www.scene4.com
Ajarn Lawan Upa-in | interview with Janine Yasovant | Scene4 Magazine - November 2021 www.scene4.com

อาจารย์ ลาวัณย์ อุปอินทร์
 ศิลปินแห่งชาติ
สตรีไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติ
สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม)

  จานีน ยโสวันต์

นับเป็นโอกาสอันดีที่ดิฉันได้มีโอกาส สัมภาษณ์ อาจารย์ ลาวัณย์ อุปอินทร์
ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พ.ศ. 2559 ท่านเป็นศิลปินหญิงคน
แรกที่ได้รับการยกย่องชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ที่มีความโดด
เด่น

 

alu-1

 

ตั้งแต่สมัยเป็นนักเรียนโรงเรียนศิลปะศึกษา ซึ่งเป็นโรงเรียนเตรียม ของ
มหาวิทยาลัยศิลปากร ท่านเป็นบัณฑิตหญิงคนแรกที่สำเร็จการศึกษาระดับ
ปริญญาตรี จากคณะจิตรกรรมและประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ท่านเป็น
นักศึกษาของอาจารย์ศิลป์ พีระศรี และมีโอกาสทำหน้าที่เป็นครูผู้ช่วยสอนของ
ท่าน และได้ร่วมงานเป็นอาจารย์ที่คณะจิตรกรรมและประติมากรรม ตั้งแต่เรียนอยู่
ชั้นปีที่ 4 จนกระทั่งเกษียณอายุ มหาวิทยาลัยได้เชิญท่านเป็นวิทยากรที่คณะ
มัณฑนศิลป์อย่างต่อเนื่อง นักเรียนทุกรุ่นที่เรียนกับอาจารย์ลาวัณย์ อุปอินทร์ จะ
เคารพและชื่นชมอาจารย์เป็นอย่างมาก

 

Lawan03-cr

อาจารย์และทำงานหนัก ทุกครั้งได้เปิดสตูดิโอและแกลลอรี่เป็นศูนย์การ
เรียนรู้ให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมวาดภาพตลอดทั้งเดือน ท่านยังคงทำงานวาด
ภาพทุกวัน หลายคนสนใจนิทรรศการและผลงานของ อาจารย์สมโภชน์ อุปอินทร์
สามีผู้ล่วงลับของท่าน

ต่อไปนี้คือบทสัมภาษณ์:

JY. กรุณาเล่าเกี่ยวกับวัยเด็กและการศึกษาของท่านในวัยเยาว์

LU. ดิฉันเกิดในปี พ.ศ. 2478 เป็นบุตรสาวคนหนึ่งในแปดคนของ
พลเรือโทศรี ดาวราย และ ม.ร.ว.อบละออ สุบรรณ ดิฉันเป็นลูกสาวคนที่สี่ แม่ของ

 

Mom-1-cr

ดิฉันเป็นครูที่โรงเรียนสตรีวัดระฆัง ในปี พ.ศ. 2494 ดิฉันอยู่ชั้นม.7 ในวันนั้นมีการ
จัดแสดงศิลปะแห่งชาติที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ดิฉันรู้จากเพื่อนของพี่ชายว่าจะมี
การเปิดเรียนที่มหาวิทยาลัยให้นักเรียนเข้าเรียนวิชาศิลปะในปีแรก ดิฉันรู้สึก
ตื่นเต้นมากเมื่อได้พยายามและค้นพบตัวเองว่า ดิฉันอยากเรียนศิลปะ แต่
วันสอบได้ ดิฉันต้องขออนุญาตจากแม่ ทีแรกแม่ไม่ยอม ที่บ้านไม่รองรับเลย
เนื่องจากต้องเสียเวลาเรียน ม.7 เป็นเวลาหนึ่งปี แต่ดิฉันต้องการเลือกเส้นทาง
ชีวิตนี้ด้วยตัวเอง ดิฉันยืนยัน ในที่สุด ครอบครัวของดิฉันก็ยอม ดิฉันตั้งใจเรียน
และทำงานหนัก ทุกครั้งดิฉันเป็นอันดับหนึ่งในทุกการสอบที่ดิฉันได้ทำ
ในปี พ.ศ. 2497 ดิฉันเข้าเรียนคณะจิตรกรรมและประติมากรรมของ มหาวิทยาลัย
ศิลปากร เวลานั้น มีนักศึกษาชาย 35 คน และนักศึกษาหญิง 5 คน ดิฉันเป็นลูก
ศิษย์ของอาจารย์ศิลป์ พีระศรี และเป็นล่าม เพราะอาจารย์ศิลป์พูดภาษาไทยไม่
ชัด และเป็นผู้หญิงคนแรกของประเทศไทยที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก
คณะจิตรกรรมและประติมากรรมที่มหาวิทยาลัยศิลปากร อาจารย์ศิลป์ พีระศรีจึง
แนะนำให้เลือกเรียนประติมากรรม เพราะดิฉันได้ผลการเรียนดีด้านประติมากรรม
ท่านอาจารย์ กล่าวว่าศิลปินที่สร้างอนุสาวรีย์ขนาดใหญ่ของผู้คนจะต้องทึ่งใน
ความสามารถของศิลปิน ยิ่งถ้าคนรู้ว่ามาจากผู้หญิง

 

L1cr

น่าเสียดายที่ดิฉันเป็นโรคหอบหืด เลยต้องเปลี่ยนไปเรียนการวาดภาพแทน

L03-cr

เมื่อดิฉันอยู่ปีห้า ดิฉันสอนการวาดภาพทางทีวี ช่อง 4 บางขุนพรหม ซึ่งตอนนั้นมี
เพียงช่องเดียว กับการสอนวาดรูป
ดิฉันได้รับแรงบันดาลใจจากเด็กๆ หลายคนที่สนใจเข้าเรียนวิชาศิลปะที่
มหาวิทยาลัยศิลปากร แต่สิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของดิฉันคือ การถวายงานรับใช้
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ

JY. กรุณาช่วยเล่าถึงงานของท่านในฐานะศิลปินในรัชกาลที่9 และสมเด็จพระนาง
เจ้าสิริกิติ์

LU. เริ่มด้วยงานมหกรรมศิลปะแห่งชาติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม
ราชกุมารี ทรงเป็นประธานเปิดนิทรรศการศิลปะแห่งชาติสิริกิติ์ สมเด็จพระราชินี
เสด็จไปดูงานแล้วทรงบอกว่าพระองค์ ไม่รู้อะไรเลยจนกระทั่งพบภาพวาดรูป
มารดาของดิฉัน (ม.ร.ว. อบละออ สุบรรณ)
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถทรงทอดพระเนตรภาพนี้แล้วตรัสกับ
ท่านว่าน (หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์) ว่างานสวยมาก รูปนี้เหมือนคุณหญิง
คุณนาย หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ ถามว่าฝ่าบาทต้องการพบจิตรกรหรือไม่ ทันที
ที่ดิฉันมาถึง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ตรัสว่า "โอ้ ฉันคิดว่าจิตรกรเป็นผู้ชาย ฉันไม่
คิดว่า เธอเป็นผู้หญิงและเป็นครูด้วย ลาวัณย์ ฉันเป็นแฟนเธอมานานแล้ว"
ตอนนั้นดิฉันจัดโปรแกรมสอนวาดรูปอยู่ที่ รายการช่อง 4 บางขุนพรหม เป็นที่รู้จัก
ค่อนข้างดี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นแฟนคลับ ทรงเป็น
แฟนรายการเขียนรูปประกอบละคร และเราดีใจกัน และมีความสุขมาก

 

KQ-cr

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ตรัสว่า
พระราชินี ชอบฝีมือของอาจารย์ลาวัณย์ จึงทรงมีพระราชดำรัสให้วาดภาพพระ
ราชวงศ์สี่รูป หลังจากที่วาดภาพเสร็จแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง
ประทานเงินให้ห้าหมื่นบาท ในสมัยก่อนเป็นเงินจำนวนมาก ตอนนั้นราคาทองแค่
บาทละ 400 เท่านั้น ดิฉันเลยนำเงินมาสร้างบ้านอุปอินทร์ หลังนี้

 

rf-1 rf2

rf3 rf4

JY. กรุณาเล่าเกี่ยวกับคู่สมรสของท่าน อาจารย์ สมโภชน์ อุปอินทร์

LU. สมโภชน์ อุปอินทร์เป็น อาจารย์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เขานั่งอยู่ห้อง
เดียวกับดิฉัน รู้จักกันเป็นเวลา 10 ปีแล้ว ดิฉันพบว่าเขากำลังวาดภาพที่ดูเหมือน
ตัวดิฉัน เป็นเด็กสาวยืนถือดอกกุหลาบ

 

just-not-a-flower-cr

คุณรู้หรือไม่เมื่อดิฉันพบภาพที่แอบวาดนั้น อาจารย์สมโภชน์ อุปอินทร์ไม่ใช่คน
รวยแต่เป็นคนเก่ง ดิฉันรู้สึกชอบเขาแล้วได้ตกลงจะแต่งงานกับเขา
แม้ว่าอาจารย์สมโภชน์ อุปอินทร์ จะเลือกเรียนประติมากรรมที่มหาวิทยาลัย
ศิลปากร แต่ผลงานส่วนใหญ่เป็นภาพเขียน สามีของฉันเป็นที่รู้จักในฐานะผู้นำ
ของลัทธิเขียนภาพแบบ คิวบิสม์ ในประเทศไทย

 

SP18-cr

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชชอบงานของอาจารย์สมโภชน์
มาก สมัยนั้นดิฉันเคยทำงานที่ราชสำนักในงานศิลปกรรมแห่งชาติ ดิฉันพบ
ภาพเขียนสองภาพที่ซื้อมาในนามของจิตลดา ตัวแทนของมูลนิธิ จิตรลดาบอก
ดิฉันทันทีว่าพระองค์ได้ทรงซื้อมาแล้ว เป็นภาพวาดสองชิ้นเป็นศิลปะแบบ คิวบิสม์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตรัสผ่านอาจารย์ศิลป์ พีระศรีว่าบุคคลนี้จะประสบ
ความสำเร็จ เวลาผ่านไป สักพักดิฉันก็เรียนถามพวกผู้ใหญ่ในวังว่าอยากดูงานของ
อาจารย์สมโภชน์ไหม ต่อมาเราได้จัดจัดนิทรรศการสำหรับพระองค์ที่เสด็จมา
ทอดพระเนตร เป็นการส่วนพระองค์
อาจารย์ สมโภชน์ อุปอินทร์เป็นศิลปินและทำงานด้านศิลปะสมัยใหม่ที่ไม่ค่อยได้
จัดแสดงในประเทศไทย แต่เป็นที่รู้จักและยอมรับในต่างประเทศ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสิงคโปร์ร่วมกับศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรมปอมปิดูร์จัด
นิทรรศการ "Reframing Modernism" ประจำปี2559 โดยคัดเลือกผลงานของ
อาจารย์สมโภชน์ทั้ง 6 ชิ้นมาจัดแสดงร่วมกับผลงานของศิลปินที่มีชื่อเสียงระดับ
โลก เช่น Pablo Picasso, Henri Matisse, Marc Chagall
ดิฉันกับ บุตรชายเดินทางไปสิงคโปร์ในฐานะวิทยากรเพื่อให้ผู้เข้าชมนิทรรศการ
ทราบถึงประวัติผลงาน

 

Reframing-Modernism-cr

อ.สมโภชน์ อุปอินทร์ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2557 อายุ 79 ปี แต่ทาง
ครอบครัวยังคงจัดงานแสดงให้ชมเป็นประจำทั้งในและต่างประเทศ

***

House of UPA-IN เปิดให้บริการเป็นแกลลอรี่ สตูดิโอ และแหล่งเรียนรู้
ยินดีต้อนรับผู้ที่สนใจในงานศิลปะเมื่อทุกอย่างเข้าที่ และปลอดภัย
จากโรคระบาดทุกคนสามารถมาเยี่ยมชมได้

L10-cr

กรุณาลงความเห็น เกี่ยวกับบทความนี้ี้

Scene4 Magazine: Janine Yasovant

ส่ง
อีเมล์
หน้านี้

จานีน ยโสวันต์ เป็นนักเขียน
เธออาศัยอยู่ในเชียงใหม่ประเทศไทย
สำหรับบทความและบทวิจารณ์อื่นๆ ของ จานีน ยโสวันต์
กรุณาตรวจดู
 แฟ้มเก็บข้อมูล

Click Here for this article in English
©2021 Janine Yasovant
©2021 Publication Scene4 Magazine

 

การเลือกรูปภาพและข้อความ
Arthur Danin Adler

 

www.scene4.com

November 2021

  Sections Cover | This Issue | inFocus | inView | inSight |Perspectives |Special Issues 
  Columns Adler | Alenier | Bettencourt | Jones | Luce | Marcott |Walsh | Letters 
  Information Masthead | Submissions | Prior Issues | Privacy |Terms | Books | Archives 
  Connections Contact Us | Your Comments | Subscribe | Advertising | Your Support 

| Search Issue | Search Archives |

Scene4 (ISSN 1932-3603), published monthly by Scene4 Magazine–International Magazine
of Arts and Culture. Copyright © 2000-2021 Aviar-Dka Ltd – Aviar Media Llc.

sciam-subs-221tf71
peta-banner-end-specisism-o1
calibre-ad1
Thai Airways at Scene4 Magazine
HBO-Max6