February 2024

W5cr

วาสนา สีสัง

การมีส่วนร่วมของศิลปินไทยต่อสังคมในปัจจุบัน
เพราะงานไม่ได้ไกลจนเกินเอื้อมอีกต่อไป

จานีน ยโสวันต์

าสนา สีสัง เป็นศิลปินอิสระที่มีความชัดเจนในผลงานของเธอ และนำเสนอ
งานศิลปะในระดับโลก

JY. กรุณาเล่าถึงว่าต้องการนำเสนออะไร กับผู้อ่านทั่วโลกเกี่ยวกับการยอมรับ
ผลงานที่คุณสร้างขึ้น และประสบการณ์ใดบ้างที่คุณต้องการแบ่งปันกับศิลปินใหม่
WS. งานศิลปะของดิฉันไม่ยึดติดกับสไตล์ที่ต้องมีรูปแบบเดียวกันเสมอไป
เรื่องราวที่ถ่ายทอดจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสถานการณ์ สถานที่เปลี่ยน
ความคิดก็เปลี่ยน

ในช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง ภูมิทัศน์การทำงานก็เปลี่ยนไปเช่นกัน ถ้าใจไม่
พร้อมจะทำก็ไม่ทำ ไม่มีภาพร่างแต่เป็นวิธีการแก้ปัญหาในชิ้นงานจริงบนเฟรม

โดยส่วนตัวดิฉัน สำเร็จการศึกษาเอกจิตรกรรมไทย แน่นอนว่าภาพวาดในยุคแรกๆ
ของดิฉันเป็นประเพณีไทยโบราณที่ยึดติดกับจารีตประเพณีวัฒนธรรม  ซึ่งคนรุ่น
ใหม่อาจมองว่าล้าสมัย แต่ดิฉันภูมิใจที่ได้เรียนรู้ถึงรากเหง้าของวัฒนธรรม ชีวิต
และจิตวิญญาณของช่างไทยในอดีต . โดยใช้สีแบบโบราณ สีฝุ่นที่ได้จาก
ธรรมชาติมาหมักเพื่อทาสี หรือแม้แต่บดหินให้กลายเป็นสี เป็นงานละเอียด ใช้
เวลา และมีกระบวนการที่ซับซ้อน ด้วยพื้นฐานต่างๆเหล่านี้หล่อหลอมให้ดิฉันเป็น
คนที่ทำงานละเอียดพิถีพิถัน

ในเวลาต่อมาแนวงานของดิฉันเริ่มเปลี่ยนไปสีฝุ่นหรือสีจากธรรมชาติไม่อาจตอบ
โจทย์ความต้องการในงานของดิฉัน สีอะคลิริคเป็นตัวเลือกใหม่เข้ามามีส่วนใน
การพัฒนางานของดิฉัน งานศิลปะของดิฉันเริ่มหลุดออกจากแนวประเพณีเดิมๆ
ปิดทอง ตัดเส้นแบบงานศิลปะไทยโบราณ เริ่มหันมาหาเรื่องราวรอบๆตัววิถีชีวิต
ความเป็นอยู่ ในขณะนั้นได้มีโอกาสไปศึกษาที่อินเดีย ความประทับใจในชีวิต
พื้นบ้าน ผู้คนในหมู่บ้านที่สร้างจากดิน ความเป็นอยู่เรียบง่ายๆแต่สงบ สีสันความ
เป็นอินเดียเริ่มเข้ามามีบทบาทกับงานจิตรกรรมของดิฉัน

ท่านอาจารย์ที่อินเดียแนะนำให้เรียนรู้จิตรกรรมโบราณของอินเดีย ภาพประกอบ
เทพปกรณัมของทางอินเดีย ความฉูดฉาดของการใช้สี ช่วงเวลาที่อยู่อินเดียนี้แนว
งานจิตรกรรมของดิฉันจะมีสองแบบคือ แบบวิถีชุมชนชาวบ้านอินเดียและแบบ
พอตเทรต(portrait)  

W10cr

จนกระทั้งกลับมาอยู่เมืองไทย ความคิดก็เปลี่ยนกลับมาอยากวาดชีวิตชุมชน
ชนบทของไทยช่วงเวลานี้มีโอกาสได้ช่วยงานวัดที่อำเภอดอยเต่า จึงมีโอกาสได้
สัมผัสบรรยากาศชีวิตความเป็นอยู่ของคนชนบท ทุ่งนาสุดขอบฟ้าที่เขียวขจี และ
บางเวลาก็เป็นสีเหลืองทองเมื่อผ่านฤดูกาลต่างๆ นาๆ วนไปวนมา  เหมือนชีวิต
และผลงานของดิฉันที่งานจะเปลี่ยนแปลงไปแบบไม่ยึดติดและอาจจะ วนกลับ
ไปสู่รูปแบบประเพณี ซึ่งก็เป็นจริง……การกลับมาสู่เทพปรณัมองค์ต่างๆ 

ด้วยความเชื่อของคนไทยในเรื่องเทพ พระพรหม พระศิวะ พระแม่อุมา พระลักษมี
พระพิฆเณศ  พระอิน พญานาค พระราหู ท้าวเวสสุวรรณ เจ้แม่กวนอิม ล้วนเป็น
องค์เทพที่คนไทยให้ความนับถือ ศาสตร์สายมูเริ่มเข้ามามีบทบาทในสังคมยุคใหม่
ดิฉันจึงหันมาวาดเหล่าเทพเซียนที่ผสมผสานเทคนิคในการวาดเฉพาะตัวซึ่งอาจ
เกิดจากการบ่มเพาะจิตรกรรมไทย ผสม จิตรกรรมอินเดีย

W8cr

และเมื่อถึงจุดความเบื่อก็คลืบคลานเข้ามาอีกครั้ง หาแนวทางใหม่ เรื่องราวใหม่ๆ
จนเกิดเป็นงานชุดใหม่ที่มีตัวเอกเป็นกระต่าย 

ผลงานในยุคปัจจุบันดิฉันใช้กระต่ายเป็นสื่อในการสร้างสรรค์ ทำไมถึงเป็น
กระต่าย?  กระต่าย เป็นสัตว์โลกตัวน้อยที่อยู่คู่กับมนุษย์มาช้านาน ในหลาย
วัฒนธรรม กระต่ายถือเป็นสัญลักษณ์ของความโชคดี ความอุดมสมบูรณ์ มั่งคั่ง
และเป็นสัญลักษณ์แห่งความรักในครอบครัว กระต่ายจึงเป็นสัตว์ในตำนานที่พบ
เห็นได้หลายเผ่าพันธุ์ หลากหลายจินตนาการเกิดเป็นเรื่องราว นิทานแฝงคติธรรม
เกี่ยวข้องกับกระต่ายในแต่ละประเทศ

W14cr

ด้วยเหตุนี้ Rabbit Theater ในจินตนาการของดิฉันจึงเกิดขึ้น โดยหยิบยกเอาชุด
เสื้อผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของชนชาติต่างๆ ความประทับใจในสีสันและความวิจิตร
งดงามของเสื้อผ้า เครื่องสวมศีรษะ อันเป็นวิวัฒนาการและวัฒนธรรมของแต่ละ
เชื้อชาติที่แสดงออกมาว่าประเทศนั้นๆมีอารยะธรรมความเจริญอันยิ่งใหญ่มา
ยาวนาน

JY. กรุณาเล่าประวัติ ชีวิต การศึกษา ทั้งในไทยและต่างประเทศ
WS. ชีวิตการเรียนศิลปะนับตั้งแต่เรียนปวช. ที่วิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ
(บางปู) สาขาวิชาที่เรียนคือศิลปหัตถกรรม คือเรียนงานศิลปะที่ทำด้วยมือทุก
แขนง วาด ปั้น หล่อ สาน งานเครื่องรัก เบญจรงค์ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องหนัง
จิตรกรรมไทย สถาบันแห่งนี้จุดประกายให้อยากเรียนจิตรกรรมไทยในเวลาต่อมา
ปวส. สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ( เพาะช่าง) เอกจิตรกรมไทย ในอดีตนับเป็น
สาขาที่เข้าเรียนได้ยากผู้สมัครเยอะและรับไม่มาก ระหว่างทางอาจเรียนไม่สำเร็จ
เพราะความเข้มงวดของอาจารย์ที่ปรารถนาดีแก่ลูกศิษย์

ดิฉันเรียนจบปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล (คลองหก) เป็นแบบแผนที่
เรียนต่อกันมาจากเพาะช่างสู่ราชมงคล(คลองหก)เรียนสองปีรับปริญญา ในช่วง
เวลานั้นเรียนเอกจิตรกรรมไทยสายครู(เรียนเป็นครูศิลปะ) เพราะไม่มีสายตรง
(เรียนเป็นนักศิลปะ) 

หลังจากจบปริญญาตรีเริ่มวาดภาพส่งประกวดในเวทีต่างๆ เริ่มได้รับรางวัลครั้งแรก
เหรียญทองแดงจิตรกรรมบัวหลวง และส่งประกวดในสถาบันต่างๆได้รับรางวัลมา
เรื่อยๆ  จนตัดสินใจเรียนต่อ 

หลักสูตร Advance diploma ที่มหาวิทยาลัยวิศวภารติ ศานตินิเกตัน ประเทศ
อินเดีย ส่งใบสมัครไปทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ รอร่วมปีไม่รู้ว่าจะได้รับเลือก
ให้เข้าเรียนหรือไม่ เอกสารหายระหว่างทางหรือไม่ ไม่มีคำตอบ จึงออกเดินทาง
ตามหาคำตอบ สาเหตุที่เลือกที่นี่เป็นแหล่งเรียนรู้เพราะแฟนชวนตามรอย อาจารย์
เฟื้อ หริพิทักษ์ และคิดว่าสถานที่แห่งนี้จะต่อยอดงานจิตรกรรมฝาผนัง อยาก
เรียนด้านงานอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนัง ข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับสถาบันเป็นศูนย์ รู้แต่
เป็นสถานที่อมตะบ่มเพาะศิลปินมามากมาย

W3cr

แต่ผลคือไม่มีการเรียนการสอนด้านงานอนุรักษ์ แล้วผลการคัดเลือกเข้าเรียนดิฉัน
ก็ได้รับเลือกจึงได้เรียนแบบงง…งง หลักสูตรที่ดิฉันได้เรียนคือ Advance
Diploma หรืออนุปริญญาโท เรียนปฏิบัติอย่างเดียวไม่ต้องเรียนทฤษฏี วิชาปฏิบัติ
เรียนร่วมกับนักศึกษาปริญญาโท การคัดเลือกบุคคลเข้าเรียนต่อของที่นี่สร้าง
ความภูมิใจให้ดิฉันมาก ในหนึ่งห้องมีนักศึกษาอินเดียที่มาจากแต่ละรัฐไม่ซ้ำกัน
เป็นความตั้งใจในหลักการของผู้ก่อตั้งสถาบัน ให้เป็นจุดศูนย์กลางระหว่าง
ตะวันตกพบกับตะวันออก ไร้พรมแดน เพื่อนอินเดียร่วมชั้น12 คน ต่างชาติจะได้รับ
เลือกให้เรียนห้องละคนนั่นก็คือดิฉันเป็นต่างชาติคนเดียวในห้อง ใช้เวลาเรียน 2 ปี 

การเรียนการสอนที่นี่ไม่มีอาจารย์มาจ้ำจี้จ้ำไช หรือต้องส่งเสก็ตซ์งาน ผ่านถึงจะ
ลงมือทำได้ แต่เป็นการเรียนที่คุณต้องรับผิดชอบตัวเอง ทำงาน ๆ ถึงเวลาอาจารย์
จะมาแนะแนวทางว่าควรศึกษาต่อยอดส่วนไหนต่อโดยไม่เอาความคิดเห็นของ
อาจารย์เข้าไปในงานของเรา อิสระทางความคิด ในหนึ่งเทอมตรวจงานสองครั้ง
คุณต้องทำงานออกมาให้ดีที่สุดและวันสอบส่งงานผลงานของคุณจะเป็นตัวชี้วัด
นักศึกษาทุกคนในคณะและบุคคลทั่วไปสามารถเข้าชมงานที่คุณทำมาทั้งเทอมได้

หลังจากเรียนจบก็ยังใช้ชีวิตและเรียนๆเล่นๆอีก1ปีในอินเดีย มีโอกาสได้ลงไปใต้
สุดของอินเดีย และขอเรียนจิตรกรรมฝาผนังสกุลช่างเคราล่า (kerala)ซึ่งดิฉัน
เรียนแบบรวบรัดใช้เวลาไม่นานเพราะมีพื้นฐานงานจิตรกรรมไทยเป็นที่ฮือฮาใน
สถาบันคุรุวายู โดยรวมการวาดระบายสี กระทบเส้นเหมือนกัน แหล่งที่มาสี
ธรรมชาติคล้ายๆกัน ต่างกันที่กาวตัวประสานยึดติดและวิธีการทำพื้นผนังที่ต่างกัน
มาก

โดยรวมแล้วชีวิตในการศึกษาที่อินเดียมีค่ามากมายเพราะไม่ใช่ชีวิตในห้องเรียน
เท่านั้น แต่เป็นชีวิตที่ดิฉันจะต้องอยู่ให้ได้ในสังคม หมู่บ้าน เพื่อนบ้าน รวมถึงการ
เดินทางอยู่อย่างไรให้ปลอดภัย สุขใจและสบายใจ อินเดียเป็นคำตอบที่ดีในการ
ใช้ชีวิต ยากจนหรือร่ำรวยก็อยู่บนตู้รถไฟเดียวกัน ถนนเส้นเดียวกันมีทั้ง รถยนต์
มอเตอร์ไซค์ จักรยาน วัว ควาย แพะ หมาแมว ลา เป็นเมืองที่สอนให้รู้จักการใช้
ชีวิตที่ดีที่สุด

W6cr

JY. คุณชอบผลงานของศิลปินคนไหนมากที่สุด?จะเป็นศิลปินไทยหรือ
ต่างประเทศก็ได้
WS. ศิลปินที่ฉันชื่นชมเป็นพิเศษคือ Gustav Klimt ศิลปินไทยชื่นชอบผลงาน
ของอาจารย์เฉลิม นาคีรักษ์

JY. คุณพอใจกับผลงานที่ผ่านมามากน้อยเพียงใด?
WS. งานที่ผ่านมาของตนเองก็พอใจที่ทำออกมาสำเร็จในทุกชิ้น ชอบในช่วงเวลา
นั้นๆ แต่ย้อนกลับไปดูอาจมีข้อที่ต้องแก้ไข ก็นำไปพัฒนาในชิ้นต่อๆไป

JY. เล่าถึงการใช้วัสดุอุปกรณ์ละเทคนิคต่างๆของคุณ และเพื่อนศิลปินที่คุณ
ร่วมงานด้วยล่ะ?

WS. อุปกรณ์และเทคนิคการวาดภาพเป็นเรื่องเฉพาะตน ต้องลองปฏิบัติ ลงมือทำ
ด้วยตนเองแล้วจะรู้ เลือกของคุณภาพดีไว้ก่อนอย่าเห็นแก่ของราคาถูกของแพง
อาจย่นระยะเวลาในการทำงานไปได้มาก เช่นสีซีรีย์สูงๆ ผสมสีอย่างไรก็ได้ตาม
ตั้งใจ แต่ใช้สีซีรีย์ต่ำ ผสมยังไงก็ไม่ได้ตามที่ต้องการ เผลอๆผสมไปเรื่อยจนต้อง
ทิ้ง 

W11cr

เคยร่วมงานเขียนภาพกับคุณแฟน (กฤษณะ ชวนคุณากร) ร่วมวาดภาพในโบสถ์
วัดอนันทเมตยาราม ประเทศสิงคโปร์ ใช้เวลา 3 ปีวาดกันเพียงสองคน  แต่ก็มี
โอกาสได้ชมงานแสดงศิลปะใหญ่ๆที่สิงคโปร์จัดขึ้นตลอดระยะเวลาที่อยู่ที่นั่น
ด้านงานแสดงศิลปะส่วนใหญ่ก็มักแสดงคู่กับคุณกฤษณะมาโดยตลอด 

การเข้ามาช่วยสังคมของศิลปินไทยในปัจจุบันนับว่าดียิ่งขึ้น คนรุ่นใหม่เข้าถึงงาน
ศิลปะอย่างเห็นได้ชัด งานสตรีทอาร์ตที่ได้รับความนิยม คนไม่เรียนรู้ศิลปะก็ซึม
ซับเข้าถึงได้แค่เห็นสีสันก็ตื่นตาตื่นใจ ยิ่งงานศิลปะที่จับต้องได้ ผู้คนที่ชมเป็นส่วน
หนึ่งในงานยิ่งสร้างความสุข สนุกกับผู้ชม ไม่ใช่การสื่อสารทางเดียวแต่มีผู้รับสาร
และเข้าถึงสารที่ผู้สร้างสรรค์ต้องการนำเสนอ ศิลปะจึงไม่ใช่เรื่องที่อยู่สูงจนเอื้อม
ไม่ถึงอีกต่อไป

W7cr

ส่ง
อีเมล์
หน้านี้

 

การเลือกรูปภาพและข้อความ
Danin Adler

จานีน ยโสวันต์ เป็นนักเขียน
เธออาศัยอยู่ในเชียงใหม่ประเทศไทย
สำหรับบทความและบทวิจารณ์อื่นๆ ของ จานีน ยโสวันต์
กรุณาตรวจดู
 แฟ้มเก็บข้อมูล

Click Here for this article in English
                  
©2024 Janine Yasovant 
                  
©2024 Publication Scene4 Magazine

 

 

February 2024

  Sections Cover · This Issue · inFocus · inView · inSight · Perspectives · Special Issues
  Columns Adler · Alenier · Alpaugh · Bettencourt · Jones · Luce · Marcott · Walsh 
  Information Masthead · Your Support · Prior Issues · Submissions · Archives · Books
  Connections Contact Us · Comments · Subscribe · Advertising · Privacy · Terms · Letters

|  Search Issue | Search Archives | Share Page |

Scene4 (ISSN 1932-3603), published monthly by Scene4 Magazine
of Arts and Culture. Copyright © 2000-2024 Aviar-Dka Ltd – Aviar Media Llc.

Thai Airways at Scene4 Magazine