต้นแบบ ดังผลงาน
ชุด ดุลยภาพ : ร่างกายกับลมหายใจ ที่ใช้แปรงพู่กันจุ่มหมึกและตวัดภาพทิวทัศน์ที่
อยู่เบื้องหน้าลงบนแม่พิมพ์แบบตรงไปตรงมา และ ผลงานชุด "เครื่องจักสานล้านนา"
ที่สร้างแม่พิมพ์ด้วยการวาดภาพเงาของเครื่องจักสานที่ทาบลงบนเพลดไม้แม่พิมพ์
โดยตรง เพื่อนำลายเส้นเงานั้นเงานั้นไปสร้างเป็นแม่พิมพ์สำหรับพิมพ์ออกมาเป็น
ผลงานชุดดังกล่าว

0161399120725909_730-cr

ในกระบวนการทำงานศิลปะภาพพิมพ์แม่พิมพ์ไม้สีน้ำ หลังจากสร้างแม่พิมพ์แล้ว จะ
นำแม่พิมพ์นั้นมากั้นส่วนที่ไม่ต้องการให้หมึก(สีน้ำ) ติดแม่พิมพ์ด้วยแลคเกอร์
หลังจากนั้นนำแม่พิมพ์ มาพิมพ์ด้วยสีน้ำลงบนกระดาษที่ทำชื้นแล้ว กระบวนการใน
การสร้างสรรค์ผลงานนี้ ผู้สร้างสรรค์มักจะใช้ช่วงระยะเวลาที่ละเอียดและมีขั้นตอน
พิถีพิถันนี้ไปพร้อมๆ กับการทำสมาธิ ที่นับเป็นการใช้เวลาทุกช่วงขณะของการ
ทำงานและการดำเนินชีวิตเพื่อฝึกสมาธิ เพื่อปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานไปพร้อมกันด้วย
การปฏิบัติการสร้างสรรค์งานศิลปะจึงเปรียบเสมือนวิถีทางหนึ่งแห่งการปฏิบัติการทาง
สมาธิไปพร้อมๆ กัน เฉกเช่นกับการตื่นนอนตอนเช้า ล้างหน้า แปรงฟัน รับประทาน
อาหาร ทำงาน และสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ก็เช่นกัน

Nop3-cr

JY . คุณหวังว่างานการพิมพ์ภาพของคุณจะทิ้งข้อความที่เป็นแรงผลักดันหรือการเกิด
ผลกระทบใดให้กับศิลปินรุ่นต่อๆ ไป โดยเฉพาะในส่วนของความเป็นผู้หญิง
NS . การสร้างสรรค์ผลงานมันคือวิถี เป็นการขัดเกลาตัวเองผ่านการทำงาน ถ้าเราไม่
มองว่ามันเป็นภาระต้องมีเวลา ต้องมีพื้นที่ ต้องมีสตูดิโอ อุปกรณ์ต้องพร้อม ข้อจำกัด
ที่มีมากมายจะทำให้เราท้อและไม่อยากเริ่มต้นทำงาน แต่ถ้าเรามองว่าการทำงาน
ศิลปะมันเป็นส่วนหนึ่ง เป็นนวิถีของชีวิต เป็นเหมือนกับการรับประทานอาหาร การ
ล้างจาน การใช้ชีวิต มันก็จะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราที่ต้องทำมันอย่างเรียบง่ายและ
เป็นปกติ มันเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติตน เราไม่ได้แบ่งแยกว่าต้องรอมีเวลาถึงจะ
เริ่มทำงาน มันทำได้ตลอดเวลา ไม่ต้องมีอุปกรณ์มากมาย ไม่ต้องมีสตูดิโอที่
เพียบพร้อม แต่มันทำได้ทุกที่ทุกเวลา แค่เราต้องเปิดใจเรียนรู้ และรับวิถีของมัน มัน
จึงจะเป็นวิถีของเรา

Nop2-cr

ส่ง
อีเมล์
หน้านี้

 

การเลือกรูปภาพและข้อความ
Danin Adler

จานีน ยโสวันต์ เป็นนักเขียน
เธออาศัยอยู่ในเชียงใหม่ประเทศไทย
สำหรับบทความและบทวิจารณ์อื่นๆ ของ จานีน ยโสวันต์
กรุณาตรวจดู
 แฟ้มเก็บข้อมูล

Click Here for this article in English
                    
©2025 Janine Yasovant 
                    
©2025 Publication Scene4 Magazine

 

inSight

April 2025

 

  Sections Cover · This Issue · inFocus · inView · inSight · Perspectives · Special Issues
  Columns Adler · Alenier · Alpaugh · Bettencourt · Jones · Luce · Marcott · Walsh 
  Information Masthead · Your Support · Prior Issues · Submissions · Archives · Books
  Connections Contact Us · Comments · Subscribe · Advertising · Privacy · Terms · Letters

|  Search This Issue | Search Archives | Share Page |

Scene4 (ISSN 1932-3603), published monthly by Scene4 Magazine
of Arts and Culture. Copyright © 2000-2025 Aviar-Dka Ltd

April 2025

Thai Airways at Scene4 Magazine
fuji