ภัควี แก่งทองหลางเป็นศิลปินไทยในแดนอิสานใต้ ดิฉันติดตามงาน
ประติมากรรมของเขามานานพอสมควร เริ่มแรกความสนใจว่า เมื่อดินด่านเกวียน
ของจังหวัดนครราชสีมามีคุณภาพดี
เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน สามารถผลิตสินค้าได้หลากหลายประเภท อาทิ
เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เครื่องใช้ทางการเกษตร ของตกแต่งบ้านและสวน
รวมทั้งเครื่องประดับ โดยรูปแบบการผลิตยังคงเอกลักษณ์ทางภูมิปัญญาท้องถิ่น
ของด่านเกวียนเอาไว้อย่างชัดเจน ทั้งวัตถุดิบที่นำมาใช้ผลิต การปั้น การตกแต่ง
ลวดลาย และการเผาให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดี แต่ถึงกระนั้น ปัญหาที่เกิดขึ้น
ในปัจจุบัน อาทิ วัตถุดิบที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการเผาหาได้ยากและมีราคาสูงขึ้น
อีกทั้งปัญหาด้านจำนวนช่างที่ลดน้อยลง และขาดการพัฒนารูปแบบของสินค้าให้
มีลวดลายที่แปลกใหม่ไปจากของเดิม ก็ทำให้การผลิตเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน
ไม่ถูกพัฒนาไปตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการสูญหายไปตาม
กาลเวลาจะมีศิลปินใดบ้างที่สนใจสร้างงานศิลปะขึ้นมาอีกบ้าง
ดิฉันได้ติดต่อศิลปินอีสานใต้หลายท่านตั้งแต่จังหวัดนครราชสีมาจนถึง
อุบลราชธานี และพบ ภัควี แก่งทองหลาง ต่อไปนี้เป็นบทสัมภาษณ์
JY.
กรุณาเล่าประวัติ การศึกษา และงานของคุณโดยย่อ อะไรเป็นแรงบันดาลใจ
ให้คุณมาเป็นประติมากร? คุณเริ่มทำงานด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์อะไรบ้าง?
PG.
แรงบันดาลใจมาจากคำเชิญของศาสตราจารย์ บริรักษ์ ศุภตรัยวรพงศ์
อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสารคาม เข้าร่วมกลุ่มดินเผาอีสาน ซึ่งแต่ก่อนจะ
ทำงานวาดภาพมาตลอด พอได้เริ่มศึกษาเกี่ยวกับดินเผาเลยได้เข้าไปดูงานและ
ศึกษางานจากอาจารย์ที่สารคามพอได้เริ่มงานปั่นดินเผาก็รู้สึกชอบเลยทำงานปั้น
มาตลอด ปั้นและเผาเองได้ลองผิดลองถูกมาโดยตลอดหาเทคนิคการเผาและงาน
ให้ออกมาเป็นตัวเองมากที่สุด
JY.
อธิบายสิ่งที่นำมาซึ่งความสำเร็จเป็นครั้งแรก คุณตัดสินใจเลือกรูปทรงและ
การออกแบบอย่างไร และใช้วัสดุและอุปกรณ์อะไรบ้างในการทำงาน?
PG.
ผลงานเครื่องปั้นดินเผาที่ประสบความสำเร็จครั้งแรกของผมได้รับรางวัล
เหรียญทองแดงจากการประกวดศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 65 ประติมากรรม
เครื่องปั้นดินเผาที่ทำด้วยมือในรูปทรงของมนุษย์ ผมใช้ดินบ้านหม้อจังหวัด
มหาสารคาม นับเป็นแหล่งดินคุณภาพดีอีกแหล่งหนึ่งของจังหวัดที่ใช้แทนดินด่าน
เกวียนจังหวัดนครราชสีมา
JY.
การปั้นเกี่ยวข้องกับรูปทรงและกลยุทธ์ที่จะทำจากวัสดุหลายชนิด คุณจะ
เลือกวัสดุนั้นได้อย่างไร?
PG.
ประติมากรรมใช้ดินเป็นหลัก ผมเคยใช้ดินที่มีอยู่ในท้องถิ่นแต่ไม่ประสบ
ผลสำเร็จกับวิธีการเผาและผสมดินที่ใช้ปั้น จึงได้ศึกษาดินจากหลายแห่ง เช่น ดิน
จากบ้านดอนเชียงบาน จังหวัดสกลนคร ดินจากด่านเกวียน จ.นครราชสีมา ก็ไม่
ประสบความสำเร็จ จนได้ลองเอาดินบ้านหม้อ จังหวัดมหาสารคามมาปั้นและเผา
จนประสบความสำเร็จสามารถเผากลางแจ้งได้จึงได้เลือกดินบ้านหม้อมาทำงาน
โดยตลอด
JY.
ศิลปินทั้งหลายได้รับแรงบันดาลใจจากการชมผลงานศิลปะหลากหลายจาก
ทั่วโลกเหมือนคุณ คุณพบ Concept งาน ของคุณ มุมมองส่วนตัวของคุณเกี่ยวกับ
ประสบการณ์ของคุณมีอิทธิพลต่องานที่คุณทำอย่างไร?
PG.
แรงบันดาลใจได้มาจากวิธีชีวิตของตัวเองเรียนรู้และถ่ายทอดออกมาเป็น
ผลงานของตัวเองให้ได้มากที่สุดซึ่งใช้หลักธรรมเข้ามาผสมผสานในผลงาน
หลักคำสอนต่างๆเพื่อให้เห็นการมองโลกแห่งความเป็นจริง เช่นความดี ความงาม
ของมนุษย์ ที่เกิดขึ้นและถ่ายทอดออกมาเป็นผลงานของตัวเอง
JY.
มีประติมากรรมทั้งแบบดั้งเดิมและร่วมสมัย งานของคุณเป็นอย่างไรบ้าง? คุณ
ให้ความหมายกับงานของคุณที่มาจากการค้นคว้าและมุมมองส่วนตัวของคุณ
เกี่ยวกับงานโดยใช้เทคนิคคลาสสิก - งานแบบดั้งเดิม หรือการทดลองใหม่ๆ คุณ
จะใช้มันได้อย่างไร?
PG.
ประติมากรรมที่ทำขึ้นเป็นผลงานร่วมสมัย งานที่ทำส่วนใหญ่มาจากมุมมอง
ของตนเองซึ่งแสดงออกมาจากความรู้สึกของตนเอง เทคนิคการทำงานเป็นของ
ตัวเอง ค้นหาเทคนิคต่างๆ การลองผิดลองถูก การลองผิดลองถูกจนเกิดผลลัพธ์
มาเป็นตัวของตัวเองให้มากที่สุด
*
ชื่อ
นายภัควี แก่งทองหลาง
เกิด 8 สิงหาคม 2519
ที่อยู่ 11/2 ซ.จันทวงค์2 ถ.สุนทรวิจิตร อ.เมือง จ.นครพนม 48000
อีเมลล์ pakawee18@gmail.com
เว็บไซต์ -
การศึกษา
2538 - ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิจิตรศิลป์ แผนกศิลปกรรม
สถาบันเทคโนโลยีวิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา
การทำงาน
2540 - เจ้าพนักงานโสตทัศนศึกษาชำนาญงาน กลุ่มงานบริหาร
ทั่วไป สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม อ.เมือง จ.นครพนม
นิทรรศการเดี่ยว
2549- การแสดงผลงานตั้งแต่ปี่ 2547 -2549 ณ แผนกศิลปกรรม มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีอีสาน
2547- การแสดงผลงานตั้งแต่ปี่2539 - 2547 ณ แผนกศิลปกรรม มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีอีสาน
นิทรรศการกลุ่ม
2562- นิทรรศการ “การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 65” ณ พิพิธภัณฑสถาน
แห่งชาติ หอศิลป
ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพ
2561 - นิทรรศการผลงานศิลปะสัญจร กลุ่ม “ เดินดินอีสาน” ณ หอศิลป์ต้นตาล
ตลาดต้นตาล
เทศบาลขอนแก่น จ.ขอนแก่น
2559 - นิศรรศการผลงานสร้างสรรค์ระหว่างประเทศ ครั้งที่ 3 “ส่องสังคมและ
วัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง”
ณ โรงแรมไฮโฮเทล อ.เมือง จ.นครพนม
2555 - นิทรรศการศิลปกรรม เนื่องในวันเปิดหอศิลป์เฮือนดิน ณหอศิลป์เฮือน
ดิน
สาขาวิชามนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จ.สกลนคร
- นิทรรศการศิลปะสัญจร โดยศิลปินกล่ม “เผาดิน” ครั้งที่ 4 ณ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
จ. สกลนคร
2554 - นิทรรศการ “การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัย ศิลปินกลุ่ม นา” ครั้งที่ 3 ณ
ยามาฮ่าอาร์ตแกลลอรี่
จ.มหาสารคาม
2551- นิทรรศการ “การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 54” ณ พิพิธภัณฑสถาน
แห่งชาติ หอศิลป
ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพ
เกียรติประวัติและทุนที่ได้รับ
2562 - รางวัลเกียรตินิยม อันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภท
ประติมากรรม
การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 65
2563 - รางวัลเกียรตินิยม อันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภท
ประติมากรรม
การ แสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 66
2559- รางวัลสนับสนุน กรุงไทย รางวัลที่ 2 การแสดงศิลปกรรม
แห่งชาติ ครั้งที่ 52
2548 - รางวัลสนับสนุน กรุงไทย รางวัลที่ 2 การแสดงศลปกรรม
แห่งชาติ ครั้งที่ 51
การเข้าร่วมโครงการศิลปินในพำนัก
2553 - โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ศิลปกรรมร่วมสมัย แห่งอารย
ธรรมลุ่มน้ำโขง ตอน
“สายน้ำสุนทรีมหานทีศรีโคตรบูร์” คณะศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
|